ผ่าตัดต้อหิน อันตรายไหม? มีวิธีการอย่างไร?
บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567
การผ่าตัดต้อหิน (Glaucoma Surgery) เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยระบายความดันของเหลวภายในดวงตาที่กดทับขั้วประสาทตาหลากหลายเส้นใยในการส่งภาพไปยังประสาทส่วนสมอง และเป็นวิธีการยับยั้งก้อนในบริเวณจอประสาทตาที่
เป็นต้อแข็ง ไม่ให้ถูกทำลายวิสัยทัศน์ลายสายตาไปมากกว่านี้
แม้ผู้ป่วยบางส่วนยินยอมตกลงการผ่าตัดต้อหินไป ผู้คนส่วนใหญ่ต่างตั้งข้อสงสัยเป็นเสียงส่วนใหญ่ว่า การผ่าตัดต้อหินอันตรายไหม เพราะแม้จะกำจัดต้นตอของต้อหินที่กดทับเส้นใยประสาทตาจากการับแรงดันโลหิตที่มีระดับความสูงผิดปกติไปได้ ก็ไม่สามารถฟื้นฟูให้ดวงตากลับมามองเห็นเหมือนคนปกติได้เช่นกัน
ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้โรคต้อหินทำลายด้านการมองเห็นและสร้างความมั่นใจกับผู้ป่วยที่กำลังลังเลในการผ่าตัด ทางทีมแพทย์ได้จัดเตรียมวิธีการผ่าตัดต้อหินแบบใหม่ (New Glaucoma Surgery) ที่ช่วยทำให้ผู้ป่วยพักฟื้นสภาพ
เลนส์ตาหลังการผ่าตัดได้อย่างรวดเร็ว มีความปลอดภัย และไม่สร้างรอยแผลเคียงแก่ดวงตาได้ในบทความนี้
สารบัญบทความ
โรคต้อหิน
ต้อหิน คือ อาการผิดปกติของการทำงานอวัยวะภายในของส่วนของเหลวที่หล่อเลี้ยงดวงตา มีภาวะแรงดันสูงผิดปกติ ส่งผลทำให้เส้นเลือดส่วนที่หล่อเลี้ยงขั้วประสาทตาหลากหลายเส้นที่ทำหน้าที่ส่งภาพการมองเห็นไปยังเส้นประสาทส่วนสมอง โดนกดทบจนขาดเลือดและถูกทำลายในที่สุด
โรคต้อหินมักพบกับบุคคลอายุ 40 ปีเป็นต้นไป และเป็นหนึ่งในโรคของตระกูลต้อที่อันตรายและรุนแรงมากกว่า
ต้อลม ต้อเนื้อ และ
ต้อกระจก เพราะส่วนของเส้นประสาทตา (Optic nerve) ที่ถูกแรงดันกดทับไปแล้ว ไม่สามารถฟื้นฟูให้กับมาทำงานได้เหมือนเดิมเป็นปกติได้ แม้จะได้รับการผ่าตัดต้อหินก็ตาม เพราะการผ่าตัดนั้นเป็นการยับยั้งสภาพการแพร่กระจายของตัวต้อหินเท่านั้น
สาเหตุของการเกิดภาวะต้อหิน
- ภาวะพันธุกรรม ในช่วงระหว่างการสร้างอวัยวะของส่วนประกอบของมุมดวงตามีสรีระที่ผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เมื่อเติบโตขึ้นเข้าสู่ช่วงวัยกลางคน ทำให้ระบบระบายน้ำของความดันลูกตาไหลออกได้น้อย ถูกอัดแน่นจนเกิดภาวะความดันน้ำในลูกตาสูงกว่าปกติ
- อุบัติเหตุ ผู้ป่วยได้รับการอุบัติเหตุที่สร้างแรงกระทบกระเทือนที่รุนแรงถึงดวงตาโดยตรงโดยตรง
- การติดเชื้อภายในดวงตา ภาวะต้อหินสามารถเกิดขึ้นได้จากการอักเสบภายในดวงตา เช่น อาการตาแดง ตาบวม และการติดเชื้อผ่านดวงตา
อาการของต้อหิน
การสังเกตอาการของต้อหินในช่วงระยะเริ่มต้น อาจวินิจฉัยได้ยาก เนื่องจากชนิดของต้อหินแต่ละประเภทอย่างอาการ ต้อหินมุมเปิดจะแสดงอาการ ตาแดง รูม่านตาขยายจนทำให้การมองเห็นพร่ามัว ปวดตา พร้อมกับมุมมองภาพในลานกว้างเริ่มแคบลง
และต้อหินมุมปิดจะแสดงอาการปวดตาแบบฉับพลัน ตาแดง น้ำตาไหลในปริมาณมากกว่าปกติ เกิดอาการแพ้แสงจนเห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ ส่งผลให้เกิดปวดศีรษะและเกิดภาวะคลื่นไส้จนอาเจียนได้ในที่สุด หากผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวที่บอกมาข้างต้น ควรรีบทำการนัดพบจักษุแพทย์เพื่อทำการรักษาอาการเบื้องต้นโดยเร็วที่สุด
หากปล่อยอาการต้อหินทิ้งไว้ไปนั้น อาจทำให้ระบบขั้วประสาทตาถูกตัดการเชื่อมต่อกับระบบส่วนประสาทตาเส้นใยส่วนอื่นไปเรื่อย ๆ และทำให้เกิดตาบอดในที่สุด แม้ได้รับการผ่าตัดต้อหินไปนั้น ก็ไม่สามารถรักษาส่วนเส้นประสาทที่ถูกทำลายไป ฟื้นฟูกลับมาใช้เหมือนเดิมได้
ชนิดของต้อหิน
ระยะแรกของอาการต้อหินจะไม่แสดงอาการใด ๆ แก่กับผู้ป่วยทางด้านสายตาได้อย่างชัดเจน ทำให้ชนิดของต้อหินแบ่งออกเป็น 4 ประเภท โดยแบ่งตามสาเหตุการเกิดโครงสร้างเคมีในดวงตาที่ผิดปกติ ปัจจัยการเกิดความเสื่อมสภาพการมองเห็นจากความชรา หรืออุบัติเหตุที่สร้างความกระทบกระเทือนแก่ดวงตาโดยตรง ได้แก่
- ต้อหินมุมเปิด (Primary open-angle Glaucoma) คือ ความผิดปกติของการทำงานของโครงตาข่าย (trabecular meshwork) ภายในดวงตา ซึ่งทำให้น้ำหล่อเลี้ยงภายในดวงตาไม่สามารถไหลเวียนได้อย่างปกติ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะแรงดันดวงตาสูงกว่าปกติและทำลายเส้นขั้วประสาทตาได้ โดยทั่วไป ทางแพทย์ได้จัดเตรียมยาหยอดตา เพื่อควบคุมความสมดุลการไหลเวียนของแรงดันในดวงตาในระดับที่เหมาะสม การใช้ยาจะอยู่ในระดับที่ 1, 2 และ 3 ตามระดับความรุนแรงที่ทางจักษุแพทย์ได้ทำการประเมินเอาไว้ พร้อมกับการรักษาดวงตาด้วยการใช้เลเซอร์(Peripheral Iridectomy)ควบคู่กับการหยอดดวงตา หรือการผ่าตัดต้อหินเป็นวิธีการรักษาสุดท้าย เพื่อหลีกเลี่ยงแรงดันของลูกตาไปทำลายขั้วประสาทตาให้น้อยที่สุด
- ต้อหินมุมปิด (Angle-closure Glaucoma) คือ ความผิดปกติของการเกิดภาวะต้อหินแบบฉับพลัน ที่ทำให้แรงดันของลูกตาสูงกว่าผิดปกติ เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดตาและศีรษะรุนแรงในเวลาพลบค่ำแบบเป็น ๆ หาย ๆ โดยทั่วไปหากเป็นต้อกินมุมปิดในระยะเริ่มต้นและเรื้อรัง ทางแพทย์ได้จัดเตรียมวิธีรักษาด้วยการใช้เลเซอร์ให้หายขาดได้ แล้วทำการรักษาขั้นต่อไปด้วย การผ่าตัดต้อกระจก และการใช้ยาหยอดตาในการรักษาควบคู่
- ต้อหินชนิดความดันตาอยู่ในระดับปกติ (Normal tension Glaucoma) คือการเสื่อมสภาะของประสาทตา รวมถึงสภาพการมองเห็นในมุมมองกว้างที่แคบลงที่เกิดจากความชราวัย การรักษาด้วยยาเฉพาะทางเป็นปัจจัยสำคัญในการฟื้นฟูดสงตาให้หายจากอาการต้อหินชนิดนี้
- ต้อหินจากโรคแทรกซ้อนชนิดอื่น ๆ คือ การอักเสบบนบริเวณม่านตา เนื่องจากต้อกระจกก่อรวมกันเป็นก้อนจนอยู่ในระยะสุกเกินไป การไหลเวียนของน้ำไม่ปกติ ทำให้แรงดันในดวงตาสูงขึ้นจนทำให้มีเลือดออกบริเวณช่องตาที่นำไปสู่อาการต้อหินได้
การผ่าตัดต้อหินแบบมีหลักการที่สำคัญคือ การเปิดช่องทางระบายน้ำภายในลูกตาให้ออกสู่เนื้อเยื่อโดยรอบจึงทำให้ความดันลูกตาลดต่ำลงโดยจักษุแพทย์อาจเลือกเปิดช่องทางระบายน้ำดังกล่าวโดยเจาะช่องขนาดเล็ก (ประมาณ 1 ถึง 1.5 มิลลิเมตร) หรือในบางรายจักษุแพทย์อาจพิจารณาใส่ท่อพิเศษ (Glaucoma Drainage Device) ไว้เพื่อการป้องกันไม่ให้ช่องระบายน้ำอุดตันและช่วยให้น้ำภายในลูกตากระจายสู่เนื้อเยื่อภายนอกได้ดีขึ้นแต่จะทำการผ่าตัดใส่ท่อเฉพาะรายที่ทำการผ่าตัดโรคต้อหินแบบธรรมดาแล้วไม่ได้ผลเท่านั้น
ผ่าตัดต้อหินประเภท trabeculectomy คือ การผ่าตัดโดยเจาะผนังลูกตาเพื่อสร้างทางระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาที่มีภาวะแรงดันสูง ให้ได้รับการขับน้ำออกไป และลดอัตราความดันน้ำหล่อเลี้ยงให้ต่ำและกลับมาทำงานปกติเลี้ยงลูกตาได้อย่างปกติ
การหลีกเลี่ยงผ่าตัดต้อหิน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ประสบปัญหาโรคต้อหินระยะเริ่มแรกต้นเท่านั้น ด้วยการรักษาโดยใช้ยาหยอดตา เพื่อลดความดันภายในลูกตาให้ได้ถูกรับายออกไป หากการใช้ยาหยอดตาไม่สามารถลดปริมาณความดันของลูกตาลดลงไปได้
การรักษาขั้นต่อไปของจักษุแพทย์คือ การผ่าตัดต้อหินโดยการใช้เลเซอร์สำหรับควบคุมความดันลูกตาและใช้ยาหยอดตารักษาควบคู่ไปด้วยกัน
เมื่อสองวิธีที่กล่าวไปข้างต้น ไม่สามารถลดแรงดันของลูกตาได้ วิธีสุดท้ายของการยับยั้งอาการต้อหินคือ การผ่าตัดต้อหิน เพื่อช่วยทำทางระบายน้ำ ให้น้ำระบายออกจากลูกตาได้ดีขึ้น หากทิ้งอาการต้อหินจนถึงขั้นบานปลาย อาจทำให้ส่วนแรงดันของลูกตากดทับส่วนเลือดที่หล่อเลี้ยงขั้วประสาทตาไปเรื่อย ๆ และส่วนของเส้นประสาทที่ส่งภาพการมองเห็นถูกตัดขาดไปทีละส่วนของเส้นใยจนเกิดภาวะตาบอดในที่สุด
โดยปกติแล้ว การผ่าต้อหินถือว่าเป็นการรักษาที่ตรงจุดและเห็นผล แต่การผ่าตัดต้อหินก็ไม่ได้เหมาะสมสำหรับทุกคน ดังต่อไปนี้
- ผู้ที่เป็นต้อหินในระยะเริ่มต้น เพราะสามารถรักษาด้วยวิธีการอื่น ๆ ได้ก่อน
- ผู้ที่เป็นต้อหินในระยะลุกลาม ซึ่งสูญเสียการมองเห็นไปมากแล้ว ทำให้การผ่าตัดไม่สามารถรักษาได้
- ผู้ที่มีปัญหาทางดวงตา เช่น โรคตาแห้งรุนแรง โรคกระจกตา หรือดวงตาอักเสบ จำเป็นต้องรักษาให้หายดีเสียก่อน จึงจะเข้ารับการผ่าตัดต้อหินได้
- ผู้ที่มีประวัติความเสี่ยงในการผ่าตัด หรือรับประทานยาที่มีผลต่อเลือดต่าง ๆ
1. ผ่าตัดต้อหินแบบ Trabeculectomy
วิธีการผ่าตัดต้อหินในรูปแบบการเจาะรูช่องระบายน้ำภายในลูกตา หรือ Trabeculectomy คือ การผ่าตัดต้อหินแบบมาตรฐาน ที่มีวิธีการเริ่มต้นจากการเจาะบริเวณผนังลูกตาขาวเพื่อทำทางระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาออกมา โดยใช้อุปกรณ์เสริมท่อนำน้ำพิเศษ (Glaucoma Drainage Device) ที่ทำด้วยวัสดุสังเคราะห์อย่าง ซิลิโคน สำหรับเป็นการผ่าตัดต้อหินใส่ท่อดูดน้ำเลี้ยงออกจากช่องม่านตา (Iris) และจานกักเก็บน้ำเลี้ยง เพื่อลดความดันในดวงตาลดลง
วิธีการผ่าตัดต้อหิน แบบ Trabeculectomy สามารถใช้สำหรับการผ่าตัดต้อกระจกร่วมกันได้ หลังจากใช้อุปกรณ์นำน้ำหล่อเลี้ยงดวงตาเพื่อลดความดันออก สามารถนำเลนส์แก้วตาเทียมแบบค่าสายตามาใส่เลนส์หลังเปลือกตาเพื่อรักษาาการต้อกระจกได้โดยไม่มีปัญหา
2. ผ่าตัดต้อหินแบบ Aqueous Shunt Surgery
การผ่าตัดต้อหินแบบใส่ท่อระบายเพื่อลดความดันลูกตา (Aqueous Shunt Surgery) คือ การผ่าตัดโดยระบายความดันจากตัวลูกตาโดยตรง วิธีนี้ใช้สำหรับการผ่าตัดต้อหินแบบ Trabeculectomy แบบแรกในการระบายน้ำหล่อเลี้ยงที่ไหลเวียนลูกตาเพื่อลดความดันไม่สำเร็จ ทางแพทย์จะใช้การผ่าตัด Aqueous Shunt Surgery เป็นแผนสำรองในการระบายความดันลูกตาจากเยื่อบุตาขาวและลดแรงกระแทกของความดันลูกตาไปกดเส้นประสาทตาให้กระทบน้อยที่สุด
ในการผ่าตัดต้อหินจะมีขั้นตอนที่คล้ายกันในแต่ละโรงพยาบาล โดยมีรายละเอียดดังนี้
-
- คนไข้จะได้รับการหยอดยา เพื่อหดม่านตา และยาฆ่าเชื้อ ก่อนเข้าห้องผ่าตัด 1 - 2 ชั่วโมง
- หลังจากนั้น คนไข้จะได้รับยาชาเฉพาะที่ หรือบางรายอาจจะต้องดมยาสลบ
- จักษุแพทย์จะทำการเปิดช่องทางระบายน้ำภายในลูกตาด้านหน้าที่เชื่อมต่อกับเยื่อบุตาขาวบริเวณด้านนอกลูกตา โดยเจาะช่องขนาดเล็กประมาณ 1 - 1.5 มิลลิเมตร
- เมื่อผ่าต้อหินเสร็จเรียบร้อย จักษุแพทย์จะทำการเย็บปิดเยื่อบุตาด้วยไหม
ทั้งนี้ สำหรับคนไข้บางราย จักษุแพทย์อาจพิจารณาให้ใส่ท่อพิเศษ เพื่อระบายน้ำออกจากช่องม่านตาด้วย
โดยทั่วไป การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดต้อหิน มีดังต่อไปนี้
- ล้างหน้า และสระผมให้สะอาดก่อนวันผ่าตัดต้อหิน
- งดการแต่งหน้าทุกบริเวณของใบหน้าในวันที่ทำการผ่าตัด
- เตรียมตัวเข้าโรงพยาบาลอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงสำหรับการผ่าผ่าตัดต้อหิน เพื่อทำการฆ่าเชื่อและได้รับการหยอดยาชาเพื่อหดม่านตาก่อนเข้าสู่ห้องปฎิบัติ
- ผู้ผ่าตัดจะได้รับประทานยาแก้ปวดและยาลดความวิตกกังวลในขณะทำการผ่าตัดต้อหิน
- วันผ่าตัดต้อหิน ควรมีญาติหรือติดตามพามาด้วย
การดูแลหลังผ่าตัดต้อหิน มีวิธีการดังต่อไปนี้
- หลังเสร็จสิ้นการผ่าตัดต้อหิน ผู้ป่วยต้องปิดตาข้างที่ได้รับการผ่าตัดจนถึงวันนัดพบจักษุแพทย์ในวันถัดไป เพื่อทำการตัวเช็คและทำความสะอาดดวงตาภายในโรงพยาบาลได้อย่างสุขอนามัยที่ดี
- หยอดตาหลังจากที่ได้ทำการนัดพบแพทย์เสร็จ และทำการหยอดตาตามที่แพทย์กำหนดวันไว้อย่างเคร่งครัด จนถึงวันนัดเช็คดวงตาอีกที
- ห้ามใช้มือสัมผัสบริเวณดวงตาที่ผ่าตัดต้อหินเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นการจับบริเวณดวงตา หรือการขยี้ดวงตาก็ตาม
- งดกิจกรรมหนัก ที่ทำให้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายที่ต้องใช้แรงเบ่งทุกรูปแบบ
- ห้ามให้น้ำ และฝุ่นละอองเข้ามาในบริเวณดวงตาที่ผ่าตัดต้อหินอย่างน้อน 1-2 สัปดาห์
ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต้อหิน อาจมีโอกาสสูงที่ทำให้การมองเห็นแย่ลงหลังจากการผ่าตัดได้ เช่น
- อาการตาบวม
- เกิดลิ่มเลือดภายในช่องหน้าลูกตา
- ความดันสูงขึ้นผิดปกติหลังจากทำการผ่าตัดต้อหิน
- พังผืดบริเวณมุมตาสำหรับเป็นจุดระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาอุดตัน
การรักษาต้อหินทางเลือกอื่น
- การรักษาด้วยการผ่าตัดต้อหินแบบ เลเซอร์ชนิด Yag Iridotomy หรือ Selective Laser Trabeculoplasty (SLT)
- การใช้ยาหยอดตาลดความดัน ร่วมกับการรับยามารับประทานควบคู่กัน
- การรักษาโดยใช้ยาลดความดันของอาการต้อหินโดยเฉพาะที่ทำการจัดยาโดย จักษุแพทย์เฉพาะทางที่ให้คำข้อเสนอแนะให้กับผู้ป่วยแต่ละรายให้อย่างเหมาะสม
ผู้ป่วยที่มีความต้องการจะผ่าตัดต้อหินกับโรงพยาบาลที่มีทีมจักษุแพทย์เฉพาะทางโดยเฉพาะ แต่ไม่มีความมั่นใจว่าจะหาสถานรักษา ที่ตอบโจทย์การฟื้นฟูการมองเห็นสำหรับการผ่าตัดต้อหินที่ไหนดี
โรงพยายาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีวิธีการรักษาโรคต้อหินแบบเป็นแบบแผน รวมไปถึงการดูแลรักษาโรคปัญหาทางสายตา ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสายตา ก่อนผ่าตัดต้อกระจกสำหรับใส่เลนส์แก้วตาเทียมสำหรับผู้มีค่าสายตาสั้น ยาว และเอียง หรือ ผ่าตัดต้อเนื้อในการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อบุตา
ตลอดทุกขั้นตอนของการรักษา โดยทางโรงพยาบาลได้จัดเตรียมบุคคลากรดูแลผู้ป่วยตลอดจนก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัดต้อหินได้อย่างเพียบพร้อม
การผ่าตัดต้อหิน จะต้องมาตรวจประเมินกับแพทย์ก่อนว่าอาการต้อหินของท่านอยู่ในระยะใด และจักษุแพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมแก่ท่าน
ผ่าตัดต้อหิน อันตรายไหม
ผ่าตัดต้อหินในปัจจุบัน ไม่เป็นอันตรายต่อดวงตาแก่ผู้ป่วย เนื่องจากการผ่าตัดในปัจจุบันได้มีการจัดเตรียมยาหยอดยาชา และยาแก้วิตกกังวลให้กับผู้ป่วยเสมอ อีกทั้งหลังการผ่าตัดต้อหินเสร็จเรียบร้อย จะทิ้งรอยแผลเล็ก เพื่อลดอาการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อในตาน้อย และลดอัตราการติดเชื้อภายในดวงตาได้น้อยที่สุด
ผ่าตัดต้อหิน พักฟื้นกี่วัน
การผ่าตัดต้อหิน พักฟื้นกี่วันในการดูแลรักษาดวงตาหายเป็นปกติ โดยทั่วไปจะใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นประมาณ 1-2 สัปดาห์ จากนั้นทางทีมจักษุแพทย์จะทำการนัดเพื่อตรวจเช็คสภาพดวงตาหลังจากได้รับการผ่าตัดแล้วจะทำการพิจารณาสภาพดวงตาของผู้ป่วยในลำดับต่อไป
การผ่าตัดต้อหิน เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยยับยั้งความดันในลูกตาทำลายส่วนขั้วประสาทตาในการส่งภาพไปยังส่วนประสาทตาของผู้ป่วยที่มีระยะอาการรุนแรง หากมีข้อสงสัยนอกจากการผ่าตัดต้อหิน อย่างการผ่าตัดต้อกระจก หรือการผ่าตัดต้อเนื้อ สามารถติดต่อสอบถามกับทีมจักษุแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง