ตาปลาที่เท้า เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง
ตาปลาที่เท้าเป็นภาวะที่ผิวหนังแข็งตัวเป็นก้อนกลมนูน มีจุดดำตรงกลาง เกิดจากแรงกดทับซ้ำ ๆ ทำรู้สึกให้เจ็บเมื่อเดิน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่เหมาะสม
คุณอาจเคยรู้สึกเหนื่อยง่าย ใจสั่น น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือบางทีอาจสังเกตเห็นว่าตัวเองกลายเป็นคนขี้ร้อน เหงื่อออกตลอดเวลา แม้อากาศจะไม่ร้อนมาก นี่เป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเผชิญกับภาวะไทรอยด์เป็นพิษโดยไม่รู้ตัว
บทความนี้ จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรคไทรอยด์เป็นพิษ หนึ่งในประเภทของโรคไทรอยด์ที่ไม่สามารถมองข้ามได้ เพื่อที่คุณจะได้เข้าใจ รู้ทัน และดูแลสุขภาพของตัวเองได้อย่างถูกต้อง
สารบัญบทความ
ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism, Overactive Thyroid) คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมามากเกินความจำเป็น มีแนวโน้มพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 10 เท่า โดยต่อมไทรอยด์เป็นพิษเกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ ต่อมไทรอยด์ถูกกระตุ้นให้ผลิตฮอร์โมนมากเกินความจำเป็น ทำให้เกิดการเร่งกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย ส่งผลให้น้ำหนักลดลงเร็ว เหงื่อออกมาง่าย และอารมณ์แปรปรวน
โรคไทรอยด์เป็นพิษเกิดขึ้นได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
การรู้จักสังเกตภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ อาการเบื้องต้น จะช่วยให้รู้ทันโรค และเข้ารับการตรวจไทรอยด์เป็นพิษเพื่อรักษาได้อย่างทันท่วงที โดยลักษณะบ่งชี้ของโรคไทรอยด์เป็นพิษมีดังนี้
ไทรอยด์เป็นพิษเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยสาเหตุหลักที่พบบ่อยคือโรคเกรฟส์ (Graves' disease) ซึ่งเป็นความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากการมีก้อนเนื้อที่ต่อมไทรอยด์ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ซึ่งก้อนเนื้อเหล่านี้จะกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ ปัจจัยภายนอกก็มีส่วนสำคัญ เช่น การได้รับไอโอดีนมากเกินไป การใช้ยาฮอร์โมนไทรอยด์ในปริมาณที่มากเกินไปในผู้ป่วยภาวะไทรอยด์ต่ำ
การรักษาไทรอยด์เป็นพิษเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความร่วมมือระหว่างแพทย์และผู้ป่วย โดยปัจจุบันมีทางเลือกในการรักษาหลายวิธี ในหัวข้อนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับวิธีการรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษที่ได้รับความนิยม ซึ่งมีดังนี้
การรักษาไทรอยด์เป็นพิษด้วยการรับประทานยาลดการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ทำให้อัตราการเผาผลาญในร่างกายลดลงและบรรเทาอาการต่าง ๆ ได้ เช่น หัวใจเต้นเร็ว อ่อนเพลีย น้ำหนักลด และมีอารมณ์แปรปรวน โดยทั่วไปการรักษาจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี ซึ่งวิธีนี้จะไม่ทำลายต่อมไทรอยด์ แต่ผู้ป่วยต้องปรับขนาดยาบ่อยและอาจเกิดผลข้างเคียงได้ ดังนั้น จึงต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วงแรกของการรักษา
ไทรอยด์เป็นพิษ การรักษาทำได้ด้วยการรับประทานยาไอโอดีน – 131 ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสีที่ต่อมไทรอยด์ดูดซึมเข้าไปใช้ เมื่อสารนี้สลายตัวจะปล่อยรังสีเบต้าออกมา แล้วจะค่อย ๆ ทำลายเซลล์ต่อมไทรอยด์ที่ทำงานมากเกินไป แม้ในอดีตจะมีความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงต่อภาวะเจริญพันธุ์ แต่ปัจจุบันได้รับการยืนยันแล้วว่าการรักษาด้วยวิธีนี้ไม่ส่งผลต่อภาวะการมีบุตรยากหรือความผิดปกติของทารกแรกเกิด
การผ่าตัดไทรอยด์ แพทย์จะทำการตัดต่อมไทรอยด์ออกประมาณ 70% เพื่อลดขนาดของต่อมและปริมาณฮอร์โมนที่เข้าสู่กระแสเลือด ทำให้อัตราการเผาผลาญในร่างกายลดลงสู่ระดับปกติ และอาการต่าง ๆ บรรเทาลงอย่างรวดเร็ว ในระยะยาวต่อมไทรอยด์ที่เหลืออยู่อาจมีการเปลี่ยนแปลงการทำงาน บางกรณีอาจทำงานมากเกินไปทำให้โรคกลับมาเป็นซ้ำ หรือทำงานน้อยเกินไปจนเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ
การจี้ก้อนไทรอยด์เป็นการรักษาไทรอยด์เป็นพิษโดยใช้เทคนิคส่งคลื่นความร้อนผ่านเข็มชนิดพิเศษ ซึ่งจะทำให้ก้อนไทรอยด์หดตัวลงถึง 80-90% โดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็นและไม่ต้องดมยาสลบ เหมาะสำหรับผู้ที่มีก้อนไทรอยด์ขนาดเล็กถึงปานกลาง ใช้เวลารักษาสั้น ฟื้นตัวเร็ว และมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่ำ โดยการรักษาวิธีนี้ไม่เหมาะกับก้อนขนาดใหญ่ ผู้ที่มีปัญหาการแข็งตัวของเลือดหรือตั้งครรภ์
ไทรอยด์เป็นพิษเป็นภาวะที่การรักษาให้หายขาดนั้นเป็นไปได้ยาก เนื่องจากมีโอกาสสูงที่จะกลับมาเป็นซ้ำ ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดและไม่ควรหยุดยาเอง เพราะนอกจากเสี่ยงต่อการกลับมาของโรคแล้ว ยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงโดยเฉพาะต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด การดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอและติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมโรคให้อยู่ในภาวะที่สามารถจัดการได้
ไทรอยด์เป็นพิษเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยและไม่ควรมองข้าม เนื่องจากส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย อาการของโรคนี้มีหลากหลาย การวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงทีจึงมีความสำคัญ ซึ่งโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ เป็นอีกหนึ่งสถานพยาบาลที่ตอบโจทย์ ด้วยการตรวจไทรอยด์โดยแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์สูง พร้อมด้วยเครื่องมือทันสมัยที่ช่วยให้การวินิจฉัยมีความแม่นยำและรวดเร็ว สามารถรู้ผลได้ภายในวันเดียว ทำให้ผู้ป่วยสามารถมั่นใจได้ในคุณภาพการบริการและการรักษาที่ได้รับ โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
References
Hyperthyroidism (Overactive Thyroid). (2019). National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. https://www.niddk.nih.gov/health-information/endocrine-diseases/hyperthyroidism
Medline Plus. (2019). Hyperthyroidism. Medlineplus.gov; National Library of Medicine. https://medlineplus.gov/hyperthyroidism.html
NHS . (2019). Overview - overactive thyroid (hyperthyroidism). NHS. https://www.nhs.uk/conditions/overactive-thyroid-hyperthyroidism/
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)