บทความสุขภาพ

จี้ก้อนไทรอยด์ อีกหนึ่งทางเลือกกำจัดก้อนเนื้อโดยไม่ต้องผ่าตัด

บทความโดย: seoteam seoteam วันที่อัพเดท: 25 กรกฎาคม 2567

จี้ก้อนไทรอยด์

เมื่อพูดถึงการรักษาก้อนเนื้อไทรอยด์ หลาย ๆ คนอาจจะนึกถึงวิธีรักษาแบบดั้งเดิมอย่างการผ่าตัดไทรอยด์ ในปัจจุบันก็มีวิธีรักษาอื่น ๆ เช่น การส่องกล้อง ซึ่งจะมีแผลผ่าตัดขนาดเล็กกว่าการผ่าตัดปกติ แต่ในบทความนี้จะมากล่าวถึงวิธีการรักษาก้อนเนื้อไทรอยด์แบบไม่ต้องผ่าตัด Radiofrequency Ablation หรือการจี้ก้อนไทรอยด์ว่ามีจุดเด่นอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้ที่กำลังพิจารณาวิธีรักษาก้อนไทรอยด์


สารบัญบทความ


การจี้ก้อนไทรอยด์ คือ อะไร เป็นวิธีรักษาแบบไหน

การจี้ก้อนไทรอยด์ (Radiofrequency Ablation) คือ การนำเข็มชนิดพิเศษมาเจาะเข้าสู่ตำแหน่งที่มีก้อนไทรอยด์อยู่ แล้วปล่อยคลื่นความร้อนผ่านทางหัวเข็มเข้าสู่ก้อนที่ไทรอยด์ เพื่อให้ก้อนเนื้อรับความร้อนและค่อย ๆ หดตัวลงจนมีขนาดที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต หลังจากการรักษา 1 ปี ก้อนไทรอยด์จะมีขนาดเล็กลงจากเดิมได้มากถึง 80-90%

การจี้ก้อนไทรอยด์เป็นวิธีรักษาที่มีความแม่นยำสูง เพราะใช้เครื่องอัลตราซาวด์ตรวจหาตำแหน่งก้อนที่ไทรอยด์ ใช้เวลารักษาไม่นาน ไม่ต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล และยังมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อยมาก จึงทำให้ในปัจจุบันมีผู้ที่รับการรักษาด้วยการจี้ก้อนไทรอยด์มากขึ้น


การจี้ก้อนไทรอยด์ เหมาะกับใคร

การจี้ก้อนไทรอยด์เป็นวิธีช่วยให้ก้อนที่ไทรอยด์มีขนาดเล็กลงโดยเหมาะกับ

  • ผู้ที่คอโตเพราะมีก้อนไทรอยด์ขนาดเล็ก ไม่ใหญ่มากจนเกินไป เพราะถ้าเป็นไทรอยด์ก้อนใหญ่ การรักษาอาจจะไม่ได้ประสิทธิภาพมากเท่าที่ควร
  • ผู้ที่มีก้อนไทรอยด์แบบธรรมดา ไม่ใช่ก้อนเนื้อร้าย (ก้อนมะเร็ง)
  • ผู้ที่ไม่สามารถดมยาสลบได้ เช่น แพ้ยาสลบ กำลังทานยาที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด หรือมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต เป็นต้น

ข้อดี-ข้อจำกัดของการรักษาก้อนไทรอยด์ด้วยวิธีจี้ก้อนไทรอยด์

ในปัจจุบันการรักษาก้อนไทรอยด์มีหลากหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกัน จึงควรพิจารณาเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมกับตนเอง ในที่นี้การรักษาก้อนไทรอยด์ด้วยวิธีจี้ก้อนไทรอยด์มีข้อดีและข้อจำกัดดังต่อไปนี้

ข้อดี

  • ไม่มีรอยแผลเป็นจากการผ่าตัด เพราะใช้เข็มขนาดเล็กประมาณ 2 มิลลิเมตรจี้ก้อนไทรอยด์
  • ไม่จำเป็นต้องดมยาสลบ จึงทำให้ไม่ได้รับผลข้างเคียงบางประการที่อาจพบหลังจากดมยาสลบ
  • ใช้เวลารักษาไม่นาน โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 30-60 นาทีขึ้นอยู่กับขนาดก้อนไทรอยด์
  • หลังจี้ก้อนไทรอยด์สามารถกลับไปบ้านได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล
  • ลดโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ หลังจากรักษา เช่น เสียงแหบ 
  • ไม่จำเป็นต้องทานยาฮอร์โมนทดแทน

ข้อจำกัด

  • ไม่เหมาะกับผู้ที่มีก้อนไทรอยด์ขนาดใหญ่
  • ไม่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะเลือดแข็งตัวยาก
  • ไม่เหมาะกับผู้ที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์
  • ไม่เหมาะกับผู้ที่ใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ
  • ขนาดของก้อนเนื้ออาจไม่เล็กลงตามที่คาดการณ์ แต่สามารถจี้ก้อนไทรอยด์ซ้ำได้

การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนจี้ก้อนไทรอยด์

ก่อนจี้ก้อนไทรอยด์ แพทย์จะซักถามประวัติการใช้ยา โรคประจำตัว และตรวจสุขภาพร่างกายก่อนว่าสามารถรักษาก้อนที่ไทรอยด์ด้วยการจี้ก้อนไทรอยด์ได้หรือไม่

  • ตรวจชิ้นเนื้อไทรอยด์ว่าเป็นก้อนมะเร็งหรือไม่
  • ตรวจการแข็งตัวของเลือด

เมื่อตรวจร่างกายแล้วพบว่าสามารถจี้ก้อนไทรอยด์ได้ก็จะต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนรักษา ดังนี้

  • งดทานยาและอาหารเสริมที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือดอย่างน้อย 1 อาทิตย์
  • งดน้ำและอาหารก่อนรักษาก้อนที่ไทรอยด์อย่างน้อย 8 ชั่วโมง

วิธีดูแลตนเองหลังจี้ก้อนไทรอยด์

ก้อนที่ไทรอยด์

หลังจากจี้ก้อนไทรอยด์แล้วแพทย์จะเฝ้าดูอาการประมาณ 1 ชั่วโมง หากไม่มีอาการข้างเคียงใด ๆ ระหว่างที่เฝ้าดูอาการ แพทย์ก็จะให้กลับบ้านได้ทันที ซึ่งหลังจากที่กลับบ้านแล้วจะต้องปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยของร่างกาย ดังนี้

  • งดใช้เสียงดังอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • งดออกกำลังกายหนังอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • ไม่จับ คลำ บริเวณที่จี้ก้อนไทรอยด์อย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • ไปตามนัดแพทย์เพื่อติดตามอาการหลังการรักษาก้อนที่ไทรอยด์ทุก ๆ 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน

ผลข้างเคียงที่อาจพบหลังจี้ก้อนไทรอยด์

แม้ว่าการจี้ก้อนไทรอยด์แบบไม่ต้องผ่าตัดจะมีความปลอดภัยสูงมาก แต่ก็สามารถพบผลข้างเคียงหลังจากการรักษาได้ โดยผลข้างเคียงที่อาจพบหลังจี้ก้อนไทรอยด์มีดังนี้

  • เจ็บ ปวดบริเวณที่รักษา
  • ผิวไหม้
  • เสียงแหบ
  • มีไข้
  • การติดเชื้อ
  • เลือดออกบริเวณที่จี้ก้อนไทรอยด์

สรุปจี้ก้อนไทรอยด์ปลอดภัย ไร้รอยแผลเป็น

การจี้ก้อนไทรอยด์ คือ การใช้เข็มชนิดพิเศษจี้ก้อนไทรอยด์ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากได้อย่างแม่นยำโดยใช้เครื่องอัลตราซาวด์นำทาง ความร้อนที่ส่งผ่านจากหัวเข็มจะไปทำปฏิกิริยากับก้อนเนื้อ ทำให้ก้อนเนื้อค่อย ๆ ฝ่อลง จนมีขนาดเล็กพอที่จะสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย

สำหรับผู้ที่สงสัยว่าตนเองมีก้อนที่ไทรอยด์หรือต้องการรักษาก้อนเนื้อที่ไทรอยด์ สมิติเวชไชน่าทาวน์เป็นสถานรักษาที่มีทีมแพทย์เฉพาะทางเป็นผู้ดูแลรักษาให้ก้อนไทรอยด์ยุบตัวลงได้อย่างปลอดภัย โดยสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดอื่น ๆ ก่อนรับการรักษาเพิ่มเติมได้ดังช่องทางต่อไปนี้

ช่องทางการติดต่อสมิติเวชไชน่าทาวน์


References

Wang, JF. Wu, T. Hu, KP. Xu, W. Zheng, BW. Tong, G. Yao, ZC. Liu, B. Ren, J. (2017). Complications Following Radiofrequency Ablation of Benign Thyroid Nodules: A Systematic Review. Chin Med J (Engl), 130(11): 1361-1370.

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5455047/


Issa, PP. Cironi, K. Rezvani, L. Kandil, E. (2024). Radiofrequency ablation of thyroid nodules: a clinical review of treatment complications. GLAND SURGERY, 13(1). https://gs.amegroups.org/article/view/114856/html

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​