แผลเบาหวานที่เท้า ดูแลรักษาแผลก่อนสายเกินไป
แผลเบาหวานที่เท้า เป็นแผลบริเวณเท้าที่ลุกลามจากการที่ผู้ป่วยเบาหวานระบบประสาทรับความรู้สึกเสื่อม ทำให้เท้าชาจนเกิดบาดแผลได้ง่ายและรู้ตัวช้าจนแผลเกินการติดเชื้อ
โดยธรรมชาติของร่างกายมนุษย์ เมื่อทานอาหารเข้าไป อาหารจะถูกย่อยและถูกขับออกมาในรูปแบบของอุจจาระ ซึ่งอุจจาระจะมีสีต่างกันขึ้นอยู่กับอาหารที่ทาน และการทำงานของระบบการย่อยอาหาร แต่อุจจาระที่มีลักษณะผิดปกติ เช่น การถ่ายเป็นมูก หรือสีอุจจาระที่ต่างจากเดิม อาจเป็นสัญญาณของโรคบางชนิดได้
บทความนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับอาการถ่ายเป็นมูก คืออะไร อันตรายไหม เพื่อให้คุณสังเกตเห็นความผิดปกติของการถ่ายมีมูก และเข้ารับการรักษาอย่างได้อย่างรวดเร็ว
สารบัญบทความ
ภาวะถ่ายเป็นมูก คือ การมีมูกหรือเมือกปนอยู่ในอุจจาระ เกิดจากเยื่อบุผิวลำไส้ใหญ่ผลิตมูกออกมาเพื่อเคลือบอุจจาระให้สามารถเคลื่อนตัวออกจากลำไส้เวลาขับถ่ายง่ายขึ้น และมูกที่ผลิตขึ้นมายังมีส่วนช่วยลดโอกาสไม่ให้อุจจาระขูดเนื้อเยื่อภายในลำไส้จนเกิดเป็นแผลได้ด้วย
โดยทั่วไปแล้วลักษณะถ่ายเป็นมูกจะมีสีใสและมีปริมาณมูกไม่เยอะ ทำให้เวลาสังเกตก้อนอุจจาระอาจพบเห็นเป็นมูกบาง ๆ หุ้มอยู่เป็นปกติ แต่ถ้าถ่ายมีมูกผสมเยอะจนผิดสังเกต มูกมีเลือดปน ส่วนนี้อาจแสดงถึงความผิดปกติของระบบขับถ่ายภายในร่างกาย
สาเหตุของการถ่ายเป็นมูกมีอยู่หลายประการด้วยกัน ดังนี้
ภาวะหรือโรคที่กล่าวข้างต้นอาจมีอาการอื่น ๆ นอกเหนือจากการถ่ายเป็นมูกร่วมด้วย เช่น อาการปวดปิด ท้องเสียเป็น ๆ หาย ๆ รู้สึกถ่ายไม่สุด ท้องผูก อ่อนเพลีย เป็นไข้ คลื่นไส้ อาเจียน หรือน้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ เป็นต้น
จากที่กล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าการถ่ายเป็นมูกเป็นอาการปกติที่มีส่วนช่วยให้ร่างกายขับอุจจาระออกจากร่างกายได้สบายขึ้น แต่ถ้าหากลองสังเกตอุจจาระของตนเองแล้วพบว่ามูกที่ติดกับอุจจาระเป็นสีอื่น ๆ ไม่ใช่สีใส นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าตอนนี้ร่างกายอยู่ในสภาวะที่ไม่ปกติ แล้วมูกสีอื่นบ่งบอกถึงอาการของโรคอะไรบ้าง สามารถตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ดังนี้
อุจจาระสีเหลืองเป็นสีปกติที่สามารถพบได้ทั่วไป แต่ในกรณีที่ถ่ายเป็นมูกสีเหลือง อาจมีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อปรสิต โดยมักจะมีอาการถ่ายเหลวร่วมด้วย หรือถ้าอุจจาระมันและมีกลิ่นเหม็นร่วมด้วยอาจเกิดจากการดูดซึมสารอาหารของลำไส้ผิดปกติ ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุต่อไป
ถ่ายเป็นมูกสีน้ำตาลเป็นสีที่พบจากมูกปนเปื้อนกับเนื้ออุจจาระ บางครั้งมูกอาจมีสีน้ำตาลเข้มจากการปนเลือด สามารถเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ริดสีดวง ลำไส้อักเสบ หรือโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น ดังนั้นหากมีอาการถ่ายเป็นเมือกหรือมูกสีน้ำตาลเข้มคล้ายเลือดให้ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ในกรณีที่ยังคงถ่ายมีมูกอย่างต่อเนื่อง หรือพบอาการอื่น ๆ เช่น ถ่ายมีเลือดปน เจ็บปวดรูทวาร ให้พบแพทย์โดยด่วน
อาการถ่ายเป็นมูกสีเขียวสามารถเกิดขึ้นได้จากการทานยาปฏิชีวนะบางตัว การทานผักใบเขียวในปริมาณมากจนและลำไส้เคลื่อนตัวไวจนไม่สามารถย่อยอาหารได้ทัน โรคลำไส้อักเสบ ท้องร่วง หรือโรคลำไส้แปรปรวนซึ่งมักจะพบอาการถ่ายเหลวร่วมด้วย
อาการถ่ายเป็นมูกใสในเด็กทารกเป็นอาการที่พบได้ตามปกติ โดยมักจะพบในเด็กทารกที่ดื่มนมแม่ เกิดจากเยื่อบุผิวลำไส้ผลิตมูกหรือเมือกขึ้นมาเพื่อช่วยให้อุจจาระเคลื่อนตัวสะดวกและข่วยให้ขับถ่ายคล่องง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามหากพบว่าทารกถ่ายเป็นมูกเยอะผิดปกติหรือมีอาการอื่น เช่น มีไข้ ร้องไห้ไม่หยุด ดูไม่สบายตัว หรือถ่ายปนเลือด ให้พาทารกพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษาอย่างถูกวิธี
*หมายเหตุ
การถ่ายเป็นมูกปนเลือดในเด็กอาจเกิดจากการแพ้นมวัว ซึ่งอาจพบอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยสามารถสังเกตได้จากอาการผื่นขึ้นตามตัว ถ่ายเหลว อาเจียน หายใจถี่ หากพบอาการดังกล่าวให้พาเด็กพบแพทย์เพื่อตรวจสอบว่ามีอาการถ่ายเป็นมูกปนเลือดจากอาการแพ้นมวัวหรือจากสาเหตุอื่น หากตรวจพบว่าเด็กแพ้นมวัวก็จะต้องปรับเปลี่ยนนมที่ให้ทานตามความเหมาะสม
การถ่ายมีมูกปนเลือดเป็นอาการอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาการถ่ายเป็นมูกนั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรค ดังนี้
อาการและโรคที่กล่าวข้างต้นล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายระยะยาว และถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมก็อาจจะเป็นอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตได้ ดังนั้นหากพบว่าอุจจาระเป็นมูกปนเลือดหรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น ท้องผูกสลับท้องเสียเป็นประจำ อ่อนเพลีย อาเจียน น้ำหนักลดโดยที่ไม่มีสาเหตุ ให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย และรับการรักษาตามโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างตรงจุด
ถ่ายเป็นมูกคืออาการที่แสดงถึงความผิดปกติของร่างกาย โดยสามารถสังเกตด้วยตนเองเบื้องต้นได้จากสีของอุจจาระ หากถ่ายเป็นมูกใส ๆ จะเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป ไม่ได้อันตรายต่อร่างกาย แต่ถ้าถ่ายเป็นมูกสีอื่น อุจจาระมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ มีฟอง มีคราบมัน ถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นเลือด นั่นอาจเป็นอาการของโรคร้ายที่ส่งผลต่อชีวิตได้
ดังนั้นหากมีอาการถ่ายเป็นมูกหรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย สามารถพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการได้ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ และรักษาตามโรคที่ตรวจพบต่อไป หรือถ้าต้องการสอบถามข้อมูลการตรวจสุขภาพอื่น ๆ เช่น ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ราคาเท่าไหร่ สามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้
ช่องทางการติดต่อ
References
Susan York Morris. (2024, 1 February). Why Is My Stool Yellow?. healthline. https://www.healthline.com/health/digestive-health/yellow-stool#causes
Kimberly Holland. (2023, 26 June). Why Is There Mucus in My Stool?. healthline. https://www.healthline.com/health/mucus-in-stool
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)