ลำไส้แปรปรวน (IBS) สาเหตุปวดท้องเรื้อรัง ลำไส้ทำงานผิดปกติ
ลำไส้แปรปรวน อาการของลำไส้ที่ทำงานผิดปกติ จนทำให้ปวดท้อง ท้องอืด หรือมีปัญหาขับถ่าย ซึ่งอาจเป็นอาการเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและการทำงานได้
การขับถ่ายเป็นกิจวัตรสำคัญของร่างกาย โดยลักษณะและสีอุจจาระในแต่ละวันช่วยบ่งบอกถึงภาวะสุขภาพได้ อุจจาระที่ดีจะเนื้อนิ่มแต่ไม่เหลว ผิวเรียบ เป็นลำสวยคล้ายกล้วยหอม แต่ถ้าถ่ายเป็นเลือด ก้อนแข็ง สีดำคล้ำ อาจเป็นสัญญาณของโรคอันตรายที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย บทความนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาการขับถ่ายเป็นเลือด และวิธีการดูแลตัวเอง เพื่อให้รับมือได้อย่างถูกต้อง
สารบัญบทความ
ถ่ายเป็นเลือด คือ ภาวะผิดปกติของร่างกายที่พบว่าอาจมีเลือดปนมากับก้อนอุจจาระ หากถ่ายเป็นมูกเลือดร่วมกับอาการคล้ายถ่ายไม่สุด ถ่ายกะปริบกะปรอย สาเหตุอาจเกิดจากอาการลำไส้แปรปรวนหรือลำไส้ใหญ่อักเสบ แต่หากมีเลือดหยดออกมาหลังขับถ่าย อาจหมายความว่ามีบาดแผลบริเวณเส้นเลือดดำส่วนปลาย และในกรณีที่ถ่ายออกมาเป็นเลือดสดจำนวนมาก อาจเป็นสัญญาณอันตรายบางอย่างที่ทำให้ลำไส้ใหญ่มีเลือดออกเป็นจำนวนมาก
ควรสังเกตลักษณะอุจจาระ สี และปริมาณการถ่ายเป็นเลือดของตนเองเมื่อพบว่ามีอาการดังกล่าว รวมถึงอาการอื่น ๆ เช่น หน้ามืด อ่อนเพลียง่าย เป็นต้น จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้แม่นยำยิ่งขึ้น นำไปสู่กระบวนการรักษาอย่างตรงจุด
ถ่ายเป็นเลือด อาการที่เกี่ยวข้องกับหลายโรค สำหรับคนที่มีเลือดออกมากย่อมหมายถึงโอกาสเกิดโรคที่มากตาม จึงไม่ควรนิ่งนอนใจกับการมีเลือดออกตอนถ่ายอุจจาระเป็นอันขาด เพราะอาจมีสาเหตุจากโรคอันตรายเหล่านี้
สำหรับผู้ที่ท้องผูกบ่อย ต้องใช้เวลาในการเบ่งอุจจาระมาก หรือท้องเสีย จะทำให้เส้นเลือดดำที่ปลายทวารหนักโป่งพอง บวม และไม่ยุบลงไป จนพัฒนาเป็นตุ่มริดสีดวง หากอักเสบมาก ตุ่มริดสีดวงจะหลุดออกมาด้านนอกถาวร ไม่สามารถหดกลับเข้าไปเองได้ เมื่อเดินหรือนั่งจะรู้สึกเจ็บ ถ่ายมีเลือดหยด แต่ไม่ปนออกมากับก้อนอุจจาระ อาการร่วมอื่น ๆ คือ รู้สึกเจ็บคันบริเวณทวารหนัก และเมื่อทำการขับถ่ายจะมีก้อนติ่งเนื้อโผล่ออกมา
มะเร็งลำไส้ใหญ่ มักพบในคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป สาเหตุส่วนใหญ่มักมาจากการเลือกรับประทานอาหารจำพวกที่มีไขมันและน้ำตาลสูงเป็นประจำ ผู้ที่เป็นโรคอ้วน เคยมีประวัติเป็นลำไส้อักเสบเรื้อรัง และจากกรรมพันธุ์ อาการเตือนที่ควรระวัง ได้แก่ ถ่ายมีเลือดปน โลหิตจาง ท้องผูกสลับกับท้องเสีย รู้สึกถ่ายไม่สุด อ่อนเพลียง่าย หากมีอาการผิดปกติเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค
เพื่อเป็นการป้องกันและรักษาโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ คนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีเป็นต้นไป ทั้งที่มีความเสี่ยง ขับถ่ายเป็นเลือด และผู้ที่ไม่มีความเสี่ยง ควรซื้อแพ็กเกจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ราคาเหมาจ่ายทุก ๆ 5 ปี เพื่อตรวจหาติ่งเนื้อร้ายที่ทำให้เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งทวารหนัก
ขั้นตอนการส่องกล้อง จะใช้ท่อขนาดเล็กส่องเข้าไปทางทวารหนักขณะที่เรากำลังหลับ ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บ แต่จะอึดอัดอยากถ่ายท้องระหว่างทำได้ หากเจอเนื้องอก ติ่งเนื้อ แพทย์จะตัดออกทันที ใช้เวลาเพียง 20-30 นาที ก็สามารถกลับบ้านได้หลังจบการตรวจ
อาการเลือดออกในกระเพาะอาหาร มีสาเหตุมาจากการมีแผลหรืออักเสบในกระเพาะ ความรุนแรงมีตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงขั้นเสียชีวิต โดยมีสัญญาณเตือน เช่น อาเจียนเป็นเลือดหรือมีสีน้ำตาลเข้ม ถ่ายแล้วมีเลือดออก ทั้งแบบปนมากับอุจจาระและหยดออกมาระหว่างขับถ่าย นอกจากนี้ยังมีอาการปวดเกร็งหน้าท้อง อ่อนเพลีย เวียนหัว หมดสติ หายใจลำบากและเจ็บหน้าอกร่วมด้วย
หากมีเลือดออกในกระเพาะอาหารเรื้อรัง ถ่ายเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือดบ่อย จะเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคโลหิตจาง และมะเร็งกระเพาะอาหาร แม้เลือดออกในกระเพาะจะหายได้เอง แต่ในบางกรณีก็ต้องใช้ยาเพื่อลดการหลั่งกรด หรือยาที่ช่วยให้เลือดในกระเพาะหยุดไหล และเพื่อให้อาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ควรปรับพฤติกรรมการกิน หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และทานอาหารมื้อเล็กลงแต่หลายมื้อ แทนการทานมื้อใหญ่จนอิ่มแน่น
โรคลำไส้อักเสบ เกิดจากภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายและเกิดการติดเชื้อได้ง่าย โดยเมื่อเกิดการอักเสบที่เยื่อบุผนังลำไส้ใหญ่ ลำไส้จะบีบตัวเร็วขึ้น มีเลือดออกที่ผนังลำไส้ ผู้ป่วยจึงปวดท้อง ท้องเสีย ถ่ายเป็นมูกหรือมูกเลือดจากการหลุดลอกของเยื่อบุที่อักเสบ มีไข้สูงหรือต่ำ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย หากท้องเสียถ่ายเป็นเลือด แล้วดื่มน้ำได้น้อย อาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ยิ่งอาการรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่มีทีท่าจะดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์ เพราะอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ สามารถเกิดได้หลายจุดทั่วลำไส้ใหญ่หรือทั้งระบบทางเดินอาหาร มีลักษณะเป็นก้อนขนาดเล็กใหญ่แตกต่างกัน ยื่นออกมาจากผนังลำไส้ พบได้บ่อยในคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป แม้จะไม่ใช่ผู้มีความเสี่ยงหรือถ่ายเป็นเลือด โดยปัจจัยเสี่ยงที่อาจกระตุ้นให้เกิดติ่งเนื้อเหล่านี้ ได้แก่ พันธุกรรม และอาหารที่มีไขมันสูง
หากเป็นติ่งเนื้อขนาดเล็กจะไม่ก่อให้เกิดอาการใด แต่สำหรับติ่งเนื้อขนาดใหญ่ จะทำให้มีอาการถ่ายปนเลือด และมีโอกาสพัฒนาเป็นมะเร็งลำไส้ได้มากกว่าติ่งเนื้อเล็ก ๆ จึงควรตรวจคัดกรองติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ ว่าเป็นติ่งเนื้อชนิดที่อาจพัฒนาเป็นมะเร็งได้หรือไม่ ผ่านการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เมื่อพบติ่งเนื้อแพทย์สามารถตัดออกได้ทันที และสามารถส่งตรวจชิ้นเนื้อเพิ่มเติมได้ เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ
สำหรับคนที่มีปัญหาถ่ายเป็นเลือด ควรดูแลตนเองตามข้อแนะนำ ดังต่อไปนี้
ถ่ายเป็นเลือด เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ริดสีดวงทวาร ลำไส้อักเสบ ติ่งเนื้องอกในลำไส้ เลือดออกในกระเพาะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น ควรตรวจสอบสีอุจจาระของตนเองเป็นประจำ และคอยสังเกตอาการหากถ่ายออกมาเป็นเลือดว่ามีความถี่มากน้อยอย่างไร หากอาการรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ควรรีบพบแพทย์ทันที
หากเริ่มถ่ายเป็นเลือด สีผิดเพี้ยน เป็นก้อนแข็ง สามารถปรึกษาแพทย์ได้ที่สมิติเวช ไชน่าทาวน์ เพื่อวินิจฉัยอาการอย่างแม่นยำ พร้อมรับการรักษาอย่างตรงจุด ช่วยให้การขับถ่ายและสุขภาพดีขึ้นอีกครั้ง
ช่องทางการติดต่อ
References
Mary Anne Dunkin. (2023, November 15). Blood in Stool: Causes and Treatment. WebMD. https://www.webmd.com/digestive-disorders/blood-in-stool
Cleveland Clinic. (2023, September 6). Rectal Bleeding (Blood in Stool). https://my.clevelandclinic.org/health/symptoms/14612-rectal-bleeding
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)