บทความสุขภาพ

คอพอก ก้อนต่อมไทรอยด์โตขึ้น สาเหตุและวิธีการรักษา

บทความโดย: seoteam seoteam วันที่อัพเดท: 1 เมษายน 2568

คอพอก

คอพอกเป็นภาวะความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับต่อมไทรอยด์ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยลักษณะของคอพอกมักจะมีก้อนที่ต่อมไทรอยด์โตขึ้นจนสามารถมองเห็นหรือสัมผัสได้ อาการเหล่านี้มักทำให้เกิดอาการคอบวมที่ต่อมไทรอยด์ และอาจส่งผลกระทบต่อการกลืนหรือหายใจ หากร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็น โดยเฉพาะไอโอดีน ก็อาจนำไปสู่ภาวะคอหอยพอก ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดอาการคอพอก

แม้ว่าคอพอกจะไม่ใช่ภาวะที่อันตรายมากนัก แต่ก็สามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ทั้งในเรื่องของรูปลักษณ์ภายนอก ทานอาหารได้ลำบาก และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคคอพอก สาเหตุ และแนวทางรักษาไปพร้อม ๆ กัน


สารบัญบทความ


โรคคอพอก (Goiter) คืออะไร?

โรคคอพอก

คอพอก (Goiter) คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ซึ่งอยู่บริเวณลำคอใต้ลูกกระเดือกมีขนาดใหญ่ขึ้นผิดปกติ จนอาจสังเกตเห็นได้ชัดหรือคลำพบก้อนได้ ไทรอยด์ เป็นต่อมสำคัญที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนควบคุมการทำงานของร่างกาย เมื่อไทรอยด์คอบวมหรือมีขนาดใหญ่ขึ้น จึงอาจส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้

คอพอกเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งความผิดปกติภายในต่อมไทรอยด์เองและปัจจัยภายนอก เช่น การขาดสารอาหารหรือความไม่สมดุลของฮอร์โมน อย่างไรก็ตาม คอพอกอาจไม่ได้แสดงอาการที่รุนแรง แต่การสังเกตความเปลี่ยนแปลงบริเวณลำคอและดูแลสุขภาพให้เหมาะสม


อาการโรคคอพอก มีอะไรบ้างที่ควรสังเกต

โรคคอพอกอาการที่พบได้บ่อย คือ ต่อมไทรอยด์โตขึ้นจนสังเกตเห็นได้ชัด ซึ่งบางรายอาจไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ แต่ในบางกรณี ผู้ป่วยคอพอกอาการอาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม คอพอกสามารถรักษาได้หากได้รับการวินิจฉัยและดูแลอย่างเหมาะสม โดยอาการที่มักพบในผู้ป่วยคอพอก ดังนี้

  • คอบวม ต่อมไทรอยด์โตมีการขยายตัวทำให้ลำคอดูโตขึ้น
  • ไอเรื้อรัง อาจเกิดจากการกดทับของต่อมไทรอยด์ที่โตขึ้น
  • เสียงแหบหรือเปลี่ยนไป เพราะต่อมไทรอยด์อาจไปกดทับเส้นประสาทที่ควบคุมเสียง
  • กลืนอาหารยากลำบาก โดยเฉพาะเมื่อก้อนที่โตขึ้นกดทับหลอดอาหาร
  • หายใจไม่สะดวก อาจเกิดขึ้นหากต่อมไทรอยด์ขยายตัวไปกดทับหลอดลม

โรคคอพอกมีสาเหตุอย่างไร

โรคคอพอกสาเหตุ

โรคคอพอกเกิดจากอะไร? คอพอกเป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งนอกจากภาวะร่างกายขาดไอโอดีนแล้วยังมีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดโรคคอพอก ได้แก่

  • การตั้งครรภ์ ฮอร์โมนที่ผลิตระหว่างตั้งครรภ์อาจกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์มีขนาดใหญ่ขึ้น
  • โรคเกรฟส์ โรคนี้เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกินไป จนเกิดภาวะไทรอยด์เป็นพิษและทำให้ต่อมโตขึ้น
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ แม้พบได้น้อย แต่เซลล์มะเร็งอาจทำให้ต่อมไทรอยด์โตขึ้นได้
  • ซีสต์หรือโพรงในต่อมไทรอยด์ เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะซีสต์ที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของเนื้องอกต่อมไทรอยด์ ซึ่งอาจมีทั้งส่วนที่เป็นของเหลวและของแข็ง ดังนั้นการเกิดก้อนหรือซีสต์หลายก้อนในต่อมไทรอยด์อาจทำให้ต่อมมีขนาดโตขึ้น
  • โรคฮาชิโมโตะ เป็นสาเหตุหลักของภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ (hypothyroidism) ในโรคนี้ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะสร้างแอนติบอดีที่โจมตีต่อมไทรอยด์ ทำให้เกิดการอักเสบและทำให้เกิดคอพอก โดยเฉพาะในระยะแรกของโรค
  • การอักเสบของต่อมไทรอยด์ การอักเสบอาจทำให้ต่อมไทรอยด์บวมและเจ็บ และอาจส่งผลให้ผลิตฮอร์โมนผิดปกติ

โรคคอพอกมีการวินิจฉัยอย่างไร?

วิธีตรวจคอพอกหรือการวินิจฉัยคอพอก สามารถทำได้หลายวิธีการขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค โดยรายละเอียดในการวินิจฉัยโรคคอพอก มีดังนี้

  • ตรวจร่างกาย แพทย์จะคลำบริเวณลำคอเพื่อประเมินขนาด ลักษณะของต่อมไทรอยด์ และตรวจดูว่ามีอาการผิดปกติอื่น ๆ หรือไม่
  • ตรวจเลือด ใช้ตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์และฮอร์โมนที่ควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์ เพื่อดูว่าผู้ป่วยมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือไทรอยด์ทำงานต่ำผิดปกติ
  • อัลตราซาวด์ต่อมไทรอยด์ โดยจะใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อดูขนาด ลักษณะ และความผิดปกติของต่อมไทรอยด์
  • สแกนต่อมไทรอยด์ เป็นการใช้สารกัมมันตรังสีฉีดเข้าสู่ร่างกายก่อนถ่ายภาพ เพื่อดูการทำงานของต่อมไทรอยด์และช่วยวินิจฉัยคอพอกเป็นพิษ 
  • ตัดชิ้นเนื้อตรวจ หากพบก้อนเนื้อที่สงสัยว่าเป็นมะเร็ง แพทย์อาจใช้เข็มเจาะเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อหรือของเหลวจากต่อมไทรอยด์เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

วิธีการรักษาโรคคอพอก

วิธีการรักษาโรคคอพอกนั้นแพทย์จะวินิจฉัยและเลือกวิธีการที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสาเหตุ อาการแทรกซ้อนและความรุนแรงของอาการผู้ป่วย 

  • สารรังสีไอโอดีนที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมา ทานเพื่อให้ต่อมไทรอยด์มีขนาดเล็กลงและหายจากอาการไทรอยด์เป็นพิษนอกจากนี้ ต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจรบกวนการทำงานของต่อมไทรอยด์ เช่น กะหล่ำปลีดิบและบรอกโคลี
  • การใช้ยาต้านไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นวิธีการรักษาที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษหรือคอพอกที่เกิดจากการทำงานเกินของต่อมไทรอยด์ โดยยาต้านไทรอยด์ฮอร์โมนที่ใช้บ่อยมีอยู่หลัก ๆ 2 ชนิด คือ เมธิมาโซล (Methimazole) และ โพรพิลไทโอยูราซิล (Propylthiouracil, PTU) เป็นยาที่ใช้บ่อยในการรักษาภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ช่วยยับยั้งการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ 

*วิธีการรักษานี้ต้องใช้เวลานานกว่าจะหายและอาจไม่หายขาด สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้

  • การผ่าตัดไทรอยด์ เป็นการตัดต่อมไทรอยด์ออกบางส่วนหรือทั้งหมด ในกรณีที่มีก้อนขนาดใหญ่ กระทบการหายใจ กดทับอวัยวะใกล้เคียง กลืนอาหารลำบาก หรือสงสัยว่าเป็นมะเร็ง 
  • สลายก้อนไทรอยด์ด้วยคลื่นไมโครเวฟ เป็นทางเลือกที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสำหรับคนที่กลัวการผ่าตัด โดยแพทย์จะใช้เข็มจี้ก้อนไทรอยด์ด้วยพลังงานไมโครเวฟเพื่อทำลายก้อนไทรอยด์โดยไม่กระทบต่อเนื้อเยื่อรอบข้าง ไม่ต้องใช้เวลาพักฟื้นนาน ทำให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็ว

อ่านเพิ่มเติมคลิก! สลายก้อนไทรอยด์ด้วยคลื่นไมโครเวฟ


คอพอก อย่าละเลยอาการผิดปกติ รีบรักษาก่อนอาการรุนแรง

หากคุณพบอาการผิดปกติที่อาจเกี่ยวข้องกับคอพอก เช่น คอโตขึ้น รู้สึกแน่นหรือเจ็บคอ หายใจลำบาก กลืนลำบาก หรือมีอาการอื่น ๆ เช่น เหนื่อยง่าย ใจสั่น น้ำหนักเปลี่ยนแปลงผิดปกติ ควรเข้ารับการตรวจและรักษาจากแพทย์ทันที การรีบเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงขึ้นและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่อาจตามมา

การรักษาโรคคอพอกมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ ที่สมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษา เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม และพิเศษกว่าที่อื่น ๆ ตรงที่มีวิธีการรักษาด้วยเทคโนโลยีสลายก้อนไทรอยด์ด้วยคลื่นไมโครเวฟ โดยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านสลายก้อนไทรอยด์ด้วยคลื่นไมโครเวฟคนแรก ๆ ของประเทศไทย เหมาะสำหรับผู้ที่กลัวการผ่าตัดหรือไม่ต้องการมีแผลเป็น ไม่มีเวลาพักฟื้นนาน หากท่านสนใจวิธีการรักษานี้ ที่สมิติเวชไชน่าทาวน์มีบริการฟรีในการปรึกษาและตรวจประเมินก่อนทำ พร้อมติดตามผลหลังการรักษาตลอด 6 เดือน

ช่องทางติดต่อ

  • Line : @samitivejchinatown
  • Tel: 02-118-7893 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

References

AMERICAN THYROID ASSOCIATION®. (n.d.). Goiter. https://www.thyroid.org/goiter/

Jose Joaquin Lado Abeal. (November 19, 2024). Goiter. https://health.ucdavis.edu/conditions/endocrinology-diabetes/thyroid-disorders/goiter

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​