ปวดเข่าห้ามกินอะไร? พาส่องอาหารที่สุขภาพเข่าไม่ปลื้ม
ปวดเข่าห้ามกินอะไร? พาส่องอาหารที่สุขภาพเข่าไม่ปลื้ม
กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน สามารถเกิดได้ในผู้ป่วยอายุน้อยและผู้ป่วยสูงอายุ โดยจะเริ่มมีอาการปวดหลัง ซึ่งอาจเป็นอาการปวดหลังทั่วไป หรือเป็นอาการปวดหลังที่มีสาเหตุมาจากหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทก็ได้
บทความนี้จะช่วยไขข้อข้องใจว่า กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทเกิดจากอะไร มีอาการเป็นอย่างไรบ้าง รักษาหายไหม รวมถึงเป็นข้อมูลเพิ่มความรู้ ความเข้าใจ และวิธีการป้องกันโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทให้มากขึ้น
สารบัญบทความ
โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท (Spondylolisthesis) เป็นโรคที่มักมีอาการหลักคือปวดหลังเวลาก้มหรือแอ่นหลัง หรือปวดสะโพกร้าวลงขา รวมถึงอาการชาร่วมด้วย อาจจะเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างก็ได้
นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการปวดตึงกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง โดยเฉพาะสะโพกและต้นขา รวมถึงมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจนเดินลำบาก และการเสื่อมหรือพรุนของกระดูกสันหลังยังนำมาซึ่งกระดูกสะโพกหักอีกด้วย
โดยทั่วไปแล้วสาเหตุของการปวดหลังมักเริ่มจากหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม หรือฉีกขาด ซึ่งความสำคัญของหมอนรองกระดูกสันหลังนี้มีหน้าที่รับน้ำหนัก ใช้ในการขยับหลังเพื่อก้มหรือแอ่น เมื่อหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมก็จะทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท ส่งผลให้เกิดโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือมีอาการปวดหลังดังกล่าวตามมา
กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือหมอนรองกระดูกเคลื่อนเกิดจากความไม่มั่นคงของแนวกระดูกสันหลัง มักเริ่มจากหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม ฉีกขาด หรือมีความเสียหาย ตามด้วยข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม ส่งผลให้กระดูกสันหลังเกิดการเคลื่อนไปด้านหน้ามากกว่าปกติ จนทำให้โพรงประสาทตีบแคบ (Lumbar Spinal Stenosis) นำมาซึ่งกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท
โดยส่วนมากมักพบกระดูกสันหลัง L4-L5 เคลื่อน (ข้อที่ 4 และข้อที่ 5) เนื่องจากกระดูกสันหลัง L4-L5 จะรับน้ำหนักจำนวนมาก รวมถึงเป็นข้อที่มีการเคลื่อนไหวมากด้วยเช่นกัน หากมีการใช้กระดูกสันหลังหนัก หรือใช้งานผิดท่า รวมถึงเกิดอุบัติเหตุ อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังและปวดร้าวลงขา มีอาการชาที่ขา ชาที่เท้า ปวดข้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือไม่สามารถควบคุมระบบขับถ่ายได้
นอกจากนี้โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทยังเป็นโรคที่เกิดจากอายุ ทั้งในผู้ป่วยอายุน้อยและผู้ป่วยสูงอายุได้อีกด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้
ในกลุ่มผู้ป่วยอายุน้อย โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทมักมีสาเหตุมาจากความไม่สมบูรณ์ของชิ้นกระดูกสันหลังตั้งแต่เด็ก หรือเกิดจากอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกระดูกสันหลัง หรือไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตประจำวันด้วย เช่น การยกของหนักหรือนั่งในท่าที่ไม่ถูกต้อง น้ำหนักตัวที่มากเกินไป การเล่นกีฬาที่มีการกระทบต่อกระดูกสันหลัง รวมถึงออฟฟิศซินโดรม เป็นต้น
กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ มักเกิดจากความเสื่อมของแนวกระดูกสันหลัง ทั้งหมอนรองกระดูกสันหลังและบริเวณข้อต่อกระดูกสันหลัง ทำให้แนวกระดูกสันหลังไม่มั่นคงและเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาท ทั้งนี้ผู้ป่วยในกลุ่มผู้สูงอายุควรตรวจสุขภาพประจำปีร่วมด้วย เพื่อคัดกรองและตรวจหาความคดเอียงของแนวกระดูกสันหลัง
ด้วยอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้หมอนรองกระดูกเริ่มสูญเสียความยืดหยุ่นไป จึงเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท และลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลก็เป็นตัวเร่งให้หมอนกระดูกเสื่อมได้เร็วขึ้น นอกจากจะโรคดังกล่าวจะมีสาเหตุมาจากวัยที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคลแล้ว ยังมีข้อสังเกตว่าผู้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือ spondylolisthesis คือ
ผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท อาการที่แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดคือ อาการปวดหลัง หรืออาการปวดร้าวลงขาอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมถึงปวดก้นกบ แต่ผู้ป่วยกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทส่วนมากมักมีอาการทั้งสองอย่างร่วมกัน อาจแตกต่างกันตรงที่บางคนมีอาการหลักเป็นอาการปวดหลัง ในขณะที่บางคนมีอาการหลักคือปวดร้าวลงขา
นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทที่ไม่มีการแสดงอาการใด ๆ สามารถตรวจพบเจอโรคโดยบังเอิญจากภาพถ่ายรังสีเอกซเรย์ได้ สำหรับอาการอื่น ๆ ที่มักพบในผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทมีดังนี้
สำหรับการวินิจฉัยอาการกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทนั้น แพทย์จะต้องซักประวัติเพื่อหาสาเหตุเบื้องต้น รวมถึงตรวจร่างกาย และทำการวินิจฉัยเพื่อดูความรุนแรงของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท เช่น การถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์ การตรวจ CT Scan และการทำ MRI โดยมีรายละเอียดดังต่อต่อไปนี้
การตรวจเอกซเรย์ (X-ray) ในผู้ป่วยกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทจะช่วยให้เห็นรอยหักของกระดูกสันหลัง ในชิ้นส่วนกระดูกที่เรียกว่า Pars Interarticularis ชัดเจนขึ้น และช่วยให้เห็นการเคลื่อนตัวออกจากกันของแนวกระดูกสันหลัง รวมถึงช่วยให้เห็นถึงความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลังเมื่อถ่ายภาพในท่าก้มและแอ่นหลัง
การตรวจ CT Scan จะช่วยตรวจพบความผิดปกติของชิ้นส่วนกระดูกสันหลังได้ละเอียดกว่าการตรวจ X-ray ทั่วไป และจะช่วยแพทย์วางแผนการผ่าตัดกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทได้ละเอียดยิ่งขึ้น
การตรวจ MRI หรือเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะสามารถมองเห็นส่วนประกอบที่เป็นเนื้อเยื่อบริเวณรอบกระดูกสันหลังได้ เช่น หมอนรองกระดูกสันหลัง เส้นประสาท กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น การทำ MRI จะสามารถมองเห็นหมอนรองกระดูกสันหลังที่เคลื่อนไปกดทับเส้นประสาทได้อย่างชัดเจน ทำให้แพทย์วินิจฉัยได้ว่าเส้นประสาทเส้นใดหรือเส้นประสาทบริเวณใดถูกกดทับ
กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือหมอนรองกระดูกเคลื่อน รักษาหายไหม? การรักษากระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทนอกจากจะใช้การตรวจ X-ray การตรวจ CT Scan และการตรวจ MRI เพื่อตรวจดูความรุนแรงของโรคแล้ว หากอาการไม่รุนแรงแพทย์จะแนะนำให้รักษาหมอนรองกระดูกเคลื่อนด้วยการกายภาพบำบัด ร่วมกับการทานยาอย่างต่อเนื่อง
แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลัง โดยแนวทางในการรักษาจะอธิบายอย่างละเอียดในหัวข้อถัดไป
สำหรับแนวทางการรักษากระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทแบบไม่ผ่าตัด หรือผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงแพทย์จะแนะนำให้รับประทานยา ทำกายภาพบำบัด รวมถึงปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันควบคู่กันไป โดยมีวิธีรักษาดังนี้
การรักษากระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทแบบอินเตอร์เวนชัน (Spinal Intervention Pain Management) จะเน้นไปที่รักษาโดยการใช้เข็ม อาจเป็นการฉีดยาหรือจี้ไฟฟ้าในบริเวณโดยรอบกระดูกสันหลัง เพื่อยับยั้งอาการปวดซึ่งเกิดจากการหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทหรือการอักเสบของข้อต่อกระดูกสันหลัง
การรักษาโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทโดยการผ่าตัด แพทย์จะแนะนำในผู้ป่วยที่รักษาด้วยการทานยา ทำกายภาพบำบัด รวมถึงการรักษาแบบวิธีอินเตอร์เวนชันมาแล้วแต่ไม่ได้ผล โดยแพทย์จะพิจารณาการผ่าตัดให้กับผู้ป่วยกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทที่มีแนวโน้มอาการดังต่อไปนี้
สำหรับเป้าหมายของการผ่าตัดผู้ป่วยกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท ได้แก่
โดยทางเลือกในการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทจะมีทั้ง การผ่าตัดเพื่อขยายโพรงเส้นประสาทอย่างเดียว และการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง มีรายละเอียดการผ่าตัดดังนี้
การผ่าตัดเพื่อขยายโพรงเส้นประสาทอย่างเดียว (Decompression Alone) คือการผ่าตัดเพื่อแก้ไขอาการปวดร้าวลงขา อาการชา และกล้ามเนื้ออ่อนแรง
โดยการผ่าตัดส่องกล้องขยายโพรงเส้นประสาทเป็นการรักษาที่คนไข้ฟื้นตัวเร็ว แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก มีการแทรกซ้อนในการผ่าตัดน้อย เหมาะกับผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทที่มีอาการปวดหลังน้อย หรือกระดูกสันหลังเคลื่อนไม่มาก เทคนิคการผ่าตัดเพื่อขยายโพรงเส้นประสาทอย่างเดียว มีดังนี้
การผ่าตัดเชื่อมข้อกกระดูกสันหลัง (Fusion Surgery) เป็นการผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังที่เกิดการเลื่อนให้ยึดติดเป็นชิ้นเดียวกัน เพื่อลดอาการปวดหลังที่เกิดจากความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลัง โดยแพทย์จะพิจารณาการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังให้กับผู้ป่วยกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทที่มีอาการปวดหลังมาก ปัจจุบันเทคนิคการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังแบ่งเป็น 2 วิธี ดังนี้
ปัญหาโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท อาจมีอาการกระดูกสันหลังคดร่วมด้วย ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยว่าอาการกระดูกสันหลังเคลื่อน รักษาอย่างไร สำหรับผู้ที่ต้องรักษาแบบผ่าตัดแพทย์จะวางแผนการผ่าตัดว่าจะผ่าตัดในรูปแบบไหน และแจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงรายละเอียดการผ่าตัด โดยผู้ป่วยควรเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดดังนี้
หลังจากการผ่าตัดกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทมีข้อควรปฏิบัติ และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้
หลังจากการผ่าตัดกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทควรงดการยกของหนัก หรือก้ม งอ แอ่นหลังภายใน 1 เดือนหลังการผ่าตัด สามารถขับรถได้ปกติหลังการผ่าตัด 2 สัปดาห์ขึ้นไป
ทั้งนี้เมื่อเข้ารับการผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังไปแล้ว อาจมีการเคลื่อนซ้ำของหมอนรองกระดูกสันหลังได้ ผู้ป่วยจึงควรดูแลตนเองให้ดี ปรับท่าทางที่ใช้ในชีวิตประจำวันให้ถูกต้อง
เนื่องจากการผ่าตัดกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทเป็นบริเวณที่มีเส้นประสาทอยู่จำนวนมาก จึงอาจมีความเสี่ยงที่เกิดผลข้างเคียงได้คือ การบาดเจ็บของเส้นประสาทจากการผ่าตัด แต่โดยปกติแล้วความเสี่ยงการบาดเจ็บของเส้นประสาทมีน้อยมาก เนื่องจากเทคนิคการผ่าตัดมีการพัฒนาขึ้นทำให้มีผลข้างเคียงน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย
สำหรับผู้ป่วยที่ผ่าตัดกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทมาแล้ว ในช่วงสัปดาห์ที่ 1-4 ไม่ควรออกกำลังกาย ควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ แต่ก็สามารถขยับร่างกายอย่างช้า ๆ ด้วยการเดิน 10-15 นาที รวมถึงการนั่งไม่ควรนั่งเกิน 20 นาที เพราะอาจกระทบกระเทือนกับกระดูกสันหลังได้
แม้ว่าจะเคยผ่าตัดรักษากระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทมาแล้ว แต่หากดูแลตนเองไม่ดีก็สามารถกลับไปปวดหลังซ้ำอีกได้ ฉะนั้นจึงควรดูแลตนเองให้ดีเพื่อหลีกเลี่ยงอาการปวดหลัง โดยวิธีป้องกันกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท ได้แก่
การหลีกเลี่ยงการยกของหนักจะช่วยป้องกันกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทได้ หากหลังผ่าตัดจำเป็นต้องมีการยกของ ควรย่อตัวลง ยกสิ่งของให้ชิดตัวมากที่สุดแล้วลุกด้วยกำลังกล้ามเนื้อขา ไม่ใช้กำลังกล้ามเนื้อจากหลัง เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ
ท่าบริหารหมอนรองกระดูกเคลื่อน และการออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้ป่วยอาการปวดหลัง หรือกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท คือ การออกกำลังกายแบบไอโซเมตริก (Isometric Exercise)
โดยจะมีการเกร็งกล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งสักครู่ แล้วคลายสลับกันโดยไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น การดันกำแพง การออกแรงบีบวัตถุ หรือออกแรงดึงเก้าอี้ตัวที่เรานั่งอยู่ การออกกำลังกายให้เหมาะสมและออกอย่างต่อเนื่องจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ รวมถึงช่วยป้องกันการเสื่อมก่อนวัยของหมอนรองกระดูกสันหลัง
หากร่างกายต้องรับน้ำหนักมากจะทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้น ซึ่งปกติแล้วกระดูกสันหลังเป็นแกนกลางหลักของร่างกายที่ต้องแบกรับน้ำหนักตัวในทุกอิริยาบถ ดังนั้นการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์จะช่วยป้องกันโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทได้
<
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)