ปวดเข่าห้ามกินอะไร? พาส่องอาหารที่สุขภาพเข่าไม่ปลื้ม
ปวดเข่าห้ามกินอะไร? พาส่องอาหารที่สุขภาพเข่าไม่ปลื้ม
สิ่งที่คนไข้มักจะเข้าใจผิดว่าเวลาปวดบริเวณสะโพกหรือก้นแล้วร้าวลงขาจะเป็นโรคหมอนกระดูกทับเส้นประสาท ยังมีอีกหนึ่งโรคที่สามารถก่อให้เกิดอาการเหล่านี้ได้เช่นกัน และหลายคนอาจไม่เคยได้ยินชื่อเท่าไหร่นัก แต่ในความเป็นจริงมีคนไข้จำนวนไม่น้อยที่ตรวจพบโรคนี้จากอาการที่กล่าวไปข้างต้น นั่นก็คือ “สลักเพชรจม” นั่นเอง
ในบทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับสลักเพชรคืออะไร ปวดสลักเพชรหรือสลักเพชรจมอาการเป็นอย่างไร มีสาเหตุใดที่มักทำให้เกิดอาการสลักเพชรจมได้บ้าง สลักเพชรจมรักษาหายไหม มีวิธีรักษาสลักเพชรจมอย่างไรบ้าง รวมถึงวิธีบริหารแก้อาการสลักเพชรจมที่สามารถปฏิบัติเองได้ไม่ยาก
สารบัญบทความ
สลักเพชรจม ชื่อทางการแพทย์ คือ ภาวะกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึึ้นจากกล้ามเนื้อที่ชื่อว่า Piriformis ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อบริเวณสะโพกเกิดภาวะตึงและไปกดทับเส้นประสาท Sciatic ซึ่งเส้นประสาทนี้จะลากผ่านตั้งแต่กระดูกสันหลังส่วนเอว ผ่านกล้ามเนื้อสะโพกและไปยังขา เพื่อส่งสัญญาณและควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายส่วนล่าง
เมื่อกล้ามเนื้อ Piriformis ไปกดทับเส้นประสาท Sciatic เข้าจึงทำให้การส่งสัญญาณไปส่วนขาเกิดผิดพลาดและทำให้เกิดอาการปวดบริเวณสะโพก ก้นและชาร้าวลงไปยังขาได้
อาการปวดสะโพกร้าวแล้วชาลงขานั้นเป็นอาการที่คล้ายกับอาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Lumbar Radiculopathy) ซึ่งเกิดจากเส้นประสาท Sciatic ถูกกดทับเช่นกัน แต่สาเหตุของการทำให้เกิดอาการปวดนั้นมีที่มาที่แตกต่างกัน
โดยสลักเพชรจมเกิดจากกล้ามเนื้อสะโพกทับเส้นประสาท แต่ในขณะที่โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเกิดจากหมอนรองกระดูกเคลื่อน ฉีกขาด เสื่อมสภาพจนทำให้แกนหมอนรองกระดูกหลุดออกมาทับเส้นประสาทนั่นเอง
สลักเพชร หรือกล้ามเนื้อสะโพก Piriformis Muscle เป็นกล้ามเนื้อขนาดเล็กที่อยู่บริเวณก้นกับสะโพก ลักษณะของกล้ามเนื้อจะแบนมีจุดเกาะเชื่อมระหว่างขอบกระดูกเชิงกรานกับกระเบนเหน็บ มีหน้าที่ช่วยให้ต้นขาสามารถเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่าง ๆ ได้
ปกติแล้วหลังสลักเพชรจะมีเส้นประสาท Sciatic ลากผ่านอยู่ด้านหลังโดยที่ไม่มีการกดทับกัน แต่เมื่อใดก็ตามที่กล้ามเนื้อสลักเพชรเกิดอาการตึง หดเกร็งมากเกินไป หรือมีอาการบาดเจ็บขึ้นก็อาจทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทและทำให้เกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขาได้
กล้ามเนื้อสะโพกหรือสลักเพชรจมจนไปกดทับเส้นประสาท Sciatic แล้วทำให้เกิดอาการปวดสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ โดยอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุเดียวหรือหลาย ๆ สาเหตุรวมกันก็ได้เช่นกัน ดังนี้
นอกจากนี้อาการสลักเพชรจมยังสามารถเกิดขึ้นจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อ Piriformis หรือเส้นประสาท Sciatic ที่มีรูปร่างผิดปกติแต่กำเนิด จนทำให้เกิดอาการกดทับและเกิดอาการปวดได้เช่นกัน
สาเหตุที่สามารถทำให้เกิดอาการสลักเพชรจมมักมาจากปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้
หากกล้ามเนื้อ Piriformis ไปกดทับเส้นประสาท Sciatic มักจะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการเหล่านี้
หากคุณกำลังพบเจออาการเหล่านี้ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของสลักเพชรจม
หากคุณมีพฤติกรรมหรือมีลักษณะกิจกรรมเหล่านี้ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการสลักเพชรจมได้
อาการปวดก้น ปวดสะโพกมักพบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัยทำงานที่มักจะต้องอยู่ในอิริยาบถเดิม ๆ เป็นเวลานาน และยังเป็นวัยที่ไม่ค่อยได้ดูแลสุขภาพตนเองเท่าที่ควร จึงมักเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อตึงบ่อย ๆ หลายคนจึงมักมองข้ามและซื้อยานวดหรือรับประทานยาคลายกล้ามเนื้อด้วยตัวเอง
แต่หากคุณมีอาการปวดก้น สะโพกร่วมกับอาการชาร้าวลงขา และถึงแม้จะรับประทานยาแก้ปวดแล้ว พักการใช้งานกล้ามเนื้อก็แล้วแต่ก็ยังไม่ดีขึ้นหรือไม่หายขาด แปลว่าคุณอาจมีอาการสลักเพชรจม หรือโรคอื่น ๆ อย่างหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และหาวิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุด
เพราะอาการปวดสะโพกและชาร้าวลงขาเป็นอาการที่มักจะพบเจอได้ในหลาย ๆ โรค ไม่ว่าจะสลักเพชรจม หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเสื่อม หรือมีความผิดปกติของข้อต่อ Sacroiliac
หรือในบางครั้งคนไข้ไม่ได้สังเกตหรือแจ้งแพทย์ว่ามีอาการชาร้างลงขาก็อาจทำให้แพทย์เข้าใจว่าเป็นโรคเกี่ยวกับข้อ เช่น ข้อสะโพกเสื่อม กล้ามเนื้อสะโพกอักเสบเฉียบพลัน ดังนั้นแพทย์จะต้องตรวจคัดกรองโรคเพื่อจะได้รักษาได้อย่างตรงจุด
อันดับแรกแพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วยก่อนถึงรูปแบบอาการปวดสะโพกว่ามีอาการปวดแบบไหน มีอิริยาบถใดที่ทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้น มีประวัติการเกิดอุบัติเหตุหรือไม่ รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตปกติของผู้ป่วย เช่น การออกกำลังกาย ลักษณะงานอาชีพของผู้ป่วย เป็นต้น
แพทย์อาจส่งให้ผู้ป่วยไปเอกซเรย์เพื่อดูว่าบริเวณกระดูกสันหลังหรือบริเวณกระดูกสะโพกมีความผิดปกติหรือไม่ สำหรับอาการสลักเพชรจมอาจไม่พบถึงความผิดปกติใด ๆ เนื่องจากสลักเพชรจมเกิดจากการกดทับของกล้ามเนื้อกับเส้นประสาท แต่สามารถตรวจพบความผิดปกติสำหรับโรคอื่นอย่างหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่เกิดจากหมอนรองกระดูกมีความผิดปกติได้
การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือ MRI จะสามารถทำให้เห็นกล้ามเนื้อและเส้นประสาทได้ จึงสามารถตรวจพบถึงความผิดปกติของกล้ามเนื้อว่าไปกดทับเส้นประสาทอยู่หรือไม่ การตรวจ MRI จะสามารถคัดแยกโรคหมอนกระดูกทับเส้นประสาท อาการสลักเพชรจมได้
การตรวจด้วย CT Scan จะทำให้แพทย์สามารถเห็นถึงความผิดปกติของกระดูกได้ชัดเจนมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นรอยแตกร้าวหรือการเสื่อมสภาพของกระดูก การตรวจ CT Scan จึงสามารถใช้ตรวจเพื่อคัดกรองโรคได้
อาการกล้ามเนื้อหนีบทับเส้นประสาทหรือสลักเพชรจมนั้นสามารถรักษาได้หลายแบบ อย่างการรักษาแบบประคับประคอง หรือบรรเทาอาการปวดสลักเพชรร้าวลงขาด้วยตนเอง หรือหากอาการปวดรุนแรงก็สามารถรับการรักษาด้วยการผ่าตัดก็ได้เช่นกัน วิธีรักษาอาการสลักเพชรจมมีดังนี้
อาการสลักเพชรจมมักเกิดจากกล้ามเนื้อเกิดหดเกร็งและตึงมาก ๆ ดังนั้นการประคบร้อนจึงเป็นการช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวลงและลดการกดทับเส้นประสาทได้ กรประคบร้อนให้ผู้ป่วยนำแผ่นประคบร้อนไปบริเวณที่ปวด ให้ประคบนานประมาณ 15-20 นาที และไม่ควรประคบนานจนเกินไปเพราะอาจทำให้ผิวแดง แสบร้อนได้
การบริหารร่างกายโดยเฉพาะบริเวณก้นและสะโพกจะช่วยให้กล้ามเนื้อสลักเพชรมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เมื่อกล้ามเนื้อยืดหยุ่นดีจะทำให้อาการปวดลดลงได้
สาเหตุที่เกิดอาการสลักเพชรจมมักเกิดจากการอยู่ในอิริยาบถเดิม ๆ โดยไม่ค่อยเคลื่อนไหว ซึ่งการอยู่ในอิริยาบถเดิม ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อ piriformis ขาดความยืดหยุ่น เกิดการหดเกร็งและเกิดอาการปวดได้ ดังนั้นควรมีการเปลี่ยนท่าทางอิริยาบถบ้าง เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวและเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังกล้ามเนื้อมากขึ้น
การรักษาทางการแพทย์ในเบื้องต้นแพทย์มักจะใช้การรักษาแบบประคับประคอง หากอาการปวดของผู้ป่วยไม่มาก แพทย์มักจะให้ยารับประทาน เช่น ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ยาแก้ปวด หรือยาคลายกล้ามเนื้อ รวมถึงให้คำแนะนำในการบริหารกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการปวดสลักเพชร
อีกทางเลือกของการรักษาสลักเพชรจม โดยการทำกายภาพบำบัดจะช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อสลักเพชรให้มีความยืดหยุ่น แข็งแรงขึ้น ลดอาการเจ็บปวดได้ดี เช่นการใช้คลื่นอัลตราซาวด์ การทำ Shockwave เป็นต้น
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดสลักเพชรรุนแรง หรือเคยรับการรักษาแบบประคับประคองมาแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณารักษาสลักเพชรจมด้วยการฉีดสเตียรอยด์ให้ผู้ป่วย เพื่อให้กล้ามเนื้อสลักเพชรคลายตัว
หากการรักษาด้วยวิธีข้างต้นไม่ได้ผลเลย แพทย์ก็จะพิจารณารักษาสลักเพชรจมด้วยการผ่าตัดโดยเอาเนื้อเยื่อแผลเป็นหรือกล้ามเนื้อที่กดทันเส้นประสาทออกก็จะทำให้อาการปวดหายไป แต่โดยส่วนมากมักไม่นิยมใช้การผ่าตัดในการรักษาสลักเพชรจม เว้นแต่ผ่านการรักษาทุกวิธีแล้วไม่ได้ผล
อาการปวดสลักเพชรสามารถใช้ท่าบริหารร่างกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อ piriformis ให้มีความยืดหยุ่น ลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อได้
นอนตะแคงข้างแล้วให้กางขาขึ้นโดยที่ปลายเท้าชี้ไปด้านหน้า ยกข้างเอาไว้ 10 วินาทีนับเป็น 1 เซ็ต ให้ทำซ้ำ 3 เซ็ต จากนั้นให้เปลี่ยนเป็นอีกข้างแล้วทำเช่นเดียวกัน
นอนหงายแล้วงอเข่าขวาไขว้ไปข้างซ้าย ขาซ้ายให้เหยียดตรงแล้วใช้มือซ้ายจับเข่าขวา จากนั้นให้ดึงเข่ายืดกล้ามเนื้อไปด้านซ้าย ค้างเอาไว้ 10 วินาทีนับเป็น 1 เซ็ต ให้ทำซ้ำ 3 เซ็ต จากนั้นให้เปลี่ยนเป็นอีกข้างแล้วทำเช่นเดียวกัน
นอนหงายโดยให้เท้าทั้งสองข้างราบไปกับพื้น จากนั้นให้งอเข่าขึ้นทั้งสองข้าง พักข้อเท้าของขาขวาไว้บนเข่าของขาซ้าย จากนั้นให้ดึงต้นขาซ้ายเข้าชิดหน้าอกจนรู้สึกตึง 15-20 วินาที ทำซ้ำ 3 ครั้ง จากนั้นให้เปลี่ยนเป็นอีกข้างแล้วทำเช่นเดียวกัน
ยืนตรงข้างโต๊ะที่มีความสูงประมาณช่วงเอว จากนั้นงอเข่าขวาและพาดไว้บนโต๊ะ มือทั้งสองข้างจับขอบโต๊ะแล้วยืดกล้ามเนื้อโดยเอนตัวไปข้างหน้า ทำค้างไว้ 20 วินาทีนับเป็น 1 เซ็ต ให้ทำซ้ำ 3 เซ็ต จากนั้นให้เปลี่ยนเป็นอีกข้างแล้วทำเช่นเดียวกัน
นวดคลึงบริเวณกล้ามเนื้อสลักเพชรโดยนำลูกเทนนิสวางบริเวณแก้มก้น จากนั้นให้นั่งทับแล้วคลึงไปมาประมาณ 10 ครั้ง
อาการสลักเพชรจมสามารถรักษาหายได้และจะรักษาหายได้เร็วเมื่อมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันและหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อสลักเพชร โดยอาการจะดีขึ้นเพียงไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น
แต่อาการสามารถกลับมาเป็นได้อีกหากมีการกระทำหรือพฤติกรรมใดที่ทำให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บหรือตึงขึ้นมา และหากอาการรุนแรงการรักษาสลักเพชรจมให้หายอาจต้องใช้วิธีการรักษาที่รุนแรงขึ้นอย่างการผ่าตัด
อาการปวดสลักเพชร สลักเพชรจมเป็นอาการปวดที่มักจะเป็น ๆ หาย ๆ แต่ผู้ป่วยสามารถป้องกันไม่ให้อาการปวดสลักเพชรกลับมาเป็นซ้ำ ๆ ได้ดังนี้
อาการปวดสลักเพชรเป็นอาการที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะวัยทำงานที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนอิริยาบถ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอ กดเกร็งและตึงจนไปทับเส้นประสาทและเกิดอาการปวดขึ้น ซึ่งอาการปวดสะโพกและร้าวลงขาของสลักเพชรจมนั้นมักจะคล้ายกับอาการหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ดังนั้นหากมีอาการเหล่านี้ควรเข้าพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด วินิจฉัยโรค และหาวิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุด
หากผู้ป่วยมีอาการปวดก้น ปวดสะโพกและมีอาการชาร้าวลงขา สงสัยว่าจะเป็นสลักเพชรจมหรือหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท สามารถเข้ารับคำปรึกษา ตรวจหาสาเหตุและโรคได้กับโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ โดยสามารถติดต่อได้ตามช่องทางต่อไปนี้
โทรสอบถามที่ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เว็บไซต์ : https://samitivejchinatown.com/th/home
Line : @samitivejchinatown
เอกสารอ้างอิง
Cleveland Clinic. (2022). Piriformis Syndrome. from https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/23495-piriformis-syndrome
John Revord. (2012). What Is Piriformis Syndrome?. from https://www.spine-health.com/conditions/sciatica/what-piriformis-syndrome
John Revord. (2012). Piriformis Muscle Stretch and Physical Therapy. from https://www.spine-health.com/conditions/sciatica/piriformis-muscle-stretch-and-physical-therapy
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)