ปวดเข่าห้ามกินอะไร? พาส่องอาหารที่สุขภาพเข่าไม่ปลื้ม
ปวดเข่าห้ามกินอะไร? พาส่องอาหารที่สุขภาพเข่าไม่ปลื้ม
อาการปวดบริเวณสะโพก เป็นหนึ่งในสัญญาณอันตรายของโรคข้อสะโพกเสื่อม ซึ่งส่งผลต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เพราะบริเวณสะโพกเป็นส่วนที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายของเรา หากเราไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างอิสระย่อมส่งผลต่อการทำกิจวัตรประจำวันของเรา ซึ่งอาการข้อสะโพกเสื่อมสามารถพบได้ทั้งในกลุ่มผู้สูงอายุ และ ผู้ที่มีอายุน้อย เพราะสาเหตุหลักๆ ของโรคข้อสะโพกเสื่อมไม่ได้มาจากความชราภาพหรือร่างกายที่เสื่อมลงตามอายุ
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของโรคข้อสะโพกเสื่อม เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยให้เราจัดการดูแลสุขภาพของเราได้ดียิ่งขึ้น บทความนี้จึงจะมาแนะนำเกี่ยวกับโรคข้อสะโพกเสื่อมว่ามีอาการแบบไหน สามารถรักษาหรือป้องกันได้อย่างไร
สารบัญบทความ
โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip Osteoarthritis) เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของกระดูก เส้นเอ็น และ กระดูกข้อต่อบริเวณสะโพก ทำให้เกิดการสึกกร่อนจนกระดูกเสียดสีกัน ส่งผลให้เราเกิดอาการเจ็บปวดบริเวณสะโพกในตอนที่เราขยับร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการเดินหรือปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่างๆ ผู้ป่วยเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมจะสามารถขยับร่างกายลำบากขึ้น บางรายไม่สามารถเคลื่อนที่เดินก้าวไปไหน รวมถึงมีอาการปวดขา ปวดสะโพกตอนนอนหลับ
ซึ่งหลายคนที่มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมคิดว่าอาการของโรคนี้เป็นเพียงความเจ็บปวดธรรมดาที่แค่ได้รับการพักผ่อนอาการก็จะค่อยๆ ดีขึ้น ไม่จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจอย่างละเอียด แต่ในความเป็นจริงแล้วการมองข้ามอาการเจ็บปวดนับว่าเป็นพฤติกรรมที่เป็นอันตรายอย่างมาก ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน เพราะการที่ร่างกายไม่สามารถขยับสะโพกได้สร้างความลำบากต่อการทำกิจวัตรต่างๆ
ร่างกายของเรามักเกิดการเสื่อมและเจ็บป่วยตามอายุ แต่สำหรับอาการของโรคข้อสะโพกเสื่อมสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ต่างจากโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ซึ่งข้อสะโพกเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับคนในทุกช่วงอายุเลย จากการวินิจฉัยแล้วการเกิดข้อสะโพกเสื่อมในผู้สูงอายุมีเพียง 10 - 20 % เท่านั้น ส่วนปัจจัยสาเหตุของการเกิดโรคข้อสะโพกเสื่อมมีดังนี้
อาการปวดข้อสะโพกเป็นสัญญาณที่บอกถึงความเสี่ยงในการเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อม ซึ่งโรคข้อสะโพกเสื่อม อาการต่างๆ สามารถสังเกตได้ด้วยตนเอง หากคุณสังเกตตัวเองแล้วเข้าข่ายกลุ่มอาการต่อไปนี้ ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดและรับการรักษาต่อไป
อาการปวดบริเวณต้นขา หรือ Thigh Pain มีสาเหตุมาจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ หรือ เส้นเอ็น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคเกี่ยวกับข้อเข่า ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความเสี่ยงเป็นข้อสะโพกเสื่อมมากกว่าคนทั่วไป
ผู้ป่วยที่มีอาการปวดบริเวณต้นขาควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจโรคข้อสะโพกเสื่อมควบคู่ไปกับการตรวจอาการข้อเข่าเสื่อม หากอาการปวดรุนแรงจำเป็นต้องรักษาข้อสะโพกเสื่อม และ ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม
อาการปวดบริเวณขาหนีบ หรือ Groin Pain เป็นอาการเจ็บปวดที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้ป่วยเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อม เนื่องจากกระดูกข้อต่อสะโพกจะอยู่ในบริเวณขาหนีบ
นอกจากการปวดกระดูกข้อสะโพกแล้วการเจ็บขาหนีบมีสาเหตุมาจากโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะบริเวณช่องท้อง เช่น โรคไส้เลื่อน เนื่องจากขาหนีบเป็นส่วนที่อยู่ใกล้บริเวณช่องท้องมากที่สุด หากมีอาการปวดบริเวณนี้ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาอาการโดยด่วน
หากพบว่าตัวเองมีอาการปวดสะโพก สิ่งที่คุณควรทำคือการเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจและวินิจฉัยโรคต่อไป โดยผู้ป่วยแต่ละคนจะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันออกไป ทางแพทย์จึงต้องขอซักประวัติตรวจร่างกายของคุณอย่างละเอียด เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการวินิจฉัยโรค
การซักประวัติและตรวจสอบร่างกายเบื้องต้นเป็นขั้นตอนวิธีวินิจฉัยโรคที่สำคัญมาก โดยแพทย์จะทำการสอบประวัติของผู้ป่วยอย่างละเอียดเพื่อรับทราบข้อมูลต่างๆ เช่น โรคประจำตัว อาการปวดบริเวณไหน ระยะเวลาที่มีอาการปวด เป็นต้น โดยข้อมูลต่างๆ ของเราเองก็เป็นสิ่งสำคัญในการวินิจฉัยโรค
วิธีการคลำหาจุดเจ็บบริเวณสะโพกสามารถตรวจสอบในกรณีที่อาการเจ็บปวดข้อต่อสะโพกบริเวณภายนอกเท่านั้น สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยในตำแหน่งที่ลึกกว่า จะไม่สามารถตรวจสอบด้วยวิธีนี้ได้
การตรวจน้ำในข้อเป็นวิธีการวินิจฉัยแยกโรคข้อต่ออักเสบแบบติดเชื้อและไม่ติดเชื้อออกจากกัน โดยวิธีการนี้จะใช้กับผู้ป่วยที่มีปริมาณน้ำในข้อผิดปกติด้วยการเจาะดูดน้ำในข้อออกมาเพื่อตรวจสอบอย่างละเอียด
หากไม่สามารถทำการวินิจฉัยโรคด้วยการซักประวัติและตรวจร่างกายเบื้องต้น วิธีการวินิจฉัยโรคที่นิยมใช้ตรวจผู้ป่วยโรคข้อสะโพกเสื่อมบ่อยที่สุด คือ การถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์ เนื่องจากเป็นวิธีที่สามารถตรวจสอบการแตกหักของกระดูกข้อต่อสะโพกในกรณีที่ผู้ป่วยเคยได้รับบาดเจ็บมาก่อน
การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI เป็นวิธีการวินิจฉัยโรคในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดบริเวณตำแหน่งที่ไม่สามารถตรวจสอบด้วยการถ่ายภาพเอกซเรย์ได้ เช่น ไขกระดูก กระดูกอ่อน เป็นต้น ข้อดีของการวินิจฉัยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คือ ภาพการตรวจวินิจฉัยด้วยMRI มีความละเอียดสูงทำให้วินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ แลกกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น
วิธีการวินิจฉัยด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT Scan จะเป็นขั้นตอนการตรวจเมื่อวางแผนทำการผ่าตัดหรือหลังจากทราบผลวินิจฉัยเบื้องต้นแล้ว ซึ่งการ CT Scan สามารถตรวจดูกระดูกหัก ที่ส่งผลต่อการเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมได้
หลังจากแพทย์ทำการวินิจฉัยระดับความรุนแรงอาการของโรคข้อสะโพกเสื่อม ทางแพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลต่อไป ซึ่งวิธีการรักษามีทั้งในแบบของการผ่าตัดและไม่ต้องรับการผ่าตัด โดยวิธีการรักษาโรคข้อสะโพกเสื่อมแบบไม่ต้องรับการผ่าตัดมีดังนี้
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคข้อสะโพกเสื่อมที่ยังไม่รุนแรงมากนัก สามารถรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต โดยการหลีกเลี่ยงการขยับร่างกายในท่าที่เสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บบริเวณสะโพก
ออกกำลังกายเบาๆ อย่างสม่ำเสมอ พร้อมรับประทานสมุนไพรรักษาข้อสะโพกเสื่อม เช่น เพชรสังฆาต ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย เพียงเท่านี้อาการกระดูกข้อสะโพกเสื่อมจะค่อยๆ ดีขึ้น สามารถกลับไปเคลื่อนไหวได้ตามปกติ
หากได้รับบาดเจ็บบริเวณสะโพกทำให้การขยับเคลื่อนไหวร่างกายติดขัด การใช้อุปกรณ์ช่วยสามารถทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวเดินได้สะดวกยิ่งขึ้น แต่ควรเคลื่อนไหวเท่าที่จำเป็นเพราะหากขยับร่างกายบริเวณสะโพกมากเกินไปอาจส่งผลให้มีอาการปวดข้อ เจ็บปวดบริเวณสะโพกจนอาการแย่ลง
การออกกำลังกาย บริหารข้อสะโพกเป็นอีกหนึ่งวิธีในการรักษาข้อสะโพกเสื่อมโดยไม่ต้องได้รับการผ่าตัด การออกกำลังกายอย่างค่อยๆ ไม่ออกแรงมากเกินไปจะช่วยให้สะโพกของเราขยับได้คล่องตัวขึ้น ช่วยบรรเทาอาการปวด สุดท้ายอาการก็จะดีขึ้นเอง ระหว่างที่เราออกกำลังกายไม่ควรหักโหมหรือออกแรง มากจนเกินไป
การรับประทานยาเป็นหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากตัวยามีฤทธิ์ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและรักษาอาการอย่างรวดเร็ว แต่ข้อเสียของการรับประทานยา คือ ยาบางตัวจะมีผลข้างเคียงที่รุนแรงทำให้ผู้ป่วยควรรับประทานยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองเป็นอันขาด รวมถึงห้ามทานยาติดต่อกันเป็นเวลานานเพราะจะเกิดผลข้างเคียง
ส่วนสำหรับวิธีการรักษาด้วยการฉีดยาจะเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมเช่นกัน เพราะสามารถรักษากลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้ โดยทางแพทย์จะฉีดยาแก้ปวดและยาในกลุ่มสารหล่อเลี้ยงข้อ ซึ่งการฉีดสารหล่อเลี้ยงสะโพกจะไม่ค่อยเห็นผลเท่าการฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่า
การทำกายภาพบำบัดจะเป็นวิธีการรักษาข้อสะโพกเสื่อม หลังจากได้รับการผ่าตัดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการข้อสะโพกอักเสบหรือเจ็บข้อเข่าอาจไม่เหมาะกับการทำกายภาพบำบัด เพราะอาจทำให้อาการของโรครุนแรงมากกว่าเดิม ยิ่งถ้ามีอาการปวดอื่นๆ เช่น เอ็นเข่าอักเสบ การทำกายภาพบำบัดอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บ
การรักษาแบบผ่าตัดเป็นอีกหนึ่งวิธีการสำหรับรักษาผู้ป่วยที่มีอาการโรคข้อสะโพกเสื่อม ซึ่งทางแพทย์ผู้วินิจฉัยจะทำการเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล หากผู้ป่วยไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการทั่วไป ทางแพทย์จะแนะนำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดแบบต่างๆ ดังนี้
การผ่าตัดโดยวิธีการส่องกล้อง เป็นขั้นตอนวิธีการรักษาที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการในระยะแรก หรือ รักษาในส่วนที่มีอาการบาดเจ็บความรุนแรงค่อนข้างต่ำ โดยทางแพทย์จะใช้วิธีการนี้ก็ต่อเมื่อกระดูกอ่อน ในบริเวณข้อสะโพกเกิดการฉีกขาดหรือมีเศษกระดูกเข้ามาอยู่ในข้อจนทำให้การเคลื่อนไหวบริเวณสะโพกเกิดการติดขัด
การผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูกเป็นวิธีการที่ไม่ค่อยได้รับการแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง เนื่องจากใช้เวลาในการฟื้นฟูค่อนข้างนาน การผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูกจะเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการเสื่อมเฉพาะส่วนหรือเคยได้รับบาดเจ็บจนกระดูกแตกหักมาก่อน ขั้นตอนการรักษาผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูกมีขั้นตอนวิธีการรักษาที่ค่อนข้างซับซ้อนเป็นอย่างมาก
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดบริเวณสะโพกอย่างรุนแรง หรือ ข้อสะโพกผิดรูปร่าง ส่งผลให้อาการเจ็บปวดเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต ทางแพทย์จะเลือกใช้วิธีผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการอื่นได้
หลังจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแล้วการเคลื่อนไหวร่างกาย รวมถึงความยาวของกระดูกขาผู้ป่วยจะกลับมาเป็นปกติ นอกจากนั้นแล้วยังใช้เวลาในการฟื้นตัวไม่นาน หลังได้รับการผ่าตัดสะโพกก็สามารถทำกายภาพ บำบัดได้ทันที การผ่าตัดด้วยวิธีนี้ประสบ ความสำเร็จด้วยผลลัพธ์ชัดเจน มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด
แน่นอนว่าพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของเรามีผลต่อความเสี่ยงในการเป็นข้อสะโพกเสื่อม หากเราไม่รู้จักควบคุมพฤติกรรม หรือ ไม่สังเกตตัวเองให้ดีเมื่อมีอาการปวดบริเวณสะโพก เพิกเฉยต่อการไปพบแพทย์ คงไม่สามารถป้องกันโรคข้อสะโพกเสื่อมได้ ซึ่งแนวทางวิธีป้องกันโรคข้อสะโพกเสื่อมต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง มีดังนี้
หากต้องการตรวจวินิจฉัยโรคข้อสะโพกเสื่อม การรักษาด้วยวิธีการต่างๆ ควรเลือกโรงพยาบาลที่มีความพร้อมในด้านเครื่องมือและมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อย่างโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ที่พร้อมให้บริการตรวจรักษาข้อสะโพกเสื่อมด้วยเทคโนโลยีเครื่องมือที่ทันสมัย
ด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอดดจนดูแลผู้ป่วยตลอดระยะเวลา 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ยินดีรักษาด้วยความเต็มใจ มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพในการรักษาเพื่อความพึงพอใจและความปลอดภัยของผู้รับบริการ
ข้อสะโพกเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และ มีสาเหตุของอาการที่ค่อนข้างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม การออกแรงหรือใช้งานร่างกายมากจนเกินไป โรคประจำตัว การรับประทานยาหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็มีผลทำให้เกิดโรคข้อต่อสะโพกเสื่อมเช่นกัน
หากพบว่าตัวเองมีอาการเจ็บปวดบริเวณสะโพก การเคลื่อนไหวร่างกายบริเวณสะโพกเกิดการติดขัด ไม่สามารถขยับได้ สิ่งแรกที่คุณควรทำคือรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อตรวจดูอาการและทำการรักษาโรคข้อต่อเสื่อมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยวิธีการรักษาทางแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าผู้ป่วยเหมาะสมกับการรักษารูปแบบใด โดยคำนึงถึงลักษณะอาการของผู้ป่วยเพื่อผลลัพธ์ทางการรักษาที่ดีที่สุด
สำหรับผู้ที่กำลังมองหาโรงพยาบาลที่สามารถรักษาข้อต่อสะโพกเสื่อม โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ยินดีให้บริการดูแลและรักษาอาการเจ็บป่วยไม่ว่าจะเป็นข้อต่อสะโพกเสื่อมหรือโรคอื่นๆ ทางโรงพยาบาลพร้อมดูแลตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมกระบวนการรักษาด้วยเทคโนโลยีเครื่องมือทันสมัยพร้อมทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หากต้องการปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่
แพ็กเกจผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก 1 ข้างเริ่มต้น 295,000 บาท | |
---|---|
ค่าข้อเข่าเทียม | Implant |
ค่าห้องพักแบบมาตราฐาน 5 คืน ,รวมค่าการพยาบาล,บริการห้องพัก,ค่าอาหาร,ค่าเครื่องมือแพทย์ที่เกี่ยวข้อง(ตามกำหนด) | Standard Room 5 Nights, Nursing, Room Service and Medical Equipment. The package includes 3 meals per day |
ค่ายาผู้ป่วยใน,ค่าเวชภัณฑ์,ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์,ค่ายากลับบ้าน ขณะนอนพักในรพ. (ตามที่กำหนด) | Medicine, Medical Equipment/Supplies at Ward |
ค่าห้องผ่าตัด ค่าหอพักฟื้น รวมค่ายาและเวชภัณฑ์ในการผ่าตัด (ตามกำหนด) | Operating Room, Recovery Room, Medicine, Medical Equipment and supplies in OR |
ค่าบริการการทำกายภาพบำบัด | Rehabilitation Service |
ค่าแพทย์ผ่าตัดและแพทย์วิสัญญี | Surgeon and Anesthesiologist Fee |
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)