บทความสุขภาพ

หมอนรองเข่าฉีก อาการเจ็บป่วยที่ไม่ควรมองข้าม

บทความโดย: seoteam seoteam วันที่อัพเดท: 25 เมษายน 2568

หมอนรองเข่าฉีก

การบาดเจ็บที่เข่าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในกลุ่มนักกีฬาหรือผู้ที่ชื่นชอบกิจกรรมผาดโผน โดยเฉพาะอาการหมอนรองเข่าฉีกที่สร้างความเจ็บปวดหรือทำให้รู้สึกเสียวในข้อเข่า จนทำให้เคลื่อนไหวลำบาก ไม่ว่าความรุนแรงของอาการจะมากหรือน้อยเพียงใดก็ไม่ควรละเลยปัญหานี้โดยเด็ดขาด มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการเจ็บข้อเข่าเพื่อให้รู้สาเหตุและหาทางป้องกันก่อนที่จะสายเกินไปกันดีกว่า


สารบัญบทความ


หมอนรองเข่าฉีก (Meniscus tear) คืออะไร?

Medial meniscus tear คือ

หมอนรองเข่าฉีก (Meniscus tear) คือ อาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับหมอนรองกระดูกอ่อนในข้อเข่า ชิ้นส่วนนี้มีหน้าที่เป็นเบาะรองรับแรงกระแทก และช่วยให้ข้อเข่าเคลื่อนไหวได้สะดวก แต่เมื่อเข่าบิด หมุน หรือถูกกระแทกอย่างรุนแรง อาจทำให้กระดูกหัวเข่าไปเบียดหมอนรองกระดูก และทำให้หมอนรองกระดูกฉีกหรือเกิดปัญหาอื่น ๆ บริเวณเข่าตามมาได้อีกมากมาย เช่น เอ็นเข่าอักเสบ หรือข้อเข่าเสื่อม


หมอนรองเข่าฉีกมีอาการเป็นอย่างไร?

เมื่อเกิดการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกเข่า ผู้ป่วยอาจประสบกับอาการต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก อาการที่พบบ่อยมีดังนี้

  • ปวดเสียวในข้อเข่า อาการนี้มักจะเกิดขึ้นชัดเจนเมื่อมีการยืดเหยียด งอเข่า หรือลงน้ำหนักที่เข่า 
  • เข่าบวม อาการหมอนรองเข่าฉีกมักทำให้เกิดการอักเสบบริเวณข้อเข่า ส่งผลให้เข่าบวมแดงได้ 
  • เคลื่อนไหวได้ยาก ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าข้อเข่าติดขัดหรือมีความยากลำบากในการเคลื่อนไหว จนทำให้การเดินหรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ มีปัญหา
  • ข้อเข่าล็อก ในบางกรณี อาการหมอนรองกระดูกฉีกขาดอาจทำให้ข้อเข่าล็อก หรือไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เลย 

หมอนรองเข่าฉีกเกิดจากสาเหตุใดบ้าง?

Arthroscopic meniscus repair คือ

หมอนรองเข่าฉีกเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยมากมักเป็นอุบัติเหตุที่ทำให้เข่าได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน สาเหตุที่พบบ่อยมีดังนี้

  • รับแรงกระแทกจากการเล่นกีฬา โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เช่น บาสเกตบอล หรือฟุตบอล
  • บิดหมุนเข่าอย่างรวดเร็ว เนื่องจากแรงบิดอาจทำให้หมอนรองกระดูกหัวเข่าขาดได้ง่ายขึ้น
  • หกล้มโดยใช้เข่าลง การลื่นล้มหรือหกล้มที่ทำให้เข่ากระแทกลงกับพื้นโดยตรง อาจทำให้หมอนรองเข่าฉีกหรือกระดูกหัวเข่าแตกได้
  • ก้าวขาผิดท่า การเดินบนพื้นผิวที่ไม่ราบเรียบหรือมีพื้นต่างระดับ อาจทำให้ก้าวผิดจังหวะจนนำไปสู่การฉีกขาดของหมอนรองเข่าได้ 

การวินิจฉัยอาการหมอนรองเข่าฉีกทำอย่างไร?

การวินิจฉัยอาการหมอนรองเข่าฉีกเป็นขั้นตอนที่สำคัญและควรดำเนินการโดยแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ ซึ่งจะเริ่มต้นด้วยการตรวจร่างกายอย่างละเอียดและการซักประวัติผู้ป่วย เพื่อทำความเข้าใจถึงลักษณะและความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น 

นอกจากนี้ อาจมีการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น การเอกซเรย์ หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของกระดูกและข้อเข่า ซึ่งจะช่วยให้แพทย์เห็นภาพของหมอนรองกระดูกเข่าอักเสบ และเลือกการรักษาได้อย่างเหมาะสม เพราะการวินิจฉัยที่ถูกต้องจะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น


วิธีรักษาอาการหมอนรองเข่าฉีก

เมื่อหมอนรองกระดูกเข่าฉีกขาด อาการบาดเจ็บในระดับที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อวิธีการรักษาที่แตกต่างกันด้วย วิธีการรักษาหมอนรองเข่าฉีกมีหลายวิธี เช่น

  • รักษาตามอาการ โดยส่วนมากจะใช้ยาแก้ปวดเข่าและยาแก้อักเสบเพื่อบรรเทาอาการ ร่วมกับการพักผ่อนและหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้เข่าเสี่ยงต่อการบาดเจ็บมากขึ้น
  • ผ่าตัดส่องกล้อง วิธีนี้จะใช้กล้องส่องเข้าไปในข้อเข่า เพื่อเย็บซ่อมแซมหมอนรองกระดูกที่ฉีกขาด การรักษาด้วยวิธีนี้จึงเหมาะสำหรับอาการหมอนรองเข่าฉีกที่ไม่รุนแรงมากนัก
  • ผ่าตัดเอาหมอนรองกระดูกออกบางส่วนเป็นวิธีการรักษาในกรณีที่หมอนรองกระดูกฉีกขาดอย่างรุนแรงจนเย็บซ่อมแซมไม่ได้ ทำให้จำเป็นต้องตัดบางส่วนออกเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน
  • รักษาด้วยเกล็ดเลือด (PRP) เป็นการสกัดเกล็ดเลือดจากผู้ป่วย เพื่อนำมาซ่อมแซมเนื้อเยื่อบริเวณที่ฉีกขาด ฟื้นฟูส่วนที่เสียหาย รวมถึงแก้อาการข้อเข่าเสื่อมได้ด้วย

ไม่อยากเสี่ยงหมอนรองเข่าฉีก ต้องเริ่มต้นดูแลสุขภาพเข่าอย่างเข้าใจ

การเข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้หมอนรองกระดูกเข่าฉีก จะช่วยให้เรารู้วิธีป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บในลักษณะนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีความเสี่ยง การอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกาย หรือการใช้เครื่องป้องกันที่เหมาะสมในขณะเล่นกีฬา อย่างไรก็ตาม หากเกิดการบาดเจ็บที่เข่าอย่างรุนแรงจนทำให้หมอนรองเข่าฉีก ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นกังวลมากจนเกินไป แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรปล่อยไว้ให้หายเอง แต่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาที่เหมาะสมให้รวดเร็วที่สุด 

โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีเทคโนโลยีพิเศษที่ช่วยลดขนาดแผลผ่าตัดจากหมอนรองกระดูกเข่าอักเสบได้ การรักษาแบบใหม่ทำให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ ที่นี่ยังมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้บริการด้วยความใส่ใจ เพื่อให้ทุกอาการป่วยได้รับการดูแลจากบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์ และมุ่งมั่นให้ทุกคนกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างที่ต้องการอีกครั้ง

ช่องทางติดต่อ


References

Meniscus Tear Knee Injury. (2024. May 8). Webmd. https://www.webmd.com/pain-management/knee-pain/meniscus-tear-injury

Meniscus tears. (2021, March 31). American Academy of Orthopaedic Surgeons. https://orthoinfo.aaos.org/en/diseases--conditions/meniscus-tears/

Torn meniscus. (2022.January 6). Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/meniscus-tear/symptoms-causes/syc-20354818

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​