ปวดเข่าห้ามกินอะไร? พาส่องอาหารที่สุขภาพเข่าไม่ปลื้ม
ปวดเข่าห้ามกินอะไร? พาส่องอาหารที่สุขภาพเข่าไม่ปลื้ม
สำหรับใครที่ต้องนั่งทำงานอยู่กับที่โดยที่ไม่ได้เปลี่ยนอริยาบทเป็นเวลานานเสี่ยงที่จะเจออาการ “ปวดสะโพกร้าวลงขา” ซึ่งจะทำให้ใช้ชีวิตประจำวันลำบากเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเดิน นอน นั่ง จะท่าไหนก็สร้างความเจ็บปวดให้แก่ร่างกาย บทความนี้โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ จะพาไปทำความรู้จัก อาการปวดสะโพกร้าวลงขา วิธีแก้ปวดสะโพกร้าวลงขา ท่าบริหารปวดสะโพกร้าวลงขา ยาแก้ปวดสะโพกร้าวลงขา
สารบัญบทความ
ปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica Pain) คืออาการปวดในบริเวณช่วงเอวหรือสะโพก ที่ปวดร้าวจนส่งผลกระทบไปยังช่วงขาด้านหลัง ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการร้าวไปถึงบริเวณน่องหรือเท้า อาการปวดหลังร้าวลงสะโพกหรือปวดสลักเพชรร้าวลงขานี้ เกิดจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาทกระดูกสันหลังส่วนเอว หรือกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ทำให้มีอาการปวดลงไปยังขาข้างใดข้างหนึ่ง บางรายอาจมีอาการชา หรือขาอ่อนแรงได้
อาการปวดสะโพกร้าวลงขาเกิดจากกล้ามเนื้อ Piriformis หรือกล้ามเนื้อที่อยู่ภายในก้นใกล้กับสะโพก ตึงจนไปกดทันเส้นประสาท Sciatica Nerve หรือเส้นประสาทเล็กที่ออกมาจากกระดูกสันหลังส่วนเอว แล้วทอดผ่านใต้กล้ามเนื้อมัดนี้ ส่งสัญญาณประสาไปเลี้ยงขาจนก่อให้เกิดอาการเจ็บสะโพกร้าวลงขาไปตามแนวเส้นประสาทได้ ผู้ป่วยป่วยสะโพกร้าวลงขาส่วนมากจะมีอาการแค่ขาที่ข้างใดข้างหนึ่ง น้อยรายที่จะมีอาการปวดร้าวลงขาทั้งสองข้าง
อาการปวดสะโพกร้าวลงขา ไม่ได้เกิดจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาทเสมอไป แต่สามารถเกิดอาการบาดเจ็บได้ 2 กลุ่มคือ อาการที่เกิดจากบริเวณหลัง และอาการที่ไม่ได้เกิดจากบริเวณหลัง ดังนี้
กลุ่มอาการปวดสะโพกร้าวลงขาที่เกิดจากบริเวณหลัง แบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่
เกิดจากกระดูกสันหลังรับน้ำหนักมาก มีการเคลื่อนไหวเยอะกว่าบริเวณอื่นๆ ส่งผลให้หมอนรองกระดูกเกิดเบียดทับเส้นประสาท โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทจะมีอาการปวดหลังช่วงเอวต่อกับสะโพก และปวดร้าวลงขา มักพบในผู้ป่วยช่วงอายุ 20-50 ปี ที่ต้องยกของหนัก มีน้ำหนักตัวมาก บิดตัวอย่างรุนแรงแและรวดเร็ว หรือมีพฤติกรรมสูบบุหรี่ เป็นต้น
โรคกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท หรือโรคช่องโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal Stenosis) หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า กระดูกทับเส้นประสาท อาการปวดสะโพกร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ประกอบกับอาหารอ่อนแรงหรือชาที่ขา จะมีอาการรุนแรงขึ้นเมื่อยืนหรือเดินไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง เมื่อหยุดพักจะอาการเบาลง
อาการนี้เกิดจากความเสื่อมของกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูก และข้อต่อ ที่ทรุดตัวหรือพบกระดูกงอก จบเบียดทับเส้นประสาท โรคกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาทจึงมักพบในผู้สูงอายุ ร่วมกับโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
กลุ่มอาการปวดสะโพกร้าวลงขาที่ไม่ได้เกิดจากบริเวณหลัง แบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่
การนั่งทำงานนานๆ ในท่าที่ไม่เหมาะสม วิ่งหรือเดินระยะไหล อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา มีส่วนทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท หากกล้ามเนื้อสะโพก Piriformis มีความผิดปกติหรือเกิดพังผืดทับเส้นประสาทในบริเวณโดยรอบ อาจเบียดทัยเส้นประสาท Sciatica Nerve จนเกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขาได้
สาเหตุหลักเกิดจากการบาดเจ็บขณะเล่นกีฬา เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล วิ่งระยะไกล โดยที่ไม่ได้ยืดเส้นกล้ามเนื้อก่อนและหลังออกกำลังอย่างเหมาะสม จนทำให้มีอาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อส่วนที่ต่อระหว่างสะโพกไปถึงหัวเข่า (Hamstring Muscle) และมีอาการปวดบริเวณใต้ก้นลงมาถึงต้นขาด้านหลัง
ซึ่งในระยะแรกจะปวดแค่ช่วงต้นขาด้านบนเท่านั้น แต่หากไม่ด้รับการรักษาอย่างถูกวิธี อาการปวดจะร้าวไปจนถึงบริเวณน่องจนไม่สามาถเหยียดเข่าให้ตรงได้
หากมีอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ควรรีบสังเกตอาการตนเอง หยุดกิจกรรมที่ทำอยู่ทันที หากพักเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วยังไม่มีอาารดีขึ้น หรือเริ่มรู้สึกชาบริเวณขาร่วมกับมีอาการอ่อนรง ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจรักษาทันที
ในกรณีที่มีอาการปวดหลัง แต่ยังไม่ปวดสะโพกร้าวลงขา หรือชาไปยังบริเวณอื่น ก็ควรสังเกตอาการตัวเองเช่นกัน เพราะอาการปวดหลังไม่ใช่อาการปกติของร่างกาย แต่เป็นสัญญาณว่ากำลังมีสิ่งปกติ ไม่ว่าจะจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันหรือกิจกรรมการเล่นกีฬา ควรพักรอดูอาการว่าเป็นอย่างไร หากฝืนร่างกายก็มีโอาสที่อาการบาดเจ็บจะเพิ่มมากขึ้นจนปวดสะโพกร้าวลงขา
การตรวจวินิจัยอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ในทางการแพทย์สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
วิธีรักษาอาการปวดสะโพกร้าวลงขาสามารถทำได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความหนักเบาของอาการ โดยหลักแล้ววิธีรักษาอาการปวดสะโพกร้าวลงขาจะเป็น 2 แนวทางหลักคือ การบรรเทาอาการด้วยตัวเองเบื้องต้น และการรักษาทางการแพทย์ โดยมีรายละเอียดดังต่อนี้
ให้ประคบอุ่นบริเวณสะโพกที่มีอาการปวดเป็นระยะเวลาประมาณ 15-20 นาที ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด จะทำให้มีความรู้สึกอุ่นสบาย คลายอาการปวดสะโพกร้าวลงขาลงได้ ส่วนการประคบเย็นจะช่วยบรรเทาอาการปวดบวมที่เกิดจากอาการบาดเจ็บแบบเฉียบพลันได้
การบริหารร่างกายสามารถบรรเทาอาการปวดเส้นสลักเพชรได้ โดยให้ผู้ป่วยยืดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ท่านอนไขว่ห้าง ท่าเข้าไปหาไหล่ด้านตรงข้าม นั่งไขว้ห้างก้มตัว ท่านอนหงายยกสะโพก ท่านอนตะแคงยกเข่า เป็นต้น
ปวดสะโพกร้าวลงขากินยาอะไร? มียาหลายรูปแบบที่สามารถลดอาการปวดสะโพกร้าวลงขาได้ เช่น กลุ่มยาแก้ปวดเข่า สมุนไพรแก้ปวดเข่า แพทย์สามารถจ่ายยากแก้ปวดให้สอดคล้องกับโรคประจำตัวของคนไข้ได้ เพื่อให้ใช้ยาที่ปลอดภัย ลดอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การทำกายภาพบำบัดสามารถบรรเทาอาการปวดสะโพกร้าวลงเข่าได้ สามารถทำกายภาพบำบัดได้หลายวิธี เช่น การทำอัลตราซาวด์ การใช้เลเซอร์รักษา นวดแก้อาการปวดสะโพกร้าวลงขา และฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายของผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด
การฉีดยาสเตียรอยด์เป็นการฉีดเพื่อระงับอาการอักเสบ เหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดสะโพกร้าวลงเข่าระยะแรก ยังอาการไม่รุนแรงมาก เพราะเป็นการฉีดเพื่อยับยั้งอาการอักเสบเท่านั้น ไม่สามารถทำให้อาการสะโพกร้าวลงเข่าหายขาด
การรักษาสะโพกร้าวลงไข่ด้วยการผ่าตัด นิยมผ่าตัดด้วยวิธีการส่องกล้อง เช่นเดียวกับการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม แพทย์จะใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กที่ประกอบไปด้วยเลนส์ทำการสอดเข้าไปในแผลทำให้เห็นภาพข้อของผู้ป่วย การผ่าตัดด้วยการส่องกล้องยังฟื้นตัวเร็ว แผลเล็ก
การป้องกันไม่ให้เป็นปวดสะโพกร้าวลงขา สามารถปฏิบัตติตามคำแนะนำต่อไปนี้
อาการปวดสะโพกร้าวลงขา joint dysfunction syndrome เป็นอาการที่พบบ่อยในผู็ป่วยโรคกระดูกสันหลัง เกิดจากการกดทับเส้นประสาทที่ออกมาจากกระดูกสันหลังส่วนเอว สาเหตุที่ทำให้พบอาการปวดสะโพกร้าวลงขาเช่น โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน โรคหมอนรองกระดูกทับเส้น กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท และกล้ามเนื้อแฮมสตริงอักเสบ
ปวดสะโพกร้าวลงขาหากมีอาการไม่มากสามารถหายเองได้ รับประทานยารักษาอาการตามคำแนะนำของเภสัชกรหรือแทพย์ได้ แต่หากมีอาการรุนแรงควรพบแพทย์เพื่อรักาาอาการ รวมถึงเข้ารับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด
หากผู้ป่วยมีอาการที่เกี่ยวการปวดข้อ อาการข้อเข่าเสื่อม ปวดสะโพกร้าวลงขา หรือสนใจผ่าตัดข้อเข่าเทียม สามารถติดต่อสอบถามกับทีมแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
References
Goldsmith, R., Williams, N. H., & Wood, F. (2019). Understanding sciatica: Illness and treatment beliefs in a lumbar radicular pain population. A qualitative interview study. BJGP Open, 3(3). https://doi.org/10.3399/bjgpopen19x101654
Mayo Foundation for Medical Education and Research. (2020, August 1). Sciatica. Mayo Clinic. Retrieved September 7, 2022, from https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sciatica/diagnosis-treatment/drc-20377441
Valat, J.-P., Genevay, S., Marty, M., Rozenberg, S., & Koes, B. (2010). Sciatica. Best Practice & Research Clinical Rheumatology, 24(2), 241–252. https://doi.org/10.1016/j.berh.2009.11.005
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)