เข่าบวมน้ำ สัญญาณเตือนปัญหาข้อเข่าที่ไม่ควรมองข้าม
เข่าบวมน้ำ บอกอะไรเกี่ยวกับสุขภาพข้อเข่าของคุณได้บ้าง? เจาะลึกอาการ สาเหตุ วิธีสังเกตตัวเอง และแนวทางรักษาอาการเข่าบวมน้ำที่ไม่ควรมองข้ามได้ที่บทความนี้
เพราะหัวเข่าเป็นอวัยวะสำคัญที่มีหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักตัว ช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเดิน วิ่ง หรือนั่งยอง ๆ แต่เมื่ออายุคนเรามากขึ้นหรือมีพฤติกรรมที่ส่งผลต่อข้อเข่า เช่น การทำกิจกรรมที่ใช้แรงมาก ออกกำลังกายหนัก ๆ หรือแม้แต่อุบัติเหตุเล็กน้อย ก็อาจนำไปสู่ปัญหา “เข่าหลวม” ได้โดยไม่รู้ตัว
อาการของเข่าหลวมสาเหตุส่วนใหญ่เริ่มจากรู้สึกไม่มั่นคงขณะที่กำลังเคลื่อนไหว ร่วมกับอาการเข่าดังก๊อบแก๊บ หรือเข่ามีเสียงแปลก ๆ ขณะงอเข่าหรือยืดขา หากปล่อยไว้อาจลุกลามไปสู่ภาวะข้อเข่าเสื่อมได้ในระยะยาว และบางรายอาจประสบปัญหาเข่าหลุดจากการเคลื่อนไหวที่ผิดจังหวะอีกด้วย
เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจถึงสาเหตุ อาการที่เกิดขึ้นของเข่าหลวม วิธีสังเกตอาการเบื้องต้น รวมถึงวิธีรักษาที่เหมาะสม เพื่อให้คุณดูแลข้อเข่าให้มีสภาพที่แข็งแรงเป็นปกติ ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหนก็ตาม
สารบัญบทความ
เข่าหลวม (Knee Instability) คือ ภาวะที่ข้อเข่าขาดความมั่นคงในการรองรับน้ำหนักและการเคลื่อนไหว เข่าหลวมเกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างที่ช่วยพยุงข้อเข่า เช่น เอ็นไขว้หลัง เอ็นข้อเข่า กล้ามเนื้อ หรือหมอนรองใต้ขา ทำให้ข้อเข่ามีการเคลื่อนที่ผิดปกติ ผู้ที่มีอาการเข่าหลวมมักจะมีอาการเจ็บข้อเข่าเป็นระยะ เหยียดหรืองอได้ไม่สุด มีอาการเข่าทรุดขณะเดินหลายรายอาจมีอาการเข่าดังกรอบแกรบแต่ไม่เจ็บ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของปัญหาข้อเข่า
แต่ในบางกรณี เข่าหลวมอาจเกิดจาก Meniscus tear คือการฉีกขาดของหมอนรองข้อเข่า ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยรองรับแรงกระแทกและช่วยให้ข้อเข่ามีความมั่นคง เมื่อเกิดการฉีกขาดแล้ว อาจทำให้มีอาการเข่าลั่นบ่อย เข่าสะดุด หรือรู้สึกเหมือนมีบางอย่างติดข้อเข่า
หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าอาการเข่าหลวมนั้นเป็นอย่างไร เนื่องจากในช่วงแรกอาจไม่มีความเจ็บปวดแสดงอาการออกที่ชัดเจน แต่หากสังเกตดี ๆ ร่างกายอาจกำลังส่งสัญญาณเตือนเกี่ยวกับความผิดปกติของข้อเข่าโดยที่เราไม่รู้ตัว ซึ่งอาการเข่าหลวม มีดังนี้
เข่าหลวมสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานข้อเข่า อายุ สภาพร่างกาย และประสบการณ์การบาดเจ็บในอดีต ซึ่งบางคนอาจเริ่มจากอาการเล็ก ๆ อย่างเข่ามีเสียงแต่ไม่เจ็บหรือเข่าบวม โดยสาเหตุอาการเข่าหลวมที่พบได้บ่อย ดังนี้
เมื่อน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น ข้อเข่าต้องรองรับแรงกดมากกว่าปกติ ทำให้เกิดแรงกดทับซ้ำ ๆ จนข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการ เข่าหลวม เข่าบวม และปวดเรื้อรังได้ในระยะยาว
เมื่ออายุมากขึ้น โครงสร้างในข้อเข่าจะเริ่มเสื่อมสภาพ เช่น หมอนรองกระดูกสึกหรือกระดูกอ่อนบางลง ซึ่งทำให้เกิดเสียงดังในหัวเข่า หรือหัวเข่ามีเสียงขณะเคลื่อนไหว รวมถึงความสามารถในการควบคุมข้อเข่าก็ลดลง ทำให้รู้สึกไม่มั่นคง
ไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน วิ่ง นั่งผิดท่า หรือเล่นกีฬาที่ใช้เข่าซ้ำ ๆ ล้วนส่งผลให้ข้อเข่าเกิดการสึกหรอ และนำไปสู่อาการเข่าหลวมได้ในที่สุด โดยเฉพาะหากไม่มีช่วงพักเพียงพอ
การลื่นล้ม ชน หรือการบิดข้อเข่าแรง ๆ อาจทำให้เส้นเอ็นหรือหมอนรองกระดูกบาดเจ็บได้ แม้ภายนอกจะหายดีแล้ว แต่อาจหลงเหลือปัญหาในข้อเข่า เช่น เข่าหลุด หัวเข่าหลวม หรือปวดเมื่อใช้เข่าทำกิจกรรมหนัก ๆ
เข่าหลุด รักษายังไง? อาการเข่าหลวม เข่าบิด วิธีรักษามีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการบาดเจ็บและระดับความรุนแรง โดยแพทย์เฉพาะทางจะเป็นผู้วินิจฉัยเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม
กระดูกสะบ้าเข่าตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของข้อเข่า เป็นส่วนที่เคลื่อนไหวขึ้นลงในร่องของกระดูกต้นขาเวลาที่เรางอหรือเหยียดเข่า เมื่อกระดูกสะบ้าไม่มั่นคง มักเกิดการเคลื่อนตัวออกทางด้านนอก ทำให้รู้สึกเหมือนเข่าจะหลุดหรือทรุดตัวโดยเฉพาะขณะนั่งยอง หากเกิดขึ้นบ่อย ๆ จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดใต้กระดูกสะบ้า
วิธีการรักษา
เอ็นไขว้หลังเข่าทำหน้าที่สร้างความมั่นคงให้ข้อเข่าด้านหลัง การบาดเจ็บมักเกิดจากแรงกระแทกด้านหน้าเข่า เช่น อุบัติเหตุรถชน ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าเข่าหลวมทั้งข้อและเข่ามักจะแอ่นไปด้านหลังขณะลงน้ำหนัก
วิธีการรักษา
เป็นอาการที่พบได้บ่อยในกลุ่มนักกีฬา โดยเฉพาะกีฬาที่มีการหมุนตัวหรือเปลี่ยนทิศทางเร็ว เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล หากเอ็นไขว้หน้า (ACL) ฉีกขาด จะรู้สึกเจ็บ บวม และไม่สามารถลงน้ำหนักที่ขาได้อย่างมั่นคง ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของอาการเข่าหลวม
วิธีการรักษา
เอ็นด้านในเข่าเชื่อมกระดูกต้นขากับกระดูกหน้าแข้งทางด้านในเข่า ทำหน้าที่สร้างความมั่นคงให้ข้อเข่าด้านใน เมื่อเกิดการฉีกขาดจะทำให้เข่าทรุดเข้าด้านในขณะลงน้ำหนัก มีอาการปวดและบวมเฉพาะด้านในเข่า
วิธีการรักษา
เอ็นด้านข้างเข่าทำหน้าที่สร้างความมั่นคงให้ข้อเข่าด้านนอก การบาดเจ็บมักเกิดจากแรงกระแทกทางด้านในของเข่า ทำให้เกิดอาการปวด บวมบริเวณด้านนอกของเข่า และรู้สึกไม่มั่นคงเมื่อต้องเคลื่อนไหวไปทางด้านข้าง เอ็นเข่าอักเสบเป็นภาวะที่พบได้บ่อยเมื่อมีการบาดเจ็บ ทำให้เกิดอาการปวดและเคลื่อนไหวได้ลำบาก
วิธีการรักษา
เข่าหลวม (Knee Laxity) เกิดจากเอ็นรอบข้อเข่าหย่อน ทำให้ข้อเข่าไม่มั่นคง มีอาการปวด เข่าพลิกบ่อย วิธีรักษา หัวเข่าพลิก เข่าหลวม อาจจะเริ่มจากการบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรง สวมเข็มขัดพยุงเข่า ประคบเย็น และถ้าอาการรุนแรงหรือเข่าหลวมมาก ควรรีบพบแพทย์เพื่ออาจพิจารณาหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมและทำให้เข่ากลับมาแข็งแรงอีกครั้ง
โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีศูนย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อที่มีความชำนาญการในการรักษาอาการเข่าหลวม โดยทีมแพทย์ผู้มีประสบการณ์ พร้อมอุปกรณ์การแพทย์ที่ทันสมัย ให้บริการตั้งแต่การวินิจฉัยด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง การรักษาแบบไม่ผ่าตัด ไปจนถึงการผ่าตัดด้วยเทคนิคที่ทันสมัยช่วยลดระยะเวลาการฟื้นตัว นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมกายภาพบำบัดเฉพาะรายที่ออกแบบเพื่อฟื้นฟูและป้องกันการเกิดซ้ำ
ช่องทางติดต่อ
References
Yale Medicine. (2022 September 24). Knee (Patella) Instability. https://www.yalemedicine.org/conditions/knee-instability
Chaz Fausel. (2024 September 6). Identifying the Symptoms of a Loose Knee Replacement. https://regenexx.com/blog/identifying-the-symptoms-of-a-loose-knee-replacement/
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)