บทความสุขภาพ

หัวเข่าบวม ปวดเข่า งอเข่าไม่ได้ เกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไร

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567

เข่าบวมน้ำ

สังคมในปัจจุบันผู้คนหันมาสนใจร่างกายของตนเองกันมากขึ้น เริ่มดูแลร่างกาย รักษาหุ่น และออกกำลังกาย เล่นกีฬาต่างๆ กันมากขึ้น แน่นอนว่าถือเป็นเรื่องที่ดี แต่การออกกำลังกาย หรือ การทำกิจกรรมบางอย่างอาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายเกิดอาการบาดเจ็บตามบริเวณต่างๆ ได้

ซึ่งบริเวณที่ได้รับผลกระทบที่พบได้บ่อยๆ จากการออกกำลังกาย และกิจกรรมต่างๆ คือ “หัวเข่า” เนื่องจากหัวเข่าเป็นจุดที่ต้องรับแรงกระแทกเมื่อเคลื่อนไหวร่างกาย และยังต้องคอยรับน้ำหนักตัวอีกด้วย ทำให้เกิดอาการปวดเข่า เจ็บเข่า ยืด-งอเข่าไม่ได้ หรือบางคนที่อาจจะมีอาการ “เข่าบวม” ร่วมกับอาการเจ็บปวดต่างๆ

อาการเข่าบวมสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งอาการบาดเจ็บที่ได้รับจากการทำกิจกรรม ออกกำลังกาย หรือ โรคข้อเข่าเสื่อม บทความนี้จะพาทุกคนไปหาคำตอบสาเหตุของอาการหัวเข่าบวม รวมทั้งวิธีการดูแล รักษา แนวทางป้องกันอาการเข่าบวมที่ถูกวิธี ช่วยทำให้หัวเข่ากลับมาปกติ!

 


สารบัญบทความ

  


ข้อเข่าบวม

อาการข้อเข่าบวม ที่หลายคนพบมักมาพร้อมกับอาการปวดบริเวณข้อเข่าร่วมด้วย โดยที่อาการเข่าบวม หรือที่บางคนเรียกว่า เข่าบวมน้ำ เป็นลักษณะความผิดปกติอย่างหนึ่งของอวัยวะโครงสร้างภายในของข้อเข่า ซึ่งมีหลายสาเหตุที่สามารถทำให้เกิดอาหารหัวเข่าบวมได้ เช่น โรคข้อเข่าเสื่อมโรคข้ออักเสบหรือ การบาดเจ็บที่ได้รับจากอุบัติเหตุหรือการทำกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น

เมื่อเวลาเกิดอาการเข่าบวมมักแสดงอาการชัดเจนและสังเกตได้ง่าย โดยสังเกตจากข้อเข่าด้านในตรงบริเวณลักยิ้มใกล้ๆ ลูกสะบ้าจะไม่มีรอยบุ๋ม หรือ สังเกตได้จากการที่หัวเข่ามีลักษณะบวมนูนใหญ่ขึ้นมาอย่างปกติ

นอกจากนี้บางคนอาจจะมีอาการบวมบริเวณหัวเข่าไม่มาก ไม่แสดงอาการ แต่เวลางอเข่าหรือยืดขาตรงกลับรู้สึกเจ็บ ส่วนใหญ่มักจะมีอาการเข่าบวมข้างเดียว หากคุณมีอาการเหล่านี้ แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ แล้วเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อไม่ให้อาการบาดเจ็บรุนแรงมากกว่าเดิม

 


เช็คอาการข้อเข่าบวม

อาการข้อเข่าบวม

 

อย่างไรก็ตามอาการเข่าบวม สามารถเกิดได้กับทุกคน ถ้าหากคุณรู้สึกปวดบริเวณเข่า หรือ หัวเข่ามีความผิดปกติ บวมน้ำ แดง หรือ เจ็บหัวเข่าเวลางอขาหรือเหยียดขา นั้นเป็นสัญญาณเตือนว่าบริเวณข้อเข่า หรือ ข้อต่อที่เชื่อระหว่างกระดูกต้นขาของคุณกำลังมีปัญหา ทั้งนี้คุณสามารถเช็คอาการของคุณได้ด้วยตัวเองก่อนที่จะไปพบแพทย์เพื่อเข้าการรักษาว่า จริงๆแล้วคุณเข้าข่ายอาการเข่าบวมหรือไม่ ?
 

  • ปวดบริเวณข้อเข่า ปวดบริเวณหัวเข่าแม้ว่าจะไม่ได้ขยับร่างกาย ร่วมกับมีไข้สูง
  • ปวดหัวเข่าเวลาเดิน ขึ้น - ลง บันไดและรถ
  • หัวเข่าบวมขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสามารถสังเกตได้อย่างชัดเจน
  • ปวดบริเวณหัวเข่าจนส่งผลต่อการพักผ่อน ทำให้ไม่นอนไม่หลับ
  • เวลาขยับร่างกายแล้วหัวเข่ามีเสียง ร่วมกับอาการเจ็บปวด
  • ไม่สามารถงอเข่า ยืดเข่า หรือเหยียดขาให้ตรงได้ เนื่องจากปวดเข่า
  • ปวดเข่ามาก จนต้องใช้ไม้เท้าช่วยพยุงเมื่อเดิน หรือขอร้องให้ผู้อื่นช่วยพยุงเวลาเดิน
  • รับประทานยาแก้ปวดเข่า ประคบ นวด ด้วยตัวเองแล้ว แต่อาการไม่ดีขึ้น


หากพบว่าตนเองมีอาการตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ทดลองกินยาแก้ปวดแล้วไม่หาย แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดเข่า เข่าบวม เพื่อบรรเทาอาการปวด

 


หัวเข่าบวมเกิดจากสาเหตุใด

ก่อนที่จะรู้สาเหตุของอาการเข่าบวม จำเป็นต้องเข้าใจโครงสร้างของข้อเข่าก่อน เพื่อให้เข้าใจกลไกการเกิดอาหารหัวเข่าบวม ทั้งนี้ในข้อเข่ามีอวัยวะสำคัญที่เป็นโครงสร้างให้ความมั่นคงของข้อเข่าอยู่ 5 อวัยวะ ได้แก่
 

  • กระดูกอ่อนรองข้อเข่า (Articular Cartilage)
  • หมอนรองกระดูก (Meniscus)
  • เอ็นไขว้หน้า (Anterior Cruciate Ligament - ACL)
  • เอ็นไขว้หลัง (Posterior Cruciate Ligament-PCL)
  • เยื่อหุ้มข้อ (Synovial Membrane)

เมื่อไหร่ก็ตามที่อวัยวะทั้ง 5 อวัยวะ ได้รับการกระทบกระเทือนจนเกิดอาการบาดเจ็บ อวัยวะภายในเข่าจะทำการป้องกันตนเอง ด้วยการกระตุ้นเยื่อหุ้มข้อให้สร้างสารน้ำขึ้นมา ซึ่งสารน้ำที่สร้างขึ้นมาจะช่วยลดแรงกระแทกจากภายนอก ทำให้เกิดอาการเข่าบวมนั้นเอง 

อาการเข่าบวมอาจจะเกิดได้จากการสะสมของของเหลว (น้ำ) บริเวณเข่าหรือเนื้อเยื่อรอบๆ เข่า ซึ่งของเหลวเหล่านั้นอาจจะเป็นน้ำที่เกิดจากการอักเสบ, เลือดที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บของอวัยวะภายในเข่า และหนองที่เกิดจากการติดเชื้อ ถ้าหากเป็นอาการเข่าบวมจากการติดเชื้อจำเป็นต้องรีบพบแพทย์ทันที เนื่องจากเป็นการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งมีความรุนแรงและอันตรายมาก

นอกจากนี้อาการเข่าบวมสามารถเกิดได้จากการอักเสบของโรคบางชนิด หรือ เกิดจากการความเสื่อมของร่างกาย เช่น ข้อเข่าเสื่อมจากอายุที่มากขึ้นนั้นเอง ทั้งนี้การรักษาอาการเข่าบวมจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนว่า อาการเข่าบวมที่เป็นอยู่มีสาเหตุมาจากอะไร น้ำในเข่า คือ น้ำ เลือด หรือหนองจึงจะรักษาได้ตรงกับสาเหตุที่เป็นมากที่สุดนั้นเอง

 


ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการหัวเข่าบวม

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เข่าบวม

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น ว่าอาการเข่าบวมมีปัจจัยและสาเหตุหลายอย่างที่สามารถทำให้เกิดอาการเข่าบวมได้ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการเข่าบวม มีดังนี้

1. เข่าบวมจากการบาดเจ็บและอุบัติเหตุ

อาการเข่าบวมส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากการที่อวัยวะทั้ง 5 อวัยวะที่กล่าวไปในตอนต้นโดนกระแทก จนเกิดอาการบาดเจ็บบริเวณเข่า หรือเนื้อเยื่อๆ บริเวณรอบหัวเข่า ซึ่งอุบัติเหตุที่กล่าวมาอาจจะทำให้มีอาการเข่าบวม มักมาทั้งจากการพลัดตก หกล้ม ขับขี่รถจักรยานและจักรยานยนต์ อุบัติเหตุเหล่านี้สามารถทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ หรือ อาการฉีกขาดได้ หากมีความรุนแรงมาก มีเลือดออกอาจจะนำไปสู่อาการเข่าบวมน้ำได้นั้นเอง

2. เข่าบวมจากการเล่นกีฬา

อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา สามารถทำให้เกิดอาการเข่าบวมเอ็นเข่าอักเสบได้ โดยส่วนใหญ่แล้วอาการเข่าบวมที่มีปัจจัยมาจากการเล่นกีฬามักมาจากการโดนกระแทกแรงๆ บริเวณเข่า ซึ่งถ้าหากเป็นการกระแทกแรงๆ บริเวณหัวเข่าสามารถทำให้อวัยวะภายในเข่าเกิดการฉีกขาด ได้รับบาดเจ็บจนเกิดการอักเสบ หรือมีเลือดออกภายในข้อเข่า ซึ่งนำไปสู่อาการเข่าบวมน้ำได้

3. เข่าบวมจากการอักเสบติดเชื้อ

อาการเข่าบวมที่มีปัจจัยเกิดจากการอักเสบหรือการติดเชื้อ หากเป็นอาการเข่าบวม ที่เกิดจากการอักเสบของอวัยวะต่างๆ บริเวณเข่า ส่วนใหญ่มักเกิดจากที่ใช้งานเข่ามากเกินไป จนทำให้เกิดอาการอักเสบ ปวดบวมบริเวณเข่าได้

แต่ถ้าหากเป็นอาการเข่าบวมน้ำที่เกิดจากการติดเชื้อนับว่าเป็นอาการที่ร้ายแรง จะมีอาการปวดรุนแรง โดยจะแสดงอาการเข่าบวมน้ำและปวดอย่างรวดเร็ว ภายใน 1- 2 วัน หรือ ภายในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจและเข้ารับการรักษาโดยทันที เพราะอาการเข่าบวมจากการติดเชื้อนั้น เป็นการติดเชื้อในกระแสเลือด นับว่าอันตรายมาก

4. เข่าบวมจากโรคต่างๆ

ปัจจัยเสี่ยงสุดท้ายที่สามารถทำให้เกิดอาการเข่าบวม อาจจะมาจากโรคบางชนิด เช่น
 

  • โรคเกาท์ (Gout)
  • โรครูมาตอยด์
  • โรคซูโดเกาท์/span>
  • โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis)
  • โรคหมอนรองข้อเข่าฉีกขาด (Miniscur Tear)
  • โรคภูมิแพ้ตัวเอง (Systemic Lupus Erythematosus, SLE)

ซึ่งโรคทั้งหมดที่กล่าวไป สามารถเกิดอาการเข่าบวมน้ำร่วมด้วยได้ 

  


ข้อเข่าบวม เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

สำหรับคำถาม ข้อเข่าบวมแบบไหน ถึงควรที่จะไปพบแพทย์ ? คนไข้สามารถสังเกตอาการของร่างกายตนเองได้ ถ้าหากคุณมีอาการ ดังต่อไปนี้ นั้นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายว่าข้อเข่าของคุณกำลังมีปัญหา จำเป็นต้องรีบไปพบแพทย์
 

  • เข่าบวมมาก เข่ามีอาการบวมเรื้อรัง ไม่หายสักที
  • เข่าผิดรูป
  • ไม่สามารถลงน้ำหนักบริเวณเข่าได้ เพราะมีอาการปวดมาก
  • ไม่สามารถ งอ - ยืด ขาสุดได้เนื่องจากปวดเข่ามาก
  • เข่าแดง จับแล้วรู้สึกอุ่นๆ
  • ปวดเข่า พร้อมทั้งมีไข้ร่วมด้วย
  • ลองรับประทานยาแก้ปวดแล้ว แต่อาการไม่ดีขึ้น ปวดเท่าเดิมหรือปวดมากกว่าเดิม

หากมีอาการเหล่านี้ จำเป็นต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาเหตุของอาการเข่าบวม และเข้ารับการรักษาที่ตรงสาเหตุ เพื่อบรรเทาอาการบวมบริเวณเข่า และบรรเทาอาการปวด ทั้งนี้สาเหตุของอาการเข่าบวมมีหลายสาเหตุการไปพบแพทย์จะช่วยทำให้รู้สาเหตุ และรักษาได้ตรงจุดมากที่สุด และเป็นวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดที่เร็วที่สุด

 


การวินิจฉัยอาการข้อเข่าบวม

อาการข้อเข่าบวม

1. การสอบประวัติเบื้องต้น

นับเป็นขั้นตอนแรกของการวินิจฉัยอาการข้อเข่าบวม แพทย์จะซักประวัติเบื้องต้นของผู้ป่วย เพื่อตรวจสาเหตุทางกายภาพว่าหัวเข่าได้รับการกระแทกจากอะไร มีปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่ออาการบวมบริเวณเข่าหรือไม่ พร้อมทั้งซักประวัติในอดีตว่าเคยประสบอุบัติเหตุ หรือหัวเข่าเคยได้รับการกระทบกระเทือนรุนแรง จนทำให้เกิดอาการบาดเจ็บมากก่อนหรือไม่ เพื่อนำมาประกอบการวินิจฉัยโรค

2. การตรวจสภาพข้อเข่า

หลังจากที่แพทย์ได้ทำการสอบประวัติเบื้องต้นของผู้ป่วยแล้ว จะมีการตรวจร่างกาย หรือที่เรียกว่า ตรวจสภาพข้อเข่า ซึ่งเป็นการตรวจเพื่อความชัดเจน และหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการเข่าบวม ซึ่งสามารถตรวจได้หลายวิธี ดังนี้
 

  • เอกซเรย์

เป็นการเอกซเรย์ข้อเข่า 2 ภาพ คือ ภาพข้อเข่าหน้าตรง และภาพข้อเข่าด้านข้าง ซึ่งการเอกซเรย์ควรทำในท่ายืนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน หรือผู้ป่วยบางได้อาจจะต้องเอกซเรย์ในท่างอเข่าเพื่อตรวจดูกระดูกสะบ้าด้วย ทั้งนี้ท่าเอกซเรย์จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ และอาการของผู้ป่วย
 

  • อัลตร้าซาวด์

การใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์ตรวจสภาพบริเวณข้อเข่า สามารถตรวจหาอาการอักเสบของข้อเข่าได้ ที่มีประสิทธิภาพในการตรวจหาการอักเสบบริเวณข้อเทียบเท่ากับการทำ MRI โดยมีข้อดี คือ ใช้เวลาน้อยในการตรวจน้อยกว่า ไม่เจ็บ และราคาไม่แพง แต่การตรวจด้ววิธีอัลตร้าซาวด์ไม่สามารถตรวจสอบการฉีกขาดของเส้นเอ็นได้
 

  • MRI (Magnetic Resonance Imaging)

เป็นการตรวจด้วยเครื่องมือที่ใช้ตรวจร่างกายโดยการสร้างภาพเสมือนจริง ด้วยสนามแม่เหล็กความเข้มสูงและคลื่นวิทยุ (Radio Frequency) การทำ MRI จะช่วยให้เห็นความผิดปกติของอวัยวะได้อย่างชัดเจน สามารถเห็นการฉีกขาดของเส้นเอ็น และรอยร้าวตามกระดูกและข้อได้ รวมทั้งยังสามารถบอกปริมาณน้ำในข้อเข่าได้ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ทราบสาเหตุของอาการเข่าบวม พร้อมทั้งรักษาได้อย่างตรงสาเหตุมากที่สุด

3. การเจาะข้อ

แพทย์จะทำการเจาะข้อเข่า เพื่อนำน้ำในเข่าไปตรวจหาสาเหตุของอาการเข่าบวมที่ห้องปฏิบัติการว่า อาการเข่าบวมมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อในกระแสเลือดหรือไม่

ทั้งนี้การตรวจวินิจฉัยโรคแต่ละวิธีที่กล่าวไปข้างต้น จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการเข่าบวมและดุลยพินิจของแพทย์ ไม่จำเป็นต้องทำทุกวิธี

 


อาการข้อเข่าบวมในผู้สูงอายุ

เข่าบวมในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักมีภาวะเข่าเสื่อมหรือโรคข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากอวัยวะในร่างกายมีการเสื่อมสภาพลงไปตามอายุ ถ้าหากมีอาการเข่าบวมไม่มาก และค่อยๆหายไปเอง ไม่มีอาการเจ็บปวด ถือว่าไม่มีอันตราย

แต่ถ้าอาการเข่าบวมจากโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุและมีอาการปวด ไข้ร่วมด้วย นั้นถือเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายว่าข้อเข่ากำลังผิดปกติ จำเป็นต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธีทันที เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด และความรุนแรงของโรค

 


วิธีรักษาข้อเข่าบวม

การรักษาอาการเข่าบวม

 

เข่าบวมรักษาอย่างไร มีวิธีรักษาอาการเข่าบวมกี่วิธี มีอะไรบ้าง ? อาการเข่าบวมมีวิธีรักษาหลายวิธี ทั้งนี้วิธีรักษาข้อเข่าบวมขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ดังนี้

1. การรักษาด้วยการใช้ยา

วิธีการรักษาอาการเข่าบวมน้ำ ปวดเข่าด้วยการใช้ยา ในปัจจุบันมีทั้งยาชนิดทา และยาชนิดรับประทาน ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวด หรือ อาการบวมบริเวณเข่าลงไปได้ แต่จะไม่สามารถรักษาต้นเหตุของอาการบาดเจ็บที่เกิดจากการฉีดของเส้นเอ็นภายในข้อเข่าได้

วิธีลดอาการเข่าบวมด้วยยาแก้ปวดเข่าเข่าบวมเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการเข่าบวมไม่มาก อาการปวดบริเวณเข่าไม่รุนแรง สิ่งสำคัญสำหรับการรักษาอาการเข่าบวมด้วยการใช้ยาจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ หรือ เภสัชกรเป็นผู้จ่ายยาให้เพียงเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ป่วยเอง

2. การทำกายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัดเป็นวิธีรักษาข้อเข่าบวม ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการฟื้นฟูร่างกาย ให้เข่ากลับมาใช้งานได้อย่างปกติแบบก่อนหน้า แต่วิธีรักษาเข่าบวมด้วยการทำกายภาพบำบัด จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ หรือ ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง เหมาะสมกับร่างกาย จากนักกายภาพบำบัดเพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้ผู้ป่วยที่มีอาการเข่าบวมไม่ควรทำกายภาพบำบัดด้วยตนเอง

3. การรักษาด้วยการฉีดยา

ผู้ป่วยที่มีอาการเข่าบวม ร่วมกับอาการปวด สามารถรักษาได้ด้วยการฉีดยา โดยแพทย์ส่วนใหญ่มักจะใช้ กรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic acid) และ คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เพื่อบรรเทาอาการปวดเข่า และอาการเข่าบวม

การรักษาอาการเข่าบวมด้วยการฉีดยาจำเป็นต้องฉีดเป็นประจำ เนื่องจากประสิทธิภาพของยาไม่สามารถอยู่ได้นาน วิธีนี้จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการเข่าบวมรุนแรง ปวดเข่ามาก ไม่สามารถขยับร่างกายได้

4. การผ่าตัดข้อเข่า

การผ่าตัดข้อเข่าเพื่อรักษาอาการเข่าบวม มักเป็นทางเลือกสุดท้าย วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถรักษาอาการเข่าบวมจากวิธีอื่นไม่ได้ โดยการผ่าตัดข้อเข่ามีทั้งหมด 2 วิธี ดังนี้
 

  • ผ่าตัดผ่านกล้อง (Arthroscopic Surgery)

เป็นการผ่าตัดด้วยใช้อุปกรณ์ขนาดเล็ก สอดเข้าไปในรอบแผลขนาดเล็ก  โดยประกอบไปด้วยเลนส์และกล้องที่จะฉายภาพอวัยวะภายในเข่าไปยังจอทีวี ทำให้แพทย์สามารถเห็นสภาพภายในข้อเข่าของผู้ป่วย และทำการผ่าตัดได้อย่างง่าย การผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้องจะช่วยลดโอกาสติดเชื้อและอาการเลือกคั่งในข้อ และแผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก  

  • ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Knee Replacement)

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเป็นการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแทนข้อเข่าเดิมที่เสื่อมสภาพของผู้ป่วย ซึ่งข้อเท่าเทียมที่นำมาเปลี่ยนทำมาจากวัสดุที่ปลอดภัย ไม่มีอันตรายต่อร่างกาย มีอายุการใช้งานนาน ทั้งนี้การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมมี 2 แบบ ได้แก่ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมทั้งหมด และการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมเฉพาะฝั่ง ซึ่งการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ และความรุนแรงอาการของผู้ป่วย

 


เข่าบวมประคบร้อนหรือประคบเย็น

เข่าบวมประคบ

 

อาการเข่าบวมเป็นอาการที่สามารถเกิดได้กับทุกคน ไม่ใช่เพียงเพราะผู้สูงอายุเท่านั้น อาการเข่าบวมสามารถเกิดกับวัยรุ่น และวัยกลางคนได้ ทั้งจากการใช้งานเข่าที่มากเกินขีดจำกัดของร่างกาย หรือ จากอุบัติเหตุทำให้เกิดการกระแทกบริเวณเข่าแรงๆ จนเกิดอาการบวมบริเวณเข่า ซึ่งอาการเข่าบวมสามารถบรรเทาอาการหัวเข่าบวม ปวด และอักเสบ ได้จากการประคบร้อน - ประคบเย็น ทั้งนี้การประคบร้อน และ การประคบเย็นมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการบวม และอาการปวดต่างกัน ดังนี้

การประคบร้อน

การประคบร้อนสามารถช่วยลดอาการปวดบริเวณเข่าลงได้ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการอักเสบเรื้อรังของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ โดยการประคบร้อนจะช่วยให้หลอดเลือดขยายตัวมีเลือดเข้ามาเลี้ยงบริเวณที่ประคบ ช่วยคลายอาการปวด บวม อักเสบได้ สำหรับผู้ที่ต้องการประคบร้อนเพื่อบรรเทาอาการปวด บวม สามารถใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อน ที่อุณหภูมิไม่เกิน 45 องศาเซลเซียส และไม่ควรประคบนานเกินไป เพราะอาจจะทำให้หน้าผิวบริเวณที่ประคบเกิดอาการแดง หรือ ผิวไหม้พองได้

การประคบเย็น

การประคบเย็นสามารถช่วยบรรเทาอาการเข่าบวม ปวดเข่า เข่าอักเสบได้เช่นเดียวกัน แต่ต้องอยู่ในระยะที่มีการอักเสบ ซึ่งสามารถเช็คได้ด้วยตนเอง โดยการนำฝ่ามือไปวางที่บริเวณหัวเข่า หากพบว่าบริเวณหัวเข่าอุ่นกว่าเข่าอีกข้างนั้นหมายความว่าเข่าอยู่ในระยะที่มีการอักเสบ ซึ่งระยะอาการอักเสบมักมาพร้อมกับอาการบวมแดงบริเวณเข่า

 

การประคบเย็นจะช่วยให้เส้นเลือดหดตัว และช่วยลดอาการข้อเข่าอักเสบ ปวด บวม แดง ร้อน ที่เกิดจากการอักเสบได้ สำหรับผู้ที่ต้องการประคบเย็นสามารถใช้เจลสำหรับประคบเย็นแบบสำเร็จรูป หรือ ผ้าขนหนูห่อน้ำแข็งเพื่อประคบบริเวณที่เกิดการอักเสบได้ ไม่ควรประคบเย็นนานเกินครั้งละ 20 นาที แต่สามารถใช้เป็นวิธีประคบเย็นได้บ่อยๆ ทุก 1 - 2 ชั่วโมงต่อครั้ง

 


ภาวะข้างเคียงที่อาจเกิดจากหัวเข่าบวม

ภาวะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ

ภาวะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อเกิดจากการที่ผู้ป่วยที่มีอาการเข่าบวม ปวดเข่า เข่าอักเสบ ขยับตัวลดลง ไม่ค่อยเคลื่อนไหวเนื่องจากมีอาการเจ็บปวดในขณะที่เคลื่อนไหว ทำให้ร่างกายสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ซึ่งภาวะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อมีผลต่อการใช้ชีวิต ได้แก่ ทรงตัวได้ไม่ดี ลุกนั่งลำบาก เหนื่อยง่าย และถ้าหากหกล้มจะได้รับความรุนแรงมากกว่าคนปกติทั่วไป

ภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่า

ภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่า หรือ Baker’s Cyst เป็นความผิดปกติบริเวณข้อเข่าด้านหลัง ซึ่งจะพบถุงน้ำหรือก้อนนิ่มที่มีน้ำอยู่ มักพบภาวะนี้กับผู้ป่วยที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่ามักทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวด เข่าบวม และติดขัดเวลาขยับร่างกายทำให้เป็นอุปกรณ์ต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่ามีสาเหตุมาจากความผิดปกติของน้ำไขข้อ และการได้รับบาดเจ็บบริเวณกระดูกอ่อน

 

 


แนวทางการป้องกันหัวเข่าบวม

เข่าบวม กายภาพ

เมื่อทราบแล้วว่าอาการเข่าบวมเกิดจากอะไร สำหรับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงอาการเข่าบวมมีแนวทางในการป้องกันเข่าบวม เพื่อให้ข้อเข่าสุขภาพดี ใช้งานได้นานๆ ดังนี้ 
 

  • หลีกเลี่ยงกิจกรรม หรือ กีฬา ที่ต้องมีการปะทะรุนแรง เช่น ฟุตบอล, รักบี้, บาสเกตบอล หรือ อเมริกันฟุตบอล เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก เนื่องจากจะทำให้หัวเข่าต้องรับแรงกดทับ
  • หลีกเลี่ยงการยืนเป็นระยะเวลานานๆ สามารถนั่งพักเป็นช่วงๆ ได้
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่
  • สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน ควรออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก เนื่องจากหัวเข่าเป็นจุดที่รับน้ำหนักตัว หากมีน้ำหนักตัวมากหัวเราจะยิ่งรับแรงกระแทกมากตามไปด้วย
  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการเข่าบวม ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

เนื่องจากอาการเข่าบวมมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ทำให้เกิดอาการบวม ปวด อักเสบ เคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่เต็มที่ และอาจจะรุนแรงถึงขั้นไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ หากมีอาการปวดรุนแรงควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและเข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุด

 


ตรวจข้อเข่า..เพื่อสุขภาพที่ดี

อาการเข่าบวมสามารถเกิดได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็น วัยรุ่น วัยกลางคน หรือ ผู้สูงอายุที่มักมีอาการปวดเข่า เนื่องจากร่างกายเสื่อมสภาพตามเวลา อาการปวดเข่าเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายว่ากำลังมีบางอย่างผิดปกติกับร่างกายของคุณ สำหรับผู้ที่มีอาการหัวเข่าบวม หรือ ปวดเข่าเวลายืดหรืองอข

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ