บทความสุขภาพ

เช็คด่วน 6 อาการข้อเข่าเสื่อมที่ไม่ควรละเลย แนะนำแนวทางการรักษา

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567

อาการข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุตั้งแต่ 40-50 ปีขึ้นไปเป็นโรคที่พบได้บ่อยครั้ง ทั้งแบบรุนแรงและไม่รุนแรง นอกจากนี้ อาการข้อเข้าเสื่อมยังพบได้ในทุกเพศทุกวัย ผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมหากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอาจจะส่งให้มีอาการรุนแรงขึ้น ส่งผลให้ใช้ชีวิตประจำวันลำบากกว่าที่เคย หรืออาจถึงขั้นใช้ชีวิตประจำวันแบบเดิมไม่ได้


สารบัญบทความ
 


รู้จักข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อม อาการ

โรคข้อเข่าเสื่อม คืออาการที่กระดูกอ่อนภายในข้อเข่าเกิดการสึกหรอ ฉีกขาด ทรุดตัว หรือเสื่อมสภาพจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น หรือจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เมื่อกระดูกอ่อนผิวข้อเข่าเกิดการสึกหรอ ข้อต่อบริเวณเก่าจะเสียดสีกันได้ง่ายมากขึ้น ส่งผลให้มีอาการตึง ปวด หรือบวมบริเวณเข่า ผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมจะเจ็บข้อเข่าเมื่อเดิน ทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตแบบปกติได้


สาเหตุของอาการข้อเข่าเสื่อม

ปัจจัยและสาเหตุหลักที่ส่งผลให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม แบ่งได้จาก 2 หมวดใหญ่ดังนี้

1. ปัจจัยด้านกรรมพันธุ์
 

  • โรคประจำตัวหรือความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ เช่น SLE รูมาตอยด์ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการข้อเข่าเสื่อม
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากจากกรรมพันธุ์ ข้อเข่ารับน้ำหนักมากขึ้น ส่งผลให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมเช่นกัน
  • ความบกพร่องในส่วนประกอบของข้อ เช่น กล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง ข้อต่อหลวม
  • ปัจจัยเรื่องเพศ สตรีในวัย 40-50 ปี ขึ้นไป จะมีปัญหาข้อเข่าเสื่อมจากปัจจัยด้านฮอร์โมน กระดูก และกล้ามเนื้อ

2. ปัจจัยด้านพฤติกรรม
 

  • พฤติกรรมที่ส่งผลให้มีแรงกดที่ข้อเข่ามากกว่าเดิม เช่น การนั่งคุกเข่า การขึ้นลงบันไดบ่อยๆ การนั่งขัดสมาธิ หรือการนั่งงอเข่านานๆ
  • การที่โครงสร้างพยุงข้อเข่า เช่น กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เสื่อมสภาพจากกิจกรรมหรือท่าทางการใช้งานที่ไม่เหมาะสม เช่น บริหารร่างกายผิดท่า
  • อุบัติเหตุบริเวณข้อเข่า จากการเล่นกีฬาหรืออื่นๆ เช่น หมอนรองกระดูกฉีกขาด
  • น้ำหนักตัวที่ไม่เหมาะสม จะทำให้ข้อต่อรับน้ำหนักมากขึ้น

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองของผิวข้อกระดูกอ่อนจะลดลง ทำให้ข้อเข่าอักเสบได้ง่ายขึ้น


ระยะของโรคข้อเข่าเสื่อม

อาการข้อเข่าอักเสบ

อาการข้อเข่าเสื่อมแบ่งออกเป็น 3 ระยะด้วยกันดังนี้
 

1. ข้อเข่าเสื่อมระยะแรก

กระดูกอ่อนผิวข้อมีการสึกกร่อนและบางลง มีกระดูกงอกเป็นปุ่มๆ ที่ขอบข้อ โดยที่ช่องว่างระหว่างกระดูกข้อเข่ายังเหมือนปกติ ในอาการข้อเข่าเสื่อมระยะแรก ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อเล็กน้อย ข้อขัดฝืด และมีเสียงในข้อเข่า
 

2. ข้อเข่าเสื่อมระยะปานกลาง

กระดูกอ่อนผิวข้อสึกกร่อนและเกิดกระดูงอกมากขึ้น ช่องว่างระหว่างกระดูกข้อเข่าแคบลง กระดูกข้อเข่าเสียดสีกัน แบะมีการอักเสบของข้อและเนื้อเยื่อบริเวณรอบข้อเข่า จนมีการผลิตน้ำในข้อเข่ามากขึ้น ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อเข่า ข้อติดขัดฝืดแข็งขณะเดิน เกิดเสียงในข้อเข่า รวมถึงเริ่มมีอาการข้อเข่าหลวมจากเอ็นรอบข้อเข่ายืดและกล้ามเนื้อมีความแข็งแรงลดลง
  

3. ข้อเข่าเสื่อมระยะรุนแรง

อาการข้อเข่าเสื่อมระยะรุนแรง กระดูกอ่อนผิวข้อต่อจะสึกกร่อนไปถึง 60% กระดูกที่งอกบริเวณขอบข้อมีขนาดใหญ่มากขึ้น กระดูกข้อเข่าชิดกัน แต่น้ำในข้อลงลดทำให้มีการเสียดสีกันมากขึ้น ในระยะนี้ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม จะมีอาการปวดเป็นอย่างมาก ข้อเข่าผิดรูป ข้อเข่าหลวมไม่มั่นคงขณะยืน เดิน งอ หรือเหยียดลำบาก กล้ามเนื้อรอบหัวเข่าอ่อนแรงทำให้ผู้ป่วยหกล้มได้ง่าย


เช็คลิสต์ 6 อาการข้อเข่าเสื่อมที่พบบ่อย

1. อาการปวดหัวเข่าเรื้อรัง

อาการข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวเข่าเรื้อรังคือ โรคข้อเข่าอักเสบ เกิดจากการที่ปุ่มกระดูกงอกบริเวณข้อต่อและไปเสียดสีทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อ ทำให้มีอาการปวดหัวเข่าอักเสบต่อเนื่องเป็นเวลานาน รู้สึกเจ็บอยู่เสมอแม้ในตอนที่ไม่ได้ใช้ข้อเข่า เช่น ตอนนอน ตอนนั่งพัก
 

2. ข้อเข่าตึงฝืดกว่าปกติ

รักษาอาการข้อเข่าเสื่อม

ผู้ป่วยข้อเข่าฝืดตึงมักมีอาการฝืดตึง เข่าติด เคลื่อนไหวลำบากในตอนเช้าหลังตื่นนอนน้อยกว่าหรือเท่ากับครึ่งชั่วโมงหรือไม่ หากมีอาการข้อเข่าฝืดตึงจะไม่สามารถยืดหรืองอเข่าได้จนสุด มีอาการฝืดตึงหรือรู้สึกว่าข้อต่อขาดความยืดหยุ่น
 

3. เข่ามีเสียงก๊อกแก๊ก

อาการข้อเข่าเสื่อมระยะแรก

เมื่อขยับข้อแล้วหัวเข่ามีเสียงเกิดเสียงก๊อกแก๊ก และมีอาการปวดร่วมด้วย เช่น มีเสียงก๊อกแก๊กที่ข้อเข่าและปวดเข่าเมื่อวิ่ง กระโดด หรือขึ้นลงบันได หรือเมื่อนั่งยองแล้วไม่มีแรง ทรงตัวไม่ได้ อาการข้อเข่าเสื่อมนี้เกิดจากการที่มีน้ำหล่อเลี้ยงในข้อเข่าไม่เพียงพอ หรือกระดูกข้อเข่าสึกกร่อน
 

4. มีจุดกดเจ็บบริเวณข้อเข่า

อาการข้อเข่าเสื่อม รักษาหายไหม

เมื่อกดไปในบริเวณข้อเข่าแล้วมีจุดที่เกิดอาการเจ็บขึ้นมา ก็เป็นอีกหนึ่งอาการข้อเข่าเสื่อมเช่นกัน
 

5. ข้อเข่าผิดรูปไปจากเดิม

ข้อเข่าเสื่อมมีอาการอย่างไร

ผู้ป่วยที่มีข้อเข่าผิดรูปไปจากเดิมจะมีอาการปวดมาก นับเป็นอาการข้อเข่าเสื่อมระยะรุนแรง ข้อเข่าผิดรูป คือ มีลักษณะเข่าโก่ง เข่าแอ่น หรือเข่าชนกัน ข้อเข่าหลวมมากขึ้น ทำให้เกิดความมั่นมั่นคงระหว่างการเดิน การยืน เดินลำบาก หกล้มง่าย
 

6. ข้อเข่าบวมผิดปกติ

อาการข้อเข่าบวม

ข้อเข่าบวมผิดปกติเกิดขึ้นเมื่ออาการข้อเข่าเสื่อมเข้าสู่ระยะกลางไปแล้ว เมื่อสัมผัสจะรู้สึกได้ว่าเข่าอุ่น เนื่องมาจากการอักเสบที่เกิดขึ้นภายในข้อเข่า เมื่อกระดูกอ่อนสึก บางลง จากภาวะข้อเข่าเสื่อม จะทำให้มีการสร้างน้ำในเข้ามากขึ้นกว่าปกติ ทำให้เข่าบวม มีอาการข้อเข่าอักเสบ ไปจนเกิดโรคข้ออักเสบได้


อาการข้อเข่าเสื่อมที่ควรพบแพทย์

หากมีอาการข้อเข่าเสื่อมดังที่กล่าวไปข้างต้น ได้แก่ ปวดหัวเข่าเรื้อรัง ข้อเข่าตึงกว่าปกติ เข่ามีเสียงก๊อกแก๊ก มีจุดเจ็บบรเิวณเข่า ข้อเข่าผิดรูป หรือ บวมผิดปกติ แม้ข้อใดข้อหนึ่ง หากมีอาการแม้จะเป็นๆ หายๆ โดยที่เป็นติดต่อกันเกินกว่า 6 เดือน รับประทานยาแก้ปวดแล้วอาการข้อเข่าเสื่อมยังไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อเพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาก่อนมีอาการที่รุนแรงกว่าเดิม


การตรวจวินิจฉัยอาการข้อเข่าเสื่อม

วินิจฉัยอาการข้อเข่าเสื่อม

แนวทางการตรวจวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อม มีดังนี้

1. ตรวจคัดกรองเบื้องต้น ซักประวัติผู้ป่วยเบื้องต้น ตรวจร่างกายเน้นการตรวจข้อเข่า และทำแบบประเมินภาวะขอเข่าเสื่อมเบื้องต้นสำหรับผู้บริการทั่วไป

2. ตรวจวินิจฉัยข้อเข่าของผู้ป่วย โดยแบ่งการตรวจออกเป็น 2 แนวทางดังนี้
 

  • ส่งตรวจเอกซเรย์ เพื่อตรวจสอบสภาพของบริเวณข้อต่อของผู้ป่วย เช่น ตรวจว่ามีช่องว่างเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด แคบลงจากกระดูกสึกหรอหรือไม่ หรือตรวจปุ่มกระดูกที่อาจเกิดขึ้นบริเวณรอบข้อเข่า
  • เจาะเลือด เพื่อวินิจฉัยแยกโรคที่อื่นที่มีอาการใกล้เคียงกันจากโรคข้อเข่าเสื่อม เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเกาต์

3. ประเมินระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม หรือ Knee Scoring โดยเป็นระบบการให้คะแนนเพื่อประเมินอาการข้อเข่าเสื่อมของผู้ป่วย

4. รักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธีที่เหมาะสม โดยจะเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุดจากระดับความรุนแรงของอาการข้อเข่าเสื่อมของผู้ป่วย ซึ่งจะพิจารณาวิธีการรักษาแตกต่างกันไปในรายบุคคลตามดุลพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ


วิธีรักษาอาการข้อเข่าเสื่อม

รักษาอาการข้อเข่าเสื่อม
 

1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น หลีกเลี่ยงการยกของหนัก เลี่ยงการยืนหรือนั่งท่าเดียวเป็นเวลานานลดน้ำหนัก หรือออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อรอบต้นขาและกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า การมีกล้ามเนื้อต้นขาและรอบข้อเข่าแข็งแรงจะช่วงพยุงข้อเข่า ทำให้ข้อเข่าไม่ต้องรับน้ำหนักมากเกินไป 
 

2. รักษาข้อเข่าเสื่อมโดยการใช้ยา

การรักษาด้วยยาสามารถลดอาการปวดข้อเข่าในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยได้ โดยแบ่งออกเป็นการรักษาด้วยยาแบบรับประทาน และการรักษาด้วยยาแบบการฉีด 
 

3. การทำกายภาพบำบัด

เพื่อบรรเทาอาการข้อเข่าเสื่อมของผู้ป่วย และช่วยลดอาการปวด ทำได้หลากหลายวิธี เช่น อัลตราซาวด์ เพื่อให้ความร้อนลึก ช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซม ลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อและเพิ่มการไหลเวียนโลหิต
 

4. รักษาข้อเข่าเสื่อมทางชีวภาพ

การรักษาทางชีวภาพ หรือ Biology Therapy เป็นการรักษาอาการผิดปกติดของกระดูกอ่อนและน้ำเลี้ยงข้อเข่า โดยฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่า (Hyaluronic acid) เข้าไปบรรเทาอาการปวดและฝืดตึงของข้อเข่า หรือฉีดสารสกัดจากเลือดที่มีกว่าเข้มข้นสูงกว่าปกติของตัวผู้ป่วยเอง (Platelet Rich Plasma)
 

5. ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมด้วยการส่องกล้อง

การผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้อง หรือ Arthroscopic Surgery คือ การผ่าตัดโดยใช้กล้องวิดีโอขนาดเล็กสอดเข้าไปในข้อเข่า และเชื่อมสัญญาณกับจอภาพทีวี ทำให้เห็นองค์ประกอบภายในข้อเข่าได้อย่างชัดเจน มักใช้การผ่าตัดแบบส่องกล้องกับผู้ป่วยที่หมอนรองเข่าขาด เอ็นข้อเข่าขาด กระดูกอ่อนแตก เป็นต้น
 

6. ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า

การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม เปลี่ยนข้อเข่าเทียม หรือ Arthroplasty เป็นอีกหนึ่งวีธีการรักษาที่จะช่วยลดอาการปวด เพิ่มการเคลื่อนไหว-องข้อเข่า ทำให้ผู้ป่วยที่เลือกผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ปัจจุบันมีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 2 วิธี คือ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด และการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข้าเทียมบางส่วน


การดูแลตัวเองสำหรับผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม

การดูแลตัวเองสำหรับผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม ข้อเข่าเสื่อมรักษาหายได้ด้วยตนเอง ตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย สามารถเริ่มปฏิบัติได้ดังนี้
 

  • บริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ข้อแข็งแรง ลดแรงกระทบต่อข้อเข่า
  • ใช้สนับเข่าให้ข้อเข่ากระชับ ลดอาการปวด แต่ควรใช้ร่วมกับการบริหารข้ออย่างสม่ำเสมอ
  • ใช้ไม้เท้าหรือร่ม ช่วยพยุงตัว ลดแรงกระทำต่อข้อเข่า เพิ่มความมั่นคงในการยืน
  • ปรับเปลี่ยนอิริยาบทต่างๆ ในชีวิตประจำวันให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้เกิดอาการข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น เช่น การนั่งยองๆ นั่งพับเพียบ
  • ออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักตัว เพื่อลดแรงกระแทกต่อเข่า เนื่องจากเวลาเดินหรือยืน ข้อเข่าต้องรับน้ำหนัก 3-4 เท่าของน้ำหนักตัว
  • ใช้ความร้อนหรือความเย็นประคบเพื่อบรรเทาอาการปวดข้อ ความร้อนช่วยลดการติดขัดภายในข้อ ความเย็นช่วยลดการเกร็งตัวและอักเสบของกล้ามเนื้อ

แนวทางป้องกันอาการข้อเข่าเสื่อม

ป้องกันอาการข้อเข่าเสื่อม

โรคข่อเข่าเสื่อมแม้จะดูเป็นโรคที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเราได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นจากอิริยาบทในชีวิตประจำวันหรือด้วยอายุที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สามารถป้องกันอาการข้อเข่าเสื่อมได้ตามแนวทางดังต่อไปนี้

ปรับพฤติกรรม
 

  • หลีกเลี่ยงท่าทางที่มีแรงกดกระทำต่อเข่า เช่น ท่านั่งพับเพียบ นั่งยอง นั่งไขว่ห้าง นั่งคุกเข่า
  • หลีกเลี่ยงการหมุนเข่า
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
  • หลีกเลี่ยงการขึ้นบรรได

ปรับอิริยาบทในชีวิตประจำวัน
 

  • ท่านั่ง ควรนั่งบนเก้าอี้สูงระดับเข่า เมื่อนั่งห้อยขาแล้วฝ่าเท้าวางราบพอดีกับพื้น
  • ท่านอน ไม่ควรใช้หมอนรองใต้เข่าเวลานอน เพราะจะไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือดบริเวณข้อเข่า ทำให้ข้อเข่าตึงเอ็นหนาขึ้น
  • ท่ายืน ควรยืนตรง ขากางออกเล็กน้อยให้น้ำหนักตัวลงบนขาทั้งสองข้างให้เท่ากัน ไม่ควรลงน้ำหนักที่ขาข้างใดข้างหนึ่งเพียงข้างเดียว
  • ท่าเดิน ไม่ควรเดินบนพื้นที่ไม่เสมอกัน เช่น บันได ทางลาดชัน ควรเดินบนพื้นราบ หลีกเลี่ยงพื้นลื้นเพราะจะทำให้ล้มได้ง่าย ควรใส่รองเท้าส้นเตี้ยหรือไม่มีส้น

ปรับปัจจัยภายนอก
 

  • จัดบ้านให้โล่ง ไม่มีสิ่งกีดขวางเพื่อป้องกันการเดินชน สะดุดล้มเกิดอุบัติเหตุ
  • ใช้ส้วมแบบชักโครก ไม่นั่งยองเพราะจะเป็นการลงน้ำหนักไปที่ข้อเข่า ในห้องน้ำควรมีแผ่นกันลื่นและราวจับ
  • จัดเก้าอี้สำหรับนั่งอาบน้ำ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย
  • หากเลี่ยงการขึ้นบันไดไม่ได้ ควรมีราวจับทั้งสองข้างบันได
  • หลีกเลี่ยงการใช้อ่างอาบน้ำ เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุลื่นล้ม

รักษาข้อเข่าเสื่อมที่สมิติเวช ไชน่าทาวน์

เบื้องต้นผู้ป่วยสามารถทำแบบประเมินภาวะข้อเข่าเสื่อมของตนเองได้ หากมีความเสี่ยงหรือเสี่ยงสูงต่อภาวะข้อเข่าเสื่อม ควรติดต่อพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อต่อคอยดูแลให้การรักษาหลากรูปแบบ ทั้งการรักษาด้วยวิธีที่ไม่ใช่การผ่าตัด เช่นการใช้ยาฉีด Hyaluronic Acid หรือการฉีดสเตียรอยด์ และการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม โดยโปรแกรมรักษาของเรามีดังนี้
 

แพ็กเกจผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 1 ข้าง
ค่าข้อเข่าเทียม 

ค่าห้องพักแบบมาตรฐาน 4 คืน ,รวมค่าการพยาบาล,
บริการห้องพัก,ค่าอาหาร,
ค่าเครื่องมือแพทย์ที่เกี่ยวข้อง(ตามกำหนด)

ค่ายาผู้ป่วยใน,ค่าเวชภัณฑ์,ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์,
ค่ายากลับบ้าน ขณะนอนพักในรพ. (ตามที่กำหนด)

ค่าห้องผ่าตัด ค่าหอฟักฟื้น
รวมค่ายาและเวชภัณฑ์ในการผ่าตัด (ตามกำหนด)

ค่าบริการการทำกายภาพบำบัด
ค่าแพทย์ผ่าตัดและแพทย์วิสัญญี
ราคา 225,000 บาท
พิเศษ รับฟรี โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนผ่าตัด มูลค่า 11,500 บาท รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

หมายเหตุ
 

  • ราคาดังกล่าว ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด   
  • ราคาดังกล่าว เริ่มใช้บริการได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 ก.ค.65 เท่านั้น
  • ราคานี้สำหรับคนไทยเท่านั้น
  • โรงพยาบาลขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงราคาและเงื่อนไขโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า            
  • สามารถรับบริการได้ที่โรงพยาบาลสมิติเวชไชน่าทาวน์ บนถนนเยาวราช ติดวงเวียนโอเดียน เท่านั้น        
  • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายตรงโทร. 02-118-7893 หรือสายตรงแผนกกระดูกและข้อ 02-118-7922

ข้อสรุป

โรคข้อเข่าเสื่อมสามารถพบได้ในผู้สูงวัย และผู้ที่โหมใช้งานข้อเข่าซ้ำๆ หรือประสบอุบัติเหตุบาดเจ็บที่ข้อเข่า แล้วได้รับการรักษาอย่างไม่ถูกวิธี อาการข้อเข่าเสื่อมมีหลายระยะ ในระยะแรกสามารถดูและป้องกันอาการข้อเข่าเสื่อมได้โดยการเปลี่ยนอิริยาบทในชีวิตประจำวัน และการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี ส่วนอาการข้อเข่าเสื่อมระยะกลางและระยะรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อเพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

หากผู้ป่วยมีอาการข้อเข่าเสื่อมสามารถติดต่อสอบถามกับทีมแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
 

สนใจปรึกษา ศ.นพ.กีรติ เจริญชลวานิช รักษาข้อเข่าเสื่อมกว่า 30 ปี ด้วยประสบการณ์การรักษาผ่าตัดเปลี่ยนเข่ากว่า 10,000 เคส

 

 

 
แอดไลน์ สมิติเวช ไชน่าทาวน์
 

เอกสารอ้างอิง

Kwansuwee, A., Suwannee, S. & Busarin, E. (2018). Nursing for Clients with Knee Osteoarthritis
Undergoing Knee Replacement Surgery. Journal of Phrapokklao Nursing College Vol.29
No.1 January - June 2018, 223-238.

Michael, J. W., Schlüter-Brust, K. U., & Eysel, P. (2010). The epidemiology, etiology, diagnosis, and
treatment of osteoarthritis of the knee. Deutsches Arzteblatt international, 107(9),
152–162. https://doi.org/10.3238/arztebl.2010.0152 

WebMD. (n.d.). Knee osteoarthritis: Causes, symptoms, treatments. WebMD. from
https://www.webmd.com/osteoarthritis/Ostearthritis-of-the-knee-degenerative-
arthritis-of-the-knee


  

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​