บทความสุขภาพ

ตรวจค่าไต BUN, Creatinine, eGFR คืออะไร? ผลตรวจบอกอะไรได้บ้าง?

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567

“ไต” เป็นอวัยวะที่ช่วยขับของเสียภายในร่างกายมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นสารเคมี เกลือแร่ แร่ธาตุ ภายที่เกินความต้องการภายในเลือดให้ถูกคัดกรองแยกออกไปเป็นของเหลวหรือ ปัสสาวะ ออกไปจากภายนอกร่างกาย

หากอวัยวะส่วนไต เกิดมีการทำงานที่เสื่อมสภาพลง อาจนำไปสู่ ภาวะสารพิษตกค้างภายในร่างกายจนเกิดเป็นไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อโรคขนาดใหญ่มาทำลายเซลล์ร่างกายให้มีการทำงานที่แย่ และทำให้ผู้ป่วยตรวจพบโรคแทรกซ้อนอย่าง การตรวจหัวใจมีปัญหา การพบตรวจมะเร็งลำไส้ ที่สามารถค่าชีวิตผู้ป่วยได้

จึงทำให้การตรวจค่าไต เป็นหนึ่งในการตรวจสุขภาพภายในที่สำคัญแก่ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก แล้วค่าไตปกติเท่าไหร่ มีแบบการตรวจอย่างไรบ้าง ทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ จะพาผู้อ่านทำความเข้าใจการตรวจค่าไตได้ในบทความนี้


 

‘ไต’ อวัยวะสำคัญต่อระบบร่างกาย

ไต (Kidneys) คือ หนึ่งในอวัยวะภายในของมนุษย์ มีลักษณะเป็นเมล็ดถั่วเหลืองขนาดเล็กเท่ากำปั้น อยู่คู่กันระหว่างผนังลำตัวของกระดูกสันหลังช่วงเอว เป็นส่วนประกอบสำคัญในการช่วยปรับความสมดุลสารต่าง ๆ ที่มีปริมาณมากเกินความต้องการต่อร่างกายนั้น ให้ถูกขับออกไปเป็นรูปแบบของเหลวในช่องทางเดินน้ำปัสสาวะอย่างสม่ำเสมอ

เพื่อให้ไตสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การตรวจค่าไตจึงเป็นดัชนีที่จะช่วยชี้และค้นหาสาเหตุการทำงานที่ผิดปกติของทุกส่วนประกอบของไต ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรมจากคนในครอบครัวที่มีประวัติโรคไตมาก่อน พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน และสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย เพื่อเป็นข้อมูลวินิจฉัย ตรวจหาโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ และให้แนวทางการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม

 

ไตทำหน้าที่อะไรบ้าง

ไต จะมีการแบ่งหน้าที่หลัก ๆ 3 อย่าง ได้แก่ การคัดกรองของเสียออกจากเลือดไปในรูปแบบน้ำปัสสาวะ การปรับสมดุลน้ำ-เกลือแร่ในร่างกาย และการผลิตฮอร์โมนอีริโทรโพอิตินภายในไต
 

  1. การคัดกรองของเสียภายในไต มักจะเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายไม่ว่าจะเป็นสารเคมี วิตามินหรือเกลือแร่ที่เกินต่อความจำเป็นต่อร่างกาย และการเผาผลาญจากสารอาหาร (Metabolism) ที่มีสารโปรตีนเกินความต้องการให้ถูกแปรเป็นของเหลวที่มีชื่อว่า ยูเรีย (Urea) ถูกขับไปในน้ำปัสสาวะ
  2. การปรับสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ไตจะช่วยรักษาความสมดุลของเกลือแร่และธาตุภายในร่างกายให้คงที่ ปรับอุณหภูมิภายในร่างกายอยู่ในระดับปกติ อีกทั้งควบคุมการรักษาความสมดุลของกรดและด่างในเลือดไม่ให้สูง-ต่ำจนเกินไป
  3. การผลิตฮอร์โมนอีริโทรโพอิติน (Erythropoietin) ฮอร์โมนตัวนี้ทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นส่วนของไขสันหลังกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นมาหล่อเลี้ยงไปตามเนื้อเยื่อทั่วร่างกายได้อย่างเพียงพอ

ไต เป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญในการดำรงชีวิตที่ขาดไม่ได้ ดังนั้นการตรวจค่าไตจึงเป็นหนึ่งในการตรวจเช็คสภาพการทำงานของไตว่ามีภาวะการทำงานที่ผิดปกติหรือไม่ หากละเลยการเช็คค่าไตเป็นเวลานาน อาจทำให้เสียโอกาสในการรักษาแล้วนำไปสู่ภาวะพิษตกค้างในร่างกายสะสมไปเรื่อย ๆ จนเกิดการเสียชีวิตขึ้นมาในภายหลัง
 


 

รู้จักโรคไต


โรคไต (Kidney Disease) คือ การทำงานภายในของระบบไตที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการขับสารพิษไม่หมด ทำให้บางส่วนตกค้างในร่างกาย นำไปสู่ภาวะการเสียสมดุลของน้ำ เกลือแร่ ฮอร์โมนและโรคแทรกซ้อนภายในร่างกาย

 

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคไต

สาเหตุและปัจจัยหลักที่ทำให้ไตมีการทำงานผิดปกติจนก่อให้เกิดโรคไต ได้แก่
 

  • กรรมพันธุ์ - ประวัติคนในครอบครัวมีโรคแทรกซ้อนที่สร้างผลกระทบให้ไตมีการทำงานผิดปกติได้ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต้เรื้อรัง
  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น - ทำให้ไตในภาวะที่ถูกใช้งานเป็นเวลานานมีการทำงานที่เสื่อมสภาพลง
  • พฤติกรรมการบริโภค - การรับประทานอาหารที่มีรสจัดจ้านมากเกินไป เช่น ทานเค็ม หวาน เปรี้ยว หรือเผ็ดในปริมาณมากเกินไป ส่งผลให้การไตมีการทำงานในการคัดกรองที่หนัก ส่งผลสู่ภาวะไตเสื่อมสภาพก่อนวัยได้


โรคไตมีกี่ชนิด อะไรบ้าง

การตรวจค่าไตสามารถวินิจฉัยโรคหลัก ๆ ภายในอวัยวะของไตได้ โดยโรคไตแบ่งเป็น 5 ชนิด ได้แก่
 

  • โรคนิ่วในไต (Kidney Stones)
  • โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease)
  • โรคเส้นเลือดฝอยที่ไตอักเสบ (Glomerulonephritis)
  • โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infections)
  • โรคถุงน้ำในไตจากสาเหตุพันธุกรรม (Polycystic Kidney Disease)

 

การตรวจค่าไต (Renal Function Test)

การตรวจค่าไต (Renal Function Test) คือ การเช็คสภาพของเสียที่ถูกขับจากการทำงานปัจจุบันของไตอย่างการตรวจปัสสาวะ และการเจาะเลือดดูค่าไต เพื่อหาสารยูเรียรั่วไหลในกระแสเลือดนั้น มาจากการทำงานผิดปกติของไตโดยตรงหรือไม่ จึงทำให้มีเครื่องตรวจค่าไตจากผลเลือดตามมาตรฐานที่ช่วยวินิจฉัยสุขภาพไตได้แม่นยำยิ่งขึ้นได้แก่ การตรวจ BUN , Creatinine และ eGFR

 


 

ทำไมต้องตรวจค่าไต

  • เพื่อตรวจสภาพการทำงานของไตปัจจุบันว่ามีการทำงานที่ผิดปกติหรือไม่
  • การตรวจค่าไต สามารถวินิจฉัยโดยนำตัวอย่างเลือดมาคัดแยกสารประกอบที่ผิดปกติภายในกระแสเลือดได้ อย่างการวัดปริมาตรเลือดที่มีความดันต่ำกว่าปกติ อาจมีความเป็นไปได้ที่ระบบการทำงานของหัวมีการทำงานที่ผิดปกติได้
  • เพื่อดูผลกระทบจากการรับประทานยารักษาโรคแทรกซ้อนบางชนิด ที่มีสารทำลายการทำงานไตให้เสื่อมสภาพลง ทางแพทย์จะได้งดยาชนิดนั้นแก่ผู้ป่วย แล้วจัดหายาชนิดใหม่มาแทน

 

ใครบ้างที่ควรตรวจค่าไต

โดยทั่วไป บุคคลที่ควรตรวจค่าไต มีดังนี้
 

  • บุคคลที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • บุคคลที่มีมวลดัชนีวัดค่า BMI สูงกว่ามาตรฐาน
  • บุคคลที่ได้รับการตรวจหัวใจ แล้วมีผลวินิจฉัยความดันเลือดสูงหรือต่ำกว่าผิดปกติ
  • รับประทานยาที่มีส่วนผสมของสมุนไพรบางชนิดที่อาจทำลายเนื้อไตได้
  • ลักษณะร่างกายภายนอกของผู้ป่วย มีอาการบวมตามใบหน้า ตัว และช่วงเท้า
  • บุคคลที่มีพฤติกรรมและมีประวัติการบริโภคสารเสพติดเกินขนาด เช่น สูบบุหรี่
  • ประวัติคนในครอบครัวที่เคยเป็นโรคไตเรื้อรังผ่านพันธุกรรม เช่น เป็นโรคถุงน้ำไต
  • มีอาการอยากปัสสาวะบ่อย และลักษณะของน้ำปัสสสาวะมีภาวะเลือดปน หรือเป็นฟอง
  • มีอาการวินเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย นำไปสู่อาการคลื่นใส้จนถึงขั้นอาเจียนออกมา
  • บุคคลได้เป็นโรคประจำตัวมาก่อน เช่น โรคเบาหวาน เป็นต้น

 

วิธีตรวจค่าไต

การตรวจปัสสาวะ

การตรวจปัสสาวะ (Urine analysis) คือ การตรวจค่าไตโดยดูน้ำที่ถูกคัดแยกในรูปแบบของเสียหรือ ยูเรีย มาเป็นตัวกลางให้ทางแพทย์ช่วยคัดกรองส่วนประกอบสารเคมี กลิ่น และสีเป็นอย่างไร เพื่อนำผลลัพธ์นี้ไปวินิจฉัยโรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ และการทำงานของไตได้
 

การตรวจเลือด

การตรวจเลือด (Blood analysis) คือ การตรวจค่าไตโดยดูปริมาณเลือดนั้น เพื่อดูส่วนประกอบความสมบูรณ์แบบของเม็ดเลือด ไม่ว่าจะเป็น ความเข้มข้นของเลือด , สารเคมี โปรตีน ไขมัน และเกลือแร่ในน้ำเลือด , ปริมาณคอลเลสตอรอลในเลือด และไนโตรเจนในสารยูเรียที่หลงเหลือในกระแสเลือดในปริมาณมากน้อยแค่ไหน
 


 

1. การตรวจค่าไต BUN (Blood Urea Nitrogen)

การตรวจค่าเลือด BUN คือ การเจาะเลือดตรวจค่าไต เพื่อประเมินคุณภาพเลือด โดยนำไปวัดค่าไนโตรเจนจากส่วนประกอบของยูเรียว่ามีปริมาณรั่วออกมาในกระแสเลือดมากน้อยแค่ไหน

วิธีตรวจเลือด BUN คือ การวัดหาปริมาณไนโตรเจนในสารยูเรียตามกระแสเลือด มีวิธีเตรียมตัวก่อนตรวจค่าไต ดังนี้
 

  1. เมื่อได้รับวินิจฉัยให้ตรวจ BUN ผู้ป่วยควรงดทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ประเภทสีแดงในปริมาณให้น้อยลง
  2. ผู้ป่วยต้องงดอาหารอย่างต่ำ 8 ชั่วโมง ก่อนมาตรวจค่าไต


ค่าปกติของ BUN

ค่า BUN ปกติ จากการตรวจเลือดจะถูกแบ่งเกณฑ์ตามอายุ ดังนี้
 

  • ค่า BUN ปกติในผู้ใหญ่ อยู่ที่ประมาณ 10 - 20 mg/dL
  • ค่า BUN ปกติในเด็ก อยู่ที่ประมาณ 5 - 18 mg/dL

หากค่า BUN สูง คือมีโอกาสเป็นไปได้ว่าระบบการทำงานของไตมีปัญหา อาจนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลัน
 


 

2. การตรวจค่าไต Creatinine

การตรวจเลือด Creatinine คือ การเจาะเลือดตรวจค่าไตเพื่อประเมินคุณภาพของเสียจากการเผาผลาญใช้งานของกล้ามเนื้อภายในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การวิ่ง หรือการขยับทุกส่วนของร่างกาย หากค่า Creatinine ในกระแสเลือดมีปริมาณมากหรือน้อยเกินไป อาจวินิจฉัยได้ว่าค่าไตของผู้ป่วยนั้นมีการทำงานผิดปกติ

วิธีตรวจ Creatinine คือ การประเมินของเสียจากกล้ามเนื้อของอวัยวะภายในของร่างกาย โดยมีวิธีเตรียมตัวเพื่อตรวจค่าไต Creatinine ดังนี้

1. เมื่อได้รับวินิจฉัยให้ตรวจ CR (Creatinine) ผู้ป่วยควรงดทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์สีแดง เพื่อป้องกันผลตรวจคลาดเคลื่อน

2. งดทานยาประเภทดังต่อไปนี้ เพื่อลดความเสี่ยงจากการตรวจ CR คลาดเคลื่อน
 

  • ยาแก้ปวดกลุ่มดเอ็นเสด (NSAIDs)
  • ยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycoside)
  • ยารักษาโรคกระเพาะอาหารโอเมพราโซล (Omeprazole)
  • ยาไตรเมโทพริม (Trimethoprim)
  • ยาที่มีผลต่อการทำงานของไต (เช่น เซฟาโลสปอริน (Cephalosporins)
  • ยาเคมีบำบัด

3. เมื่อได้รับการตรวจแบบ CR ควรหมั่นตรวจเช็คทุก ๆ 6 เดือน
 


ค่าปกติของ Creatinine

ค่าปกติ Creatinine คือการขับสาร cr ผ่านทางไต 100% จะถูกแบ่งเกณฑ์ตามเพศ ดังนี้
 

  • ค่าปกติ Creatinine ของผู้ชาย : 0.6-1.2 mg/dL
  • ค่าปกติ Creatinine ของผู้หญิง : 0.5-1.1 mg/dL

หากค่า Creatinine ต่ำกว่าปกติ คือมีโอกาสเป็นไปได้ที่กล้ามเนื้อและเส้นประสาทไม่ได้รับการบริหารร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพในชีวิตประจำวันจนถึงภาวะกล้ามเนื้อลีบ ฝ่อ แต่หาก Creatinine สูงกว่าปกติ คือมีสิ่งอุดตันในระบบปัสสาวะอย่าง นิ่ว และภาวะขาดน้ำ


 

3. การตรวจค่าไต BUN / Creatinine Ratio

การตรวจค่าไต BUN / Creatinine Ratio คือ การคำนวณอัตราส่วนของการตรวจทั้ง 2 วิธี (การตรวจค่าไต BUN และ Creatinine) เพื่อหาผลเลือดในวาระเดียวกัน นำมาเป็นข้อมูลวินิจฉัยโรคแทรกซ้อนและโรคที่เกี่ยวกับไตได้อย่างใกล้เคียงมากที่สุด

ขั้นตอนการคำนวณ จะใช้ตัวเลขของค่า BUN หารกับตัวเลขค่า Creatinine เพื่อหาอัตราส่วน
 

ค่าปกติของ BUN / Creatinine Ratio

ค่าปกติ BUN / Creatinine Ratio จากการตรวจเลือดจะถูกแบ่งเกณฑ์ตามอายุ ดังนี้
 

  • อัตราส่วนปกติทั่วไปของค่า BUN ต่อ Creatinine ในผู้ใหญ่ คือ 10-20 : 1
  • อัตราส่วนปกติทั่วไปของค่า BUN ต่อ Creatinine ในทารกอายุต่ำกว่า 12 เดือน คือ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 : 1

หากค่า BUN / Creatinine Ratio ต่ำกว่าปกติ คือมีความเป็นไปได้ที่ผู้ป่วยรับสารอาหารจำพวกโปรตีนน้อยเกินไป กล้ามเนื้อบางส่วนมีฉีกขาดที่ทำให้กล้ามเนื้อลีบจนสุดท้ายนำไปโรคกล้ามเนื้อสลาย

หากค่า BUN / Creatinine Ratio สูงกว่าปกติ คือมีความเป็นไปได้ที่เกิดการตกเลือดในช่องทางเดินอาหารหรือช่อทางเดินหายใจ มีภาวะขาดน้ำและอาจมีนิ่วในไต นำไปสู่อาการไตวายเฉียบพลัน


 

4. การตรวจค่าไต eGFR

การตรวจค่าไต eGFR คือ การตรวจวัดอัตราการคัดกรองของกระแสเลือดในไตต่อนาที เพื่อตรวจเช็คประสิทธิภาพการกรองของไตว่า มีปัญหาหรือไม่


ค่าปกติของ eGFR

ค่า eGFR ปกติ คือ อัตราการคัดกรองของเสียภายในไต สามารถคัดของเสียได้มากกว่า 90 มล./นาที เป็นต้นไป จึงทำให้การตรวจค่าไตแบ่งเป็น 5 ระยะดังนี้
 

  • การตรวจค่าไตระยะที่ 1 eGFR ≤ 90 มล./นาที/1.73 ตร.ม. การทำบงานของไตทำงานปกติแต่ค้นพบสิ่งแปลกปลอมในการทำงานของไตเช่น นิ่ว กรวยไตอักเสบ และไตบวม
  • การตรวจค่าไตระยะที่ 2 eGFR 60 – 89 มล./นาที/1.73 ตร.ม. การทำงานของไตมีผิดปกติเล็กน้อย
  • การตรวจค่าไตระยะที่ 3 eGFR 30 – 59 มล./นาที/1.73 ตร.ม. การทำงานของไตทำงานปานกลาง
  • การตรวจค่าไตระยะที่ 4 eGFR 15 – 29 มล./นาที/1.73 ตร.ม. การทำงานของไตทำงานผิดปกติมาก
  • การตรวจค่าไตระยะที่ 5 eGFR < 15 มล./นาที/1.73 ตร.ม. มี การทำงานของไตอยู่ภาวะไตวาย

 

5. การตรวจค่าไต Creatinine Clearance


ค่าปกติของ Creatinine Clearance

ค่าปกติของ Creatinine Clearance จากการตรวจเลือดจะถูกแบ่งเกณฑ์ตามเพศ ดังนี้
 

  • ค่าปกติของ Creatinine clearance ในผู้ชาย คือ 97 - 137 ml/min หรือ 0.93 - 1.32 ml/sec
  • ค่าปกติของ Creatinine clearance ในผู้หญิง คือ 88 - 128 ml/min หรือ 0.85 - 1.23 ml/sec

หากค่า Creatinine Clearance ต่ำกว่าปกติ มีโอกาสเป็นไปได้จากการที่ผู้ป่วยมีอายุมากขึ้นจึงทำให้กระแสเลือดไปคัดกรองส่วนของไตได้น้อยลง หรือเกิดโรคแทรกซ้อนอย่างหัวใจวาย มีภาวะขาดน้ำ หรือการใช้ยาบางชนิดที่ส่งผลกระทบให้ค่าตรวจไตต่ำกว่ามาตรฐาน

หากค่า Creatinine Clearance สูงกว่าปกติ มีความเป็นไปได้ที่ผู้ป่วยมีการเคลื่อนที่ตามร่างกายได้น้อยลง หรืออาจอยู่ในภาวะตั้งครรภ์


 

การเตรียมตัวก่อนตรวจค่าไต

คนส่วนใหญ่ต่างตั้งข้อสงสัยว่า ก่อนตรวจค่าไต ต้องอดอาหารไหม? โดยทั่วไปจำเป็นต้องอด เพื่อลดโอกาสคลาดเคลื่อนของผลตรวจเลือดหรือผลตรวจปัสสาวะ โดยวิธีการเตรียมตัวก่อนตรวจค่าไต มีดังนี้
 

  • ก่อนการตรวจค่าไตต้องอดอาหารและน้ำก่อนเข้าห้องตรวจ 8-12 ชั่วโมง
  • งดเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ทุกชนิด 24 ชั่วโมง
  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิต สามารถรับประทานยาประจำตัวได้ปกติ

แนวทางการรักษาโรคไต

หากตรวจค่าไตแล้วอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงเป็นโรคไต แนวทางวิธีรักษาโรคไตเพื่อให้ค่าไตกลับมาเป็นปกติ มี 3 วิธี ดังนี้
 

  1. การฟอกเลือด (Hemodialysis) คือ การคัดกรองของเสียหรือสิ่งสกปรกตกค้างจากเลือดให้ถูกฟอกให้สะอาด แล้วจากนั้นนำเลือดที่ถูกล้างเรียบร้อยแล้วกลับเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย โดยระยะเวลาการฟอกเลือดใช้เวลา 3-5 ชม. และผู้ป่วยควรทำการฟอกเลือดอย่างต่ำ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์
  2. การล้างไตทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis) คือ การนำน้ำยาสาร ชนิด CAPD เข้าไปในในช่องท้องของผู้ป่วย เพื่อให้สารพิษที่ตกค้างทั่วทั้งร่างกายจะถูกดูดซึมผ่านกระแสเลือดไปยังน้ำยาในช่องท้อง โดยวิธีนี้จะต้องทำการล้างไตทางช่องท้องตลอดวันละ 4 ครั้ง/สัปดาห์
  3. การปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation) คือ การปลูกถ่ายไตอันใหม่จากผู้บริจาคให้กับผู้ที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง มาผ่าตัดส่วนของไตข้างใดข้างหนึ่งที่เสื่อมสภาพการทำงานออกไป แล้วใช้ไตใหม่นี้ผ่าตัดมาทดแทน วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยหายจากการเป็นโรคไตถาวร ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ

 

แนะนำวิธีป้องกันโรคไต

เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงไม่ให้การทำงานของไตเสื่อมสภาพหรือมีอายุสั้นลง ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อลดภาระการทำงานของไตได้ดังนี้
 

  • งดสูบบุหรี่ถาวร เพื่อลดความดันโลหิตจากการสูบไปทำลายส่วนประกอบของไต อย่างหลอดเลือดฝอยถูกทำลายลงไป
  • หากเป็นบุคคลที่เคยตรวจเบาหวานแล้วพบโรค ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วยหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลทุกชนิด
  • บุคคลที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์ ควรจำกัดการดื่มอย่างน้อย 1 แก้ว/วัน เพื่อควบคุมความดันโลหิตในกระแสเลือดให้คงที่เสมอ
  • บุคคลที่มีภาวะมวลดัชนี BMI เกินมาตรฐาน สามารถควบคุมน้ำหนักโดยการออกกำลังกาย ดูแลตัวเองด้วยการทานอาหารที่ให้แคลอรี่น้อยแต่ให้พลังงานสูง พักผ่อนให้เพียงพอ และทำจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ
  • หมั่นตรวจค่าไตเป็นระยะ ๆ เพื่อเอาผลปัสสาวะหรือเลือด มาปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ไตมีการใช้งานที่ยืนยาว
  • หากผู้ป่วยที่กำลังจะแต่งงาน สามารถทำการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานให้กับฝ่ายคู่ของตัวเอง และตัวของผู้ป่วยก่อนที่จะวางแผนเริ่มมีบุตรได้ เพื่อป้องกันและรักษาโรคไตไม่ให้ถูกส่งต่อทางพันธุกรรม

 

ค่าใช้จ่ายตรวจค่าไต ราคาเท่าไหร่

ผู้ที่มีภาวะความเสี่ยงจากการตรวจค่าไตสูง และต้องการหาสถานที่ตรวจรักษากับแพทย์ที่มีประสบการณ์ แต่ไม่ทราบจะหาสถานรักษาตรวจค่าไตที่ไหน ทางสถาบันการตรวจค่าการทํางานของไต โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีแพ็กเกจตรวจสุขภาพประจำปีละโปรโมชันราคาพิเศษให้กับลูกค้าดังนี้
 

โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี

Basic 

< 30 ปี 

Advanced 

30-40 ปี

Executive

40-50 ปี

Absolute 

50 ปีขึ้นไป

Longevity

60 ปีขึ้นไป

อัตราค่าบริการปกติ

6,485

ชาย 13,365

หญิง 14,965

ชาย 29,865

หญิง 35,290

ชาย 38,285

หญิง 47,030

ชาย 43,740

หญิง 54,085 

อัตราพิเศษ

2,800

ชาย 8,000

หญิง 8,000

ชาย 13,500

หญิง 17,500

ชาย 17,700

หญิง 22,700

ชาย 20,000

หญิง 23,200

ราคา  Online แอดไลน์ @samitivejchinatown ลด 10%

2,520

 

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​