บทความสุขภาพ

ใครบ้างที่ควรตรวจเบาหวาน ตรวจก่อน รู้ก่อน รักษาก่อน!

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567


โรคเบาหวาน เป็นโรคภัยที่สร้างผลกระทบต่อระบบการทำงานภายในร่างกายและสภาพจิตใจของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เนื่องจากความเสื่อมสภาพของสารอินซูลินที่ถูกผลิตได้น้อยลง ทำให้น้ำตาลที่ไม่ได้รับการเปลี่ยนเป็นพลังงาน ถูกนำเข้าสู่กระแสเลือดแล้วสร้างพิษอวัยวะภายในทุกส่วนให้สั่นรวน ส่งผลให้สภาวะจิตใจให้มั่นคง บั่นทอนให้ผู้ป่วยเกิดภาวะเศร้าหมองและวิตกกังวลในที่สุด
 
ดังนั้นการตรวจเบาหวานเป็นการรับรู้สถานะน้ำตาลในร่างกายปัจจุบัน เพื่อหาแนวทางวิธีลดน้ำตาลในกระแสเลือด และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างถูกจุก
 
แล้วการตรวจเบาหวานสามารถบอกความเสี่ยงของสภาพการทำงานของอวัยวะอย่างไร การเตรียมตรวจเบาหวานงดอาหารกี่ชั่วโมง จำเป็นต้องตรวจน้ำตาลในปัสสาวะหรือไม่ และใครบ้างที่ควรตรวจบ้าง ทางทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ จะพาผู้อ่านทำความเข้าใจการตรวจเบาหวานได้ในบทความนี้   

สารบัญบทความ


รู้จักโรคเบาหวาน

ก่อนที่จะไปตรวจโรคเบาหวาน เราจะต้องมาทำความรู้จักและเข้าใจตัวโรคเบาหวานเสียก่อนว่า แท้ที่จริงแล้ว โรคเบาหวานที่เรามักจะได้ยินกันอยู่บ่อยๆ เป็นอย่างไรกันแน่
 

สาเหตุของโรคเบาหวาน

ความเป็นมาของโรคเบาหวาน (Diabetes) เกิดจากฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ที่ถูกสร้างขึ้นจากตับอ่อน  ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลแล้วแปลงเปลี่ยนพลังงานเข้าสู่ร่างกายนั้นได้เสื่อมสภาพการแปลงสภาพโมเลกุลน้ำตาลที่ต่ำลง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น สร้างผลกระทบให้กับร่างกายของผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยล้า หิวง่าย การมองเห็นพร่ามัว และน้ำหนักลดแบบเฉียบพลัน
 
การตรวจเบาหวานสามารถเกิดสาเหตุได้จาก พันธุกรรมทางครอบครัว พฤติกรรมการบริโภคที่หนักเกินไปจนน้ำหนักขึ้น และการติดเชื้อไวรัสบางชนิดอย่าง โรคอ้วน ตับอ่อนอับเสบ คางทูม หัดเยอรมัน หรือภาวะความเครียดสะสมอีกด้วย   


โรคเบาหวานมีกี่ชนิด อะไรบ้าง

การตรวจเบาหวานเบื้องต้นแบ่งออกเป็น 4 ชนิดได้แก่
 
เบาหวานชนิดที่ 1 ภาวะตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ผู้ป่วยมักจะมีรูปร่างผอม น้ำหนักน้อย การตรวจอินซูลินในฮอร์โมนมีประสิทธิภาพการแปลงพลังงานต่ำจนทำให้เกิดภาวะหมดสติจากเลือดน้ำตาลสูงสูงเกินปกติ และปล่อยกรดคีนโตน(Ketone)เป็นพลังงานทดแทน  ผู้ป่วยมักเป็นเด็กหรือบุคคลที่อายุน้อยกว่า 30 ปี 
เบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะดื้ออินซูลิน เนื่องจากระบบการทำงานของอินซูลินยังสามารถควบคุมน้ำตาลได้อยู่  แต่เซลล์ไม่รับสารอินซูลินที่ตอบหนองไปเป็นพลังงาน ส่งผลให้ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เป็นภาวะโรคอ้วนที่เห็นได้จากบุคคลที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
เบาหวานชนิดที่ 3 ภาวะเบาหวานชนิดอื่น เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมภายในครอบครัว หรือการได้รับยาบางชนิด ประเภท ยากลุ่มสารเคมี หรือสเตียรอยด์
เบาหวานชนิดที่ 4 ภาวะโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากระบบร่างกายในช่วงตั้งครรภ์จะผลิตฮอร์โมนที่ช่วยต้านฤทธิ์สารอินซูลิน ซึ่งส่งผลให้เซลล์ในร่างกายตอบสนองต่อสารอินซูลินลดลง แม้หลังจากคลอดบุตรไปแล้ว อาจมีโอกาสเป็นไปได้ที่จะเกิดโรคเบาหวานทีหลัง
 

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

เนื่องจากน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปจึงทำให้เป็นภาระที่สร้างระบบการทำงานชิ้นส่วนสำคัญของร่างกาย อย่างการสูบฉีดเลือดของหัวใจนำไปสู่โรคหัวใจ การทำงานของดวงตานำไปสู่โรคตระกูลต้อกระจก การส่งน้ำตาลไปยังระบบไตในการคัดกรองของเสีย อาจทำให้เกิดภาวะไตวายได้

ระดับน้ำตาลในเลือด เท่าไรจึงอันตราย

รู้หรือไม่ว่า ระดับน้ำตาลในเลือด สามารถเป็นตัวบ่งชี้ถึงความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานได้ ซึ่งส่วนนี้ก็จะมีเกณฑ์ในการอธิบายว่า ระดับน้ำตาลเท่าไหร่ ถึงเป็นเบาหวาน หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะอันตรายขึ้น โดยหากเรามีผลระดับน้ำตาลในเลือด ก็จะสามารถเช็คเบาหวานด้วยตัวเองได้เบื้องต้น ดังนี้

  • ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร ต่ำกว่า 100 mg/dL อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ระดับน้ำตาลในเลือด อยู่ที่ 100 - 125 mg/dL มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน
  • หากระดับน้ำตาลในเลือด มากกว่า 126 mg/dL เป็นต้นไป มีแนวโน้มอย่างมากที่จะเป็นโรคเบาหวาน 

ยกตัวอย่างการเทียบเกณฑ์ หากคุณทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด แล้วพบระดับน้ำตาลในเลือด 140 mg/dL แสดงว่า ตอนนี้คุณกำลังอยู่ในเกณฑ์ที่มีแนวโน้มอย่างมากในการเป็นโรคเบาหวาน ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียดและวางแผนการรักษาต่อไป

 


อาการสัญญาณเตือนโรคเบาหวาน




โดยทั่วไป สัญญาณเตือนเของโรคเบาหวานเริ่มต้น ที่ผู้ป่วยสามารถเช็คและทำการตรวจเบาหวานด้วยตัวเอง มีอาการดังนี้

  • หิวบ่อย
  • กระหายน้ำบ่อย
  • การมองเห็นภาพพร่ามัว
  • น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว
  • ถ่ายปัสสาวะถี่และมีปริมาณมาก
  • มีอาการชาบริเวณปลายมือและปลายเท้า
  • หากได้รับบาดแผล แผลจะหายช้ากว่าปกติ

กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่ควรเข้ารับการตรวจ

ผู้ที่มีความเสี่ยงที่ควรได้รับการตรวจเบาหวานมีดังต่อไปนี้
 

  • บุคคลที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) สูงกว่าระดับมาตรฐาน
  • บุคคลที่มีภาวะความดันโลหิตและองค์ประกอบไขมันในร่างกายสูง
  • บุคลลที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวานมาก่อน
  • ผู้หญิงที่มีประวัติเป็นโรคเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ และคลอดบุตรแรกเกิดได้น้ำหนัก 4 กก.
  • บุคคลที่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน

วิธีการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน

วิธีตรวจเบาหวานจะแบ่งการตรวจออกเป็น 3 รูปแบบหลัก ได้แก่ การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดสะสม, เจาะเลือดเบาหวานที่ปลายนิ้ว, ตรวจความทนต่อน้ำตาลกลูโคส ซึ่งแต่ละวิธีจะมีคุณสมบัติ จุดเด่น ขั้นตอนการตรวจ และประโยชน์ในการนำผลทดสอบไปใช้ที่แตกต่างกัน ดังนี้ 

1. การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด




การตรวจเบาหวานแบบ HbA1c 


การตรวจเบาหวานแบบ HbA1c (Hemoglobin A1c) เป็นวิธีวัดค่าน้ำตาลในเลือดสะสมในระยะ 2-3 เดือนที่ผ่านมา เพื่อทำให้ผู้ป่วยรับทราบสภาวะเบาหวานของตัวเองที่ผ่านมานั้น จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการทำกิจวัตรประจำวันมากน้อยแค่ไหน เพื่อลดภาวะน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีประสิทธิภาพ 

การตรวจ HbA1c เบาหวานชนิดเลือด โมโกลบิน เอ วัน ซี มีจุดเด่นการการรักษาและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้ในระยะยาว เช่น ภาวะการเสื่อมสภาพของตา ไต และหัวใจ เป็นต้น 


ขั้นตอนการตรวจเบาหวานแบบ HbA1c 

ผู้ป่วยสามารถทานอาหารได้ปกติ แล้วมาโรงพยาบาลตามเวลาที่นัดหมาย จากนั้นทางแพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างเลือด โดยทำการเจาะน้ำตาลปลายนิ้วที่ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที จากนั้นผู้ป่วยจะทราบผลทันทีหลังทำการเจาะเลือดตรวจเบาหวาน

ค่าผลตรวจ
 

  • ระดับ < 5.7 mg% = ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ ไม่เป็นเบาหวาน
  • ระดับ >5.7 6.4 mg% = ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
  • ระดับ ≥ 6.5 mg% = ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เป็นโรคเบาหวาน

2. การตรวจแบบเจาะเลือดปลายนิ้ว




การตรวจเลือดปลายนิ้ว

การตรวจเบาหวานแบบใช้เลือดปลายนิ้ว (capillary fasting blood glucose) คือวิธีเจาะเลือดตรวจเบาหวานได้ด้วยตัวเอง เพื่อรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เพื่อเป็นการควบคุมระดับน้ำตาลได้อย่างเหมาะสม

การตรวจเบาหวานแบบใช้เลือดปลายนิ้ว มีจุดเด่นที่สามารถเช็คได้ด้วยตัวเอง โดยใช้เครื่องที่ตรวจเลือดเบาหวานแบบพกพา ในการติดตามระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันได้ทันที

ขั้นตอนการตรวจเบาหวานแบบตรวจเลือดปลายนิ้ว

ผู้ป่วยทำการใช้เข็มเจาะปลายนิ้ว จากนั้นนำเลือดหยดลงไปในแถบวัดระดับน้ำตาลในเครื่อง แล้วรอผลตัวเลขว่าระดับน้ำตาลอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยประมาณไหน ซึ่งการเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว ไม่อดอาหารก็สามารถทำได้เช่นกัน ด้วยการนำค่าที่ได้ ไปเทียบกับเกณฑ์ระดับน้ำตาลหลังทานอาหารนั่นเอง

ค่าผลตรวจ

  • ผู้ป่วยที่มีภาวะเป็นเบาหวาน น้ำตาลก่อนทานอาหาร ระดับค่าเลือดควรอยู่ที่ 80-130 mg/dL
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะเป็นเบาหวาน น้ำตาลหลังทานอาหาร ระดับค่าเลือดควรอยู่ที่ < 180 mg/dL
  • ผู้ที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน น้ำตาลก่อนทานอาหาร ระดับค่าเลือดควรอยู่ที่ 70-99 mg/dL
  • ผู้ที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน น้ำตาลหลังทานอาหาร ระดับค่าเลือดควรอยู่ที่ < 140 mg/dL

3. การตรวจความทนต่อน้ำตาลกลูโคส


 

การตรวจความทนต่อน้ำตาลกลูโคส
 
การตรวจความทนต่อน้ำตาลกลูโคส (Oral Glucose Tolerance Test : OGTT) เป็นวิธีตรวจภาวะน้ำตาลที่ถูกแปลงสภาพเป็นพลังงานต่อร่างกายได้มากน้อยแค่ไหน เป็นวิธีตรวจเบาหวานสำหรับผู้เป็นเบาหวาน และหญิงระหว่างตั้งครรภ์ 
 
ขั้นตอนการตรวจเบาหวานต่อน้ำตาลกลูโคส
 
ทางแพทย์จะทำการเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลหลังให้ดื่มสารละลายน้ำตาลกลูโคสไปแล้ว 2 ชั่วโมง เพื่อรอวัดผลระดับน้ำตาล และสำหรับคนตั้งครรภ์

ค่าผลตรวจ

  • คนทั่วไป
    • สำหรับคนปกติควรมีระดับน้ำตาลน้อยกว่า 140% มก.
    • สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานค่าน้ำตาลจะมากกว่า 200% มก.
    • สำหรับผู้ที่มีระดับผลเลือดระหว่าง 141-199% มก. จะถูกวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน
  • คนตั้งครรภ์
    • ระดับน้ำตาลในเลือด หลังจากดื่มกลูโคสใน 1 ชั่วโมง ควรมีระดับน้ำตาล < 180 มก.
    • ระดับน้ำตาลในเลือด หลังจากดื่มกลูโคสใน 2 ชั่วโมง ควรมีระดับน้ำตาล < 155 มก.
    • ระดับน้ำตาลในเลือด หลังจากดื่มกลูโคสใน 3 ชั่วโมง ควรมีระดับน้ำตาล < 140 มก.

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจเบาหวาน

หลายคนอาจสงสัยว่า การเดินทางไปตรวจเบาหวาน ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง? สิ่งที่สำคัญอย่างมาก คือ ก่อนเข้ารับการตรวจเบาหวาน ผู้ป่วยต้องพักผ่อนให้เพียงพออย่างต่ำ 8 ชม. และทำการอดอาหารและน้ำ 6-8 ชั่วโมงก่อนทำการเข้าห้องตรวจ เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือด อยู่ในปริมาณที่ปกติ และป้องกันผลการตรวจคลาดเคลื่อนได้ 

เนื่องจากอาหารที่รับประทานไปนั้น อาจมีสารอาหารบางส่วนที่ให้น้ำตาลแก่ร่างกาย ส่งผลให้ไขมันในเลือดสูง เมื่ิอไปตรวจเบาหวาน อาจทำให้ผลลัพธ์จากการตรวจค่าน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ 

วิธีรักษาโรคเบาหวาน

ถึงแม้ว่าโรคเบาหวานจะเป็นโรคที่ต้องใช้เวลาในการรักษา แต่ถ้าหากเราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันด้วยวิธีการเหล่านี้ ก็จะช่วยให้เราควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้มากขึ้น โดยวิธีการรักษาโรคเบาหวานที่ควรทำ มี 3 รูปแบบ ได้แก่
 

1. การใช้ยา


รูปแบบการตรวจเบาหวานโดยให้ยารักษา จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

  • ยาเม็ด สำหรับรับประทานรักษาโรคเบาหวานในระยะยาว โดยการออกฤทธิ์ของตัวยา จะเป็นกระตุ้นระบบการทำงานของตับอ่อน ให้หลั่งสารอินซูลินเพื่อขับเคลื่อนน้ำตาลในเลือดแปลงเป็นพลังงานแก่ร่างกาย โดยวิธีทานควรทานยาก่อนอาหาร เพื่อลดผลข้างเคียงจากอินซูลินทำการเปลี่ยนระดับน้ำตาลเร็วเกินไป จนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ
  • ฉีดยา การฉีดยาด้วยสารอินซูลินไปในบริเวณใต้ผิวหนังบริเวณต้นขา ในภาวะน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ และลดกรดคีนโตที่หลั่งไหลภายในร่างกายไปยังส่วนอวัยวะส่วนสำคัญของร่างกาย อย่าง หัวใจ ไต ตับ และรอยแผลสดในช่วงที่อยู่ในภาวะเบาหวาน การฉีดยารักษาอาการเบาหวาน ควรฉีดก่อนทานอาหารก่อนครึ่งชั่วโมง และหลังก่อนนอนทุกวันในช่วงระยะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด


2. การควบคุมการทานอาหาร




ผู้ป่วยที่อยู่ภาวะโรคเบาหวาน ควรงดการรับประทานอาหารประเภทที่มีส่วนประกอบเป็นน้ำตาลเป็นหลัก มุ่งเน้นการทานอาหารที่เป็นโปรตีนอย่าง เนื้อ ไข่ ปลา และงดรับประทานของทานเล่น อย่างของหวาน เครื่องดื่มมึนเมา และน้ำวิตามิน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้ลดลงอย่างมีประสิทธิภาพ และสิ่งสำคัญที่สุด คือ การทานอาหารครบ 3 มื้อ และตรงต่อเวลาทุกครั้ง 

3. การออกกำลังกาย




การหมั่นตรวจเบาหวานให้ลดลงอย่างมีประสิทธิภาพ คือ การดูแลร่างกายตัวเองให้แข็งแรงและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดระดับไขมันชนิดไม่ดีในเลือด และเป็นการขับน้ำตาลในเลือดให้ถูกแปลงเป็นพลังงานต่อร่างกายได้ดียิ่งขึ้น


ตรวจโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน

รู้หรือไม่ว่า การเป็นโรคเบาหวาน อันตรายกว่าที่คิด เพราะไม่เพียงแต่จะต้องรักษาโรคเบาหวานเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นมาได้อีกด้วย จึงทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้ ควรเข้ารับการตรวจระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอื่นตามมา โดยควรตรวจคัดกรองโรคที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
 

  • โรคหัวใจ (Heart Disease)
    โรคหัวใจเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุด โดยคุณสามารถเข้ารับการตรวจความดันโลหิต คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ฯลฯ เพื่อป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ เป็นต้น 
  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
    หากเริ่มมีอาการใบหน้าหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดอาการชาบริเวณแขนขา วิงเวียนศีรษะ มีปัญหาด้านการมองเห็น อาจเข้าข่ายการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ควรรีบเข้ารับการตรวจทางด้านนี้โดยเร็ว
  • โรคไต (Kidney disease)
    สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีประวัติสมาชิกภายในครอบครัวเป็นโรคไต ควรเข้ารับการตรวจปัสสาวะเป็นประจำทุกปี 
  • ความเสียหายของเส้นประสาท
    การตรวจเช็คว่าเส้นประสาทได้รับความเสียหายหรือไม่ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เพราะหากเส้นประสาทถูกทำลาย จะทำให้เกิดอาการแสบร้อน ชา หรือปวดบริเวณมือ ขา เท้า จึงควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 
  • ดวงตา
    สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรเข้าพบจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา หรือความดันลูกตาไม่เหมาะสม เป็นต้น
  • ระบบย่อยอาหาร
    การเป็นโรคเบาหวาน มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคกระเพาะ หรือระบบการย่อยอาหารผิดปกติ จึงควรตรวจสอบทางด้านนี้ รวมไปจนถึงการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสมร่วมด้วย
  • โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction)
    โรคเบาหวานอาจทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ จึงควรหมั่นสังเกตตนเอง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย เครียดบ่อยๆ หากพบว่าตนเองเข้าข่ายภาวะนี้ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำการรักษา
  • ปัญหาผิว
    โรคเบาหวานอาจทำให้มีปัญหาสภาพผิวในบางราย สามารถปกป้องผิวได้ด้วยการหมั่นดูแลฟื้นฟูผิวเป็นประจำ และหากพบความผิดปกติควรเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ
  • การติดเชื้อ
    บางรายอาจพบการติดเชื้อที่บริเวณส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น กระเพาะปัสสาวะ ช่องคลอด ผิวหนัง ฯลฯ เนื่องจากการเป็นโรคเบาหวาน อาจทำให้ภูมิคุ้มกันในการป้องกันเชื้อต่ำลง 
  • ปัญหาภายในช่องปาก
    มีความเสี่ยงอย่างมากในการเกิดปัญหาทางสุขภาพฟันและช่องปากรุนแรง ซึ่งที่พบบ่อย ได้แก่ ฟันผุ เหงือกอักเสบ โรคปริทันต์อักเสบ เหงือกบวม ฯลฯ จึงแนะนำว่าควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีร่วมด้วย

 


วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นเบาหวาน

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน ก็อย่าเพิ่งกังวลใจกันไป เพราะทางเรายังมีวิธีการดูแลตนเอง เพื่อควบคุมให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับที่เหมาะสม ดังนี้


การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน



การตรวจเบาหวานด้วยตัวเอง เป็นการตรวจเพื่อเช็คระดับน้ำตาลในเลือดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ ซึ่งแต่ละเกณฑ์ ก็จะมีข้อควรปฏิบัติที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • ระดับน้ำตาลในเลือด น้อยกว่า 90 mg/dL รับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตประมาณ 15 - 30 กรัม
  • ระดับน้ำตาลในเลือด อยู่ที่ 90 - 250 mg/dL สามารถออกกำลังกายได้ปกติ
  • ระดับน้ำตาลในเลือด ประมาณ 251 - 350 mg/dL ตรวจคีโตนในปัสสาวะและไม่ควรออกกำลังกายหนักจนเกินไป
  • ระดับน้ำตาลในเลือด 350 mg/dL เป็นต้นไป ให้ตรวจคีโตนและฉีดอินซูลิน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

นอกจากนี้ ยังมีการดูแลตนเองอีกหลายวิธี อย่างการควบคุมน้ำหนัก เลือกทานอาหารประเภทโปรตีนเป็นหลัก เน้นทานผักใบเขียวเพิ่มกากใยอาหาร งดการปรุงอาหารด้วยน้ำตาล และงดสารเสพติดอย่างการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ทุกชนิด 

พร้อมดูแลสุขอนามัยร่างกายให้สะอาด โดยเฉพาะการตรวจเท้าเบาหวาน เพื่อป้องกันอาการเบาหวานขึ้นรอยแผลระหว่างนิ้วเท้าและง่ามเท้า อีกทั้งควรรับประทานยาและฉีดยาตามที่ทางแพทย์กำกับไว้ สุดท้ายพักผ่อนให้เป็นเวลาอย่างต่พ 8 ชั่วโมง/วัน เพื่อสุขภาพจิตใจมีความมั่นคงและสดใสอยู่เสมอ


ข้อสรุป

การตรวจเบาหวาน เป็นการตรวจเช็คภาวะน้ำตาลในเลือดของร่างกายที่สามารถแปลงเป็นพลังงานแก่การทำงานของอวัยวะในร่างกายส่วนต่างๆ ได้มากน้อยแค่ไหน ทางแพทย์ขอแนะนำการตรวจสุขภาพประจำปีของทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ พร้อมเครื่องตรวจเลือดเบาหวาน ราคาเช็คสุขภาพที่ย่อมเยาว์ พร้อมบริการเจาะเลือดที่มีความปลอดภัย สะอาด ภายใต้การปฎิบัติของแพทย์มืออาชีพ และพร้อมรายงานผลของระดับน้ำตาลทันที โดยติดต่อสอบถามได้ที่ 
Line @samitivejchinatown 
โทร 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 


References

Mayo Clinic Staff. (2023, January 20). Diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/diagnosis-treatment/drc-20371451

WebMD Editorial Contributors. (2022, February 15). Diabetes Complications. https://www.webmd.com/diabetes/diabetes-complications

Watson, S. & Wood, K. (2022, December 12). Everything You Need to Know About Diabetes. Healthline. https://www.healthline.com/health/diabetes
 

 

 


 

 

แอดไลน์ สมิติเวช ไชน่าทาวน์

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​