ไทรอยด์เป็นพิษ คืออะไร? ทำความรู้จักโรคและวิธีสังเกตอาการด้วยตัวเอง!
ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism, Overactive Thyroid) คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกินความจำเป็น ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์โต ระบบเผาผลาญมีปัญหา ฯลฯ
การรักษาด้วยคลื่นกระแทกหรือเทคโนโลยี Shockwave Therapy คือเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ในการรักษาอาการปวดเรื้อรังตามจุดต่างๆ ของร่างกาย เป็นที่นิยมเนื่องจากสามารถลดอาการปวดได้กว่า 50% หรือหายปวดหลังใช้ Shockwave คลื่นกระแทกในการรักษา เครื่องช็อคเวฟได้การรับรองเครื่องหมายความปลอดภัยจาก FDA สหรัฐอเมริกาจึงมีความปลอดภัยสูง
สารบัญบทความ
คลื่นกระแทก หรือ Shockwave คือเทคโนโลยีทางกายภาพบำบัดชนิดหนึ่ง ทำงานโดยอาศัยคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของคลื่นกระแทกในด้านการลดอาการปวด รวมถึงเพิ่มปัจจัยที่ทำให้ร่างกายซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่มีอาการบาดเจ็บเรื้อรัง การทำช็อคเวฟแต่ละครั้งคลื่นรักษาจะยิงไปยังบริเวณกล้ามเนื้อที่ตึงตัว โดยใช้จำนวนนัดยิงประมาณ 500-1,000 สำหรับกล้ามเนื้อที่ไม่ได้เกร็งแข็งมาก ส่วนกล้ามเนื้อที่ตึงเกร็งมากจำนวนนัดยิง Shockwave จะอยู่ที่ราว 1,000-5,000 นัด
การรักษาด้วยคลื่นกระแทกโดยใช้เครื่องช็อคเวฟหรือ Shockwave Therapy คือการส่งผ่านคลื่นกระแทก Shockwave Flash ไปยังบริเวณที่มีอาการปวดโดยจะกระตุ้นให้ร่างกายเกิดอาการบาดเจ็บใหม่ (Re-Injuries) ในจุดที่มีปัญหา หลังจากที่ร่างกายในจุดนั้นได้รับคลื่นช็อคเวฟก็จะเกิดกระบวนการซ่อมแซมสร้างเนื้อเยื่อใหม่ (Re-Healing) ซึ่งจะช่วยลดอาการอักเสบ อาการปวด รวมถึงช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดในบริเวณดังกล่าวได้ จุดเด่นของการรักษาด้วย Shockwave คือให้ผลการรักษาเร็วและจำนวนครั้งในการรักษาต่อสัปดาห์น้อยกว่าวิธีกายภาพบำบัดอื่นๆ
การรักษาด้วยคลื่นกระแทก Shockwave แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ Radial Shockwave และ Focus Shockwave จุดเด่นและข้อแตกต่างของ Shockwave 2 ชนิดนี้ ได้แก่
การรักษาด้วยคลื่นกระแทกแบบ Radial Shockwave คลื่นช็อคเวฟที่ให้จะแผ่กระจายออก พลังงานของคลื่นกระแทกจะลดลงเรื่อยๆ ตามความลึกของเนื้อเยื่อ
การรักษาด้วยคลื่นกระแทกแบบ Focus Shockwave เมื่อเทียบกับ Radial Shockwave แล้ว มีประสิทธิภาพในการส่งคลื่นพลังงาน Shockwave ที่กระแทกได้ลึกและตรงจุดกว่า
ประโยชน์ของการรักษาอาการปวดในบริเวณต่างๆ ของร่างกายด้วยเครื่องช็อคเวฟคลื่นกระแทกมีมากมาย คลื่นช็อคเวฟสามารถกระแทกลึกเข้ากล้ามเนื้อได้ราว 3-4 เมตร ทำให้เกิดผลทางชีวภาพในเนื้อเยื่อดังต่อไปนี้
โดยมากแล้วทางการแพทย์นิยมใช้เทคโนโลยี Shockwave Therapy เพื่อรักษาอาการปวด โดยแบ่งแยกเป็น 3 อาการหลักคือ อาการออฟฟิศซิมโดรม อาการเส้นเอ็นอักเสบ และอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
อาการออฟฟิศซินโดรมเกิดจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน ขาดการลุกออกจากที่นั่งเพื่อยืดเส้นยืดสายรวมถึงนั่งในท่าที่ผิดสรีระจะก่อให้เกิดอาการ ปวดหลัง ปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดข้อมือเป็นต้น อาการเหล่านี้สามารถรักษาได้ด้วย Shockwave
อาการเส้นเอ็นอักเสบเกิดจากการใช้งานซ้ำที่ทำให้เกิดความเครียดต่อเส้นเอ็น อาการเส้นเอ็นอักเสบ เช่น เอ็นข้อมืออักเสบ เอ็นหัวไหล่อักเสบจากหินปูนเกาะ เอ็นเข่าอักเสบ ปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ เอ็นร้อยหวายอักเสบ เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ
อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังเกิดจากการใช้มัดกล้ามเนื้อผิดท่าทางซ้ำๆ เป็นเวลานาน จนเกิดความผิดปกติในการหดตัว อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง เช่น พังผืดทับเส้นประสาท ปวดสะโพกร้าวลงขา อาการปวดร้าวบริเวณสะบัก
การรักษาด้วย Shockwave เหมาะสำหรับใช้รักษาอาการปวดเรื้อรังตามร่างกาย เช่น
รวมถึงผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ที่มักมีอาการดังต่อไปนี้
ก่อนเข้ารับการรักษาด้วยคลื่นกระแทก Shockwave สามารถเตรียมตัวเบื้องต้นได้ตามคำแนะนำต่อไปนี้
กระบวนการรักษาด้วย Shockwave มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
หลังเข้ารับการรักษาด้วยคลื่นกระแทก Shockwave ในบริเวณที่รักษาอาจมีอาการปวดระบมเนื่องจากแรงกระตุ้น เบื้องต้นสามารถลดการระบมของกล้ามเนื้อได้โดย
การรักษาด้วยช็อคเวฟคลื่นกระแทกควรเว้นระยะห่างประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้เวลาร่างกายซ่อมแซมบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ หลังการรักษาด้วยวิธีช็อคเวฟกายภาพพบว่า ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการน้อยหรือเพิ่งเริ่มมีอาการ การใช้ Shockwave จะเห็นผลทันทีหลังรักษา แต่หากเป็นผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง พบว่าอาการปวดลดลงกว่าครึ่ง โดยจำนวนครั้งที่ใช้ในการรักษาอยู่ที่ราว 2-5 ครั้งขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการบาดเจ็บของผู้ป่วย
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากคลื่น Shockwave เช่น
อาการเหล่านี้ส่วนมากจะหายภายใน 5-10 วัน แต่หากผู้ป่วยพบอาการดังกล่าวเกินระยะเวลานี้ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจสอบร่างกาย
ถึงแม้การทำ Shockwave จะปลอดภัยและได้สามารถรักษาอาการปวดได้จริง แต่ก็มีข้อจำกัดในการใช้ดังต่อไปนี้
กลุ่มคนที่ไม่เหมาะกับการรักษาด้วยคลื่นกระแทก Shockwave ได้แก่
ในการเลือกสถานพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษา Shockwave ควรเลือกสถานพยาบาลที่มีความพร้อมสูง มีเครื่องมือยิงคลื่นกระแทก Shockwave ที่ทันสมัย รวมถึงให้บริการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง นักกายภาพบำบัดมืออาชีพ เพื่อรับประกันผลการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายใดๆ ต่อร่างกาย หลีกเลี่ยงการรักษาที่จะทำให้อาการปวดที่เป็นอยู่รุนแรงกว่าเดิม
โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ พร้อมให้บริการรักษาด้วยคลื่นกระแทกช็อคเวฟกายภาพราคาจับต้องได้ วางแผนการรักษาโดยนักกายภาพบำบัดและแพทย์มากประสบการณ์ บำบัดฟื้นฟูด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพที่ครบถ้วนตามมาตรฐานสากล
การทำ Shockwave ราคาเท่าไหร่? โปรโมชั่นโปรแกรมรักษาด้วย Shockwave ของโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีรายละเอียดตามตาราง
โปรแกรมรักษาอาการ Office Syndrome ด้วย Shockwave และ Ultrasound
|
|
|
Rehab Package 1 (Shockwave + Ultrasound) |
|
1,500 บาท |
Shockwave Package A (Shockwave + แผ่นร้อน + ยืดกล้ามเนื้อ)* |
|
11,000 บาท |
Shockwave Package B (Shockwave + แผ่นร้อน + Ultrasound)* |
|
9,500 บาท |
Shockwave Package C (Shockwave + แผ่นร้อน+ ยืดกล้ามเนื้อ + Ultrasound)* |
|
12,500 บาท |
Ultrasound Package A (แผ่นร้อน+ ยืดกล้ามเนื้อ + Ultrasound) ** |
|
6,000 บาท |
Ultrasound Package B (แผ่นร้อน+ ยืดกล้ามเนื้อ + Ultrasound 2 จุดต่อครั้ง)** |
|
7,500 บาท |
Ultrasound Package C(แผ่นร้อน+ ยืดกล้ามเนื้อ + Ultrasound 3 จุดต่อครั้ง)** |
|
9,000 บาท |
หมายเหตุ
การรักษาด้วยคลื่นกระแทก Shockwave สามารถบรรเทาอาการปวดออฟฟิศซิมโดรม อาการเส้นเอ็นอักเสบ และอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังได้ คลื่นกระแทกช็อคเวฟจะไปกระตุ้นให้ร่างกายเกิดอาการบาดเจ็บใหม่เพื่อให้เกิดกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อใหม่ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้อาการอักเสบหายไป
หากผู้ป่วยมีอาการปวดตามร่างกาย ปวดข้อ ปวดหลัง หรือมีอาการปวดเรื้อรังต่างๆ สามารถติดต่อสอบถามการบำบัดรักษากับทีมแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
References
Crevenna, R., Mickel, M., Schuhfried, O., Gesslbauer, C., Zdravkovic, A., & Keilani, M. (2020, December 18). Focused extracorporeal shockwave therapy in physical medicine and rehabilitation - current physical medicine and Rehabilitation reports. SpringerLink. Retrieved September 23, 2022, from https://link.springer.com/article/10.1007/s40141-020-00306-z
Dedes, V., Stergioulas, A., Kipreos, G., Dede, A., Mitseas, A., & Panoutsopoulos, G. (2018). Effectiveness and safety of shockwave therapy in tendinopathies. Materia Socio Medica, 30(2), 141. https://doi.org/10.5455/msm.2018.30.141-146
Pain Away Clinic. (2020, September 13). Shockwave therapy: All you need to know. Pain Away Clinic. Retrieved September 23, 2022, from https://www.painawayclinic.com/en/shockwave-therapy/
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)