ปวดเข่าห้ามกินอะไร? พาส่องอาหารที่สุขภาพเข่าไม่ปลื้ม
ปวดเข่าห้ามกินอะไร? พาส่องอาหารที่สุขภาพเข่าไม่ปลื้ม
หากคุณมีอาการปวดเอ็นร้อยหวาย หรือ เจ็บบริเวณหลังส้นเท้าเวลาเดิน วิ่ง หรือ ในขณะที่กำลังทำกิจกรรมอยู่ นั่นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายว่าคุณกำลังเข้าข่ายเป็น เอ็นร้อยหวายอักเสบ ซึ่งอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบเป็นอาการที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้เคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก และผู้ที่มีอาการเจ็บหลังส้นเท้าที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาที่ถูกวิธี อาจจะทำให้เอ็นร้อยหวายอักเสบและฉีกขาดได้
บทความนี้จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจเกี่ยวกับภาวะเอ็นร้อยหวายอักเสบ ไม่ว่าจะเป็น สาเหตุที่ทำให้ปวดส้นเท้าเอ็นร้อยหวาย ปัจจัยที่กระตุ้นให้เจ็บหลังส้นเท้า พร้อมทั้งวิธีรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบและแนวทางในการป้องกันที่ถูกวิธีที่ช่วยให้อาหารเจ็บหายขาด!
สารบัญบทความ
อาการเอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles Tendinitis) เป็นอาการที่เจ็บบริเวณหลังส้นเท้าเวลาเดิน เล่นกีฬา หรือ เวลาทำกิจกรรมต่างๆ และอาการเจ็บจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยอาการเจ็บเส้นเอ็นร้อยหวายอักเสบมีทั้งอาการเจ็บที่มีความรุนแรงน้อยไปจนถึงระดับมาก
ซึ่งอาการเจ็บเอ็นร้อยหวายอักเสบที่ไม่รุนแรงผู้ป่วยอาจจะบรรเทาอาการเองที่บ้านได้ แต่ในบางกรณีที่มีอาการเจ็บหลังส้นเท้ารุนแรงจำเป็นต้องไปพบแพทย์ เพื่อตรวจร่างกายและเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธี
เอ็นร้อยหวาย (Achilles Tendinitis) คือ เส้นเอ็นที่ใหญ่ที่สุดและแข็งแรงที่สุดในร่างกายที่อยู่บริเวณด้านหลังน่อง โดยที่เอ็นร้อยหวายจะเชื่อมต่อกล้ามเนื้อน่องและส้นเท้า และทำหน้าที่เป็นเสมือนสปริงที่ช่วยส่งแรงถีบ และลดแรงกระแทกในขณะเราลุกขึ้นยืน เดิน วิ่ง กระโดด หรือในขณะที่เคลื่อนไหวร่างกาย
ทั้งนี้เอ็นร้อยหวายเป็นอวัยวะที่ใช้งานเกือบตลอดเวลา ส่งผลให้อาการเอ็นร้อยหวายอักเสบสามารถเกิดกับทุกคนได้ และมักเกิดกับผู้ที่ใช้งานเอ็นร้อยหวายหนัก เช่น นักกีฬาที่มีการเร่งและชะลอความเร็ว หรือ กระโดดบ่อยๆ เป็นต้น
เอ็นร้อยหวายอักเสบมักจะเกิดกับผู้ใช้งานเอ็นร้อยหวายหนัก ไม่ว่าจะเป็น การเดิน วิ่ง ยืน และ กระโดด โดยอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบที่สามารถพบได้บ่อยๆ มีดังนี้
ทั้งนี้หากผู้ป่วยเอ็นร้อยหวายอักเสบมีอาการปวดรุนแรงควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อเข้ารับการตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง พร้อมวิธีรักษาที่ช่วยบรรเทาอาการปวดได้
สาเหตุของเอ็นร้อยหวายอักเสบส่วนใหญ่มักจะมาจากการใช้งานเอ็นร้อยหวายหนักเกินไป หรือ ทำกิจกรรมเดิมซ้ำๆ จนทำให้เอ็นร้อยหวายตึงและบาดเจ็บในที่สุด โดยเจ็บเอ็นร้อยหวายเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้
เนื่องจากเอ็นร้อยหวายเป็นเส้นเอ็นที่อยู่บริเวณน่องและเชื่อมต่อไปยังส้นเท้า ทำให้เมื่อเคลื่อนไหวร่างกาย เอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆ เอ็นร้อยหวายจะทำงาน ไม่ว่าจะเป็น การนั่ง การเดิน การยืน หรือ กระโดดก็ตาม
ดังนั้นอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบมักเกิดกับนักกีฬาที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายมากๆ หรือกีฬาบางประเภทที่ต้องกระโดดบ่อยๆ จนทำให้เอ็นร้อยหวายตึงและได้รับบาดเจ็บในที่สุด
ผู้ป่วยบางคนอาจจะรู้สึกเจ็บบริเวณหลังส้นเท้าหลังจากที่ออกกำลังกายเสร็จ เนื่องจากการออกกำลังกายอาจจะกระตุ้นให้เกิดความเครียดต่อเส้นเอ็น เช่น การวิ่ง การกระโดด หรือ การเพิ่มระยะเวลาในการออกกำลังกายอย่างรวดเร็วโดยที่ร่างกายยังไม่สร้างความคุ้นเคยเพื่อปรับตัว
นอกจากนี้ผู้ที่มีอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบบางรายอาจจะเกิดการไม่ได้ยืดเหยียดกล้ามเนื้ออย่างเหมาะสมทั้งก่อนและหลังออกกำลัง ส่งผลให้เส้นเอ็นตึงเกินไป และเมื่อออกกำลังกายที่ก่อให้เกิดแรงกระชากจะทำให้เอ็นร้อยหวายเกิดการอักเสบในที่สุด
การตึงตัวของกล้ามเนื้อเป็นอีกสาเหตุหลักที่ทำให้เอ็นร้อยหวายอักเสบ เนื่องจากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่เกิดการตึงและความเครียดมากเกิดไป สามารถทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ง่ายกว่า กล้ามเนื้อที่ยืดหยุ่นและได้รับการยืดเหยียดที่เหมาะสม
อาการเอ็นร้อยหวายอักเสบสามารถพบได้ในผู้ที่มีกระดูกงอกบริเวณส้นเท้า ซึ่งทำให้เกิดการเสียดสีระหว่างส้นเท้าและเอ็นร้อยหวายทำให้เกิดอาการปวดและอักเสบในที่สุด นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อ ได้แก่ โรครูมาตอยด์ และ โรคเก๊าท์ มีโอกาสที่จะเป็นเอ็นร้อยหวายอักเสบได้
นอกจากการใช้งานเอ็นร้อยหวายหนัก และสาเหตุที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่สามารถกระตุ้นอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบได้ ดังนี้
สำหรับผู้ที่มีอาการปวดส้นเท้า ปวดข้อเท้า และน่องที่มีสาเหตุมาจากเอ็นร้อยหวายอักเสบ อย่างแรกแพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยการซักประวัติเบื้องต้นและอาการปวดบวมของผู้ป่วย พร้อมทั้งประเมินการเคลื่อนไหวและความยืดหยุ่นของเท้าและข้อเท้าของผู้ป่วย
โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยลองยืนบนลูกบอล ให้งอเข่าบนเก้าอี้โดยให้ปลายเท้าพ้นจากขอบเก้าอี้ หรือนอนคว่ำบนเตียงร่วมกับเหยียดขา และแพทย์จะทำการบีบที่บริเวณน่องของผู้ป่วย ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบผู้ป่วยจะไม่สามารถขยับเท้าได้
สำหรับผู้ที่มีอาการเจ็บ บวม และแสบร้อนที่บริเวณน่องและส้นเท้า แพทย์อาจจะใช้การตรวจเอกซเรย์ร่วมด้วยเพื่อการวินิจฉัยโรคที่แม่นยำ โดยการตรวจเอกซเรย์เป็นการตรวจหาว่าเท้าและกระดูกขามีการแตกหักร่วมด้วยหรือไม่
การอัลตร้าซาวด์เป็นการตรวจเพื่อดูการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็น พร้อมทั้งตรวจหาความเสียหายของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น นอกจากนี้การตรวจแบบอัลตร้าซาวด์ยังสามารถเห็นการไหลเวียนของเลือดได้ด้วย โดยการอัลตร้าซาวด์จะใช้คลื่นเสียงตรวจเพื่อแสดงภาพเนื้อเยื่ออ่อนในร่างกายของผู้ป่วย
วิธีการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือที่เรียกกันว่า MRI Scan เป็นการใช้คลื่นวิทยุร่วมกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อตรวจหาความผิดปกติของเอ็นร้อยหวาย โดยการตรวจด้วยวิธี MRI จะช่วยให้แพทย์เห็นความผิดปกติของเอ็นร้อยหวายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การฉีกขาดของเอ็นร้อยหวาย การเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อ และรายละเอียดต่างๆ ของเส้นเอ็น
แนวทางในการรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบมีหลายแบบ ทั้งนี้การรักษาจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรคและดุลยพินิจของแพทย์ โดยการรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบ มีดังนี้
วิธีนี้เป็นวิธีที่เหมาะกับผู้ปวดที่มีอาการปวดเพียงเล็กน้อย หรือผู้ป่วยที่เพิ่งเป็นเอ็นร้อยหวายอักเสบระยะแรก โดยแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่อาจจะส่งผลเสียต่อเอ็นร้อยหวาย และหลีกเลี่ยงการกดทับบริเวณเอ็นร้อยหวาย
เอ็นร้อยหวายอักเสบต้องประคบร้อนหรือประคบเย็น ? การประคบเย็นสามารถช่วยลดอาการปวดและบวมที่มีสาเหตุมาจากเอ็นร้อยหวายอักเสบได้ โดยแนะนำให้ใช้แผ่นประคบเย็น หรือ น้ำแข็งห่อด้วยผ้าขนหนูประคบไว้บริเวณที่เส้นเอ็นอักเสบ ประมาณ 15 - 20 นาที
การรัดผ้าพันแผลบริเวณเส้นเอ็นที่อักเสบสามารถช่วยลดอาการบวมและช่วยลดการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นบริเวณที่อักเสบได้ แต่การรัดผ้าพันแผลผู้ป่วยไม่ควรรัดผ้าพันแผลแน่นจนเกินไป เพราะทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก และก่อให้เกิดผลเสียได้
สำหรับผู้ที่มีอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบเบื้องต้น และบริเวณข้อเท้าและเท้ามีอาการบวม แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยนอนราบและใช้หมอนหนุนที่เท้าให้ระดับเท้าสูงกว่าระดับอก เพื่อให้เลือดไหลเวียนกลับเข้าสู่หัวใจ ซึ่งจะช่วยลดอาการบวมได้
เอ็นร้อยหวายอักเสบกินยาอะไร ? สำหรับผู้ที่มีอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบที่มีอาการปวดความรุนแรงปานกลาง แพทย์อาจจะจ่ายยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ไอบูโฟรเฟน และ นาพรอกเซน เป็นต้น เพื่อช่วยลดอาการปวดและการบาดเจ็บ
การทำกายภาพบำบัดสำหรับผู้ที่มีอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบจะเป็นการทำกายภาพที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของเอ็นร้อยหวายที่อักเสบ โดยใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ เข้ามาช่วยเพื่อเสริมการทำหน้าที่ของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ ไม่ว่าจะเป็น การออกกำลังกายแบบเอกเซนตริก (Eccentric) หรือการใส่อุปกรณ์ในรองเท้าหรือบริเวณส้นเท้า เป็นต้น
วิธีการฉีดยาสเตียรอยด์เพื่อรักษาอาการเจ็บปวดที่มีสาเหตุมาจากเอ็นร้อยหวายอักเสบ อาจจะไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก เพราะการฉีดสเตียรอยด์เพื่อแก้ปวดเอ็นร้อยหวายอักเสบ เป็นวิธีบรรเทาอาการปวดชั่วคราวสามารถทำให้เส้นเอ็นฉีกขาดได้
ผู้ป่วยที่มีอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบรุนแรง เอ็นร้อยหวายฉีกขาด และไม่สามารถรักษาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดได้ด้วยวิธีที่กล่าวมาข้างต้น แพทย์จะแนะนำการผ่าตัดเพื่อรักษาและซ่อมแซมเส้นเอ็นที่ได้รับบาดเจ็บ โดยการผ่าตัดเอ็นร้อยหวายฉีกขาด มีทั้งหมด 2 แบบ ดังนี้
การผ่าตัดแบบแผลเปิดเป็นการผ่าตัดเพื่อเย็บซ่อมเอ็นร้อยหวายให้แข็งแรง โดยแพทย์จะเปิดแผลขนาดประมาณ 10 - 15 เซนติเมตร ซึ่งการผ่าตัดแบบแผลเปิดจะมีแผลที่ค่อนข้างใหญ่ และทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ช้า นอกจากนี้การผ่าตัดแบบแผลเปิดยังมีโอกาสติดเชื้อได้สูงกว่า
การผ่าตัดเอ็นร้อยหวายแบบแผลเล็กเป็นเทคนิคผ่าตัดใหม่ ที่จะช่วยให้แผลผ่าตัดเล็กลง ซึ่งขนาดแผลจะมีขนาดแค่ 3 - 4 เซนติเมตร โดยแพทย์จะใช้อุปกรณ์ผ่าตัดพิเศษที่ทำให้แผลเล็กลง นอกจากนี้ยังการผ่าตัดแบแผลเล็กทำให้โอกาสการติดเชื้อลดลง รวมไปถึงการระยะเวลาที่พักฟื้นหลังผ่าตัดน้อยลงด้วย
นอกจากผู้ป่วยเอ็นร้อยหวายอักเสบจะรู้สึกปวด เจ็บ และบวมบริเวณข้อเท้าและเท้าในขณะทำกิจวัตร และทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันแล้ว อาการเอ็นร้อยหวายอักเสบที่มีรุนแรงสามารถทำให้เอ็นร้อยหวายฉีกขาด หรือผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่ได้เข้ารับการรักษาอาจจะส่งผลให้เป็นเอ็นร้อยหวายอักเสบเรื้อรัง ทำให้ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารักษาด้วยวิธีผ่าตัด ซึ่งอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน และภาวะเลือดออกในเนื้อเยื่อ เป็นต้น
แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีที่สามารถป้องกันอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบได้ 100% แต่ยังมีวิธีที่สามารถลดความเสี่ยงที่ก่อให้เอ็นร้อยหวายอักเสบ ซึ่งสามารถปฏิบัติตามได้ดังต่อไปนี้
หากคนไข้เริ่มมีอาการปวดส้นเท้าเอ็นร้อยหวาย หรือเริ่มมีอาการปวดข้อคนไข้จะต้องทำท่าบริหารเพื่อเป็นการบรรเทาอาการปวดของเส้นเอ็น โดยวิธีแก้ปวดเอ็นร้อยหวายสามารถทำได้ที่ไหนก็ได้ และท่าบริหารเอ็นร้อยหวายมีดังนี้
ท่าที่ 1 จะต้องนั่งเหยียดขาข้างหนึ่งออกไปตรงๆ โดยจะใช้ผ้าคล้องไว้ที่ปลายเท้า แล้วทำการดึงเข้าหาตัวเรา ดึงจนรู้สึกว่าน่องด้านหลังตึง ให้ยืดค้างไว้ 15-20 วินาที/ครั้ง (ทำ5-10ครั้ง)
ท่าที่ 2 ทำการยืนหันหน้าเข้ากำแพง โดยใช้มือยันกำแพงไว้ และถอยเท้าที่ต้องการทำการยืดไว้ข้างหลังระยะประมาณ 2 ก้าว และย่อเขาด้านหน้าลงแต่จะต้องไม่ให้เข่าเลยปลายเท้า ขาด้านหลังต้องเหยียดตึง ส้นเท้าต้องติดพื้นตลอด ยืดจนน่องตึงทำค้างไว้ 15-20 วินาที/ครั้ง (ทำ3-4ครั้ง)
ท่าที่ 3 ยืนเหมือนท่าที่2 แต่จะเปลี่ยนเป็นงอเข่าที่อยู่ข้างหลังเล็กน้อย ส้นเท้าต้องติดพื้น ทำจนรู้สึกน่องส่วนบนตึง ยืดค้างไว้ 15-20 วินาที/ครั้ง (ทำ5-10ครั้ง)
ท่าที่ 4 จะต้องนั่งและทำการวางฝ่าเท้าไว้บนลูกเทนนิสหรือขวดน้ำ จากนั้นให้ทำการคลึงไปมาบริเวณใต้ฝ่าเท้า ทำจนรู้สึกว่าเส้นเอ็นมันคลายตัว
ท่าที่ 5 ต้องนั่งห้อยขาลงพื้น โดยจะต้องนำเท้าที่ปวดมาพาดบนหน้าตักของอีกข้าง และทำการใช้มือจับบริเวณนิ้วเท้าให้กระดกขึ้นจนรู้สึกตึงฝ่าเท้า ยืดค้างไว้ 15-20 วินาที/ครั้ง (ทำ5-10ครั้ง)
คำถามที่คนส่วนใหญ่มักสงสัยว่าหลังจากที่ได้ทำการรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบแล้ว จะสามารถกลับมาเดินหรือเล่นกีฬาได้อีกหรือไม่ และหลังจากทำการรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบมาแล้วจะต้องประคบร้อนหรือเย็น วันนี้เรามีคำตอบให้คุณ
ถ้าหากว่าคนไข้ได้ทำการรักษาโรคข้ออักเสบหรือได้ทำการรักษาเส้นเอ็นร้อยหวายอักเสบแล้ว จะสามารถทำการกลับมาเล่นกีฬาได้อีกก็ต่อเมื่อทางแพทย์ได้ทำการประเมินดูแล้วว่าสามารถกลับไปเล่นได้ แต่ปกติแล้วคนไข้จะสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้อีกครั้งจะต้องใช้เวลา 9 เดือน - 1 ปี แต่ก็ขึ้นอยู่กับการหมั่นทำกายบริหารของแต่ละบุคคลด้วยเช่นกัน
เอ็นร้อยหวายอักเสบจะมีอาการบวม แดง และเจ็บบริเวณเส้นเอ็น และอาจจะลามไปถึงน่อง หากมีอาการเหล่านี้ให้ควรหยุดพักจากการเดินหรือวิ่ง และใช้การประคบเย็นช่วย จะต้องประคบบ่อยๆจะช่วยทำให้หายเร็วยิ่งขึ้น และอาการปวดจะต้องหาย100%ก่อนกลับไปวิ่งหรือออกกำลังกายอีกครั้ง
เอ็นร้อยหวายอักเสบมักเกิดจากการใช้งานหนัก การทำกิจกรรมบางอย่าง และการเล่นกีฬาบางประเภทที่จำเป็นต้องใช้งานขาและข้อเท้าหนักจนทำให้เส้นเอ็นเกิดการตึงและบาดเจ็บในที่สุด โดยอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบส่วนใหญ่มักจะพบในผู้ป่วยที่เป็นนักกีฬา เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล และการวิ่งมาราธอน
ทั้งนี้อาการเอ็นร้อยหวายอักเสบสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยมีวิธีการรักษาที่หลากหลายตามระดับความรุนแรงของโรค แต่วิธีรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบที่ดีที่สุดคือการไปพบแพทย์และเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธี จะเป็นการรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบที่ถูกวิธีและใช้เวลารักษาน้อยที่สุด
หากคุณมีอาการปวดบริเวณหลังส้นเท้าและน่องเวลาทำกิจกรรมต่างๆ สามารถติดต่อสอบถามกับทีมแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
References
N.D. (2022, Mar). Achilles Tendinitis. OrthoInfo. https://orthoinfo.aaos.org/en/diseases--conditions/achilles-tendinitis/
Chitra, B. (2021, Dec 23). Achilles Tendinitis. Healthline. https://www.healthline.com/health/achilles-tendinitis
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)