แผลเบาหวานที่เท้า ดูแลรักษาแผลก่อนสายเกินไป
แผลเบาหวานที่เท้า เป็นแผลบริเวณเท้าที่ลุกลามจากการที่ผู้ป่วยเบาหวานระบบประสาทรับความรู้สึกเสื่อม ทำให้เท้าชาจนเกิดบาดแผลได้ง่ายและรู้ตัวช้าจนแผลเกินการติดเชื้อ
สีอุจจาระ เป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนเมื่อร่างกายเกิดความผิดปกติ การหมั่นสังเกตตัวเองเป็นประจำจะช่วยให้คุณรู้ทันโรคทางลำไส้ได้ โดยสีของอุจจาระนั้นสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทานอาหาร รูปแบบของอาหารที่รับประทาน และการทำงานของระบบย่อยอาหาร เพราะฉะนั้นสี และรูปลักษณ์ของอุจจาระที่แปรเปลี่ยนไป อาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาลำไส้ที่คุณคาดไม่ถึง
สารบัญบทความ
สีอุจจาระ สามารถบอกปัญหาลำไส้ได้จริง เราสามารถดูความผิดปกติ ผ่านสีของอุจจาระที่แตกต่างกันไป รวมถึงการขับถ่ายที่ยากกว่าเดิมได้ โดยสีของอุจจาระอาจบ่งบอกได้ถึงอาการท้องผูก ท้องเสีย ริดสีดวง แต่ในบางกรณีก็อาจนำไปสู่โรคร้ายแรง เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งทวารหนักได้ด้วยเช่นกัน
โดยทั่วไป สีอุจจาระเกิดจากการทำงานของน้ำดี ของเหลวสีเหลืองเขียวที่ผลิตขึ้นจากตับมีหน้าที่ช่วยย่อยสลายไขมันในลำไส้เล็ก เมื่อน้ำดีผสมกับอาหารที่เรารับประทานเข้าไปและผ่านกระบวนการย่อยในลำไส้ ก็จะทำให้เกิดสีต่างๆ ของอุจจาระ
อุจจาระสีเหลือง หรือสีน้ำตาล คือสีอุจจาระปกติในคนทั่วไปที่มีสุขภาพดี โดยสีดังกล่าวเป็นสีของน้ำดีที่ผลิตจากตับ ช่วยย่อยสลายไขมันในลำไส้เล็ก ทำให้สีอุจจาระทั่วไปมีสีเหลืองและสีน้ำตาล
ทั้งนี้ หากมีอุจจาระสีเมือกเหลืองซีด ๆ และมีกลิ่นเหม็นมาก อาจเกิดจากพฤติกรรมการทานอาหารไขมันสูงในปริมาณมาก แม้จะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายในทันที แต่แนะนำว่าควรลดปริมาณการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงลง เพราะอาจส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร แต่สุขภาพด้านอื่น ๆ ได้ในอนาคต
อุจจาระสีเขียว บ่งบอกถึงสภาวะปกติของลำไส้ โดยสีเขียวเกิดจากระบบย่อยอาหารทำงานปกติ ผ่านการช่วยย่อยของน้ำดีที่มีสีเขียว เหลือง ทำให้สีโดยทั่วไปแล้วอุจจาระจะมีสีเขียว
ทั้งนี้ หากอุจจาระสีเขียวมาพร้อมกับความผิดปกติบางอย่างของร่างกาย เช่น ท้องเสีย หรือมีอาการอาเจียนร่วมด้วย ทั้งหมดนี้ อาจเป็นสัญญาณของโรคลำไส้แปรปรวน หรือลำไส้อักเสบ
อุจจาระสีแดงและมีเลือดปน เป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังมีเลือดออกในลำไส้หรือทวารหนัก เสี่ยงต่อการเป็นริดสีดวงทวาร และอาจเป็นหนักได้ถึงมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะฉะนั้นหากพบว่าอุจจาระมีสีแดง หรือถ่ายเป็นเลือดควรพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอาการ
อุจจาระสีขาว หรือสีเทาอ่อน อาจเกิดจากการรับประทานยาบางประเภทที่มีสารอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ หรือผ่านการฉายรังสีมา ส่งผลให้อุจจาระเป็นสีขาว หรือสีเทาอ่อนได้ และในบางกรณี อาจเกิดจากภาวะท่อน้ำดีอุดตัน ส่งผลให้ไม่มีน้ำดีเข้ามาช่วยย่อยไขมันในลำไส้เล็ก ทำให้สีของอุจจาระไม่ได้ผ่านการเจือปนกับสีของน้ำดี และขับถ่ายออกมาเป็นสีขาวในท้ายที่สุด
หลังจากที่เราทราบความเสี่ยงจากโรคต่าง ๆ ผ่านสีอุจจาระกันไปแล้ว มาดูลักษณะของอุจจาระรูปแบบต่าง ๆ กันบ้าง แต่ละแบบสามารถบอกสุขภาพได้ ดังนี้
อุจจาระชุ่มชื้น ทรงเรียวยาวคล้ายกล้วยหรือไส้กรอก เป็นลักษณะของอุจจาระทั่วไป และบ่งบอกว่าคุณมีระบบขับถ่ายที่ดี
อุจจาระมีทรงเรียวยาว แต่มีลักษณะแข็ง ขรุขระ ขับถ่ายยาก ไม่ได้บ่งชี้ถึงอาการรุนแรง แต่อาจบอกได้ว่าคุณดื่มน้ำน้อยมากเกินไป
หากอุจจาระสีดำเป็นก้อนแข็ง ลักษณะก้อนเล็ก ๆ คล้ายอุจจาระกระต่าย อาจเกิดจากปัญหาท้องผูกเพราะรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยเกินไป หรือดื่มน้ำน้อย เนื่องจากอุจจาระแห้งและเครื่องที่ผ่านลำไส้ได้ยาก ควรปรับพฤติกรรมการทานอาหาร และดื่มน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาท้องผูกเรื้อรัง
อุจจาระเหลวสามารถสังเกตได้ผ่าน 2 กรณี ดังนี้
อุจจาระเป็นมูกหรือถ่ายเป็นมูก โดยส่วนใหญ่มักพบในเด็กเล็ก ในกรณีที่พบว่าถ่ายเป็นมูกใสนั้นเป็นลักษณะของอุจจาระธรรมดา แต่หากพบว่ามีมูกสีเหลืองผสมติดมากับอุจจาระ อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงอาการอักเสบภายในลำไส้
ทั้งนี้ หากพบว่าสีอุจจาระ และระบบขับถ่ายทำงานผิดปกติเรื้อรัง รักษาด้วยการปรับพฤติกรรมไม่หาย แนะนำให้เข้าปรึกษาแพทย์ ไม่ควรซื้อยาระบายมาทาน
สรุปแล้ว สีอุจจาระเป็นสัญญาณเตือนเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ และระบบขับถ่ายได้จริง เพราะฉะนั้นการสังเกตของเสียที่ตัวเองขับถ่ายออกมาจึงสำคัญ เพื่อให้รู้ทันโรคลำไส้ที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว
สำหรับผู้ที่ต้องการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางและตรวจสุขภาพ เพื่อหาสาเหตุที่สีอุจจาระ และระบบขับถ่ายมีความผิดปกติ รวมถึงแนวทางการรักษาที่เหมาะสม ทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ เราพร้อมให้บริการตรวจสุขภาพครอบคลุมทุกโรค ทั้งยังมีบริการส่องกล้องลำไส้ใหญ่โดยทีมแพทย์เฉพาะทางภายใต้อุปกรณ์ที่ครบครัน ทันสมัย สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมผ่านช่องทางดังต่อไปนี้
References
Webmd. (March 08, 2024). What Does My Stool Color Mean?. https://www.webmd.com/digestive-disorders/what-do-different-poop-colors-mean
นพ. ปฏิพัทธ์ ดุรงค์พงศ์เกษม. (2562). อุจจาระบอก(โรค)อะไรได้บ้าง. https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/อุจจาระบอกโรค
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)