คันเท้า ทำความรู้จักกับปัญหาสุขภาพที่หลายคนอาจมองข้าม
คันเท้า คือ ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยจากหลายสาเหตุและอาจเป็นสัญญาณของโรคบางอย่าง บทความนี้จะพาคุณไปเจาะลึกสาเหตุ พร้อมแนะนำวิธีป้องกันและดูแลตัวเอง
อาการปวดท้องร่วมกับการขับถ่ายผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นอาการท้องผูก ท้องเสีย หรือแน่นท้องที่เกิดขึ้นถี่จนเกินไปนั้น หลายคนอาจยังไม่รู้ตัวว่านี่คือสัญญาณของลำไส้แปรปรวน หรือ IBS ซึ่งเป็นภาวะการทำงานผิดปกติของลำไส้ในร่างกาย แม้จะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่หากไม่รีบหาทางรักษาด้วยวิธีการที่เหมาะสมก็อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในระยะยาวได้ อย่าปล่อยให้อาการเจ็บป่วยนี้กลายเป็นโรคเรื้อรัง มาเริ่มศึกษาวิธีการดูแลตนเองและการป้องกัน เพื่อสุขภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
สารบัญบทความ
ลำไส้แปรปรวน หรือ IBS (Irritable Bowel Syndrome) คือ ภาวะการทำงานผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะลำไส้ส่วนปลาย ได้แก่ ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ซึ่งมีการบีบตัวมากเกินกว่าปกติ จนทำให้มีอาการปวดท้อง แน่นท้อง รวมถึงการขับถ่ายผิดปกติ บางรายที่มีภาวะลำไส้แปรปรวนรุนแรงอาจถ่ายเป็นเลือด โดยอาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ แม้ไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ย่อมส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันและสร้างความวิตกกังวลให้กับตัวผู้ป่วยเอง
โรคลำไส้แปรปรวนนี้มีอาการคล้ายคลึงกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่สามารถพบเจอได้ทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงาน โดยสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคและการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ผู้ที่กำลังเผชิญกับอาการดังกล่าวจึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารใด และประเมินแนวทางการรักษาที่เหมาะสม
จากที่กล่าวไปข้างต้นว่าการเป็นลำไส้แปรปรวนจะเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ กล่าวคือ เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดหลายอาการร่วม โดยมีลักษณะเป็น ๆ หาย ๆ ตลอดทุกสัปดาห์ไปจนถึงเดือนหรือปี ซึ่งหากใครที่พบว่าตนเองมีอาการดังข้อมูลด้านล่างนี้ อาจเป็นไปได้ว่าคุณมีความเสี่ยงในการเป็นโรคลำไส้แปรปรวน
ลำไส้แปรปรวนเป็นหนึ่งในอาการที่ผู้ป่วยหลายคนพบเจอบ่อย ซึ่งปัจจุบันยังไม่สามารถทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีแนวโน้มว่าอาการลำไส้แปรปรวนเกิดได้จากหลายสาเหตุที่เกี่ยวข้องทั้งด้านสุขภาพร่างกายและสภาวะจิตใจ โดยสามารถพิจารณาดังต่อไปนี้
ก่อนรักษาลำไส้แปรปรวนแพทย์จะมีการตรวจวินิจฉัยเพื่อประเมินแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เริ่มจากการซักถามประวัติเบื้องต้น ตรวจร่างกาย การขับถ่าย ไปจนถึงการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ซึ่งวิธีรักษาโรคลำไส้แปรปรวนโดยเทคนิคทางการแพทย์จะเป็นการรักษาด้วยการใช้ยากลุ่มลดอาการปวดท้อง ช่วยในการขับถ่าย ซึ่งแพทย์จะพิจารณาจ่ายยาให้ตามอาการของผู้ป่วย ได้แก่
นอกจากการทานยารักษาลำไส้แปรปรวนแล้ว ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยเฉพาะการหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารในกลุ่ม FODMAPs เป็นอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายย่อยยาก และกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ลำไส้แปรปรวน เช่น อาหารที่มีน้ำตาลฟรุกโตสสูง (Fructose) , ผลิตภัณฑ์จากนม, ถั่วชนิดต่าง ๆ
หากใครมีข้อสัยเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการส่องกล้องลำไส้ใหญ่เพื่อตรวจวินิจฉัยลำไส้แปรปรวน สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ส่องกล้องลําไส้ใหญ่ ราคา
แม้ว่าโรคลำไส้แปรปรวนสามารถรักษาให้อาการบรรเทาลงหรือหายได้ แต่ก็มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำและมีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน หากมีวิธีการดูแลตนเองที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น มาเรียนรู้วิธีดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคลำไส้แปรปรวนตามข้อมูลด้านล่างนี้
สรุปแล้วลำไส้แปรปรวนเกิดจากการทำงานผิดปกติของลำไส้และระบบทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการปวดท้อง แน่นท้อง รวมถึงการขับถ่ายผิดปกติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและการทำงาน ซึ่งอาการดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกับโรคทางเดินระบบอาหารอื่น ๆ ที่มีความรุนแรงและอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคและประเมินหาทางรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
สำหรับผู้ที่ต้องการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางและตรวจสุขภาพ เพื่อหาสาเหตุลำไส้แปรปรวน รวมถึงแนวทางการรักษาที่เหมาะสม ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ เราพร้อมให้บริการตรวจสุขภาพครอบคลุมทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ทั้งยังมีบริการส่องกล้องลำไส้ใหญ่โดยทีมแพทย์เฉพาะทางภายใต้อุปกรณ์ที่ครบครัน ทันสมัย สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมผ่านช่องทางดังต่อไปนี้
References
Herndon, J. (2023, November 27). Everything You Want to Know About Irritable Bowel Syndrome (IBS). Healthline. https://www.healthline.com/health/irritable-bowel-syndrome
Thorpe, M. (2023, December 5). Signs and Symptoms of Irritable Bowel Syndrome (IBS). Healthline. https://www.healthline.com/nutrition/9-signs-and-symptoms-of-ibs
Nicioli, T. (2024, February 20). Lower your risk of irritable bowel syndrome by adopting a healthy lifestyle, new study suggests. CNN. https://edition.cnn.com/2024/02/20/health/ibs-prevention-healthy-lifestyle-study-wellness/index.html
Brazier, Y. (2023, December 21). All you need to know about irritable bowel syndrome (IBS). Medical News Today. https://www.medicalnewstoday.com/articles/37063
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)