ถ่ายเป็นเลือด สัญญาณเตือนโรคอันตราย เสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
อาการถ่ายเป็นเลือด มักพบเลือดสดปะปนมาบนก้อนอุจจาระ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ริดสีดวง สำไส้ใหญ่อักเสบ เนื้องอกหรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรรีบพบแแพทย์เพื่อรักษา
ฮอร์โมนเป็นสารที่ถูกผลิตมาจากต่อมไร้ท่อ โดยมีหน้าที่เป็นตัวนำส่งข้อมูลให้เกิดการทำงานหรือหยุดการทำงานจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งผ่านกระแสเลือด ซึ่งฮอร์โมนมีความสำคัญต่อการทำงานทุกระบบในร่างกาย หากฮอร์โมนมีการหลั่งที่ผิดปกติไปอาจส่งผลต่อระบบร่างกายโดยรวมได้
ดังนั้น การตรวจฮอร์โมนจึงมีความสำคัญ หลายครั้งที่คุณรู้สึกว่าร่างกายเริ่มมีปัญหา อาจมีสาเหตุมาจากระดับฮอร์โมนไม่สมดุลก็เป็นได้ หากรู้สาเหตุได้เร็ว ก็จะสามารถวางแผนรักษาปรับฮอร์โมนให้สมดุล เพื่อสุขภาพที่เป็นปกติต่อไป
สารบัญบทความ
ฮอร์โมนมีความสำคัญต่อการทำงานของร่างกายอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิง จะวัยเด็กหรือวัยผู้ใหญ่ก็ตาม ซึ่งฮอร์โมนสำหรับแต่ละเพศหรือแต่ละช่วงวัยก็มีชนิดหรือปริมาณฮอร์โมนที่แตกต่างกันไป และยังมีการทำงานที่แตกต่างกันไปตามเพศและวัยอีกด้วย เช่น ฮอร์โมนเพศ, ฮอร์โมนที่ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต, ฮอร์โมนที่คอยควบคุมระบบเผาผลาญ, ฮอร์โมนควบคุมการนอนหลับ และอีกมากมาย
อย่างไรก็ตาม หากการหลั่งฮอร์โมนไม่สมดุล ไม่เหมาะสมกับเพศและวัยตามที่ควรจะเป็น รวมถึงความสามารถในการผลิตฮอร์โมนลดลงจากอายุและโรคภัยต่าง ๆ ล้วนทำให้การทำงานของร่างกายผิดปกติได้ ซึ่งหลายครั้งอาจไม่สามารถระบุสาเหตุได้ชัดเจนว่ามาจากฮอร์โมนหรือไม่ แต่ถ้ายิ่งปล่อยไว้ไม่รักษา ยิ่งส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้ย่ำแย่ลง
ดังนั้น การตรวจฮอร์โมนจึงมีความสำคัญอย่างมาก เพราะหลายครั้งการเจ็บป่วยหรือความผิดปกติที่คุณกำลังเผชิญ อาจไม่สามารถวินิจฉัยได้ด้วยการสังเกตอาการโรคเพียงอย่างเดียว แต่การตรวจระดับฮอร์โมนจะช่วยเป็นตัวชี้วัดว่าอาการผิดปกติที่กำลังเกิดขึ้นมาจากความผิดปกติของฮอร์โมนหรือไม่
การตรวจฮอร์โมนทำให้ทราบถึงภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลได้ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะจากวิถีการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่ถูกสุขลักษณะ, อายุ, ความเครียด, โรคภัยต่าง ๆ แม้กระทั่งไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด โดยอาการที่มักพบในผู้ที่มีภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลมีดังนี้
ซึ่งอาการดังกล่าวนั้นเป็นอาการของภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลที่พบได้บ่อย ซึ่งแต่ละเพศหรือแต่ละวัยหากมีฮอร์โมนบางตัวที่บกพร่องก็สามารถส่งผลต่อการทำงานของร่างกายที่ต่างกันอีกด้วย เช่น
การตรวจระดับฮอร์โมนในร่างกายนั้นไม่ได้จำเป็นสำหรับทุกคน แต่เหมาะกับผู้ที่มีอาการผิดปกติเกิดขึ้นโดยที่ไม่มีข้อมูลจำเพาะชี้ชัดว่าเป็นโรคชนิดไหน หรือมีอาการหลายอย่างเกิดขึ้นพร้อมกันโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งความจำเป็นหรือความเหมาะสมในการตรวจฮอร์โมนของคนแต่ละกลุ่มเพศก็จะมีความแตกต่างกันไป ดังนี้
การตรวจฮอร์โมนสำหรับผู้ชายโดยส่วนใหญ่มักจะเป็นปัญหาทางเพศ ซึ่งฮอร์โมนมีผลต่อสุขภาพทางเพศอย่างมาก ซึ่งรายการตรวจฮอร์โมนสำหรับผู้ชายที่นิยมมีดังนี้
การตรวจฮอร์โมนเพศหญิงนั้นมักจะตรวจเพื่อวินิจฉันอาการผิดปกติที่มักเกิดจากระดับฮอร์โมนไม่สมดุล เช่น อาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือน (PMS), อาการปวดประจำเดือน, เป็นสิวมาก, ปวดไมเกรน เป็นต้น ซึ่งรายการตรวจฮอร์โมนสำหรับผู้หญิงที่นิยมมีดังนี้
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพในเพศหญิงได้ที่ “ตรวจสุขภาพหญิง เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ”
สำหรับการตรวจฮอร์โมนของชาว LGBTIQ+ มักจะเป็นการตรวจฮอร์โมนเพื่อใช้ปรับฮอร์โมนเพศให้ตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศ โดยมีทั้งปรับฮอร์โมนเพื่อให้มีความเป็นหญิงมากยิ่งขึ้น หรือปรับฮอร์โมนเพื่อให้มีความเป็นชายมากขึ้น ซึ่งการตรวจฮอร์โมนสำหรับกลุ่ม LGBTIQ+ นั้นจะสามารถแบ่งได้ตามเพศสภาพ ดังนี้
ไขข้อสงสัยทำไมผู้ชายต้องตรวจสุขภาพได้ที่ “ตรวจสุขภาพผู้ชายขั้นพื้นฐาน”
นอกจากการตรวจค่าฮอร์โมนจะสำคัญสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพและผู้ที่ต้องการเทคฮอร์โมนสำหรับกลุ่ม LGBTIQ+ การตรวจวิตามินก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน เพื่อที่คุณจะได้ทราบถึงความต้องการวิตามินที่ร่างกายต้องการ และสามารถเสริมวิตามินได้อย่างตรงจุด ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ เรามีบริการตรวจฮอร์โมนและการตรวจวิตามินทั้งสำหรับทุกกลุ่มทางเพศ หากสนใจสามารถเดินทางมายังที่โรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการตรวจได้
ก่อนตรวจฮอร์โมน จำเป็นต้องเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจหรือไม่? การตรวจฮอร์โมนอาจไม่ได้มีการเตรียมตัวอะไรที่มากมายนัก ไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรืองดอาหาร และสามารถเตรียมความพร้อมได้ดังนี้
ทั้งนี้หากคุณต้องการตรวจฮอร์โมนไปพร้อม ๆ กับการตรวจสุขภาพประจำปีก็สามารถงดน้ำงดอาหารก่อนเข้ารับการตรวจฮอร์โมนตามแพทย์แนะนำได้เลย
การตรวจวัดระดับฮอร์โมนจะใช้วิธีเก็บตัวอย่างจากการเจาะเลือด แล้วนำไปตรวจปริมาณฮอร์โมนในเลือด ซึ่งหลังจากเจาะเลือดไปอาจพบอาการช้ำจากเข็มเจาะเลือด ซึ่งไม่เป็นอันตรายและสามารถหายได้เองภายในไม่กี่วัน และสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
หลังจากได้ผลตรวจฮอร์โมนแล้วหากพบว่าระดับฮอร์โมนไม่สมดุล ควรจะต้องทำอย่างไรต่อไปบ้าง?
ในเพศหญิงเองก็มีฮอร์โมนเทสโทรเตอโรน ซึ่งเป็นหนึ่งในฮอร์โมนเพศชายอยู่เช่นกัน โดยมีผลต่อความแข็งแรงของร่างกายโดยรวม เช่น กระดูกและกล้ามเนื้อ แต่หากมีฮอร์โมนเพศชายมากเกินไปในเพศหญิงอาจทำให้มีลักษณะอาการที่ไม่พึงประสงค์ เช่น สิวขึ้นเยอะ, มีขนเยอะ, ผิวมัน, ประจำเดือนผิดปกติ เป็นต้น
ในเพศชายเองก็มีฮอร์โมนเพศหญิงอย่างเอสโตรเจนเช่นกัน ซึ่งฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศชายจะมีผลในเรื่องสมรรถภาพทางเพศ รวมถึงความแข็งแรงของมวลกระดูกและกล้ามเนื้อ หากมีฮอร์โมนเพศหญิงอย่างเอสโตรเจนมากเกินไป สามารถส่งผลให้มวลกระดูกและกล้ามเนื้อลดลง มีไขมันสะสมได้ง่าย สมรรถภาพทางเพศลดลง เป็นต้น
การตรวจฮอร์โมนสำหรับวัยทอง เป็นการตรวจเช็กระดับฮอร์โมนในร่างกายที่สามารถบอกถึงการทำงานของรังไข่ว่าสามารถทำงาน และเข้าสู่วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนไปตามเกณฑ์ปกติหรือไม่ โดยฮอร์โมนที่มีผลต่อการเข้าสู่วัยทอง ได้แก่ ฮอร์โมน Estradiol (E2) และ ฮอร์โมน Follicular stimulating Hormone (FSH) หากตรวจพบว่าระดับฮอร์โมนเหล่านี้ผิดปกติ อาจแสดงถึงการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร
นอกจากตรวจฮอร์โมนในวัยทองแล้วผู้ที่อยู่ในวัยทองควรตรวจสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุเป็นประจำ
การตรวจฮอร์โมนสามารถบอกถึงระดับฮอร์โมนชนิดต่าง ๆ ที่อยู่ภายในร่างกายของเรา หากระดับฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติก็จะสามารถเห็นได้จากการตรวจฮอร์โมน ซึ่งจะทำให้แพทย์สามารถทราบถึงความผิดปกติของระบบในร่างกาย และสามารถวางแผนการรักษาได้ตรงจุดยิ่งขึ้น
โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ เรามีโปรแกรมตรวจสมดุลฮอร์โมนเพื่อไขปัญหาสุขภาพสำหรับทุกกลุ่ม พร้อมรับการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทาง สนใจบริการติดต่อได้ที่ Line : @samitivejchinatown หรือ Tel: 02-118-7893 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
References
Do You Need Hormone Testing? (2022, June 5). Cleveland Clinic. https://health.clevelandclinic.org/hormone-testing
Wong, C. (2023, September 19). Types of Hormone Tests for Women and Their Results. verywell health. https://www.verywellhealth.com/hormone-blood-test-for-women-89722
Osborn, CO. (2023, February 9). Everything You Should Know About Hormonal Imbalance. Healthline. https://www.healthline.com/health/hormonal-imbalance
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)