ปวดเข่าห้ามกินอะไร? พาส่องอาหารที่สุขภาพเข่าไม่ปลื้ม
ปวดเข่าห้ามกินอะไร? พาส่องอาหารที่สุขภาพเข่าไม่ปลื้ม
นิ้วล็อค โรคยอดฮิตของวัยทำงาน นิ้วล็อคเป็นอาการปวดบริเวณโคนนิ้ว ชาบริเวณมือหรือนิ้วมือ ส่งผลให้ไม่สามารถขยับนิ้วได้ หรือ ขยับนิ้วไม่สะดวก รู้สึกติดๆ ขัดๆ เวลาขยับนิ้ว มักพบอาการนิ้วล็อคที่นิ้วโป้ง ทั้งนี้อาการนิ้วล็อคสามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย แต่มันเกิดกับวัยทำงานที่มีสาเหตุมาจากการทำงาน หรือใช้งานนิ้วมือหนัก หากคุณมีอาการที่ได้กล่าวไปข้างต้นคุณอาจจะกำลังเข้าข่ายโรคนิ้วล็อค
บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับอาการนิ้วล็อค สาเหตุที่ทำให้เกิดนิ้วล็อคเกิดจากอะไร อาการนิ้วล็อคเป็นยังไง ที่กำลังเป็นนั้นใช่นิ้วล็อคหรือไม่ พร้อมทั้งเผยวิธีการรักษาและแนวทางป้องกันไม่ให้นิ้วล็อค ทุกคำถามที่คุณสงสัยเกี่ยวกับปัญหานิ้วล็อคเรามีคำตอบให้คุณในบทความนี้ !
สารบัญบทความ
โรคนิ้วล็อค หรือ Trigger Finger คือ กลุ่มอาการปวดบริเวณฝ่ามือใกล้ๆกับโคนนิ้ว เวลาขยับนิ้วจะรู้สึกสะดุด ติดขัดไม่สามารถขยับนิ้วได้อย่างปกติ
อาการนิ้วล็อคมักมาพร้อมกับอาการปวด และอาการนิ้วล็อคสามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย ไม่จำกัด แต่มักพบในผู้หญิงช่วงวัยกลางคนอายุตั้งแต่ 40 - 50 ปี แต่ในปัจจุบันพบกลุ่มอาการนิ้วล็อคกับกลุ่มคนวัยทำงานมากขึ้น เนื่องจากการทำงานกับคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เป็นโรคนิ้วล็อค
ทั้งนี้อาการของโรคนิ้วล็อคมีหลายระยะ ซึ่งความรุนแรงของโรคจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะของโรค หากคุณมีอาการนิ้วล็อครุนแรง ปวด บวม และอักเสบ ไม่สามารถเหยียดนิ้วให้ตรงได้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ พร้อมทั้งเข้ารับการรักษาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด และทำให้นิ้วกลับมาสามารถใช้งานได้ปกติ
หลายคนอาจจะสงสัยว่า นิ้วล็อคเกิดจากสาเหตุอะไร ทำไมเราจึงเกิดอาการเช่นนี้ โดยอาการนิ้วล็อคเกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นบริเวณโคนนิ้ว และเส้นเอ็นของนิ้วมือ ส่งผลให้เอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณนั้นไม่สามารถขยับ หรือ ยืดหดได้ตามปกติ
สาเหตุของการอักเสบส่วนใหญ่มักมาจากการใช้งานของมือและนิ้วมือหนัก และเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดการเสียดสีและเกิดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น ทั้งนี้หากปล่อยอาการนิ้วล็อคทิ้งไว้ไม่ได้เข้ารับการรักษา อาจจะทำให้เกิดเป็นแผล เกิดพังผืด และเกิดเป็นตุ่มในเอ็น ซึ่งจะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวมากขึ้น
การใช้งานมือและนิ้วมือหนักจนทำให้เกิดอาการนิ้วล็อค เช่น พนักงานออฟฟิศที่ต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์พิมพ์งานเป็นเวลานานๆ ติดต่อกันหลายชั่วโมงต่อวัน หรือ แม่บ้านที่ต้องซักผ้าบิดผ้า หิ้วถุงใส่ของหนักๆ รวมไปถึงนักกีฬาบางประเภทที่ต้องจับอุปกรณ์กีฬาแน่นๆ เช่น แบดมินตัน เทนนิส หรือ กอล์ฟ เป็นต้น
“อาการนิ้วล็อค เกิดจากอะไร” นอกจากสาเหตุที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่สามารถทำให้เกิดอาการนิ้วล็อคได้ ดังนี้
ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดโรคดาวน์ซินโดรม สามารถเกิดอาการนิ้วล็อคภาวะแทรกซ้อนได้ และมักพบอาการนิ้วล็อคในช่วง 6 เดือนแรกหลังการผ่าตัด
ผู้ที่เป็นโรคนิ้วล็อค (Trigger Finger) มักมีอาการปวดบริเวณฝ่ามือ นิ้ว หรือบริเวณโคนนิ้ว รู้สึกสะดุดเวลาขยับนิ้ว, รู้สึกดังกึกเมื่อต้องงอหรือยืดนิ้ว อาการคล้ายๆ โรคข้อเข่าเสื่อม, รู้สึกตึงและเหมือนมีบางอย่างนูนขึ้นมาตรงโคนนิ้วที่ล็อค หรือ บางรายอาจจะมีอาการนิ้วล็อคกะทันหันทำให้นิ้วโก้งงอผิดรูป ไม่สามารถยืดนิ้วกลับได้ทันที
ทั้งนี้นิ้วล็อค อาการสามารถแบ่งได้ตามความรุนแรงของโรคออกเป็น 4 ระยะ หลักๆ ดังนี้
อาการนิ้วล็อคระยะที่ 1 มักมีอาการปวดตึงที่บริเวณฝ่ามือ หรือบริเวณโคนนิ้ว เมื่อกดบริเวณโคนนิ้วมือด้านหลังจะยิ่งรู้สึกเจ็บมากกว่าเดิม ทั้งนี้อาการนิ้วล็อคระยะที 1 จะไม่ค่อยรู้สึกสะดุด สามารถใช้งานมือและนิ้วได้ปกติ ยืดและเหยียดนิ้วได้อย่างเต็มที่ จะมีเพียงแค่อาการปวดเพียงเท่านั้น
สำหรับคนไข้ที่รู้สึกสะดุดเมื่องอนิ้ว ไม่สามารถเหยียดนิ้วตรงได้ปกติ ไม่จำเป็นต้องใช้มืออีกข้างช่วยง้างออก หรือ ผู้ที่มีอาการสะดุดเวลาขยับนิ้ว งอนิ้ว และเหยียดนิ้ว นั้นหมายความว่าคุณกำลังเข้าข่ายอาการนิ้วล็อคระยะที่ 2 แล้ว
อาการนิ้วล็อคระยะที่ 3 คนไข้ส่วนใหญ่มักมีอาการไม่สามารถเหยียดนิ้วออกได้ จำเป็นต้องใช้มืออีกข้างช่วยง้างให้นิ้วกลับมาเหยียดตรง ในระยะนี้หากมีอาการหนักขึ้นจะไม่สามารถขยับนิ้ว หรือ งอนิ้วได้ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องใช้มืออีกข้างช่วยเท่านั้น
สำหรับคนไข้อาการนิ้วล็อคระยะที่ 4 ปลอกเอ็นจะตีบแคบมากทำให้ไม่สามารถกำหมัดได้ และจะมีอาการอักเสบและบวมร่วมด้วย ทำให้ไม่สามารถเหยียดนิ้วตรงได้ เนื่องจากการอาการปวดที่รุนแรงมาก นอกจากนี้ในคนไข้นิ้วล็อคระยะที่ 4 ข้อนิ้วมืออาจจะงอผิดรูป
แม้ว่าโรคนิ้วล็อคจะสามารถพบได้ทั่วไป สามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย แต่มีกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นโรคนิ้วล็อคมากกว่าคนทั่วไป มีดังนี้
สำหรับผู้ที่มีอาการนิ้วล็อค รู้สึกปวดบริเวณฝ่ามือ หรือ บริเวณโคนนิ้ว เวลาขยับนิ้วแล้วรู้สึกติดขัดไม่สามารถขยับนิ้วได้ตามปกติ ทำให้ส่งผลกระทบการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน ลองรักษาด้วยวิธีเบื้องต้นแล้ว แต่อาการนิ้วล็อคกลับไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจ และเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ
แม้ว่าโรคนิ้วล็อคเป็นอาการที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ ไม่เข้ารับการรักษาที่ถูกต้องอาจจะส่งผลให้เกิดอาการนิ้วล็อคเรื้อรังและทำให้การรักษายากขึ้นมากกว่าเดิมหลายเท่า
โรคนิ้วล็อค เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทั้งนี้วิธีรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค โดยแบ่งการรักษาออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ ได้แก่ การรักษาและบรรเทาอาการนิ้วล็อคเบื้องต้นด้วยตนเอง
วิธีนี้จะเหมาะกับผู้ที่เพิ่งเริ่มมีอาการนิ้วล็อคในระยะแรกๆ ส่วนการรักษาและบรรเทาอาการนิ้วล็อคด้วยวิธีทางการแพทย์ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการนิ้วล็อครุนแรง ไม่สามารถบรรเทาความเจ็บปวดได้ด้วยวิธีเบื้องต้น
ทั้งนี้การรักษาโรคนิ้วล็อคจะขึ้นอยู่กับความรุนแรง และดุลยพินิจของแพทย์ หากมีอาการนิ้วล็อคสิ่งแรกที่ควรทำคือการไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย และประเมินว่าคุณเป็นนิ้วล็อคระยะที่เท่าไหร่ เพื่อทำการรักษาที่ตรงจุดและถูกวิธีมากที่สุด
สำหรับผู้ที่มีอาการนิ้วล็อคในระยะแรกๆ สามารถบรรเทาอาการปวด และรักษาอาการนิ้วล็อคได้ด้วยตัวเอง โดยการหยุดพักการใช้งานมือ ไม่หิ้วของหนักหากจำเป็นต้องหิ้วของหนักสามารถใช้ผ้าขนหนูรองที่ฝ่ามือเพื่อลดการเสียดสี และแรงกดทับได้, การประคบร้อน, การแช่น้ำอุ่น, ใส่อุปกรณ์สำหรับดามนิ้ว (Slinting) ช่วยดามนิ้วให้เหยียดตรง ทำให้นิ้วได้พัก ป้องกันไม่ให้นิ้วเกร็งหรืองอ หรือการทำกายบริหารเพื่อแก้นิ้วล็อคง่ายนิดเดียวด้วยตัวเอง ดังนี้
ผู้ที่มีอาการนิ้วล็อคในระยะแรก สามารถบริหารนิ้วมือเพื่อคลายนิ้วล็อคได้ด้วยตัวเอง ดังนี้
เพียงเท่านี้ เราก็ทราบวิธีในการบริหารนิ้วมือ ว่า ในเบื้องต้น นิ้วล็อคแก้ง่ายนิดเดียว แต่สำหรับผู้ที่ลองทำตามวิธีกายบริหารนิ้วมือแล้วแก้อาการนิ้วล็อคไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจประเมินความรุนแรงของโรคและเข้ารับการรักษาต่อไป ตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อบรรเทาอาการนิ้วล็อค
วิธีรักษาโรคนิ้วล็อคด้วยวิธีทางการแพทย์ สามารถใช้ได้กับคนไข้ที่มีอาการนิ้วล็อคตั้งแต่ระยะ 1 - 4 ทั้งนี้การรักษาอาการนิ้วล็อคจะขึ้นอยู่กับอาการความรุนแรงของโรคและดุลยพินิจของแพทย์แต่ละคน โดยการรักษานิ้วล็อคด้วยวิธีทางการแพทย์ มีดังนี้
สำหรับผู้ที่มีอาการปวดบริเวณฝ่ามือ หรือ ปวดบริเวณโคนนิ้ว สามารถรับประทานยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non - Steroidal Antiinflammatory Drugs) หรือที่หลายคนเรียกกันว่า “ยาแก้อักเสบ” นิยมใช้เป็นยาแก้ปวดเข่า ปวดข้อ หรือรักษาอาการเอ็นข้อมืออักเสบ และยาแก้อักเสบสามารถช่วยบรรเทาอาการอักเสบ และอาการปวดลดได้ แต่ไม่สามารถบรรเทาอาการบวมตรงปลอกหุ้มเอ็นได้
นอกจากนี้การบรรเทาอาการนิ้วล็อคด้วยการรับประทานยาต้านการอักเสบ ควรทำควบคู่ไปกับการพักการใช้งานมือ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ทั้งนี้ยาแก้อักเสบไม่ใช่ยาแก้นิ้วล็อค เป็นเพียงการบรรเทาการอักเสบเพียงเท่านั้น
สำหรับผู้ที่มีอาการนิ้วล็อค ปวดบริเวณโคนนิ้ว หรือเวลาขยับนิ้วแล้วรู้สึกติดขัด สามารถบรรเทาอาการนิ้วล็อค คลายกล้ามเนื้อและเอ็นได้ด้วยการทำกายภาพบำบัด ตามที่แพทย์แนะนำ โดยส่วนใหญ่แล้วการทำกายภาพบำบัดเพื่อรักษาโรคนิ้วล็อคจะเป็นการกายภาพบำบัดเบาๆ เพื่อช่วยให้นิ้วเคลื่อนที่ได้ปกติ
ซึ่งหลายคนมองว่า อาการนิ้วล็อคบําบัดเองก็หายได้ แต่ในความจริงแล้ว การทำกายภาพรักษานิ้วล็อคควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ หรือ นักกายภาพบำบัดเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของคนไข้
สำหรับผู้ที่มีอาการนิ้วล็อครุนแรง การรักษานิ้วล็อคด้วยยาและกายภาพบำบัดไม่ได้ผล อาการไม่ดีขึ้น จำเป็นต้องฉีดยาแก้นิ้วล็อคเพื่อบรรเทาอาการปวด บวม และอักเสบ ซึ่งแพทย์จะฉีดสารคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) บริเวณเยื่อหุ้มเส้นเอ็น ซึ่งสามารถบรรเทาอาการบวมและอักเสบของเอ็นได้ ทำให้สามารถเคลื่อนไหวนิ้วได้ปกติ
การฉีดสารคอร์ติโคสเตียรอยด์ เป็นเพียงการแก้อาการนิ้วล็อคเพียงระยะเวลาสั้นๆ เพียงเท่านั้น โดยทั่วไปไม่ควรฉีดสารคอร์ติโคสเตียรอยด์มากกว่า 2 - 3 ครั้ง นอกจากนี้การรักษานิ้วล็อคด้วยการฉีดยา ไม่ผ่าตัดสามารถทำให้อาการกลับมาได้อีก ไม่ใช่การรักษาโรคให้หายขาดถาวร
การผ่าตัดนิ้วล็อคเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการนิ้วล็อคมานาน ลองรักษาด้วยวิธีอื่นแล้ว แต่ไม่ได้ผล การผ่าตัดจึงเป็นทางเลือกสุดท้าย โดยแพทย์จะฉีดยาชาบริเวณแผลผ่าตัด และเปิดแผลบริเวณโคนนิ้ว และผ่าตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่หนาตัวให้เปิดออก เพื่อขยายช่องปลอกหุ้มเอ็นช่วยทำให้เส้นเอ็นเคลื่อนไหวได้สะดวก ไม่ติดขัด
ทั้งนี้การผ่าตัดรักษาโรคนิ้วล็อคเป็นการผ่าตัดเล็ก และแทบไม่มีภาวะแทรกซ้อน คนไข้สามารถกลับบ้านได้ทันทีหลังจากผ่าตัดเสร็จ ไม่จำเป็นต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล ซึ่งแตกต่างจากการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม
ในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีรักษานิ้วล็อคด้วยตัวเอง แต่โรคนิ้วล็อคสามารถป้องกันได้ เพียงแค่ปรับเปลี่ยน และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมประจำวันที่เพิ่มโอกาสความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการนิ้วล็อค ซึ่งแนวทางการป้องกันอาการนิ้วล็อค มีดังนี้
สำหรับผู้ที่มีอาการนิ้วล็อค ไม่ว่าจะอยู่ในระยะอาการใด โดยเฉพาะผู้ที่เป็นแบบเรื้อรัง อาจจะมีสงสัยบางประการ คือ
นิ้วล็อคเรื้อรัง โดยทั่วไปแล้ว ไม่ถือว่าเป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดข้อจำกัดในการทำงานและส่งผลต่อกิจกรรมประจำวันของเราได้ ในบางกรณี อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น แรงยึดเกาะลดลง หรือเกิดการเกร็ง (การงอนิ้วอย่างถาวร) ยิ่งถ้าหากอาการรุนแรงและไม่ได้รับการรักษาเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดความพิการในระยะยาว หรือทำให้ความสามารถในการทำงานที่ต้องใช้ทักษะการเคลื่อนไหวลดลง หรืออาจจะส่งผลให้เกิดเอ็นข้อมืออักเสบหรือพังผืดทับเส้นประสาทก็เป็นได้
ดังนั้น หากคุณมีอาการนิ้วล็อกเรื้อรัง เราขอแนะนำให้เข้าปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกระดูก เพื่อทำการประเมินอาการ วินิจฉัย และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เพื่อช่วยบรรเทาอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
โรคนิ้วล็อคเป็นกลุ่มอาการปวดบริเวณผ่ามือใกล้ๆกับโคนนิ้ว เวลาขยับนิ้วจะรู้สึกสะดุด ไม่สามารถขยับนิ้วได้อย่างปกติ และอาการนิ้วล็อคสามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย ไม่จำกัด ในปัจจุบันมักพบกลุ่มอาการนิ้วล็อคกับกลุ่มคนวัยทำงาน อาการนิ้วล็อคเกิดจากการทำงานกับคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหลักที่ทำให้เป็นโรคนิ้วล็อค
ทั้งนี้อาการของโรคนิ้วล็อคมีหลายระยะ หากคุณมีอาการนิ้วล็อครุนแรง ปวด บวม และอักเสบ ไม่สามารถเหยียดนิ้วให้ตรงได้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ พร้อมทั้งเข้ารับการรักษาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด และทำให้นิ้วกลับมาใช้งานได้ปกติ
หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกตินิ้วมือไม่สามารถขยับได้ตามปกติ หรือ มีอาการปวดบริเวณฝ่ามือ สามารถติดต่อสอบถามกับทีมแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
Reference
Mayo Staff. (n.d.). Trigger finger. Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/trigger-finger/symptoms-causes/syc-20365100
Fischer, S. (Mar 2018). Trigger Finger. OrthoInfo. https://orthoinfo.aaos.org/en/diseases--conditions/trigger-finger/
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)