ปวดเข่าห้ามกินอะไร? พาส่องอาหารที่สุขภาพเข่าไม่ปลื้ม
ปวดเข่าห้ามกินอะไร? พาส่องอาหารที่สุขภาพเข่าไม่ปลื้ม
ข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลงเป็นอุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นกับทุกคน และเป็นอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ ทำให้หลายคนอาจจะมองข้ามอาการบาดเจ็บที่เกิดจากเท้าพลิก เพราะคิดว่าปล่อยไว้สัก 2-3 อาการปวดก็น่าจะดีขึ้น แต่ในความจริงแล้วอาการบาดเจ็บที่มีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุข้อเท้าพลิก อาจจะไม่ใช่เรื่องธรรมดาอย่างที่ใครหลายคนคิด
บทความนี้จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจกับอาการบาดเจ็บที่มีสาเหตุมาจากข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง ว่าอาการปวดแบบใดที่ไม่ควรมองข้าม ข้อเท้าพลิกแบบนี้ต้องไปหาหมอไหม ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดในขณะข้อเท้าแพลง รวมไปถึงวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการและวิธีการรักษาอาการข้อเท้าพลิกที่ถูกวิธี
ผู้ที่มีอาการข้อเท้าพลิก หรือ ข้อเท้าแพลง (Sprained Ankle) เป็นภาวะที่มีการบาดเจ็บบริเวณเส้นเอ็นที่ยึดตรึงบริเวณข้อเท้า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะรู้สึกปวดข้อเท้า ไม่สามารถลงน้ำหนักในขณะเดินได้อย่างปกติ และบางคนอาจจะมีอาการข้อเท้าบวมร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค โดยที่อาการข้อเท้าพลิกมีได้ตั้งแต่เส้นเอ็นฟกช้ำไปจนถึงเส้นเอ็นฉีกขาดทั้งเส้น
ทั้งนี้อาการข้อเท้าพลิกและข้อเท้าแพลงเป็นอาการที่สามารถพบได้ทั่วไป และมีกิจวัตรประจำวันหลายอย่างที่สามารถทำให้เกิดอาการข้อเท้าพลิกได้ ในบางรายอาจสามารถปฐมพยาบาลด้วยตนเอง แต่หลาย ๆ กรณีที่อาการข้อเท้าพลิกไม่หายสักทีก็อาจต้องเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดต่อไป
อาการข้อเท้าพลิกและข้อเท้าแพลงสามารถกับทุกคนและเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยแบ่งสาเหตุของอาการข้อเท้าพลิกออกเป็น 3 สาเหตุหลัก ๆ ได้แก่
สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยหลายคนมาพบหมอเมื่อมีอาการข้อเท้าพลิก ส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากการเกิดอุบัติเหตุในขณะทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ตกบันได ตกส้นสูง ก้าวพลาด สะดุด หรือหกล้มในขณะที่วิ่ง หรือ เดิน เป็นต้น
การเล่นกีฬา หรือ ออกกำลังกาย บางครั้งมักจะมีการบิดตัวของเส้นเอ็นบริเวณข้อเท้าอย่างรวดเร็วและรุนแรง ซึ่งอาจจะทำให้หกล้ม หรือ เสียการทรงตัวได้ โดยส่วนใหญ่แล้วจะพบกับนักกีฬาที่ต้องเคลื่อนไหวข้อเท้าอย่างฉับพลันทำให้ร่างกายเสียสมดุลและเกิดขาพลิกหรือข้อเท้าพลิกได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
บางครั้งข้อเท้าพลิก ตาตุ่มบวม ก็มักมีสาเหตุมาจากการสวมรองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับรูปเท้าทำให้มีปัญหาในเรื่องของการทรงตัว นอกจากนี้ผู้หญิงที่จำเป็นต้องสวมรองเท้าส้นสูงในขณะทำงานมีโอกาสเสี่ยงที่จะข้อเท้าพลิกและข้อเท้าแพลงมากกว่าคนทั่วไป
อาการข้อเท้าพลิกสามารถพบได้ตั้งแต่อาการปวด บวม แดง มีร่องรอยฟกช้ำบริเวณผิวหนังของเส้นเอ็นที่ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเดินลงน้ำหนักเท้าได้ เนื่องจากมีอาการเจ็บตอนลงน้ำหนัก และอาการข้อเท้าพลิกยังมีอาการคล้ายกับอาการบาดเจ็บจากภาวะอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น กระดูกข้อเท้าหัก เส้นเอ็นข้อเท้าฉีกขาด หรือ กระดูกเท้าหัก
ทำให้อาจจะแพทย์จำเป็นต้องใช้การเอกซเรย์ช่วยในประเมินความรุนแรงของอาการบาดเจ็บและการวินิจฉัยโรค และในทางการแพทย์สามารถแบ่งความรุนแรงของอาการบาดเจ็บที่มีสาเหตุมาจากข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง ได้ทั้งหมด 3 ระดับ ดังนี้
ข้อเท้าพลิกความรุนแรงระดับที่ 1 เป็นการยืดหรือขาดของเอ็นเพียงเล็กน้อย โดยที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีอาการปวด บวม และรู้สึกเจ็บเมื่อกดบริเวณข้อเท้า แต่ยังคงสามารถลงน้ำหนักที่เท้าได้ตามปกติ ซึ่งข้อเท้าพลิกที่ความรุนแรงระดับนี้มักจะมีอาการดีขึ้นเรื่อย ๆ ภายใน 2 สัปดาห์ และส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่ข้อเท้าพลิกไม่รุนแรงสามารถใช้การประคบลดอาการเจ็บปวดได้โดยไม่ต้องพบแพทย์
ข้อเท้าพลิกความรุนแรงระดับที่ 2 จะมีการฉีกขาดของเส้นเอ็นบางส่วน หรือ เส้นเอ็นมีการฉีกขาดไม่เกินร้อยละ 50 โดยที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีอาการปวดและบวมที่บริเวณข้อเท้าอย่างชัดเจน และอาจจะทำให้ไม่สามารถลงน้ำหนักไปที่เท้าได้ ซึ่งข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลงความรุนแรงระดับนี้มักจะมีอาการดีขึ้นเรื่อย ๆ ภายใน 4-6 สัปดาห์
ข้อเท้าพลิกความรุนแรงระดับที่ 3 เส้นเอ็นทั้งหมดจะมีการฉีกขาด และไม่สามารถเดินลงน้ำหนักได้นับว่ามีความรุนแรงระดับสาม มักพบในผู้ป่วยที่ข้อต่อบริเวณข้อเท้ามีความหลวมจากการบาดเจ็บของเส้นเอ็นซ้ำ ๆ ผู้ป่วยที่ข้อเท้าพลิกมักจะรู้สึกปวดบวมไม่หาย และส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก โดยข้อเท้าพลิกระดับนี้มักจะมีอาการดีขึ้นเรื่อย ๆ ภายใน 6-10 เดือน
นอกจากนี้ข้อเท้าพลิกความรุนแรงระดับที่ 3 หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี หรือ ปล่อยทิ้งไว้มีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูง
ข้อเท้าพลิก ทําไงหายเร็ว ? สำหรับผู้ป่วยที่เกิดอุบัติเหตุทำให้ข้อเท้าพลิก ตาตุ่มบวม สามารถใช้วิธีรักษาปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ หากอาการปวดไม่รุนแรงด้วยวิธีต่อไปนี้
ข้อเท้าพลิกประคบอะไรได้บ้าง ? สำหรับอาการข้อเท้าพลิกนั้นสามารถใช้การประคบเย็นได้ ซึ่งความเย็นจะช่วยลดเลือดออกบริเวณเนื้อเยื่อ ลดอาการบวม และอาการปวดที่มีสาเหตุมาจากข้อเท้าพลิก โดยแนะนำให้ผู้ป่วยประคบเย็นครั้งละ 10-20 นาที และพัก 5 นาที ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนอาการบวมบริเวณข้อเท้าหาย หรือจะประคบวันละ 2-3 ครั้งก็ได้เช่นเดียวกัน
การใช้ผ้าพันรัดข้อเท้า (Compression) สามารถช่วยยับยั้งไม่ให้เลือดออกในเนื้อเยื่อมากกว่าเดิม ทั้งนี้วิธีพันข้อเท้าพลิกด้วยผ้าพันรัดข้อเท้าควรพันให้กระชับและใช้ผ้าสำลีผืนใหญ่รองไว้ให้หนา ๆ ก่อนพันด้วยผ้าพันข้อเท้า โดยปกติแล้ววิธีนี้มักจะทำควบคู่ไปกับการประคบเย็น
การยกปลายเท้าขึ้นสูง (Elevation) เป็นวิธีช่วยให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจ ช่วยลดแรงกดจากน้ำนอกเซลล์เพื่อลดอาการบวมที่เกิดจากเส้นเอ็นบาดเจ็บ โดยแนะนำให้ผู้ป่วยนอนวางขาบนหมอน หรือ นั่งแล้ววางเท้าไว้บนเก้าอี้ให้ระดับเท้าสูงกว่าระดับหัวใจ พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงการนั่งห้อยขาเป็นเวลานาน ๆ
หลังจากที่ผู้ป่วยข้อเท้าพลิกได้ลองปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้ว แนะนำให้ลองประเมินอาการข้อเท้าพลิกของตนเองดู โดยปกติแล้วอาการข้อเท้าพลิกควรดีขึ้นภายใน 2-3 วันและหายภายใน 2-3 สัปดาห์ หลังจากที่ปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถ้าหากผู้ป่วยอาการข้อเท้าพลิก ไม่หายสักที ไม่ดีขึ้นหรืออาการปวดแย่ลงกว่าแนะนำให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียดและเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีโดยเร็ว
นอกจากนี้ไม่แนะนำให้ใช้วิธีการประคบด้วยความร้อนเมื่อข้อเท้าพลิกภายใน 48 ชั่วโมงแรก เพราะจะทำให้เส้นเลือดขยายตัว มีเลือดออกที่บริเวณข้อเท้ามากขึ้น และอาการบาดเจ็บรุนแรงมากกว่าเดิม
สำหรับผู้ป่วยที่ข้อเท้าพลิก บวมมาก หรือ ข้อเท้าแพลง เดินไม่ได้ รวมถึงมีอาการดังต่อไปนี้ แนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด พร้อมทั้งเข้ารับการรักษาเพื่อบรรเทาความรุนแรงอาการปวดทันที
เบื้องต้นแพทย์ซักประวัติเบื้องต้นของผู้ป่วยข้อเท้าพลิก พร้อมตรวจหาสาเหตุ และตรวจอาการผิดปกติภายนอกบริเวณข้อเท้า เช่น อาการบวม แดง และบิดเบี้ยว นอกจากนี้ผู้ป่วยข้อเท้าพลิกที่มีโอกาสกระดูกข้อเท้าหัก หรือ เส้นเอ็นฉีกขาดรุนแรง แพทย์จะใช้วิธีตรวจร่างกายด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ เพื่อให้ผลการวินิจฉัยโรคแม่นยำมากขึ้น ได้แก่
ผู้ป่วยข้อเท้าพลิกอาจมีข้อสงสัยว่าทำไงจึงจะทำให้อาการบาดเจ็บดีขึ้น ? ซึ่งอาการบาดเจ็บที่มีสาเหตุจากข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลงมีความรุนแรงหลายระดับ ทำให้วิธีรักษาข้อเท้าพลิกมีทั้งแบบไม่ต้องผ่าตัด และวิธีรักษาข้อเท้าพลิกด้วยการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ในปัจจุบันการรักษาข้อเท้าพลิกแบบไม่ผ่าตัด เปลี่ยนจากการรักษาโดยใส่เฝือกอ่อนประคองที่ใช้ระยะเวลานาน (Prolonged Immobilization) มาใช้วิธีการรักษาที่เรียกว่า Functional Treatment เป็นการกระตุ้นเส้นเอ็นที่บาดเจ็บให้กลับมาฟื้นตัวได้เร็วขึ้น หายเจ็บไวมากขึ้น และช่วยให้ข้อเท้าสามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติเร็วกว่าวิธีรักษาแบบเดิม โดยวิธี Functional Treatment จำเป็นต้องมี 3 อย่างนี้ ได้แก่
สำหรับผู้ป่วยข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลงส่วนใหญ่มักจะหายได้ด้วยวิธีรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด แม้ว่าเส้นเอ็นจะมีการฉีกขาดทั้งเส้นก็ตาม แต่ก็มีผู้ป่วยประมาณอีก 10% ที่เส้นเอ็นข้อเท้าหลวมเรื้อรัง หรือ เกิดอุบัติเหตุข้อเท้าพลิกซ้ำ ๆ ทำให้จำเป็นต้องใช้วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดข้อเท้าพลิก
ซึ่งการผ่าตัดข้อเท้าพลิกจะเป็นการเย็บซ่อมเอ็นข้อเท้าให้กลับมาแน่นและสมานดีเหมือนเดิม ในปัจจุบันมักจะใช้วิธีการผ่าตัดส่องกล้องที่จะทำให้แผลผ่าตัดเล็กกว่า เจ็บน้อยกว่า และลดโอกาสการติดเชื้อของแผลผ่าตัด
สำหรับผู้ป่วยข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลงที่มีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุ หรือ จากการทำกิจกรรมต่าง ๆ จนทำให้ข้อเท้าและเส้นเอ็นบริเวณข้อเท้าได้รับบาดเจ็บกระทันหัน หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธีอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ต่อไปนี้
เมื่อเกิดข้อเท้าพลิก หรือข้อเท้าแพลงขึ้น เส้นเอ็นจะถูกยืดออกกะทันหันอย่างรุนแรง ทำให้เส้นเอ็นอาจเกิดอาการฉีกขาดได้ แต่ปกติแล้วร่างกายจะสามารถซ่อมแซมเส้นเอ็นที่บาดเจ็บได้เอง อย่างไรก็ตามหากเกิดอุบัติเหตุข้อเท้าพลิกบ่อย ๆ เอ็นที่ข้อเท้าถูกยืดมาก ๆ ก็สามารถทำให้ร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมเส้นเอ็นให้กลับมาตึงเหมือนเดิม และเอ็นที่ยืดไม่กระชับจะทำให้เกิดอาการข้อเท้าหลวมขึ้น
ซึ่งอาการข้อเท้าหลวมนั้นมักจะทำให้ผู้ป่วยขาพลิกซ้ำ ๆ เดินพื้นที่ขรุขระแล้วข้อเท้าแพลงง่าย มีอาการปวดข้อเท้าบ่อย ๆ ในบางรายอาจรู้สึกเหมือนข้อเท้าจะหลุดออกจากขาเนื่องจากเส้นเอ็นที่ยึดระหว่างข้อเท้ายืดและหลวมมากนั่นเอง
สำหรับผู้ที่อยากหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บที่มีสาเหตุมาจากข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลงสามารถปฏิบัติได้ตามแนวทางการป้องกันข้อเท้าพลิกต่อไปนี้
เนื่องจากอาการข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลงมักมีสาเหตุมาจากการทำกิจวัตรประจำวัน การเล่นกีฬา และอุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยใดก็ตาม ซึ่งความรุนแรงของอาการข้อเท้าพลิกมีหลายระดับตั้งแต่อาการบวมแดงไปจนถึงเส้นเอ็นข้อเท้าฉีกขาด แต่ผู้ป่วยข้อเท้าพลิกส่วนใหญ่แพทย์มักจะแนะนำวิธีรักษาแบบไม่ผ่าตัด แต่ก็มีผู้ป่วยบางกลุ่มที่มีอาการข้อหลวมที่จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดส่องกล้องเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้อาการบาดเจ็บข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลงอาจจะกลายเป็นภาวะเจ็บข้อเท้าเรื้อรัง ข้อเท้าพลิกไม่หายสักทีและเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ กับผู้ป่วยได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี ดังนั้นแนะนำให้ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บข้อเท้ารุนแรง ข้อเท้าบวมแดง และผิดรูปทรงอย่างชัดเจน ควรรีบไปพบแพทย์และเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธีจะดีที่สุด
หากคุณมีอาการข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลงเวลาทำกิจกรรมต่างๆ สามารถติดต่อสอบถามกับทีมแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
Stuart, F. (2022, Apr). Sprained Ankle. OrthoInfo.
https://orthoinfo.aaos.org/en/diseases--conditions/sprained-ankle/
N.D. (2022, Aug 11). Sprained Ankle. Mayo Clinic.
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sprained-ankle/symptoms-causes/syc-20353225
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)