ปวดเข่าห้ามกินอะไร? พาส่องอาหารที่สุขภาพเข่าไม่ปลื้ม
ปวดเข่าห้ามกินอะไร? พาส่องอาหารที่สุขภาพเข่าไม่ปลื้ม
ปวดข้อเท้า เจ็บข้อเท้าเวลา เกิดจากอะไรกันแน่ เคยสงสัยกันไหม เวลาเดินนานๆ ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมบางอย่างที่ต้องใช้ข้อเท้าหรือเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลาขณะที่ทำกิจกรรม ทำไมถึงมีความรู้สึกปวดข้อเท้า อยู่ดีๆก็ปวดข้อเท้าขึ้นมา ทั้งที่รองเท้าที่สวมก็เป็นรองเท้าที่มั่นใจว่าได้มาตรฐาน
ข้อเท้านับเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย เป็นอวัยวะที่ช่วยให้ร่างกายสามารถเคลื่อนที่ไปตามจุดต่างๆ ที่ต้องการได้ ดังนั้นถ้าหากรู้สึกปวดข้อเท้า ไม่ว่าจะเป็นเวลาเดิน นั่ง หรือขณะทำกิจกรรม คุณไม่ควรที่จะมองข้าม เพราะนั้นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนบางอย่างจากร่างกาย ทั้งนี้อาการปวดข้อเท้าสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุตั้งแต่อาการเคล็ดธรรมดา ไปจนถึงอาการปวดที่มีสาเหตุมาจากกระดูกหัก
บทความนี้จะไขข้อสงสัยของคุณ สาเหตุของอาการปวดข้อเท้าเกิดจากอะไร อาการปวดข้อเท้าด้านหน้าแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์ แนวทางการรักษา และวิธีการดูแลรักษาข้อเท้าที่มีอาการปวดควรปฏิบัติอย่างไร หาคำตอบที่คุณสงสัยเกี่ยวกับอาการปวดข้อเท้าได้ในบทความนี้
สารบัญบทความ
ก่อนที่จะทราบสาเหตุของอาการปวดข้อเท้า เจ็บข้อเข่าควรทำความเข้าใจกับโครงสร้างของข้อเท้าเสียก่อน ข้อเท้าถูกนับรวมอยู่กับระบบกล้ามเนื้อและกระดูก โดยข้อเท้าของมนุษย์มีหน้าที่รองรับน้ำหนักตัว ทำให้สามารถทรงตัว ยืน และเคลื่อนไหวได้
กระดูกข้อเท้า (Ankle Bone หรือ Ankle Joint) จะมีกระดูกขาส่วนล่างมา 2 ชิ้น ได้แก่ Tibia และ Fibula เชื่อมระหว่างข้อเท้า โดยมีเอ็นยึดกระดูกเหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน และที่ข้อต่อที่มีการเชื่อมกันของกระดูกทั้ง 3 ชิ้น เป็นข้อต่อที่ให้ความมั่นคงแก่ร่างกาย
บริเวณหลังเท้าจะประกอบไปด้วยกระดูก 2 ชิ้น ได้แก่ Talus และ Calcaneous มีหน้าที่ช่วยทำให้ข้อเท้าเคลื่อนไหวและขยับได้ นอกจากนี้ข้อเท้ายังถูกนับว่าเป็นอวัยวะที่มีความซับซ้อน เพราะมีทั้งกระดูก กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่ออ่อน และเส้นเอ็น หลายส่วนที่เชื่อมถึงกัน เพื่อทำให้ข้อเท้าสามารถขยับและเคลื่อนไหวได้
อาการปวดข้อเท้า คือ ภาวะที่รู้สึกไม่สบายที่บริเวณข้อเท้าและข้อต่อ สามารถเกิดได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็น เพศอะไรหรือวัยใดก็ตาม ซึ่งในบางครั้งอาจจะมีอาการเจ็บข้อเท้าด้านหลังมากจนไม่สามารถลดน้ำหนักได้ไปที่บริเวณข้อเท้าได้ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น เจ็บข้อเท้าเวลาเดิน หรือ อาจจะถึงขั้นไม่สามารถเดินได้เลยเนื่องจากรู้สึกปวด
นอกจากอาการปวดข้อเท้าแล้ว ผู้ป่วยอาจจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ดังนี้
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการที่กล่าวไปข้างต้น แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายและเข้ารับการรักษาทันที เพื่อบรรเทาอาการปวดบริเวณข้อเท้า
มีหลายสาเหตุที่สามารถทำให้รู้สึกปวดข้อเท้า ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดข้อไม่รุนแรง รู้สึกติดขัดและปวดหน่วงๆ เวลาขยับข้อเท้า หรือ อาการปวดข้อเท้ารุนแรงไม่สามารถขยับข้อเท้าหรือลงน้ำหนักได้ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะปวดข้อเท้า มีดังนี้
อาการปวดข้อเท้าส่วนใหญ่ที่พบ มักจะเป็นอาการปวดที่มีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้า ที่มีสาเหตุมาจากข้อเท้าพลิกหรือข้อเท้าแพลงในขณะที่ทำกิจกรรมบางอย่าง มักมีอาการบวมและปวดบริเวณข้อเท้า ผู้ป่วยบางคนอาจจะเป็นรอยช้ำเขียวๆ รอบข้อเท้า เนื่องจากเส้นเอ็นและเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อเท้าได้รับการบาดเจ็บหรือฉีกขาด
ทั้งนี้สำหรับผู้ปวดข้อเท้า เนื่องจากเดินเยอะ ข้อเท้าพลิกหรือข้อเท้าแพลงสามารถใช้วิธีประคบเย็นบริเวณข้อเท้าทันทีที่ได้รับอุบัติเหตุ การประคบเย็นสามารถบรรเทาอาการอักเสบได้ และไม่ควรนวด เพราะอาจจะเป็นการทำให้อาการปวดแย่ลง ทางที่ดีควรรีบไปพบแพทย์และเข้ารับการรักษาที่ตรงจุดมากที่สุด
โรครองช้ำ เป็นภาวะที่มีพังผืดบริเวณใต้ฝ่าเท้า และมักมีอาการปวดบริเวณฝ่าเท้าใกล้กับส้นเท้า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการปวดบริเวณฝ่าเท้าหรือข้อเท้าหลังจากที่ตื่นนอน ปวดข้อเท้าตอนกลางคืน หรือ ตอนลุกขึ้นยืนหลังจากที่นั่งนานๆ ซึ่งโรครองช้ำมีสาเหตุมาจากการที่เส้นเอ็นฝ่าเท้าและเอ็นร้อยหวายตึงมากเกินไป หรือ การใช้รองเท้าที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทั้งนี้อาการรองช้ำจะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อเริ่มทำกิจวัตรไปได้สักพัก
อาการปวดข้อเท้าที่มีสาเหตุมาจากเอ็นร้อยหวายอักเสบ ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้ป่วยที่เล่นกีฬาที่จำเป็นต้องใช้กล้ามเนื้อน่องมาก เช่น กระโดดสูง ฟุตบอล และบาสเกตบอล โดยที่อาการเอ็นร้อยหวายอักเสบผู้ป่วยมักจะปวดที่เอ็นข้อเท้าหรือปวดข้อนิ้วเท้าระหว่างเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรม และจะรู้สึกปวดมากเมื่อหยุดทำกิจกรรม นอกจากนี้หากกดไปบริเวณเอ็นร้อยหวายจะเกิดอาการปวด
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นของผู้ป่วยเอ็นร้อยหวายอักเสบ คือ การหยุดทำกิจจกรรมที่กำลังทำอยู่ทันที และประคบเย็น และรีบไปพบแพทย์เพื่อข้ารับการรักษา โดยส่วนใหญ่ของผู้ป่วยมักจะมีอาการทุเลาลงเมื่อทำกายภาพบำบัดตามที่แนะนำ
อาการข้อเท้าอักเสบมักมีสาเหตุมาจากการใช้ชีวิตประจำ เช่น การทำกิจกรรมและการออกกำลังกายที่ไม่ถูกต้อง จนส่งผลให้ข้อเท้าเกิดการอักเสบและปวดข้อเท้าในที่สุด นอกจากนี้อาการข้อเท้าอักเสบยังสามารถพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่เป็นโรคบางชนิด ดังนี้
โรคเก๊าท์เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของร่างกายที่สะสมกรดยูริคมากเกินไป จนตกตะกอนเป็นผลึกยูเรทตามเนื้อเยื่อทั่วทั้งร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อและพังผืดรอบข้อต่อ ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน มักจะมีอาการปวดข้อเท้าและปวดหัวแม่เท้า นอกจากนี้อาการปวดข้อเท้ามักมาพร้อมการอาการบวม ซึ่งอาการจะมีความรุนแรงจนทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวก
โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นโรคข้อเรื้อรังชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้บ่อยในผู้ป่วยสูงอายุ และผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจากอายุที่มากขึ้นทำให้อวัยวะภายในร่างกายเสื่อมสภาพลงตามกาลเวลา ซึ่งอาการเสื่อมของข้อและกระดูกส่งผลให้เกิดอาการฝืดข้อและปวดข้อได้ เช่น ปวดกระดูกข้อเท้า ปวดข้อเข่า ปวดข้อเท้าเรื้อรัง และอื่นๆ
แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่สามารถยืนยันสาเหตุที่แน่ของโรครูมาตอยด์ได้ แต่ทางการแพทย์เชื่อว่าเกิดจากที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติ จนไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของตนเอง ซึ่งอาการของผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ คือ ปวดตามบริเวณข้อต่อต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ปวดข้อเท้า ข้อมือ ข้อนิ้ว และข้อศอก เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยโรครูมาตอยด์แม้ว่าจะรักษาจนอาการของโรคสงบลงแล้ว แต่จำเป็นต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เพราะอาการของโรคสามารถกลับมากำเริบได้อีกหากหยุดยา
อาการปวดข้อเท้าที่มีสาเหตุมาจากเส้นประสาทบริเวณข้อเท้าอักเสบ มักมีอาการปวดร้าวจากข้อเท้าด้านในฝ่าเท้า และอาจจะมีอาการชาไม่รับรู้ความรู้สึกหรือรับรู้ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทั้งนี้บริเวณข้อเท้าและสันเท้ามีเส้นประสาทอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อทำหน้าที่สั่งการกล้ามเนื้อและรับรู้ความรู้สึก หากเส้นประสาทบริเวณข้อเท้าได้รับการบาดเจ็บหรือเกิดการอักเสบจะส่งผลให้รู้สึกปวดและชาบริเวณข้อเท้าและฝ่าเท้าได้
อาการปวดข้อเท้าเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ดังนั้นถ้าหากเป็นเพียงอาการปวดข้อเท้าที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการใช้งานหนัก ได้รับอุบัติเหตุ หรือกระดูกหัก อาการปวดข้อเท้าจะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 1 - 2 สัปดาห์ แต่ถ้าหากมีอาการเหล่านี้รวมด้วย แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยสาเหตุของอาการปวดข้อเท้าและรักษาได้อย่างจุดตรง
ทั้งนี้ แนะนำให้หลีกเลี่ยงการนวดบริเวณที่ปวดและบวมไปก่อน เพราะอาจจะทำให้อาการปวดข้อเท้ารุนแรงมากกว่าเดิมได้
แม้ว่าอาการปวดข้อเท้าจะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ยังมีกลุ่มคนบางกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะรู้สึกบริเวณปวดข้อเท้ามากกว่าคนทั่วไป เนื่องจากพฤติกรรมและโรคประจำตัวบางชนิด ได้แก่
สำหรับผู้ที่มีอาการปวดข้อเท้าด้านใน เจ็บข้อเท้าหน้าด้าน เมื่อเข้ารับการตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุของอาการปวด แพทย์จะทำการวินิจฉัยอาการปวดข้อเท้า ดังนี้
อย่างแรกแพทย์จะทำการซักประวัติเบื้องต้นของผู้ป่วย เช่น ลักษณะอาการ ระยะเวลาที่เริ่มรู้สึกปวด ได้รับอุบัติเหตุมาก่อนหน้าหรือไม่ ก่อนหน้านี้มีประวัติการใช้งานข้อเท้าหนักหรือไม่ พร้อมทั้งตรวจดูลักษณะข้อเท้าภายนอก เช่น อาการอุ่น บวม แดง กดไปที่บริเวณข้อเท้าแล้วรู้สึกเจ็บหรือไม่ ซึ่งการตรวจจะขึ้นอยู่กับอาการความรุนแรงของผู้ป่วยและดุลยพินิจของแพทย์
ถ้าหากว่าแพทย์สงสัยว่าข้อเท้าของผู้ป่วยมีโอกาสหักหรือกระดูกบริเวณข้อเท้าอาจจะร้าว แพทย์อาจจะวินิจฉัยด้วยวิธีการเอกซเรย์ ซึ่ง การเอกซเรย์ข้อเท้ามีทั้งหมดด้วยกัน 3 แบบ ได้แก่
ทั้งนี้ การวินิจฉัยอาการปวดข้อเท้าจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และอาการความรุนแรง การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์เป็นการตรวจเพื่อหาความผิดปกติภายในที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา เหมาะกับผู้ป่วยที่มีโอกาสกระดูกข้อเท้าแตกร้าวหรือหัก
อาการปวดข้อเท้าเป็นอาการที่มีความรุนแรงของโรคหลายระดับ จึงทำให้วิธีแก้ปวดข้อเท้ามีหลายแบบ และมีวิธีการรักษาแต่ละแบบจะแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้การรักษาจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ โดยที่วิธีรักษาอาการปวดข้อเท้า มีดังนี้
หากมีอาการปวดข้อเท้าไม่รุนแรง วิธีบรรเทาอาการปวดสามารถเริ่มได้จากการพักข้อเท้า โดยพักการใช้ข้อเท้าประมาณ 2 - 3 วัน และหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักไปที่บริเวณข้อเท้า ทั้งนี้ผู้ป่วยสามารถใช้ไม้ค้ำหรือไม้เท้าช่วยเดิน เพื่อลดการทิ้งน้ำไปที่เท้า
หากเป็นอาการปวดข้อเท้าที่มีสาเหตุมาจากข้อเท้าพลิกหรือข้อเท้าแพลง สามารถใช้วิธีประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการอักเสบ โดยใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบไปบริเวณข้อเท้าข้างที่ได้อุบัติเหตุ ประคบครั้งละ 20 นาที โดยที่อาจจะทำประมาณ 3 -5 ครั้งต่อวัน
ควรใช้ผ้าพันแบบยืดพันบริเวณข้อเท้า เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อเท้าขยับและเคลื่อนไปมา ที่สำคัญไม่ควรพันแน่นจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้เท้าชาและนิ้วเท้าเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ เนื่องจากเลือดไม่สามารถไหลผ่านไปยังบริเวณเท้าได้
การทำกายบริหารสามารถทำได้เมื่ออาการปวดข้อเท้าเริ่มดีขึ้น ทั้งนี้แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มทำกายบริหาร เพราะถ้าหากทำกายบริหารผิดวิธีสามารถทำให้อาการปวดข้อเท้าแย่ลงได้ และถ้ามีเหตุการณ์ปวดข้อเท้าอีกครั้งในระหว่างการทำกายบริหารควรหยุดทันที
การรักษาอาการปวดด้วยวิธีใช้ยา สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ ใหญ่ๆ ได้ดังนี้
โดยยาทานแก้ปวดข้อเท้าที่ปัจจุบันนิยมใช้ เป็นยาแก้ปวดชนิดไม่เสพติด ได้แก่ พาราเซตามอล และ อะเซตามิโนเฟน ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านยาและห้างสรรพสินค้าทั่วไป มีสรรพคุณช่วยลดอาการปวดที่รุนแรงน้อยไปจนถึงอาการปวดที่มีความรุนแรงปานกลาง เป็นยาสามัญประจำบ้านที่สามารถรักษาอาการปวดได้หลาย บางคนเรียกว่า ยาแก้ปวดหัว ยาแก้ปวดเข่า ยาแก้ปวดข้อ เป็นต้น
ทั้งนี้การใช้ยาพาราเซตามอนติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลเสียต่อตับทำให้ตับเป็นพิษ หากผู้ป่วยจำเป็นต้องทานยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานนาน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อความปลอดภัยของตนเอง
ในปัจจุบันยาทาแก้ปวดข้อเท้าอักเสบส่วนใหญ่ เป็นเพียงการบรรเทาอาการปวด บวม และแดง เพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยใช้หลักการทำงานเดียวกันกับการประคบร้อนและประคบเย็น เนื่องจากภายในตัวยาส่วนใหญ่มีส่วนผสมของ เมนทอล ยูคาลิปตัส หรือ ยากลุ่มต้านการอักเสบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ที่ผสมอยู่เล็กน้อย
การรักษาอาการปวดข้อเท้าด้วยการทำกายภาพบำบัดส่วนใหญ่ มักจะเริ่มทำหลังจากที่อาการปวดข้อเท้าดีขึ้นแล้ว เนื่องจากการทำกายภาพบำบัดในขณะที่อาการปวดข้อเท้ายังรุนแรง สามารถทำให้อาการปวดแย่ลงได้ การทำกายภาพบำบัดเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงให้กับข้อเท้า
ทั้งนี้การทำกายภาพบำบัดจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และนักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันไม่ให้อาการปวดข้อเท้าแย่ลง
โดยทั่วไปแล้วการผ่าตัดมักเป็นวิธีรักษาสุดท้ายที่แพทย์จะพิจารณา การผ่าตัดจึงเหมาะกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาอาการปวดข้อเท้าด้วยวิธีอื่นๆ ได้หรือใช้วิธีอื่นรักษาแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น แพทย์จึงจำเป็นต้องใช้การผ่าตัดเพื่อรักษาอาการปวด ในปัจจุบันมีการผ่าตัดข้อเท้ารักษาโรคข้อเท้าด้วยการส่องกล้อง ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว เนื่องจากแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กและในระหว่างผ่าตัดยังรู้สึกเจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดทั่วไป
อาการปวดข้อเท้าที่คนส่วนใหญ่ที่มาพบแพทย์ มักจะเป็นอาการปวดข้อเท้าทั่วไป ซึ่งมีวิธีป้องกันไม่ให้กลับมาปวดอีกครั้งได้โดยการดูแลตนเองด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
ทั้งนี้สำหรับผู้ที่ปวดข้อเท้า ปวดข้อเท้าที่ตาตุ่มด้านใน ทางที่ดีที่สุดซื้อการไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและหาวิธีรักษาที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด
หากปวดข้อเท้าเรื้อรังนานกว่า 6 อาทิตย์ นั่นเป็นอาการที่ไม่ควรเพิกเฉย เพราะมีโอกาสที่ข้อเท้าเกิดอาการปวดเรื้อรังจากหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเส้นเอ็นฉีกขาด กระดูกแตก กล้ามเนื้อลีบ ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นอาการที่ยังไม่อันตรายและสามารถรักษาให้หายได้
แต่อาการปวดข้อเท้าเรื้อรังนั้นยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอื่น ๆ ตามมา ได้แก่ เอ็นข้อเท้าอักเสบเรื้อรัง โรคเก๊าท์ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้อเสื่อม เส้นประสาทบริเวณข้อเท้าอักเสบ และอื่น ๆ ได้ ซึ่งโรคดังกล่าวนั้นเป็นโรคที่มีอาการรุนแรงจนส่งผลต่อชีวิตประจำวัน และมีโอกาสเกิดซ้ำได้ ดังนั้นหากมีอาการปวดข้อเท้าเรื้อรังจึงควรรีบเข้าปรึกษาแพทย์และรักษาตามอาการของโรคต่อไป
เมื่อคิดว่าอาการข้อเท้าพลิกดีขึ้นและลองวิ่งใหม่ แต่อยู่ดี ๆ ก็ปวดข้อเท้า ยังรู้สึกเจ็บปวดอยู่ นั่นเป็นไปได้ที่มีโอกาสเกิดขึ้นจากเส้นเอ็นฉีกขาด เส้นเอ็นสมานตัวผิดรูป กระดูกแตก กระดูกสมานติดกันผิดรูป รวมถึงการไม่ได้เข้ารับการทำกายภาพอย่างเหมาะสม ทำให้กล้ามเนื้อลีบ รู้สึกปวดเมื่อเวลาวิ่ง ซึ่งอาการเหล่านี้จะทำให้เคลื่อนไหวข้อเท้าได้ไม่เต็มที่ และมีโอกาสที่จะทำให้ข้อเท้าพลิกหรือข้อเท้าแพลงซ้ำง่ายด้วยเช่นกัน
ถึงแม้ว่าอาการเหล่านี้ไม่ได้อันตรายมาก แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และเกิดอาการข้อเท้าพลิกซ้ำ ๆ ก็อาจจะทำให้มีโอกาสเกิดโรคข้อเท้าเสื่อมซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายและไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นจึงควรเข้าพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจเช็กข้อเท้าและได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป ซึ่งจะช่วยทำให้อาการเจ็บข้อเท้าหายไปได้อย่างถาวร
อาการปวดจี๊ดที่ข้อเท้า ปวดข้อเท้าบ่อยๆ เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยมีสาเหตุที่อาจจะทำให้เกิดอาการปวดข้อเท้า ทั้งนี้หากเป็นการเจ็บข้อเท้าที่ไม่รุนแรงเป็นเพียงแค่การได้รับบาดเจ็บทั่วไป อาการปวดจะค่อยดีขึ้นเรื่อยๆ ภายใน 1 - 2 สัปดาห์
แต่สำหรับผู้ที่มีอาการปวดข้อเท้ารุนแรง พยายามใช้วิธีบรรเทาอาการหลายวิธีแล้วแต่อาการปวดไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายทันที เพราะอาการปวดข้อเท้าที่คุณเป็นอยู่อาจจะเป็นการปวดข้อเท้าที่รุนแรง และต้องใช้วิธีรักษาด้วยเครื่องมือการแพทย์เท่านั้น
หากผู้ป่วยมีอาการปวดข้อเท้า ปวดข้อเท้าตาตุ่มข้างนอกและยังไม่มั่นใจว่าควรไปตรวจร่างกายที่ไหน สามารถติดต่อสอบถามกับทีมแพทย์โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
References
Sabrina, F. (2022, Jan 23). Why your ankle hurts. Web MD. https://www.webmd.com/pain-management/ss/slideshow-ankle-problems-pain
Cleveland Staff. (2020, Dec 26). Ankle Pain. Clevel Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/symptoms/15295-ankle-pain
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)