ต้อกระจกในผู้สูงอายุ ภัยทางสายตาที่อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้
ต้อกระจกในผู้สูงอายุ คือ ภาวะที่เลนส์ตามีความขุ่นมัวหรือเปลี่ยนสี ส่งผลให้การมองเห็นของผู้ป่วยพร่ามัวและลดลงตามระยะเวลา
โรคกระจกตาย้วย หรือ โรคกระจกตาโก่ง หรือที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ โรคกระจกตาป้อแป้ อาการของโรคนี้ ในช่วงแรก ผู้ป่วยจะมีปัญหาเรื่องสายตาสั้น และจะสั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามมาด้วยสายตาเอียง และก็เอียงมากยิ่งขึ้น
กระจกตาย้วย ภาวะผิดปกติของโครงสร้างกระจกตา ที่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็น ทำให้ภาพเบลอ บิดเบี้ยว ดวงตาไวต่อแสง ปัญหาเหล่านี้จัดเป็นปัญหาที่ร้ายแรง เพราะดวงตาเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย และมีส่วนสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เราจึงควรศึกษาโรคนี้ให้ละเอียด เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เหมาะสม ถูกวิธี
กระจกตาย้วย กระจกตาโก่ง (Keratoconus) คือ ภาวะผิดปกติของกระจกตา เนื่องจากกระจกตามีลักษณะบางลงเรื่อย ๆ ร่วมกับการโก่งนูนของกระจกตาที่ยื่นมาข้างหน้าเป็นรูปทรงกรวย ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเส้นใยคอลลาเจนของกระจกตา ทำให้กระจกตาไม่แข็งแรงจึงถูกดันให้โก่งนูนออกมา ต่างจากกระจกตาปกติที่จะมีรูปทรงกลมหรือทรงรีเล็กน้อย
ภาวะกระจกตาย้วยเกิดจากเส้นใยคอลลาเจนอ่อนแอ หรือ คอลลาเจนในชั้นกลางของกระจกตามีการเรียงตัวที่ผิดไป ไม่สม่ำเสมอ และหากไม่รีบรักษา ปล่อยให้เกิดภาวะนี้นาน ๆ กระจกตาบางชั้นอาจมีการฉีกขาด เกิดเป็นแผลในลักษณะฝ้ายาว และค่อย ๆ หลุดไปในระหว่างการเปลี่ยนแปลงของเนื้อกระจกตา ทำให้กระจกตาบางลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะบริเวณตรงกลางหรือค่อนมาทางด้านล่างเล็กน้อย ส่งผลให้กระจกตายื่นปูดออกมาข้างหน้า ก่อให้เกิดภาวะตาสั้น - เอียงมากขึ้น ทำให้สายตามัวลง มองเห็นไม่ชัด จนต้องเปลี่ยนแว่นสายตาบ่อย ๆ
โดยสาเหตุของภาวะกระจกตาย้วย ได้แก่
ในปี 2562 จักษุแพทย์จากราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย พบว่าผู้ที่มีภาวะกระจกตาโก่งจะสัมพันธ์กับปริมาณคอลลาเจนในกระจกตาที่ลดน้อยลง การที่คอลลาเจนในกระจกตาลดลงจะพบร่วมกับปัจจัยเสี่ยง ดังนี้
อาการของโรคกระจกตาย้วย กระจกตาโก่ง จะเริ่มแสดงในช่วงอายุ 13 ปีเป็นต้นไป และอาการโรคจะแสดงยาวถึง 10-20 ปี และอาการที่บ่งบอกว่ามีภาวะกระจกตาย้วย คือ
กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อภาวะกระจกตาย้วย กระจกตาโก่ง คือมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างภายในกระจกตาทำให้กระจกตาบาง และโก่งออก ส่งผลให้มีการมองเห็นที่ผิดปกติ มีสายตาสั้น สายตาเอียง ความสามารถในการมองเห็นลดลง โรคนี้มักพบในช่วงอายุยังน้อย 10 กว่าปี และจะมีอาการรุนแรงในช่วงอายุ 20-39 ปี แต่บางรายอาจใช้เวลาหลายสิบปี จึงจะมีอาการรุนแรง
กลุ่มคนที่เสี่ยงเป็นกระจกตาย้วย กระจกตาโป่ง มีดังนี้
เมื่อใดก็ตามที่พบว่าเริ่มจะมีปัญหาในการมองเห็นภาพ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับตา (เช่นตาแดง เคืองตามาก) ควรรีบพบจักษุแพทย์ทันที เพื่อเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมกับสาเหตุ
และเนื่องจากโรคกระจกตาย้วยเป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงมีความแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน และเพื่อที่แพทย์จะได้ตรวจติดตามความคืบหน้าของโรคได้ พร้อมทำการรักษาแก้ไขตั้งแต่แรกเริ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงของกระจกตา
โดยปกติแล้วโรคกระจกตาย้วย กระจกตาโป่งนั้นมักจะถูกตรวจพบโดยบังเอิญจากการที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาโรคตาอื่น ๆ หรือ เพื่อทำเลสิก และจักษุแพทย์มีความสงสัยถึงภาวะกระจกตาโก่ง จึงนำมาตรวจวัดสายตาขั้นที่ลึกกว่าปกติด้วยเครื่อง Corneal topography ซึ่งคืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถตรวจดูแผนที่ความโค้งนูนของกระจกตาอย่างละเอียด
การวินิจฉัยโรคกระจกตาย้วย กระจกตาโก่ง จักษุแพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกายของคนไข้ รวมถึงซักประวัติโรคกระจกตาย้วยของคนในครอบครัว ทั้งยังมีการตรวจความโค้งนูนของกระจกตาคนไข้ โดยวิธีที่จักษุแพทย์ใช้ ได้แก่
โดยใช้เครื่องเคอราโตมิเตอร์ (Keratometer) ส่องไฟไปที่กระจกตาเพื่อวัดความโค้งของกระจกตา
เพื่อนำไปตรวจกระจกตาโดยละเอียด
เป็นการใช้เครื่อง Slit-lamp สำหรับตรวจดวงตา เพื่อตรวจสอบรูปร่าง และความผิดปกติต่าง ๆ รอบกระจกตา
การใช้เครื่องวัดกำลังสายตาหรืออุปกรณ์ตรวจตาเรติโนสโคป (Retinoscope) ในการวัดค่าการหักเหแสงของดวงตา รวมถึงการตรวจสอบจอประสาทตาของคนไข้
วิธีรักษาโรคกระจกตาย้วย กระจกตาโป่งนั้น จะเป็นการรักษาตามระยะความรุนแรงของโรค เช่น หากอาการไม่มาก อาจแก้ไขให้มองเห็นได้ดีขึ้นด้วยการใส่แว่น หรือถ้ามีอาการมากขึ้น ก็อาจจะใช้วิธีการรักษาต่อไปนี้
ถ้าอยู่ในระยะแรกที่อาการยังไม่รุนแรงมาก แพทย์อาจทำการรักษาด้วยการให้ผู้ป่วยใส่แว่นตา หรือใส่คอนแทคเลนส์แบบพิเศษหลายชนิด เช่น scleral lens, RGP lens เป็นต้น
หลังจากนั้นก็จะทำการรักษาอย่างต่อเนื่องด้วยการฉายแสงอัลตราไวโอเลตร่วมกับวิตามินบี (Collagen Cross Linking) ที่กระจกตา เพื่อทำให้เส้นใยคอลลาเจนแข็งแรงขึ้น ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ของการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา
อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ไม่เหมาะกับคนที่มีกระจกตาหนาน้อยกว่า 400 ไมครอน หรือคนที่เคยมีประวัติติดเชื้อเริมที่กระจกตามาก่อน หรือคนที่มีการหายของแผลที่ผิวกระจกตาผิดปกติ
เป็นเทคโนโลยีใหม่ในการรักษาภาวะกระจกตาโก่งด้วยการใส่วงแหวนขึงกระจกตา เพื่อทำให้กระจกแบนลงและมีความโค้งใกล้เคียงปกติมากขึ้น ทำให้สามารถใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์แก้ไขสายตาได้ วิธีนี้เหมาะกับคนที่มีกระจกตาโก่งแต่ไม่สามารถใส่แว่น หรือ คอนแทคเลนส์ให้มองเห็นดีขึ้นได้ เนื่องจากสายตาโก่งหรือเอียงมากเกินไป
เป็นการรักษาแบบเดิมที่มีความซับซ้อน และต้องรอคอยกระจกตาจากผู้บริจาคอวัยวะ ซึ่งอาจต้องรอเป็นเวลานานมากถึง 3 ปี วิธีนี้จะใช้ในกรณีที่กระจกตาโก่งขั้นรุนแรง หรือมีแผลเป็นที่กระจกตาร่วมด้วย และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยคอนแทคเลนส์ ดังนั้นการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาจะช่วยแก้ไขความโค้งของกระจกตาให้ใกล้เคียงภาวะปกติได้
วิธีป้องกันกระจกตาย้วย กระจกตาโก่ง สำหรับคนที่ไม่ได้มีภาวะโรคนี้แต่กำเนิด และไม่มีปัญหาสายตาอื่น ๆ ร่วมด้วย วิธีป้องกันที่ทางจักษุแพทย์แนะนำคือ
สำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปีเป้นต้นไป ควรตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตรวจสอบว่าพบความผิดปกติต่างๆ ในดวงตา หรือโรคกระจกตาโก่งหรือไม่
สำหรับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคกระจกย้วยตานั้น สามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลหรือคลินิกที่มีอยู่มากมาย ซึ่งเราจะขอแนะนำหนึ่งในสถานพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ ของจักษุแพทย์ที่จะคอยให้คำปรึกษา แนะนำ และทำการรักษาให้อย่างดีที่สุด
สถาบันจักษุสมิติเวช ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ รักษาดูแลดวงตาโดยเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่จะช่วยให้คุณหายจากภาวะกระจกตาย้วย นอกจากนี้ที่ตั้งโรงพยาบาล สมิติเวช ไชน่าทาวน์ ยังตั้งอยู่ที่ใจกลางกรุงเทพ เดินทางไปได้อย่างสะดวกสบาย
ในปัจจุบันยังไม่มีการผ่าตัดด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตามที่สามารถแก้ไขความบิดเบี้ยวของกระจกตาให้กลับมาเป็นปกติได้ แต่ก็ยังสามารถแก้ไขให้การมองเห็นกลับมาชัดเจนเป็นปกติมากที่สุดได้ ด้วยการใช้คอนแทคเลนส์ชนิดกึ่งนิ่มกึ่งแข็ง (Rigid Gas Permeable Contact Lens, RGP)
โดยเมื่อผิวกระจกตาที่บิดเบี้ยว ถูกปิดด้วยคอนเเทคเลนส์ RGP ที่มีผิวเรียบสม่ำเสมอ ก็จะทำให้ออกซิเจนจากอากาศซึมผ่านตัวเลนส์ไปสู่กระจกตาได้ในปริมาณสูง เลนส์ RGP จะยึดกระจกตา ช่วยปรับปรุงการมองเห็น
คนที่มีปัญหากระจกตาโก่งนั้นไม่สามารถรักษาด้วยวิธีเลสิก เนื่องจากมีปัญหาที่กระจกตาบางมาก หรือก็คือความหนาของกระจกตาไม่เพียงพอ เมื่อเทียบกับระดับความผิดปกติของสายตา ทางเลือกอื่นก็คือ การรักษาด้วยการใช้เลนส์เสริมได้
สำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคกระจกตาย้วย กระจกตาโป่ง อาการจะต่างกันไปในแต่ละคน แต่ถ้าได้ทำการปรึกษาจักษุแพทย์ตั้งแต่แรกเริ่มที่มีอาการ เพื่อหาสาเหตุ และวิธีหลีกเลี่ยงก่อนที่จะลุกลามจนถึงขั้นอาการรุนแรง ก็สามารถช่วยให้การใช้ชีวิตประจำวันเป็นไปด้วยความราบรื่น เพราะดวงตาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เราต้องดูสังเกตความผิดปกติ และรู้จักถนอมสายตา เพื่อให้ดวงตาคู่นี้อยู่กับเราไปนานๆ
การไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาที่เหมาะสมนั้น เป็นวิธีป้องกันโรคกระจกตาย้วย กระจกตาโป่ง ที่ดีที่สุด หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคกระจกตาย้วย หรือโรคทางสายตาอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามมาได้ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์
ติดต่อได้ที่เบอร์โทร 02-118-7893
อีเมล์ : [email protected]
หรือช่องทาง LINE : @samitivejchinatown
เอกสารอ้างอิง
2020, Keratoconus, https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/keratoconus
2022, What is Keratoconus https://www.aao.org/eye-health/diseases/what-is-keratoconus
2020, Keratoconus, https://www.lei.org.au/services/eye-health-information/keratoconus/
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)