บทความสุขภาพ

โรคไข้หวัดใหญ่ป้องกันได้!

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567



โรคไข้หวัดใหญ่ป้องกันได้!

 

โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ทุกคนคุ้นเคยกันมานาน แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่า ไข้หวัดใหญ่นั้นมีหลากหลายสายพันธุ์ต่าง ๆ รวมถึงไม่รู้วิธีป้องกันและรักษาที่ถูกต้อง ไข้หวัดใหญ่นั้นแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว และอันตรายมากกว่าที่ใครหลาย ๆ คนคาดคิด จากสถิติทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่ถึงปีละ 250,000 – 500,000 คน โดยประเทศไทยนั้นมีผู้ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ประมาณ 1,000 - 2,000 คนต่อประชากร 100,000 คนต่อปี จากเดือนมกราคมถึงสิงหาคม ปี 2558 ประเทศไทย มีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่ถึง 23 คน ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้มีอยู่ในช่วงวัยตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ แม้เราจะมีสุขภาพที่แข็งแรง แต่ก็สามารถติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่และแพร่กระจายเชื้อให้แก่ผู้อื่นได้
 

ประเภทของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่
 

โรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Influenza Virus ซึ่งเป็นต้นเหตุของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลัน โดยอาการติดเชื้อมักเริ่มขึ้นในจมูกและคอ (เยื่อบุทางเดินหายใจส่วนบน) และจะแพร่กระจายไปยังปอดและหลอดลม แต่เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ไม่ได้มีแค่สายพันธุ์เดียวเท่านั้น โดยไข้หวัดใหญ่มีสายพันธุ์ใหญ่หลักๆ สามสายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ A สายพันธุ์ B และสายพันธุ์ C
 
ไข้หวัดสายพันธุ์ A และ B พบได้ทั่วโลก แต่สายพันธุ์ A สามารถระบาดได้ทั้งปี ส่วนสายพันธุ์ B เป็นไข้หวัดตามฤดูกาลซึ่งจะระบาดบ่อยในช่วงฤดูหนาวและฤดูฝน เพราะไวรัสไข้หวัดใหญ่จะเจริญเติบโตได้ดีเป็นพิเศษในอาการเย็น
 

อาการของโรคไข้หวัดใหญ่
 

โรคไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดธรมดามีความแตกต่างกัน คือ ไข้หวัดใหญ่จะมีอาการที่รุนแรง เฉียบพลัน และยาวนานกว่าไข้หวัดธรรมดา ซึ่งดูรายละเอียดของอาการได้ตามตารางด้านล่างนี้

 

ความแตกต่างของโรคไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่
 
 
ไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่
มีไข้ไม่สูงมาก หรือมีไข้แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่เด็กมักจะมีไข้สูงมากกว่าผู้ใหญ่ มีไข้สูงถึง 40 องศาเซลเซียส นาน 2-4 วัน
ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและลำตัวเล็กน้อย หรืออาจไม่ปวดเลย มีอาการปวดตัว ปวดข้อ และปวดกล้ามเนื้ออย่างมาก
ปวดศีรษะเล็กน้อย หรืออาจไม่ปวดเลย ปวดศีรษะมาก
มีอาการอ่อนแรงและอ่อนเพลียไม่มากนัก แต่จะรู้สึกไม่สบายตัว รู้สึกอ่อนเพลียมาก และอาการจะยาวนาน 2-3 สัปดาห์
คัดจมูกบ่อย ๆ คัดจมูกบ่อย ๆ
ไอแบบแห้งๆและแน่นหน้าอก แต่ไม่มากนัก แน่นหน้าอกหรือไอบ่อย ๆ แต่อาการอาจรุนแรงขึ้นได้
เจ็บคอบ่อย ๆ เจ็บคอบ่อย ๆ
มีน้ำมูกบ่อย ๆ มีน้ำมูกบ่อย ๆ
จามบ่อย ๆ จามบ่อย ๆ
ไม่มีอาการเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้ตามปกติ มีอาการเบื่ออาหารบ่อย ๆ
รู้สึกหนาว ๆ ร้อน ๆ รู้สึกหนาว ๆ ร้อน ๆ
คลื่นไส้และอาเจียน คลื่นไส้และอาเจียน โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็ก

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้หวัดใหญ่
 
ผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่มักมีความเสี่ยงโรคแทรกซ้อน หรืออาการโรคประจำตัวอื่น ๆ กำเริบได้มากกว่าปกติจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนหลัก ๆ มีดังนี้
 
ภาวะแทรกซ้อนระบบทางเดินหายใจ
 
ผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรงมากกว่าปกติ นอกจากไอหรือมีเสมหะธรรมดา เช่น แน่นหน้าอก เจ็บกลางหน้าอก และหายใจมีเสียงหวีดทั่วปวด ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะปอดบวมหรือหลอดลมอักเสบได้
 
ภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจ
 
เสียงเต้นหัวใจหรืออัตราการเต้นหัวใจของผู้ป่วยอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว อาจมีภาวะแทรกซ้อนทางปอดอย่างรุนแรง ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยอาจมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หัวใจวายและเสียชีวิตได้
 
ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท

ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท เช่น เยื่อหรือเนื้อหุ้มสมองอักเสบที่มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยเด็ก โดยมีอาการที่บ่งชี้ถึงภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ คือ อาการชัก ซึม สับสนหรือปลุกไม่ตื่น ความดันโลหิตต่ำ อาการช๊อค ไตและตับวายได้

กลุ่มเสี่ยง

โรคไข้หวัดใหญ่สามารถเกิดได้ในทุกช่วงวัย แต่กลุ่มเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนขั้นรุนแรงคือ

 
  • เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
  • ผู้พิการทางสมอง
  • ผู้มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือมากกว่า 100 กิโลกรัม
  • ผู้ที่เป็นโรคอ้วน
  • ผู้ที่สูบบุหรี่จัด
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง 6 โรค ดังต่อไปนี้ เช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวาย โรคเบาหวาน และผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
  • ผู้ที่สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
  • บุคลากรทางการแพทย์

การป้องกันตนเองจากโรคไข้หวัดใหญ่
 
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับคนป่วย
  • หลีกเลี่ยงสถานที่แออัดในช่วงการระบาดของไวรัสไข้หวัดใหญ่
  • หมั่นล้างมือบ่อย ๆ และล้างให้สะอาดทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการเอามือเข้าปาก หรือขยี้ตา
  • อย่าใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ
  • ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี โดยเฉพาะวัดซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ที่ครอบคลุมเชื้อไวรัสทุกประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เป็นอีกทางเลือกในการเพิ่มภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ แต่ควรฉีดก่อนฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงที่ระบาดมากที่สุด ซึ่งองค์การอนามัยโลกและแพทย์ได้แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปีเพราะ

 
  • ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ปีละครั้ง ลดความเสี่ยงได้ 50 – 95%*
    *เปอร์เซ็นต์สูงสุดที่ลดความเสี่ยงได้ ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ในวัคซีนที่ตรงกับสายพันธุ์ที่ระบาด
    ศ.เกียรติคุณ นพ. เสน่ห์ เจียสกุล ประธานคณะกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อ รพ.สมิติเวช ศรีนครินทร์
    ที่มา: 2015 Red book (Report of the Committee on Infectious Diseases)
  • หายห่วงกับภาวะแทรกซ้อน
  • ลดปัญหาค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในอนาคต
  • หมดกังวลเรื่องลาหยุดเมื่อป่วย แถมงานก็ไม่สะดุด

ผู้ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ควรป้องกันตัวเองจากภาวะแทรกซ้อนด้วยการพักผ่อนและดื่มน้ำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรโดนอากาศเย็นและหักโหมร่างกายจนเกินไป และหากสงสัยว่าตนเองเริ่มมีอาการของโรคไข้หวัดใหญ่หรือมีปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ ควรรีบมาพบและปรึกษาแพทย์ เพื่อที่คุณจะสามารถรักษาร่างกายให้แข็งแรงและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ

แพคตรวจสุขภาพที่แนะนำ

 
  • แพคเกจฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์
  • แพคเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด Zostavax Vaccine
  • แพคเกจตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ และกระเพาะอาหาร
  • แพคเกจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  • แพคเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
  • แพคเกจตรวจภาวะกระดูกพรุน
  • แพคเกจตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก ตันเฉียบพลัน
  • แพคเกจตรวจคัดกรองมะเร็งปอด
บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​