ปวดเข่าห้ามกินอะไร? พาส่องอาหารที่สุขภาพเข่าไม่ปลื้ม
ปวดเข่าห้ามกินอะไร? พาส่องอาหารที่สุขภาพเข่าไม่ปลื้ม
บางคนอาจเข้าใจว่า ภาวะกระดูกเชินกรานหัก หรือกระดูกเชิงกรานร้าว มีเพียงวัยสูงอายุเท่านั้นที่จะเกิดขึ้นได้ เพราะผู้สูงอายุเป็นวัยที่ร่างกายต้องเผชิญเกี่ยวกับความเสื่อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระดูกสะโพกหัก ภาวะข้อไหล่หลุด หรือโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
แต่ในความเป็นจริง การที่เรามักพบภาวะกระดูกเชิงกรานหักในผู้สูงอายุบ่อยๆ อาจไม่ได้หมายความว่า วัยอื่นจะไม่มีโอกาสเสี่ยงเลย เพราะภาวะกระดูกเชิงกรานหัก เป็นภาวะที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับช่วงวัยเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ด้วย
ดังนั้น ในบทความนี้เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับเรื่องภาวะกระดูกเชิงกรานหัก ตั้งแต่กระดูกเชิงกรานหัก คืออะไร บริเวณส่วนไหนของร่างกาย การที่กระดูกเชิงกรานหัก วิธีรักษามีอะไรบ้าง รวมไปจนถึงเรื่องสำคัญอย่างเช่น หากพบผู้ที่เข้าข่ายกระดูกเชิงกรานหัก การพยาบาลเบื้องต้นสามารถทำอย่างไรได้บ้าง เป็นต้น
สารบัญบทความ
กระดูกเชิงกรานหัก (Pelvis Fracture) คือ ภาวะที่เกิดการแตกหักของกระดูกที่เชื่อมต่อกัน อย่างน้อย 1 ชิ้น ซึ่งมีรูปแบบการแตกหักของกระดูกเชิงกราน ดังนี้
อีกทั้งยังมีการแบ่งประเภทของกระดูกเชิงกรานหักออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่…
กระดูกเชิงกรานหักแบบคงที่ (Stable pelvic fracture) คือ การที่กระดูกเชิงกรานหักเพียงจุดเดียว ไม่เกิดการเคลื่อนที่ของกระดูก ณ บริเวณที่หัก โดยกระดูกเชิงกรานหักประเภทนี้ มักพบได้ในอุบัติเหตุที่มีการกระทบกระเทือนต่ำ เช่น การหกล้ม การวิ่ง เป็นต้น
กระดูกเชิงกรานหักแบบไม่คงที่ (Unstable pelvic fracture) คือ การที่กระดูกเชิงกรานหักตั้งแต่ 2 จุดขึ้นไป จึงทำให้กระดูก ณ บริเวณที่หัก เกิดการเคลื่อนที่จากตำแหน่งเดิม ซึ่งกระดูกเชิงกรานหักประเภทนี้ มักพบในอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ที่ได้รับการกระทบกระเทือนค่อนข้างมาก เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ เป็นต้น
กระดูกเชิงกราน เป็นบริเวณที่อยู่ในส่วนปลายสุดของกระดูกสันหลังและเป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกรยางค์ ประกอบไปด้วยกระดูกที่เชื่อมต่อกัน ได้แก่ กระดูกใต้กระเบนเหน็บ (Sacrum) กระดูกก้นกบ (Coccyx) และกระดูกสะโพก (Hip bone)
ภายในกระดูกสะโพก สามารถแบ่งออกมาได้เป็นกระดูกย่อย 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกปีกสะโพก (Ilium) กระดูกก้น(Ischium) และกระดูกหัวหน่าว (Pubis) โดยทั้งหมดนี้จะเชื่อมต่อกันจนกลายมาเป็นโครงสร้างร่างกายของเรานั่นเอง
กระดูกเชิงกราน ทำหน้าที่ปกป้องอวัยวะภายในร่างกาย อย่างเช่น มดลูก รังไข่ ลำไส้ใหญ่ตอนปลาย เส้นประสาทต่างๆ หลอดเลือด ท่อปัสสาวะ หรือกระเพาะปัสสาวะ ไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนหรืออวัยวะภายในได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในเรื่องของการควบคุมการเคลื่อนไหวของขาด้วย
โดยทั่วไปแล้ว การที่กระดูกเชิงกรานร้าวหรือกระดูกเชิงกรานหัก มักจะเกิดจาก 2 สาเหตุหลัก ดังนี้
การเกิดอุบัติเหตุรุนแรง อย่างเช่น การพลัดตกจากที่สูง การเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ การได้รับแรงกระแทกบริเวณสะโพกอย่างมาก การถูกทำร้ายร่างกาย ฯลฯ สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อภาวะกระดูกเชิงกรานแตกโดยตรง เพราะถึงแม้ว่ากระดูกจะแข็งแรงเพียงใด แต่ถ้าหากมีแรงมากระทบกระเทือนบริเวณนั้นอย่างมาก ก็อาจจะทำให้กระดูกรองรับไม่ไหว จนเกิดการแตกหักขึ้นได้
อุบัติเหตุ เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ไม่มีใครสามารถล่วงรู้ได้ก่อนเลยว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด จึงทำให้สาเหตุนี้มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย เราควรต้องระมัดระวังตนเองในการใช้ชีวิต เพื่อความปลอดภัยมากขึ้น
ภาวะกระดูกพรุน เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในกลุ่มวัยสูงอายุ เนื่องจากอายุที่มากขึ้น ทำให้กระดูกมีความแข็งแรงลดลง ส่งผลให้กระดูกเปราะบาง แตกหักได้ง่าย เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ที่อาจทำให้เกิดการกระทบกระเทือนตรงบริเวณกระดูกเชิงกรานเพียงเล็กน้อย ยกตัวอย่างเช่น การที่ผู้สูงอายุเกิดการหกล้มภายในบ้าน โดยบริเวณสะโพกได้รับการกระแทกกับพื้นโดยตรง เป็นต้น
ดังนั้น หากผู้สูงอายุเกิดการหกล้มหรือเกิดเหตุการณ์ที่สงสัยได้ว่า เกิดการกระทบกระเทือนบริเวณสะโพก กระดูกเชิงกรานขึ้น ไม่ควรละเลยที่จะเข้ารับการตรวจร่างกาย เพื่อตรวจสภาพกระดูกภายในว่าได้รับผลกระทบหรือไม่
ผู้ที่มีภาวะกระดูกเชิงกรานหัก จะมีอาการดังต่อไปนี้
กลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดกระดูกเชิงกรานหัก มีดังต่อไปนี้
ภาวะกระดูกเชิงกรานหัก เป็นภาวะที่ฟังแล้วน่ากังวลสำหรับคนทั่วไป จนทำให้หลายๆคนอาจสงสัยว่า “หากกระดูกเชิงกรานหัก จะอันตรายถึงชีวิตไหม?”
คำตอบก็คือ การที่จะอันตรายถึงชีวิตไหม ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นระดับความรุนแรง ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นขณะกระดูกเชิงกรานหัก การบาดเจ็บของระบบอื่นๆ เป็นต้น
จากการรวบรวมข้อมูลพบว่า อัตราการเสียชีวิต 13.5% มาจากการที่ผู้ป่วยมีอาการบาดเจ็บหรือเกิดการเสียหายในหลายๆระบบ ยิ่งมีบริเวณจุดที่ได้รับการบาดเจ็บเยอะเท่าไหร่ ก็จะทำให้อัตราการรอดชีวิตเหลือน้อยลงเท่านั้น ส่วนผู้ที่มีภาวะกระดูกเชิงกรานหักเพียงอย่างเดียว มีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 0.5%-0.8%
ดังนั้น หากสงสัยว่ามีภาวะกระดูกเชิงกรานหัก หรือพบผู้ที่มีอาการกระดูกเชิงกรานหักระดับรุนแรง และมีการบาดเจ็บบริเวณอื่นร่วมด้วย ควรรีบเข้ารับการรักษาโดยเร็ว เนื่องจากมีโอกาสที่จะเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้นั่นเอง
การวินิจฉัยภาวะกระดูกเชิงกรานหัก จะต้องมีการตรวจร่างกายอย่างละเอียดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อค้นหาถึงสาเหตุที่แท้จริง และวางแผนการรักษาบริเวณจุดที่มีการแตกหักในแต่ละรายบุคคล โดยทั่วไปจะมีการตรวจสอบหลักๆ ดังนี้
บุคลากรทางการแพทย์จะทำการซักประวัติส่วนตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ-นามสกุล อายุ น้ำหนัก โรคประจำตัว ประวัติการเกิดอุบัติเหตุ ประวัติการเข้ารับการผ่าตัด ประวัติสมาชิกภายในครอบครัวเคยมีภาวะกระดูกพรุน ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เป็นต้น เพื่อที่จะได้ประเมินแนวโน้มการเกิดภาวะกระดูกอุ้งเชิงกรานหัก หรือกระดูกเชิงกรานร้าวเบื้องต้น
การตรวจร่างกาย เป็นการตรวจเช็คร่างกายว่า นอกจากส่วนที่มีการแตกหักแล้ว มีส่วนอื่นๆที่ได้รับผลกระทบอีกหรือไม่ เช่น การบาดเจ็บของอวัยวะข้างเคียง เส้นประสาทหรือหลอดเลือดบริเวณกระดูกเชิงกราน เพื่อที่จะได้วางแผนการรักษาส่วนอื่นๆ ควบคู่กันไปด้วย
การเอกซเรย์ (X-Ray) เป็นการใช้รังสีเพื่อถ่ายภาพกระดูกเชิงกรานทั้งหมดที่เกิดการแตกหัก เพื่อประเมินระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้น และวางแผนการรักษาต่อไป
การตรวจร่างกายด้วย CT Scan เป็นการใช้รังสีเอกซเรย์หลายๆตัว ถ่ายภาพกระดูกเชิงกรานในมุมต่างๆ เพื่อทำให้ภาพที่ได้มีรายละเอียดชัดเจนมากขึ้น เมื่อภาพมีรายละเอียดของจุดต่างๆที่ชัดเจน รวมไปจนถึงบริเวณข้างเคียง ทำให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถระบุตำแหน่งได้แม่นยำและเลือกรูปแบบการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
กระดูกเชิงกรานหัก วิธีรักษาหลักๆ จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้
หากพบผู้ที่สงสัยว่าอาจมีภาวะกระดูกเชิงกรานหัก การพยาบาลเบื้องต้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากในระยะแรก เพื่อที่จะทำให้อาการไม่แย่ลงไปกว่าเดิม สามารถให้ความช่วยเหลือบุคคลนั้นโดยปฏิบัติตัวดังนี้
การผ่าตัดรักษากระดูกเชิงกรานหัก สามารถทำได้หลายวิธี โดยผู้เชี่ยวชาญจะประเมินและเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายแต่ละบุคคล ดังนี้
การผ่าตัดยึดกระดูกจากภายนอก (External fixation) เป็นการใช้อุปกรณ์อย่างหมุดโลหะ(Metal pin) และสกรู (screw) ยึดตรึงกระดูกเชิงกรานให้คงที่และอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมจากอุปกรณ์ภายนอกร่างกายของผู้ป่วย
โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการใส่หมุดโลหะหรือสกรูเข้าไปยังกระดูกบริเวณนั้นๆ ผ่านแผลขนาดเล็ก ซึ่งลักษณะของหมุดโลหะหรือสกรู จะมีการยื่นออกมาติดกับแท่งคาร์บอนไฟเบอร์ที่ยึดอยู่ภายนอกร่างกาย
วิธีการนี้เหมาะสำหรับผู้ที่กระดูกเชิงกรานหักแบบมีแผลเปิด มีการอักเสบ ติดเชื้อ หรือกระดูกเชิงกรานหักหลายจุด
การดึงถ่วงน้ำหนักผ่านกระดูก (Skeletal traction) เป็นการใช้แรงดึงถ่วงน้ำหนักจากเหล็กที่มีการแทงผ่านกระดูก เพื่อทำให้กระดูกเชิงกรานที่หักเข้าที่ตำแหน่งเหมาะสมและการหดเกร็งกล้ามเนื้อ การปวด การบาดเจ็บต่างๆจากกระดูกที่หักแบบไม่มั่นคง โดยสามารถดึงได้นาน 3-4 เดือน และใช้น้ำหนักได้มาก (ไม่เกิน 1 ใน 6 ของน้ำหนักตัวผู้ป่วย)
การผ่าตัดยึดตรึงกระดูกเชิงกรานภายในร่างกาย คือ การใช้อุปกรณ์ต่างๆ ยึดกระดูกเชิงกรานบริเวณที่หักภายในร่างกาย เพื่อไม่ให้เกิดการเคลื่อนที่ของกระดูก และช่วยในเรื่องของการสมานกระดูก
โดยวิธีการนี้ อาจเหมาะกับผู้สูงอายุ หรือบุคคลที่กระดูกเชิงกรานหัก แล้วมีการบาดเจ็บของหลอดเลือดหรือเส้นประสาทร่วมด้วย
ผู้ที่กระดูกเชิงกรานร้าว หรือกระดูกเชิงกรานหัก อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนี้
ภาวะกระดูกเชิงกรานหัก อาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับอุบัติเหตุหรือพันธุกรรมเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ยังรวมไปจนถึงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่มีผลต่อกระดูกต่างๆในร่างกายด้วย โดยวิธีการป้องกันกระดูกเชิงกรานหักที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง มีดังนี้
หากไม่ได้เข้ารับการรักษากระดูกเชิงกรานหัก ผู้ที่มีภาวะกระดูกเชิงกรานร้าวหรือกระดูกเชิงกรานหักในระดับความรุนแรงน้อย จะสามารถขยับเดินได้บ้าง แต่จะไม่สะดวกเหมือนดั่งเดิม พบอาการปวดบริเวณขาหนีบ สะโพก หลังส่วนล่าง ส่วนผู้ที่มีภาวะกระดูกเชิงกรานหักระดับความรุนแรงมาก จะไม่สามารถขยับร่างกายได้ เนื่องจากเมื่อพยายามขยับขาหรือเดิน จะก่อให้เกิดความเจ็บปวดที่รุนแรงมากขึ้น
ส่วนกรณีที่เข้ารับการรักษาเรียบร้อยแล้ว อาจไม่สามารถลุกเดินได้ในทันที ต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูร่างกาย และฝึกเดินตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ เมื่อผ่านไปสักระยะเวลาหนึ่ง จึงจะสามารถกลับมาเดินได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือในการเดินนั่นเอง
กระดูกเชิงกรานหัก โดยทั่วไปจะใช้ระยะเวลาในการรักษาอยู่ที่ประมาณ 8-12 สัปดาห์ แต่ถ้าหากบุคคลนั้นมีภาวะกระดูกเชิงกรานหักระดับรุนแรง ก็อาจจะต้องใช้เวลาในการรักษานานยิ่งขึ้น ซึ่งแต่ละบุคคลอาจใช้ระยะเวลาในการรักษาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย การฟื้นตัว อาการบาดเจ็บบริเวณอื่นๆ หรือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
ภาวะกระดูกเชิงกรานหัก เป็นภาวะเกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น การเกิดอุบัติเหตุ พันธุกรรม โรคต่างๆ ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ฯลฯ จึงทำให้ภาวะนี้ มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุที่มวลกระดูกมีความแข็งแรงลดลง จึงทำให้ถึงแม้ว่าจะได้รับการกระทบกระเทือนเพียงเล็กน้อย ก็สามารถเกิดภาวะนี้ได้ ทุกคนจึงไม่ควรชะล่าใจ หากมีเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าอาจมีภาวะกระดูกเชิงกรานร้าว หรือกระดูกเชิงกรานหัก ควรรีบเข้ารับการตรวจร่างกาย เพื่อที่จะได้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที
หากใครสนใจเข้ารับการตรวจร่างกาย เพื่อเช็คภาวะกระดูกเชิงกรานหัก หรือภาวะอื่นๆ อย่างเช่น การเจ็บข้อเข่า เอ็นข้อมืออักเสบ ไหล่ติด นิ้วล็อค ฯลฯ ทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ยินดีให้บริการตรวจสุขภาพร่างกาย โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยดูแล ให้คำแนะนำ รวมไปจนถึงปรึกษาแนวทางการรักษา เพื่อให้คุณคลายกังวล ปลอดภัย มั่นใจเหมือนมีคุณหมอเป็นเพื่อนบ้าน สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ตลอด 24 ชั่วโมง
เอกสารอ้างอิง
Dunbar, R.P. & Lowe, J.A. (2016, February). Pelvic Fractures. OrthoInfo. https://orthoinfo.aaos.org/en/diseases--conditions/pelvic-fractures/
Pelvic Fractures. (2021, August 12). Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/22176-pelvic-fractures
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)