บทความสุขภาพ

เอ็นเข่าอักเสบ อาการปวดเข่าที่ไม่ควรมองข้าม สาเหตุ อาการ การรักษา

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567

ในผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ หรือใช้ข้อเข่าอย่างหนักหรือในท่าทางที่ไม่ถูกต้อง อาการเอ็นหัวเข่าอักเสบ เป็นอาการปวดหัวเข่าที่ไม่ควรมองข้าม อาการปวดเข่า เจ็บเข่า หรือบวมแดงหลังการใช้งานของข้อเข่าหนักๆ เป็นสัญญาณเตือนเอ็นหัวเข่าอักเสบ หนึ่งในสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม ปล่อยไว้อาจอาการรุนแรงจนถึงขั้นไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตแบบเดิมได้


สารบัญบทความ
 


เอ็นเข่าอักเสบ (Patellar Tendinitis )

เอ็นหัวเข่าอักเสบ หรือ Patellar Tendinitis คืออาการปวดหัวเข่า เข่าบวมแดง เจ็บข้อเข่า หรือเข่ามีรอยช้ำ อันเนื่องมาจากการที่เนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อ และกระดูกหัวเข่า เกิดอาการอักเสบขึ้นมา โดยอาการเอ็นข้อเข่าอักเสบที่มักพบ คือ ปวดหัวเข่าตื้อๆ เจ็บเข่ามากขณะเคลื่อนไหวหัวเข่า ขยับหัวเข่าได้ลำบาก มีรอยฟอกช้ำบริเวณเข่า ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการบวมแดงที่หัวเข่าร่วมด้วย
 


เอ็นเข่าอักเสบเกิดจากสาเหตุใด

สาเหตุของอาการเอ็นหัวเข่าอักเสบเกิดได้จากหลายปัจจัย โดยมากแล้วอาการอักเสบจะเกิดจากแรงกระแทกซ้ำๆ หรือจากการกระแทกอย่างเฉียบพลัน ต้นเหตุเอ็นหัวเข่าอักเสบ มีดังต่อไปนี้
 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเอ็นเข่าอักเสบ

 

1.ใช้เข่าด้วยท่าเดิมซ้ำๆ อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน 
 
2.ได้รับแรงกระแทกบริเวณหัวเข่าอย่างเฉียบพลัน เกิดจากอุบัติเหตุบริเวณเข่าด้านใน

3.ก่อนออกกำลังกายไม่ได้ทำการยืนหยุ่นกล้ามเนื้อให้ถูกวิธี

4.เล่นกีฬาที่ต้องใช้หัวเข่าอย่างหนัก ได้แก่ วิ่ง ฟุตบอล บาสเก็ตบอล กระโดดเชือก เทนนิส เป็นต้น
 
5.ผู้ที่เป็นข้อเข่าเสื่อมหรือเข่าบิดด้านในจะมีโอกาสเกิดอาการเอ็นหัวเข่าอักเสบสูง
 
6.เคลื่อนไหวร่างกายผิดท่า
 
7.เมื่ออายุมากขึ้น ข้อเข่าจะเสื่อมสภาพลง ขาดความยืดหยุ่น และเกิดอาการอักเสบได้ง่ายกว่าตอนอายุน้อย

อาการสัญญาณเตือนเอ็นเข่าอักเสบ

ลักษณะอาการที่บ่งชี้ถึงอาการเอ็นหัวเข่าอักเสบ ปวดเข่า เข่าบวม มีอาการดังต่อไปนี้ คือ
 

1.ปวดเข่าด้านหลังจากกล้ามเนื้ออักเสบ เอ็นหลังเข่าอักเสบ จากการที่การที่กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังถูกกระชาก เมื่อเกิดซ้ำๆ ในกลุ่มนักกีฬาที่ต้องวิ่งเร็วหรือกระโดดอยู่เป็นประจำ กล้ามเนื้อส่วนนี้ก็จะเกิดการฉีกขาดได้ เอ็นข้อพับเข่าอักเสบ อาการคือปวดใต้ข้อพับเข่า ปวดแปลบๆ มากขึ้นเวลาวิ่งหรือเปลี่ยนท่านั่ง
 
2.ปวดเข่าด้านนอก เจ็บยิ่งขึ้นเวลาก้าวเท้ายาวๆ หรือวิ่งลงเนิน เป็นอาการของการปวดเข่าด้านนอกจากแถบเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ เกิดจากการที่เอ็นข้างเข่าอักเสบจากการเสียดสีกับปุ่มกระดูกบริเวณด้านข้างอย่างต่อเนื่อง มักพบในนักวิ่งมาราธอนหรือนักปั่นจักรยาน
 
3.ปวดเข่าเวลาที่งอเข่า เช่นในตอนนั่งพับเพียบ หรือเดินขึ้นลงบันได เป็นอาการของกระดูกอ่อนข้อเข่าอักเสบ เวลางอหรือเหยียดเข่าอาจเกิดเสียงจากกการสะดุดของกระดูกอ่อนสะบ้าเข่า หัวเข่ามีเสียง ผู้ที่กระดูกอ่อนข้อเข่าอักเสบจะปวดมากบริเวณด้านหน้าเข่า
 
4.อาการเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด ผู้ป่วยจะไม่สามารถเดินหรือลงน้ำหนักได้เต็มที่ในระยะแรก หลังจากนั้น 1–2 สัปดาห์ อาการปวดและบวมของเข่าจะลงลง แต่จะมีอาการตอนที่ต้องบิดหัวเข่า เช่น การเล่นกีฬา การขึ้นลงบันได อาการนี้เกิดจากการวิ่งลงน้ำหนักและหมุนข้อเข่าขณะที่ยังเหยียดตรงอยู่ ส่งผลให้เส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาด

เอ็นอักเสบที่เกิดในบริเวณอื่น

นอกจากอาการเอ็นหัวเข่าอักเสบแล้ว ยังสามารถพบโรคข้ออักเสบในส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้อีก ดังต่อไปนี้ 
 

เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles Tendinitis)

เอ็นร้อยหวายอักเสบเกิดจากการใช้งานซ้ำๆ ของกล้ามเนื้อบริเวณเอ็นร้อยหวาย กล้ามเนื้อน่องไม่แข็งแรงและตึงมากเมื่ออกกำลังกาย ขาดการยืดหยุ้นที่เพียงพอ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บ แดงบวมในบริเวณเอ็นร้อยหวาย ซึ่งอาการปวดอาจลวมไปถึงในบริเวณกล้ามเนื้อน่อง 
 

เอ็นข้อไหล่ด้านหน้าอักเสบ (Supraspinatus Tendinitis)

เอ็นข้อไหล่ด้านหน้าอักเสบ เกิดจากการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ที่เร็วและรุนแรง การใช้งานไหล่ซ้ำๆ หรือจากการแบกหามของที่หนักจนเกินไป ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณข้อไหล่โดยเฉพาะเวลายกหรือขยับ บวมบริเวณไหล่ เคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ลำบาก หากอาการรุนแรงอาจปวดแม้ตอนไม่ได้ขัยบข้อไหล่
 

เอ็นอักเสบข้อศอกด้านนอก (Tennis Elbow)

เอ็นอักเสบข้อสอบด้านนอก เกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อบรืเวณแขนท่อนด้านล่างนอกซ้ำๆ หรือใช้มาเป็นระยะเวลานาน เช่น การเขียนหนักสือ การยกของหนัก ในระยะแรกจะมีอาการปวดบริเวณข้อศอกเพียงเล็กน้อย หากอาการอักเสบรุนแรงขึ้นจะปวดมากขึ้น บางรายอาจปวดร้าวไปจนถึงด้านหลังมือ
 

เอ็นข้อมืออักเสบ (de Quervain’s Stenosing Tenosynovitis)

เอ็นข้อมืออักเสบ เกิดจากการอักเสบของเยื้อหุ้มเอ็นและเส้นเอ็นบริเวณข้อมือด้านหลังทางฝั่งนิ้วโป้ง ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บเมื่อเคลื่นไหวนิ้วหัวแม่มือ เจ็บเมื่อกดบริเวณเอ็นใต้ข้อต่อรอยมือ ถักจากโคนนิ้วโป้งลงมา กล้ามเนื้อที่ยึดติดกับเอ็นมีอาการอักเสบ หรือเกร็งแข็ง
 

เอ็นข้อนิ้วล็อค (Trigger Finger)

เอ็นข้อนิ้วล็อค เกิดจากการใช้แรงงอนิ้วมากๆ หรือกำนิ้วแน่นจนเกินไป ก่อให้เกิดการเสียดสีบริเวณปลอมหุ้มเอ็นจนเกิดการอักเสบ หนาตัว ไม่สามารถยืดหดได้ตามปกติ อาการของนิ้วล็อคคือรู้สึกดังกึกเมื่อต้องงอหรือยืดนิ้ว นิ้วแข็งในเวลาเช้า เมื่องอนิ้วไม่สามารถยืดนิ้วให้กลับมาตรงได้
 

ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ (Tendinitis of the wrist)

ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ เกิดจากพังพืดปลอกหุ้มเอ็นถูและเสียดสีกับเยื้อหุ้มเอ็นและกระดูกข้อมือจนอักเสบ จากใช้ข้อมือในการทำงานซ้ำๆ หรือต้องงอข้อมือมากเป็นเวลานานในท่าที่หักข้อมือไม่เหมาะสม ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บข้อมือฝั่งหัวนิ้วแม่มือเวลากระดกนิ้วหรือหักข้อมือมาทางนิ้วโป้ง


ใครบ้างที่เสี่ยงเอ็นเข่าอักเสบ

เอ็นหัวเข่าอักเสบเป็นอาการที่สามารถพบในใครก็ได้ อย่างไรก็ตามผู้ที่เสี่ยงเจอเอ็นข้อเข่าอักเสบมากกว่าผู้อื่นคือ
 

1.ผู้ที่ต้องทำกิจกรรมในท่าเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานาน 
 
2.นักกีฬา จากการใช้พละกำลังข้อเข่าอย่างต่อเนื่อง เช่น นักวิ่ง นักบาสเก็ตบอล นักฟุตบอล นักเทนนิส นักยกน้ำหนัก นักตะกร้อ เป็นต้น
 
3.ผู้ประกอบอาชีพยกของหนัก เข่าจะรับน้ำหนักมากเป็นพิเศษ ทำให้เกิดโรคเอ็นเข่าอักเสบได้
 
4.ผู้สูงอายุ เมื่ออายุตั้งแต่ 40 ปีขั้นไป เอ็นกล้ามเนื้อเข่าจะมีความยืดหยุ่นน้อยลง ทำให้เอ็นฉีกขาดและอักเสบได้ง่ายขึ้น

เอ็นเข่าอักเสบ..ปล่อยไว้อาจเสี่ยงข้อเข่าเสื่อม

เอ็นข้อเข่าอักเสบ หากปล่อยไว้โดยที่ไม่ได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างถูกต้อง สาเหตุก่อให้เกิดความเสี่ยงในโรคข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควรได้ โดยทั่วไปแล้วอาการข้อเข่าเสื่อมมักเกิดในผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป 


แต่ในกลุ่มคนที่ใช้ข้อเข่าเยอะๆ มีแรงกระทำต่องข้อเข่าเป็นเวลานาน เช่น นักกีฬา มีโอกาสที่จะเป็นโรคข้อขเ่าเสื่อมสูงกว่าคนทั่วไปถึง 3 เท่า เพราะการที่เอ็นเข่าอักเสบเรื้อรัง ทำให้กระดูกถูกบดเสียดสีกันมากขึ้น เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการข้อเข่าเสื่อม


การตรวจวินิจฉัยเอ็นเข่าอักเสบ

การตรวจวินิจฉัยเอ็นหัวเข่าอักเสบทำได้หลายวิธี ตั้งแต่วิธีพื้นฐานอย่างการซักประวัติผู้ป่วยโดยแพทย์เพื่อประเมินอาการเบื้องต้น ไปจนถึงการใช้เครื่องมือแพทย์มาร่วมวินิจฉัยอาการ โดยเทคนิคทางการแพทย์ที่นิยมใช้ในการตรวจวินิจฉัยอาการเอ็นเข่าอักเสบคือ
 

การเอกซเรย์

ภาพเอกซเรย์จะช่วยแยกกระดูกบริเวณข้อเข่า ระหว่างกระดูกที่ปกติดีและกระดูกที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบ เมื่อรู้จุดที่อักเสบแพทย์ก็จะสามารถทำการรักษาได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น
 

การอัลตร้าซาวด์

การตรวจวินิจฉัยเอ็นเข่าด้วยการอัลตร้าซาวน์เป็นการใช้คลื่นเสียงไปสร้างภาพเสมือนของเข่าผู้ป่วย ทำให้เห็นรอยฉีกขาดของเส้นเอ็นภายในบริเวณข้อเข่าได้
 

การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ Magnetic Resonance Imaging (MRI) คือการใช้สนามแม่เหล็กความเข้มสูงและคลื่นวิทยุ ในการสร้างภาพเสมือนที่มีรายละเอียดและความคมชัดของอวัยวะในร่างกาย วิธีนี้จะทำให้เห็นการฉีกขาดของเส้นเอ็น กระดูกที่หักหรือร้าวในข้อเข่าได้


วิธีรักษาเอ็นเข่าอักเสบ

วิธีรักษาเอ็นเข่าอักเสบ แบ่งออกเป็นการรักษาเอ็นเข่าอักเสบเบื้องต้น และ การรักษาเอ็นเข่าอักเสบทางการแพทย์ ดังนี้
 

การรักษาเอ็นเข่าอักเสบเบื้องต้น

 

  • การประคบเย็น

การประคบเย็นโดยใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบไว้บริเวณเอ็นหัวเข่าอักเสบ ประมาณ 15-20 นาที จะสามารถบรรเทาอาการปวดและบวมได้

 

  • ออกกำลังกายด้วยท่าบริหารกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อที่อ่อนแรงจะส่งผลให้เกิดอาการเอ็นหัวเข่าอักเสบได้ง่ายขึ้น จึงควรออกกำลังกาย บริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยเฉพาะในผู้ที่มีอาการปวดเข่าด้านใน

 

  • การใช้อุปกรณ์กระชับสะบ้าเข่า 

ใช้อุปกรณ์กระชับสะเบ้าเข่า หรือผ้าพันรอบๆ เข่าเพื่อรองรับข้อต่อ และช่วยรองรับน้ำหนัก ลดแรงกระแทกต่อข้อเข่า
 

วิธีรักษาเอ็นเข่าอักเสบทางการแพทย์

 

  • ประทานยาแก้ปวด

การรับประทานยารักษาเอ็นเข่าอักเสบ ยาแก้เอ็นเข่าอักเสบ เช่น แอสไพริน (Aspirin) นาพรอกซอน (Naproxen) หรือสมุนไพรแก้ปวดเข่า จะช่วยบรรเทาอาการปวดลงได้

 

  • ฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์

คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เป็นกลุ่มยาชนิดหนุ่งที่ใช้สำหรับลดการอักเสบของร่างกาย การฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการเอ็นเข่าอักเสบเรื้อรัง ทั้งนี้การฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

 

  • การทำกายภาพบำบัด

เป็นวิธีการรักษาด้วยการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความต้านทานให้กับกล้ามเนื้อ โดยเน้นการเกร็งตัวในขณะที่มีการยืดตัว

 

  • การผ่าตัด

ผู้ที่มีความรุนแรงของอาการข้อเข่าอักเสบสูง แพทย์วินิจฉัยแล้วว่าไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีอื่นๆ ดังที่กล่าวไปได้ หรือเอ็นเข่าฉีกขาดออกจากกระดูก  ควรเข้ารับการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมเพื่อรักษาเอ็นหัวเข่าอักเสบ


เอ็นเข่าอักเสบ กี่วันหาย

โดยทั่วไปแล้ว อาการเอ็นหัวเข่าอักเสบ หากไม่รุนแรงนัก มีอาการแค่ปวดตื้อๆ เวลาเคลื่อนไหวข้อเข่า หรือมีอาการฟกช้ำ บวมแดงร่วมด้วย อาการเหล่านี้จะดีขึ้นและหายเองได้ในเวลา 2-3 วันเป็นต้นไป แต่หากอาการรุนแรง เช่น เอ็นหัวเข่าฉีกขาด เอ็นข้อพับเข่าอักเสบ จะใช้เวลาหลายสัปดาห์จนกว่าจะอาการดีขึ้น และควรพบแพทย์เพื่อตรวจรับการรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้อาการอักเสบรุนแรงขึ้น
 


แนวทางการป้องกันเอ็นเข่าอักเสบ


1.อบอุ่นร่างกาย โดยเฉพาะในส่วนหัวเข่า ก่อนเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายเสมอ
 
2.บริหารความแข็งแรงของหัวเข่าอย่างเป็นประจำ
 
3.รับประทานอาหารทีมีคุณค่าทางโภชนาการครบห้าหมู่ อย่าลืมรับประทานอาหารที่มีคอลลาเจนและแคลเซียมสูง เพื่อช่วยในการบำรุงกระดูก เช่น นมวัว ปลาแซลมอน น้ำเต้าหู้ เป็นต้น
 
4.เลือกรองเท้าที่เหมาะกับรูปเท้าของตัวเอง เหมาะสมกับกีฬาที่เล่น
 
5.การเล่นกีฬาควรศึกษาทักษะการเล่นให้ถูกต้อง เลือกสนามการเล่นที่ปลอดภัย
 
6.หลีกเลี่ยงกีฬาที่เสี่ยงต่อการปะทะแรงๆ หากเลี่ยงไม่ได้ให้สวมอุปกรณ์ป้องกันเสมอ
 
7.หลีกเลี่ยงการกระโดด หรือยกของหนัก เพราะอาจทำให้หัวเข่าอักเสบได้
 
8.หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ต้องพับข้อเข่านานๆ เช่น การนั่งคุกเข่า นั่งยอง หรือนั่งพับเพียบ 
 
9.จัดบ้านที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัย ไม่มีสิ่งกีดขวางทางเดิน เพื่อป้องกันการหกล้ม บ้านที่มีผู้สูงอายุควรมีราวจับ

10.เมื่อได้รับบาดเจ็บควรรีบพบแพทย์เพื่อดูอาการและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้อาการเอ็นหัวเข่าอักเสบร้ายแรงกว่าเดิม
 


ข้อสรุป

เอ็นหัวเข่าอักเสบ เกิดจากการที่เนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อและกระดูกหัวเข่าอักเสบ โดยอาการอักเสบมีตั้งแต่ระดับที่ร่างกายสามารถฟื้นฟูตัวเองได้ ไปจนถึงระดับที่ต้องผ่าตัดเพื่อเปี่ยนข้อเข่าเทียม ผู้ที่มีอาการเอ็นหัวเข่าอักเสบควรปรึกษาแพทย์ก่อนอาการร้ายแรงจนเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม โดยสามารถปรึกษาทีมแพทย์เฉพาะทางของ ศูนย์ผ่าตัดข้อเข่าเทียม โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
 

แอดไลน์ สมิติเวช ไชน่าทาวน์
 

References

Mayo Foundation for Medical Education and Research. (2020, November 3). Tendinitis. Mayo Clinic. Retrieved June 22, 2022, from https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tendinitis/symptoms-causes/syc-20378243 
 

Mayo Foundation for Medical Education and Research. (2022, February 22). Patellar tendinitis. Mayo Clinic. Retrieved June 22, 2022, from https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/patellar-tendinitis/diagnosis-treatment/drc-20376118 
 

NHS. (n.d.). Tendonitis - NHS. NHS choices. Retrieved June 22, 2022, from https://www.nhs.uk/conditions/tendonitis/ 
 

Tendinitis: Symptoms, causes, tests and treatment. Cleveland Clinic. (n.d.). Retrieved June 22, 2022, from https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/10919-tendinitis 



 

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​