ไทรอยด์เป็นพิษ คืออะไร? ทำความรู้จักโรคและวิธีสังเกตอาการด้วยตัวเอง!
ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism, Overactive Thyroid) คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกินความจำเป็น ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์โต ระบบเผาผลาญมีปัญหา ฯลฯ
หลายคนอาจจะเคยเกิดเหตุการณ์ปวดขาหนีบ ปวดขาหนีบด้านใน หรือ ปวดโคนขาหนีบ หลังจากออกกำลังกาย หรือ อยู่ในะระหว่างที่กำลังออกกำลังกายที่จำเป็นต้องเคลื่อนไหวร่างกาย โดยที่อาการปวดตรงขาหนีบเป็นอาการที่สามารถพบได้บ่อยในนักกีฬา ซึ่งพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง เมื่อเกิดอาการปวดแล้วผู้ป่วยหลายคนมักได้รับผลกระทบจากอาการปวดข้อพับขาหนีบ ทำไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวกเหมือนอย่างเคย
บทความนี้ช่วยไขข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการปวดขาหนีบ ว่ามีสาเหตุจากอะไร อาการปวดบริเวณขาหนีบเป็นสัญญาณเตือนโรคร้ายหรือไม่ อาการปวดขาหนีบแบบใดจำเป็นต้องรีบไปพบแพทย์ พร้อมทั้งแนะนำวิธีรักษาและแนวทางในการป้องกันอาการปวดขาหนีบ
สารบัญบทความ
อาการปวดขาหนีบ หรือ ปวดบริเวณใต้ก้นและร้าวลงมาที่ขา เป็นอาการที่มักพบในผู้ป่วยที่เป็นนักกีฬาที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวร่างกายตลอดเวลาและต้องมีการปะทะกัน เช่น เทนนิส ฟุตบอล ซอคเกอร์ และฮอกกี้ เป็นต้น โดยอาการปวดขาหนีบสามารถพบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง
อาการปวดขาหนีบในผู้ชายส่วนใหญ่มักมีสาเหตุจากการเล่นกีฬาบางประเภท ที่จำเป็นต้องเคลื่อนไหวร่างกายตลอดเวลาเป็นหลัก โดยอาจจะปวดเหมือนมีมีดเสียบที่ขาหนีบ ปวดตื้อ หรือ ปวดเวลาที่ต้องใช้กล้ามเนื้อบริเวณขาหนีบต้านแรงเสียดทาน
อาการปวดขาหนีบในผู้หญิงนอกจากจะเกิดจากได้รับบาดเจ็บและการอักเสบของกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาแล้ว อาจจะเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกาย ว่าคุณเข้าข่ายมีโอกาสเป็น “ไส้เลื่อน”
ทั้งนี้ผู้หญิงที่มีอาการปวดโคนขาหนีบ สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นของตนเองได้ว่าใช่อาการไส้เลื่อนหรือไม่ โดยการสังเกตอาการปวด ปวดตรงบริเวณขาหนีบ พร้อมมีก้อนแข็งโผล่ออกที่ขาหนีบ ซึ่งถ้ามีอาการตามที่กล่าวไป แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด
ขาหนีบ หรือ กล้ามเนื้อโคนขาหนีบ คือ บริเวณรอยต่อระหว่างกระดูกเชิงกรานและหัวเข่า โดยขาหนีบเป็นกล้ามเนื้อที่มีการยืดหยุ่นสูง และนักกีฬาส่วนใหญ่จำเป็นต้องบริหารกระดูกอุ้งเชิงกราน เพื่อช่วยลดความตึง หรือ ฉีกขาดของกล้ามเนื้อโคนขาหนีบในระหว่างที่ยืด เหยียดขา ในขณะที่เล่นกีฬา ออกกำลังกาย หรือ ทำกิจกรรมต่างๆ ได้
ซึ่งขาหนีบเป็นบริเวณที่นักกีฬาส่วนใหญ่มักจะได้รับบาดเจ็บ หรือ ปวดขาหนีบบ่อยครั้ง เพราะจำเป็นต้องมีการปะทะต้องรองรับแรงกระแทกและน้ำหนักตัว ทำให้เกิดโอกาสกล้ามเนื้อเสียหาย หรือ ฉีกขาดได้สูง
โดยขาหนีบเป็นกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหุบสะโพก (Hip Adductor Muscle) ซึ่งกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่หุบขา สามารถแบ่งออกเป็น 3 มัด ได้แก่ Adductor Longus, Adductor Magnus และ Addutor Brevis
ปวดขาหนีบเป็นอาการที่สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุที่มักพบในผู้ป่วยที่มีอาการปวดขาหนีบบ่อยๆ ได้แก่
สาเหตุหลักของอาการปวดขาหนีบ มักจะมาจากกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นฉีกขาด ในกรณีที่เล่นกีฬาที่จำเป็นต้องมีการปะทะอยู่บ่อยครั้ง เช่น รักบี้ ฮอกกี้ หรือ ฟุตบอล อาจจะทำให้กล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นบริเวณขาหนีบเกิดการตึง หรือ ฉีกขาดได้
ซึ่งเมื่อกล้ามเนื้อหรือเอ็นฉีกขาดผู้ป่วยมักจะเกิดอาการปวดขาหนีบแบบเฉียบพลัน และ อาจจะรุนแรงถึงขั้นไม่สามารถขยับขาได้ เนื่องจากอาการปวดที่รุนแรง
อาการปวดขาหนีบที่มีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อขาหนีบาดเจ็บ หรือ อักเสบ มักมีเป็นอาการบาดเจ็บเล็กๆ น้อยๆ ของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งสะสมกัน จนทำให้กล้ามเนื้อบริเวณต้นขาด้านใน โคนต้นขา หรือ ขาหนีบปวดขึ้นมา
อีกหนึ่งสาเหตุทำให้ปวดขาหนีบ คือ อาการไม่สมดุลระหว่างกล้ามเนื้อขาหนีบ (Hip Adductor Muscle) และ ต้นขาด้านหน้า (Quadriceps Muscle) ทำให้การทำงานระหว่างกล้ามเนื้อทั้ง 2 ไม่สมดุลกัน จนทำให้เกิดการดึงรั้งกัน เนื่องจากกล้ามขาหนีบไม่แข็งแรง แต่ต้นขาด้านหน้าแข็งแรงมาก จนทำให้เกิดอาการบาดเจ็บในที่สุด
อาการปวดขาหนีบเป็นอาการที่ผู้ป่วยจะรู้สึกทันที โดยส่วนใหญ่มักจะมีอาการปวดหลังจากเคลื่อนไหวร่างกาย หรือ เล่นกีฬาที่จำเป็นต้องมีการปะทะ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีอาการปวดขาหนีบ ดังนี้
สามารถพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป โดยผู้โรคข้อสะโพกเสื่อมส่วนใหญ่มักจะบอกเป็นเสียงเดียวกันว่ารู้สึกปวดขาหนีบ หรือ ปวดร้าวลงมาที่ก้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะตำแหน่งขาหนีบและข้อสะโพกอยู่ใกล้กันมาก ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคข้อสะโพกเสื่อมมักจะพบอาการปวดขาหนีบหลังจากตื่นนอน และ จำเป็นต้องยกขา กางขา หรือ แกว่งขา เพื่อให้อาการปวดหายไป
สามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวกับ “ข้อสะโพกเสื่อม” เพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก
โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทมักจะมีอาการปวดหลายๆ ตำแหน่งรวมกัน เช่น ปวดขาหนีบ ปวดก้น ขาตึง ขาชา ทำให้เวลาเดินเสียการทรงตัวบาง ซึ่งมีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อ Piriformis เกิดการตึงตัว เนื่องจากนั่งในท่าเดินเป็นระยะเวลานานจนทำให้ไปกดทับเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงขา ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดขาหนีบ ขาชา ขาอ่อนแรง เป็นต้น
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เอ็นด้านหน้าสะโพกอักเสบ มักจะรู้สึกปวดขาตรงบริเวณก้นแล้วร้าวไปยังขาทั้ง 2 ข้าง โดยเฉพาะเมื่อมีการเคลื่อนไหวร่างกาย เพราะจำเป็นต้องรองรับน้ำหนักตัวและต้านแรงเสียดทานในขณะที่เคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักมาจากการบาดเจ็บ หรือ การที่ก้นกระแทกพื้นรุนแรง จนทำให้เกิดการอักเสบบริเวณเอ็นด้านหน้าสะโพก
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เอ็นขอบเบ้าสะโพกฉีกขาดมักมีอาการปวดบริเวณขาหนีบ ต้นขาด้านใน หรือ ปวดร้าวลงมาที่ก้น โดยสาเหตุส่วนใหญ่มักมาจากการได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรงในระหว่างที่เล่นกีฬา ออกกำลังกาย หรือ ทำกิจกรรมต่างๆ อยู่
กระดูกเชิงกรานและกระเบนเหน็บมีปัญหา หรือ เรียกอีกชื่อว่า โรค SI Joint Dysfunction Syndrome ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดตามแนวขอบกางเกงใน และ ปวดมากขึ้นเมื่อต้องนั่งเป็นเวลานานๆ ซึ่งสาเหตุเกิดจากข้อกระดูกเชิงกรานและกระดูกกระเบนเหน็บเกิดการชิดกันมาก หรือ มีการขบกันมากเกินไป โดยมีสาเหตุมาจากการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น นั่งทำงาน หรือ กิจกรรมที่จำเป็นต้องบิดตัว เอี้ยวตัวเร็วๆ แรงๆ อยู่บ่อยครั้ง
ทั้งนี้อาการปวดขาหนีบเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และ มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดขาหนีบได้ ซึ่งถ้าหากอาการปวดขาหนีบส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และ การทำกิจกรรมต่างๆ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
ในกรณีที่คุณมีอาการปวดขาหนีบระดับรุนแรงปานกลาง ถึงรุนแรงมากเป็นช่วงๆ นานกว่า 2-3 วัน แนะนำว่าควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจร่างกายอย่างละเอียดและเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธีทันที นอกจากนี้คุณยังสามารถสังเกตอาการที่เกิดขึ้นร่วมกับอาการปวดขาหนีบ เส้นตึงขาหนีบได้ด้วย โดยอาการที่ควรไปพบแพทย์ ได้แก่
ถ้าเกิดอาการที่กล่าวไปข้างต้นร่วมกับอาการปวดขาหนีบ ควรรีบไปพบแพทย์ด่วน เพราะเป็นภาวะที่ร้ายแรง ไม่ควรนิ่งนอนใจเด็ดขาด
ก่อนที่แพทย์จะตรวจร่างกาย ส่วนใหญ่มักจะสอบถามประวัติเบื้องต้น และ อาการปวดต่างๆ เช่น ปวดบริเวณใดบ้าง ปวดขาหนีบมานานแล้วเท่าไหร่ หรือ ระดับความรุนแรงของอาการปวดเพื่อประกอบการวินิจฉัย นอกจากนี้แพทย์จะทำการตรวจร่างกายด้วยวิธีต่างๆ ตามดุลยพินิจและความเหมาะสม ได้แก่
ในการวินิจฉัยอาการปวดขาหนีบเบื้องต้น แพทย์อาจจะทำการตรวจร่างกายโดยการกดจุดบริเวณที่เจ็บ พร้อมทั้งตรวจการต้านแรงที่กระตุ้นอาการเจ็บ และ ตรวจมุมการเคลื่อนไหวของข้อสะโพกและข้อต่อที่เกี่ยวข้องกับการตรวจกำลังกล้ามเนื้อ
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดขาหนีบรุนแรงแพทย์อาจจะใช้การเอกซเรย์ (X-Ray) เข้ามาช่วยในการวินิจฉัยโรคเพื่อความแม่นยำที่มากยิ่งขึ้น โดยการเอกซเรย์จะช่วยหามีกระดูกที่บริเวณต้นขา ขาหนีบ หรือ โคนขาด้านในแตกหักร่วมด้วยหรือไม่
การตรวจด้วยเครื่อง MRI Scan จะช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นรายละเอียดเล็กๆ เช่น เส้นเอ็น หรือ กล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยแพทย์อาจจะใช้การตรวจ MRI Scan เป็นการตรวจหาความผิดปกติของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ ที่อาจจะเป็นสาเหตุของอาการปวดขาหนีบ หรือ ปวดโคนต้นขา เป็นต้น
การตรวจ CT Scan หรือ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นการตรวจที่หลายคนน่าจะเคยได้ยินมาบ้าง โดยการทำ CT Scan เป็นการหาจุดผิดปกติของเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อต่างๆ บริเวณรอบๆ ของขาหนีบ หรือ ต้นขา ที่อาจจะเป็นต้นตอของอาการปวดขาหนีบ
ทั้งนี้การวินิจฉัยอาการปวดขาหนีบจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และอาการความรุนแรง การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์เป็นการตรวจเพื่อหาความผิดปกติภายในที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา เหมาะกับผู้ป่วยที่มีโอกาสกระดูกแตก เส้นเอ็น และ กล้ามเนื้อฉีกขาด
สำหรับผู้ที่มีอาการปวดขาหนีบ ปวดต้นขาด้านในไม่รุนแรง และ ไม่ส่งผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวัน สามารถใช้วิธีต่อไปนี้ เพื่อบรรเทาอาการปวดขาหนีบได้
ผู้ป่วยที่มีอาการปวดขาหนีบไม่รุนแรงสามารถใช้การประคบร้อน หรือ ประคบเย็น เพื่อบรรเทาอาการปวดได้ โดยแนะนำให้ประคบเย็นเพื่อช่วยให้เส้นเลือดหดตัว ซึ่งสามารถช่วยลดอาการปวดเฉียบพลัน บาดเจ็บ อาการปวดขาหนีบอักเสบ และรอยฟกช้ำได้ โดยประคบเย็นบริเวณขาหนีบประคบประมาณ 10-15 นาที/ครั้ง
ในกรณีที่ผู้ป่วยที่มีอาการปวดขาหนีบสามารถรับประทานยาได้ สามารถทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเฉียบพลันได้ โดยทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs หรือที่เรียกว่า เอ็นเสด ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ สามารถบรรเทาอาการปวดได้ดี เช่น ไอบูโพรเฟน ไพพร็อกซิแคม อินโดเมธาซิน ไดโคลฟีแนค เมฟีนามิกแอซิด ซีลีคอกซิม หรือ อีโตริคอกซิบ เป็นต้น ทั้งนี้ก่อนรับประทานยาแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกรก่อนทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย
เป็นการฉีดสเตียรอยด์ที่ออกฤทธิ์ลดการอักเสบ สามารถช่วยลดอาการปวดขาหนีบและบริเวณอื่นๆ ได้ดี ทั้งนี้การฉีดสเตียรอยด์เพื่อบรรเทาอาการปวดไม่ใช่วิธีที่สามารถทำได้บ่อยๆ และการฉีดสเตียรอยด์เพื่อบรรเทาอาการปวดจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูของแพทย์เท่านั้น
ซึ่งถ้าหากฉีดสเตียรอยด์มากกว่า 3 ครั้งแล้วไม่ได้ผล แพทย์ส่วนใหญ่มักจะแนะนำวิธีอื่นเพื่อรักษาอาการปวดขาหนีบ
การกายภาพบำบัดเพื่อรักษาอาการปวดขาหนีบ แพทย์หรือนักกายภาพส่วนใหญ่มักจะเน้นไปที่การฝึกเคลื่อนไหวให้มีแบบแผนการทำงานของกล้ามเนื้อและข้อต่อที่ปกติ พร้อมทั้งเน้นการยืดเหยียดคลายกล้ามเนื้อ เมื่อกล้ามเนื้อมีความตึงตัว ซึ่งเป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
การผ่าตัดเพื่อรักษามักเป็นวิธีสุดท้ายที่แพทย์เลือกใช้ เนื่องจากไม่สามารถรักษาอาการปวดขาหนีบด้วยวิธีอื่นๆ ได้ โดยผู้ป่วยที่มีอาการปวดขาหนีบที่มีสาเหตุมาจากกระดูกหัก กระดูกสะโพกหัก อาจจะต้องผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมกระดูก หรือ ผู้ป่วยที่มีอาการปวดขาหนีบที่มีสาเหตุมาจากไส้เลื่อนจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้การรักษาอาการปวดขาหนีบที่รุนแรงจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ความรุนแรงของโรค และความพร้อมของร่างกายผู้ป่วยเป็นหลักด้วย
อาการปวดขาหนีบที่มีสาเหตุมาจากอาการบาดเจ็บ หรือ การอักเสบต่างๆ สามารถป้องกันได้ด้วยการยืดกล้ามเนื้อเบาๆ การวอร์มอัพช้าๆ สม่ำเสมอก่อนเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรม เพื่อลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บที่ขาเหน็บและสามารถป้องกันการบาดเจ็บได้ หรือ หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่มักจะมีการปะทะอยู่ตลอดเวลา เช่น บาสเกตบอล ฟุตบอล รักบี้ และอื่นๆ เป็นต้น
ทั้งนี้รวมไปถึงการรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และ ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเพื่อป้องกันนิ่วในไต และ รับประทานที่มีประโยชน์หรืออาหารเสริม เช่น วิตามินดี หรือ แคลเซียมเป็นต้น
อาการปวดขาหนีบเป็นอาการที่สามารถพบได้ทั่วไป และ มักพบในผู้ชายที่เล่นกีฬาที่ต้องมีการรับแรงกระแทกอยู่เป็นประจำ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของอาการปวดขาหนีบมักจะมาจากอุบัติจากกีฬาที่เล่น หรือ กิจกรรมที่ทำ ซึ่งถ้าหากอาการปวดขาหนีบไม่รุนแรง ผู้ป่วยสามารถบรรเทาอาการปวดได้ที่บ้าน ด้วยการประคบเย็น หรือ การรับประทานยาแก้ปวด แต่ถ้าหากอาการปวดขาหนีบรุนแรงแนะนำว่าควรรีบไปพบแพทย์ทันที
นอกจากนี้อาการปวดขาหนีบอาจจะเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายถึงโรคร้ายต่างๆ จึงแนะนำให้ผู้ที่มีอาการปวดขาหนีบหมั่นสังเกตอาการตัวเอง ถ้าหากมีอาการปวดขาหนีบร่วมกับอาการผิดปกติอื่นๆ ควรรีบไปพบแพทย์เช่นเดียวกัน
หากผู้ป่วยมีอาการปวดขาหนีบ ปวดต้นขา ปวดโคนขาข้างใน สามารถติดต่อสอบถามกับทีมแพทย์โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
References
Carmell, W. (2022, Nov 29). What causes groin pain and How to treat it. Healthline. https://www.healthline.com/health/groin-pain
Mayo Staff. (2021, Jan 12). Groin pain (male). Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/symptoms/groin-pain/basics/causes/sym-20050652
Jennifer, R. (2022, Sep 11). Why does my groin hurt?. WebMD. https://www.webmd.com/men/my-groin-hurt
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)