ปวดเข่าห้ามกินอะไร? พาส่องอาหารที่สุขภาพเข่าไม่ปลื้ม
ปวดเข่าห้ามกินอะไร? พาส่องอาหารที่สุขภาพเข่าไม่ปลื้ม
อาการปวดคอ บ่า ไหล่เป็นปัญหาใกล้ตัวของใครหลายๆ คน ที่สร้างความเจ็บปวดให้กับการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ไม่สามารถนั่งทำงานหรือเรียนเป็นเวลานานได้ มักจะมีอาการปวดต้นคอและไหล่เกิดขึ้น ในบางรายมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่เรื้อรังจนกระทั่งต้องพบแพทย์เพื่อทำการบำบัดรักษา ในบทความนี้โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ จะพาทุกท่านไปรู้จักปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดหัว อาการเป็นอย่างไร สาเหตุปวดไหลซ้าย สะบัก บ่า ไปจนถึงวิธีแก้ปวดคอ บ่า ไหล่
สารบัญบทความ
อาการปวดคอ บ่า ไหล่ เกิดขึ้นในบริเวณที่ใกล้เคียงกัน หลายคนอาจจะคิดว่าอาการปวดในบริการดังกล่าวเป็นเพียงบริเวณๆ เดียว แต่ในความจริงแล้ว การปวดคอ บ่า ไหล่สามารถสังเกตอาการและแยกจุดที่ปวดได้ว่ากำลังเมื่อยจุดไหนอยู่โดยเฉพาะ หากรู้ว่ากำลังปวดจุดไหนอยู่ ก็จะสามารถรักษาอาการได้อย่างตรงจุด
บริเวณของอาการปวดคอเริ่มตั้งแต่ท้ายทอย ต้นคอ ไปจบที่บริเวณบ่า อาการปวดคอเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะจากการทำงานที่ต้องก้มหน้าเป็นเวลานาน การจ้องคอคอมที่ผิดลักษณะสรีระร่างกาย ไปจนถึงการนอนตกหมอน อาการปวดคอมีหลายรูปแบบตั้งแต่การปวดเมื่อยธรรม หรือปวดคอเรื้อรัง
บริเวณของอาการอยู่ระหว่างคอกับไหล่ อาการปวดบ่าโดยมากเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ความเครียด เกิดเป็นอาการปวดเมื่อย เกร็ง ตึงบ่า เบื้องต้นหากมีอาการปวดบ่าที่ไม่รุนแรงนัก หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชuวิตอาการเหล่านี้ก็จะค่อยๆ ดีขึ้นได้
บริเวณของอาการปวดไหล่จะอยู่ในช่วงโค้งของไหล่ สามารถลามมาปวดช่วงเชื่อมระหว่างลำตัวกับต้นแขนได้ อาการปวดไหล่อาจเกิดมาจากการเคลื่อนไหวที่ไม่เหมาะสม อย่างการออกกำลังกายผิดท่า การไม่ยืดหยุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกาย จนทำให้มีอาการปวดเมื่อยไหล่ เจ็บแปลบ ตึงไหล่
อาการปวดคอ บ่า ไหล่ เบื้องต้นแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คืออาการปวดคอ บ่า ไหล่ แบบเฉียบพลัน และอาการปวดคอ บ่า ไหล่ แบบเรื้อรัง โดยมีรายละเอียดลักษณะอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้
อาการปวดคอ บ่า ไหล่ แบบเฉียบพลัน เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสม ผิดท่าทางจากปกติ เช่น การนอนตกหมอน จนทำให้บริเวณคอบ่าไหล่ตึงไม่สามารถขยับคอหรือหันหน้าได้อย่างอิสระเนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอเกิดอาการเกร็งตัวนั่นเอง
อาการปวดคอ บ่า ไหล่ แบบเรื้อรัง มักเกิดกับผู้ที่มีพฤติกรรมการใช้งานคอ บ่า ไหล่ นานจนเกิดไป ไม่ได้หยุดพัก หรือมีกล้ามเนื้อที่ไม่แข็งแรงพอจากการขาดการออกกำลังกาย ทำให้เกิดอาการปวดคอ บ่า ไหล่เรื้อรัง รักษาแล้วก็สามารถกลับมาเป็นได้อีก
อาการปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดบ่า ต้นคอ เกิดจากสาเหตุได้หลายสาเหตุดังต่อไปนี้
พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันส่งผลต่ออาการปวดบ่า ต้นคอเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในผู้ที่นั่งทำงานกับโต๊ะหรือเก้าอี้ที่ไม่ได้สัดส่วนเป็นเวลานาน ต้องทำงานก้มๆ เงยๆ จนไหล่เกร็งทั้งสองข้าง กล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ อักเสบทำให้เกิดเป็นอาการออฟฟิศซินโดรมตามมาได้
สรีระร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกันออกไป ทำให้มีโครงสร้างร่างกาย เช่น กระดูก ข้อต่อ กล้ามเนื้อ ที่แตกต่างกัน ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปมีอายุเพิ่มมากขึ้น โครงสร้างร่างกายเหล่านี้ก็จะเสื่อมลง ส่งผลให้กระดูกต่างๆ ในร่างกายเกิดปัญหาความสึกหรอ เกิดอาการข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ เป็นต้น
ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุบริเวณคอ มีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบทำให้มีอาการปวดบริเวณคอต่อเนื่องมาด้วยเช่นกัน หากหลังประสบอุบัติเหตุมาสักระยะหนึ่งแล้วแต่ยังมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่มาก หรือปวดบ่า ต้นคอไม่หายเสียที ควรพบแพทย์เพื่อรักษาปวดคอ บ่า ไหล่
โรคกระดูกคอเสื่อมมักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ ข้อต่อต่างๆ ระหว่างคอเมื่ออายุมากขึ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างไฟ เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังยุบลงหรือมีความยืดหยุ่นน้อยลง ทำให้ส่วนอื่นๆ โดนรอบต้องรับแรงกระแทกมากขึ้น เกิดเป็นอาการปวดต้นคอ บ่า ไหล่
อาการปวดต้นคอและไหล่อาจเป็นผลข้างเคียงจากโรคอื่นได้เช่นกัน เช่น ผู้ที่เป็นโรครูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ หรือหินปูนเกาะตามกระดูก ติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง อาจเกิดอาการอักเสบหรือติดเชื้อและส่งผลทำให้ปวดคอ บ่า ไหล่ ได้เช่นกัน เนื่องจากอวัยวะต่างๆ ในร่างกายเชื่อมโยงถึงกัน
กลุ่มผู้เสี่ยงปวดคอ บ่า ไหล่ ได้แก่
อาการปวดคอ บ่า ไหล่ ที่เริ่มรุนแรง ไม่ควรปล่อยไว้ให้อาการปวดหนักกว่าเดิม เช่น
หากมีอาการดังที่กล่าวไปข้างต้น ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารักษาเพราะอาจเกิดภาวะกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทได้
หากอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ไม่รุนแรงมาก ผู้ป่วยสามารถตรวจสอบอาการได้ด้วยตัวเองดังนี้
หากสามารถกางแขนได้มากกว่า 60 องศาขึ้นไป ถือว่ามีความยืดหยุ่นสูง คอ บ่า ไหล่ อยู่ในสภาวะปกติ แต่หากกางได้น้อยกว่านั้นควรพบแพทย์ ในกรณีที่ต้องพบแพทย์ การวินิจฉัยอาการปวดคอ บ่า ไหล่ แรกเริ่มแพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วย เพื่อให้ทราบข้อมูลเบื้องต้น ประวัติการใช้ยา ไปจนถึงสอบถามอาการปวดเบื้องต้น แพทย์จะทำการบีบแขนเพื่อหาว่าจุดไหนคือต้นกำเนิดความเจ็บปวด และสามารถใช้วิธีทางการแพทย์ตรวจสอบอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ได้ดังนี้
วิธีรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ การรักษาแบบประคับประคองอาการและการรักษาสำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง ซึ่งมีแนวทางการรักษาดังต่อไปนี้
การรักษาแบบประคับประคองอาการ แพทย์จะจ่ายยาบรรเทาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ โดยประเมินจากความรุนแรงของอาการเป็นหลัก หากอาการไม่รุนแรงนัก อาจได้ยาพายาเซตามอลที่มีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการปวด หากอาการรุนแรงแพทย์อาจจ่ายยาแก้อักเสบให้ได้ การรักษาแบบประคับประคองอาการยังสามารถทำได้ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม นั่งในท่าทางที่เหมาะสม
สำหรับผู้ที่ปวดคอ บ่า ไหล่เรื้อรัง รักษาด้วยวิธีแบบประคองอาการไม่หาย แพทย์จะแนะนำให้กายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวด โดยการออกกำลังกายตามโปรแกรมฝึก หรือใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น เครื่องประคบร้อน เครื่อง Shockwave เข้าช่วย หากยังไม่ดีขึ้นแพทย์จะพิจารณาให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดในกรณีที่รักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผลแล้ว
การป้องกันอาการปวด คอ บ่า ไหล่ สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำตามต่อไปนี้ได้
อาการปวดคอ บ่า ไหล่ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนมากแล้วเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ทำให้เกิดการเกร็งคอเป็นเวลานาน หรือนั่งอยู่ในลักษณะท่าเดิมๆ ที่ผิดสรีระของร่างกายเป็นระยะเวลานานในแต่ละวัน จนทำให้เกิดอาการปวดคอ ขึ้นมา ปกติแล้วอาการปวดคอ บ่า ไหล่ หากไม่รุนแรงมากจะสามารถหายเองได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่หากเป็นผู้ป่วยปวดคอ บ่า ไหล่เรื้อรัง รักษาอย่างไรก็ไม่หาย ควรพบแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาที่ตรงจุด
หากผู้ป่วยมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ พังผืดทับเส้นประสาท ปวดสะโพกร้าวลงขา หรือปวดข้ออื่นๆ อาการสามารถติดต่อสอบถามรักษาอาการกับทีมแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
References
Hecht, M. (2019, May 10). Neck and shoulder pain: Causes, remedies, treatment, and prevention. Healthline. Retrieved September 20, 2022, from https://www.healthline.com/health/what-causes-concurrent-neck-and-shoulder-pain-and-how-do-i-treat-it#diagnosis
Ming, Z., Närhi, M., & Siivola, J. (2004). Neck and shoulder pain related to computer use. Pathophysiology, 11(1), 51–56. https://doi.org/10.1016/j.pathophys.2004.03.001
Siivola, S. M., Levoska, S., Latvala, K., Hoskio, E., Vanharanta, H., & Keinänen-Kiukaanniemi, S. (2004). Predictive factors for neck and shoulder pain: A longitudinal study in Young Adults. Spine, 29(15), 1662–1669. https://doi.org/10.1097/01.brs.0000133644.29390.43
WebMD. (n.d.). Why do my shoulders hurt? 13 causes of Neck & Shoulder pain. WebMD. Retrieved September 20, 2022, from https://www.webmd.com/pain-management/guide/neck-shoulder
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)