ปวดเข่าห้ามกินอะไร? พาส่องอาหารที่สุขภาพเข่าไม่ปลื้ม
ปวดเข่าห้ามกินอะไร? พาส่องอาหารที่สุขภาพเข่าไม่ปลื้ม
อาการปวดข้อตามบริเวณต่างๆ อาทิ ปวดข้อมือ ปวดข้อเท้า ข้อนิ้วมือ และข้อเท้า อาจจะไม่ใช่การปวดข้อธรรมดาอีกต่อไป แต่อาจจะเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายว่าคุณกำลังเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงเป็นหนึ่งในโรคข้ออักเสบ หรือ โรคที่เรียกว่า “โรครูมาตอยด์” ซึ่งสามารถเกิดได้ตั้งแต่วัยหนุ่มสาวไปจนถึงวัยสูงอายุ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์สามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำ และอาจจะรุนแรงถึงขั้นทำให้พิการได้
บทความนี้จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจเกี่ยวกับโรครูมาตอยด์คืออะไร ว่ามีสาเหตุเกิดจากอะไร โรครูมาตอยด์อันตรายไหม อาการเริ่มต้นของโรครูมาตอยด์มีอะไรบ้าง สามารถเกิดกับคนในวัยไหนได้บ้าง วิธีรักษาเพื่อยับยั้งความรุนแรงของโรครูมาตอยด์ต้องทำอย่างไร รวมถึงแนวทางการป้องกันที่จะช่วยไม่ให้เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับโรครูมาตอยด์สามารถหาคำตอบได้ที่บทความนี้
สารบัญบทความ
โรครูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) คือโรคที่เกี่ยวกับการอักเสบตามข้อต่างๆ บนร่างกาย อาทิ ข้อมือ ข้อนิ้ว และข้อเท้า เป็นต้น ผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยหนุ่มสาว เนื่องจากเป็นวัยที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานได้ดี ทำให้เมื่อระบบภูคุ้มกันเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับร่างกายจะได้รับผลกระทบมาก
นอกจากนี้โรคข้อสักเสบรูมาตอยด์ไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงตามข้อต่อต่างๆ ของร่างกายเท่านั้น ยังมีส่วนอื่นของร่างกายที่ได้รับผลกระทบจากโรครูมาตอยด์ เช่น ตา กล้ามเนื้อ หรือเส้นประสาท
ถึงแม้ว่าโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะเป็นโรคที่สามารถพบได้บ่อย และเป็นหนึ่งในโรคข้ออักเสบเรื้อรังแต่ยังมีโรคข้ออักเสบแบบอื่นที่มีอาการใกล้เคียงกับโรครูมาตอยด์ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความสับสนว่าจริงๆ แล้วอาการที่กำลังเผชิญอยู่ใช่โรครูมาตอยด์หรือไม่ ทางที่ดีผู้ป่วยควรได้รับการตรวจและวินิจฉัยโรคจากแพทย์ เนื่องจากการรักษาโรครูมาตอยด์กับโรคข้ออักเสบเรื้อรังแตกต่างกัน
แม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าสาเหตุของโรครูมาตอยด์เกิดจากอะไร แต่ในทางการแพทย์เชื่อว่าโรครูมาตอยด์มีสาเหตุมาจากระบบภูคุ้มกันในร่างกายทำลายตัวเอง โดยจะทำลายเยื่อหุ้มข้อ (Synovium) จนทำให้เกิดการอักเสบและบวมตามข้อ ส่งผลให้กระดูกอ่อนและกระดูกตามบริเวณข้อต่อ รวมไปถึงเส้นเอ็นที่ยึดกล้ามเนื้อและกระดูก เปราะบางลงและยืดขยายออก ทำให้ข้อต่อมีรูปร่างผิดปกติ และบิดเบี้ยว นอกจากอาการทางข้อแล้ว รูมาตอยด์ยังมีอาการที่บริเวณอื่น ๆ เช่น ข้อมือ หัวไหล่ เข่า เป็นต้น
นอกจากนี้มีการคาดการณ์ว่าอาจจะมีปัจจัยอื่นๆ ที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ดังนี้
อาการของผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ในระยะแรกหรือเริ่มต้นจะมีอาการข้ออักเสบ (Arthritis) โดยบริเวณที่อักเสบมักจะเป็นข้อต่อที่มีขนาดเล็ก เช่น ข้อมือ ข้อนิ้วเท้า ข้อโคนนิ้วมือ และข้อกลางนิ้วมือ ซึ่งจะมีอาการปวด บวม แดง รู้สึกเจ็บข้อเข่า ทำให้ข้อเข่าเสื่อมเมื่อกดและรู้สึกร้อนเมื่อสัมผัสบริเวณนั้น
แม้ว่าจะเป็นโรคที่มักเกิดการอักเสบหลายข้อพร้อมกันและเป็นแบบสมมาตร (Symmetrical Polyarthritis) แต่ในระยะแรกอาจจะมีอาการอักเสบเพียงข้อเดียวและไม่สมมาตร โดยอาการของโรครูมาตอยด์นั้น มีดังนี้
ดังนั้นหากคุณพบว่าตนเองมีอาการปวดข้อแบบไม่หายสักที ให้คุณรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาโดยด่วน เพื่อไม่ให้เกิดการลุกลาม ถึงแม้ว่าอาการของโรครูมาตอยด์นั้นจะไม่สามารถทำให้หายขาดได้ แต่การรีบเข้ารักษาจะเป็นผลดีกว่าการปล่อยให้อาการนั้นรุนแรงมากกว่าเดิม และยากที่จะรักษาได้
นอกจากการอักเสบบริเวณข้อต่อภายในร่างกายแล้ว 40% ของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ยังพบอาการผิดปกติอย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้อต่อ ดังนี้
พบว่ามีโรคอื่น ๆ ที่อาการคล้ายกับรูมาตอยด์ ที่มีการอักเสบเรื้อรัง ได้แก่
แม้ว่าโรครูมาตอยด์สามารถเกิดขึ้นได้กลุ่มทุกคน แต่มีกลุ่มคนบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไปในการเกิดโรคข้อสอักเสบรูมาตอยด์ ได้แก่
โรครูมาตอยด์เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของข้อต่อ ดังนั้นจำเป็นต้องคอยสังเกตอาการตนเอง หากมีอาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับข้อดังต่อไปนี้ แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายและเข้ารับการรักษาทันที
หากคุณมีอาการที่กล่าวไปข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธี เพื่อบรรเทาอาการของโรคโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที เพราะนั้นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณเข้าข่ายเสี่ยงเป็นโรครูมาตอยด์
ปัจจุบันโรครูมาตอยด์ยังเป็นโรคที่ใช้การวินิจฉัยเพียงอย่างเดียวไม่ได้ เนื่องจากอาการของโรคที่แสดงออกเป็นอาการที่สามารถพบได้หลายโรค ซึ่งการตรวจวินิจฉัยโรครูมาตอยด์ มีรายละเอียดดังนี้
เบื้องต้นแพทย์จะทำการซักประวัติของผู้ป่วยและตรวจดูการแสดงอาการของโรคจากภายนอก โดยดูอาการบวม แดง และความร้อน รวมไปถึงการตรวจความไวของเส้นประสาทและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อร่วมด้วย
แพทย์จะทำการเจาะเลือดผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เพื่อเป็นการตรวจหาสารรูมาตอยด์ (Rheumatoid Factor) หรือตรวจหาค่าโปรตีนในร่างกายที่เป็นการตรวจเพื่อหาอาการอักเสบทีร่างกาย (C-reactive protein: CRP)
การเอกซเรย์ในผู้ป่วยโรครูมาตอยด์เป็นการตรวจเพื่อดูการดำเนินของโรค มักใช้ตรวจกับผู้ป่วยที่มีการอักเสบในระยะแรกที่อาการของโรคยังไม่สามารถใช้การตรวจวินิจฉัยร่างกายได้ เนื่องจากอาการที่แสดงออกไม่ชัดเจน โดยเป็นการตรวจจากเครื่องสร้างภาพสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI)
ทั้งนี้การตรวจวินิจฉัยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะขึ้นอยู่กับอาการความรุนแรงของโรคและดุลพินิจของแพทย์แต่ละคน
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์สามารถรักษาให้หายขาดได้ไหม ?
ในปัจจุบันการรักษาโรครูมาตอยด์ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่เป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการของโรค และมีหลากหลายวิธี ซึ่งวิธีรักษาโรครูมาตอยด์นั้นมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันออกไป ดังนี้
สำหรับผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ในระยะเริ่มต้นสามารถบรรเทาอาการและรักษาโรคได้จากการทำกายภาพบำบัด เพื่อให้ข้อต่อมีความยืดหยุ่น และถือเป็นการฟื้นฟูสรรถภาพของข้อต่อและกล้ามเนื้อโดยรอบบริเวณนั้น โดยการทำกายภาพบำบัดต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น
ทั้งนี้การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ที่ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เช่น การควบคุมน้ำหนัก หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การกระโดดและการนั่งยองๆ และผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นสามารถใช้การประคบร้อน หรือแช่ข้อที่มีอาการอักเสบกับน้ำอุ่นเพื่อบรรเทาอาการได้
การรักษาโรครูมาตอยด์โดยใช้ยาในปัจจุบัน สามารถแบ่งกลุ่มยาที่ใช้รักษาออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้
การรักษาโรครูมาตอยด์โดยใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ โดยสำหรับยากลุ่มสเตียรอยด์จะเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบรุนแรง แต่ยาในกลุ่มนี้มีข้อจำกัดอยู่ค่อนข้างมาก เพราะเป็นยาที่มีผลข้างเคียงรุนแรง ได้แก่ ติดเชื้อง่ายและกระดูกพรุน ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นควรมีการลดปริมาณยาที่ใช้รักษาลง
สำหรับยาในกลุ่มนี้แพทย์จะพิจารณานำมาใช้กับผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการใช้ยา โดยยาในกลุ่มนี้ต้องใช้ยารักษาอาการอักเสบติดต่อกันเป็นระยะเวลา 2 เดือนขึ้นไปจึงจะเริ่มเห็นผลลัพธ์ ได้แก่ Chloroquine, Sulfasalazine, Methotrexate และ Gold Salt ซึ่งยากลุ่มยับยั้งการอักเสบที่ออกฤทธิ์ช้าจำเป็นต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์เพียงเท่านั้น
ยาในกลุ่มต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ สามารถใช้บรรเทาและรักษาอาการปวดบวมบริเวณข้อได้ดี และเห็นผลในทันที ได้แก่ Ibuprofen, Naproxen, Indomethacin และ Diclofenac หรือที่หลายคนเรียกว่า ยาแก้ปวดรูมาตอยด์
แต่ยาในกลุ่มนี้นั้นมีผลข้างเคียง ได้แก่ อาการแสบท้อง เกิดแผลในกระเพาะอาหาร คลื่นไส้และวิงเวียนศีรษะ ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาตัวยาให้มีผลข้างเคียงน้อยลงแต่มีราคาที่ค่อนข้างสูง ที่สำคัญยากลุ่มต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ควรหลีกเลี่ยงใช้กับผู้ป่วยที่เคยเป็นแผลทางเดินอาหารมาก่อน
การผ่าตัดเพื่อรักษาโรครูมาตอยด์มักเป็นวิธีสุดท้ายที่แพทย์จะพิจารณา ส่วนใหญ่มักใช้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถวิธีรักษาแบบอื่นได้ แพทย์จึงจะพิจารณาให้ทำการผ่าตัดเพื่อรักษาข้อต่อที่มีอาการอักเสบหรือถูกทำลาย ข้อดีของการผ่าตัดข้อต่อ คือ สามารถรักษาอาการเจ็บปวดและช่วยทำให้ข้อต่อกลับมาเป็นปกติได้
ทั้งนี้การผ่าตัดเพื่อรักษาโรคข้ออักเสบมารูตอยด์มีหลายวิธี เช่น การผ่าตัดรวมข้อ (Joint Fusion) การผ่าตัดเยื่อหุ้มข้อ (Synovectomy) การเย็บซ่อมเส้นเอ็นรอบข้อต่อ (Tendon Repair) และการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม (Total Joint Replacement)
ทั้งนี้การรักษาโรครูมาตอยด์จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และอาการความรุนแรงของโรค โดยหากผู้ป่วยเป็นโรครูมาตอยด์ระยะแรกอาจจะใช้วิธีกายภาพบำบัดเพื่อบรรเทาอาการ แต่สำหรับผู้ที่มีอาการอักเสบรุนแรงแพทย์จะปรับเปลี่ยนวิธีการรักษาตามอาการความรุนแรงของโรค
โรครูมาตอยด์สามารถทำให้เกิดความเสี่ยงและพัฒนาไปสู่โรคอื่นๆ ได้ ดังต่อไปนี้
เป็นปุ่มเนื้อนิ่มๆ ที่ขึ้นตามบริเวณข้อต่อที่มีการเสียดสีอยู่บ่อยๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า ข้อศอก และข้อนิ้ว นอกจากนี้ปุ่มรูมาตอยด์ยังสามารถเกิดได้ทุกที่ในร่างกายและสามารถเกิดบริเวณปอดได้ด้วย
โรคกระดูกพรุนที่เกิดหลังจากการผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโรครูมาตอยด์ ส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากยาที่ใช้รักษา ที่ส่งผลให้กระดูกเสื่อมและเปราะบางลงจนถึงขั้นแตกร้าวได้ง่าย
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และตัวยาบางชนิดที่ใช้รักษาสามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายอ่อนแอลง และทำให้เกิดการติดเชื้อในผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น
นอกจากอาการปากและตาแห้งแล้ว สามารถพบผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ที่เป็นโรคโจเกรน (Sjogren’s Sysdrome) ร่วมด้วย โดยที่โรคโจเกรนเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย ทำให้เกิดอาการปากและตาแห้ง คล้ายกับมีเม็ดทรายในดวงตาหรือรู้สึกเหมือนมีสำลีอยู่ในปาก มักพบในผู้ป่วยผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้น
อย่างที่ได้ทราบกันไปว่าผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มีภาวะเสี่ยงในการเป็นภาวะหลอดเลือดอุดตันหรือหลอดเลือดแข็ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการอักเสบภายในร่างกาย
หากผู้ป่วยมีอาการอักเสบที่บริเวณข้อมืออาจจะทำให้มีการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ซึ่งจะมีผลต่อการใช้งานข้อมือและนิ้วมือของผู้ป่วย
ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์มีความเสี่ยงที่จะเกิดพังผืดบริเวณปอด ซึ่งจะส่งต่อระบบทางเดินหายใจทำให้หายใจลำบากหรือหายใจสั้นขึ้น
ทั้งนี้ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นโรครูมาตอยด์จะมีภาวะแทรกซ้อน และไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็นทุกภาวะแทรกซ้อนที่กล่าวมา
แม้ว่าในปัจจุบันโรครูมาตอยด์จะยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตามวิธีดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ เพื่อบรรเทาอาการด้วยการกายภาพบำบัด รับประทานยา หรือการผ่าตัด รวมไปถึงเรื่องอาหารการกินที่ถูกต้อง อาหารที่ห้ามกินของโรครูมาตอยด์มีอะไรบ้าง
ดังนั้นผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จำเป็นต้องทราบว่าตนเอง ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทใดบ้าง โดยอาหารที่ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ห้ามรับประทานมีดังนี้
สำหรับผู้ป่วยโรคมารูตอยด์ครบดูแลเรื่องอาหารการกินของตัว เพื่อยับยั้งไม่ให้อาการกำเริบ โดยอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ มีดังนี้
ทั้งนี้การทานอาหารของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์อาจจะขึ้นอยู่กับแต่ละคน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลเพื่อรับคำแนะนำในการรับประทานอาหารที่เหมาะสมของแต่ละคน
ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด ทำให้การรักษาโรครูมาตอยด์ในส่วนใหญ่เป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการความรุนแรงของโรค และยับยั้งการอักเสบของข้อเพียงเท่านั้น
สำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็วจะช่วยลดโอกาสที่ข้อจะพิการได้ ดังนั้นหากคุณมีอาการผิดปกติที่ปวดตาข้อบริเวณต่างๆ ในร่างกาย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและเข้ารับการรักษาทันที เพื่อลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิการ
โรครูมาตอยด์ถือว่าเป็นโรคที่อันตราย เพราะในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ยังไม่มีวิธีป้องกัน และถ้าหากอาการของโรคมีความรุนแรง หรือ อยู่ในระยะสุดท้ายของโรคแล้วสามารถทำให้ผู้ป่วยพิการได้ การรักษาโรคจึงเป็นเพียงการยับยั้งอาการอักเสบและบรรเทาอาการเท่านั้น ทั้งนี้ทางที่ดีหากมีอาการปวดข้อ แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการปวดนั้น
ในปัจจุบันโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ยังไม่มีวิธีที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เป็นเพียงแค่การบรรเทาอาการเจ็บปวด และการยับยั้งการอักเสบของข้อเท่านั้น โดยวิธีรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละคน
ซึ่งวิธีการรักษาโรครูมาตอยด์มีตั้งแต่ การทำกายภาพบำบัด การรับประทานยา และการผ่าตัดเปลี่ยนข้อ ทั้งนี้การรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการความรุนแรงและดุลยพินิจของแพทย์
คำถามที่แพทย์หลายๆ คนมักพบคือ โรครูมาตอยด์นวดได้ไหม ? แนะนำให้เป็นการทำกายภาพบำบัดจะได้ผลที่ดีกว่า แต่การทำกายภาพบำบัดที่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และนักกายภาพบำบัด เนื่องจากการทำกายภาพบำบัดที่ผิดวิธีอาจจะทำให้อาการของโรคแย่ลงได้
โรครูมาตอยด์ถ้าหากเพิ่งเริ่มมีอาการของโรค สามารถใช้วิธีประคบร้อนหรือแช่ข้อที่ปวดกับน้ำอุ่นได้ แต่ถ้าหากมีอาการปวดที่รุนแรง การประคบอาจจะไม่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ ทางที่ดีควรรีบไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและหาวิธีรักษาที่เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละคนมากที่สุด
ในปัจจุบันโรครูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด ทำให้การรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นการรักษาตามอาการ และยับยั้งการอักเสบของข้อไม่ให้ลุกลาม ผู้ป่วยส่วนใหญ่จำเป็นต้องรับประทานยาอยู่ตลอด แม้ว่าอาการของโรคจะสงบลงแล้ว เพื่อไม่ให้อาการโรครูมาตอยด์กลับมากำเริบอีกครั้ง
นอกจากนี้โรครูมาตอยด์ย
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)