บทความสุขภาพ

เทโลเมียร์คืออะไร ทำไมถึงสำคัญต่อการดูแลสุขภาพมากกว่าที่คิด

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567

เคยสงสัยกันหรือไม่ว่าเหตุใดบุคคลที่อายุเท่ากันแต่ละคนถึงมองดูแล้วไม่น่าจะอยู่ในช่วงอายุเดียวกันได้เลย สำหรับบางคนนั้นดูอ่อนเยาว์กว่าวัย แต่อีกคนหนึ่งกลับดูแก่กว่าวัย และนอกจากรูปลักษณ์ภายนอกแล้ว สุขภาพร่างกายยังต่างกันราวฟ้ากับเหวอีกด้วย ซึ่งสิ่งที่จะให้คำตอบได้อย่างชัดเจนก็คือ ‘เทโลเมียร์’ นั่นเอง 

การจะมีสุขภาพแข็งแรงพร้อมกับอายุที่ยืนยาว ไม่ได้หมายความว่าจะต้องออกกำลังกายอย่างหนักเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง เพราะสิ่งที่คุณทำอาจได้ผลลัพธ์ที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่คุณต้องการ ทำให้การดูแลสุขภาพในปัจจุบันนี้ไม่ใช่เพียงแค่เลือกปฏิบัติตามหลักการเท่านั้น แต่ยังควรตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งความยาวของเทโลเมียร์ คือสิ่งที่สามารถชี้วัดได้ว่าวิธีการดูแลสุขภาพของคุณถูกต้องมากแค่ไหน

โดยความยาวเทโลเมียร์มีความเกี่ยวข้องกับความเสื่อมสภาพของเซลล์ ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากความเสื่อมสภาพของอวัยวะและผิวพรรณภายนอก จึงทำให้ความสั้นยาวของเทโลเมียร์เปรียบเสมือนกับสิ่งที่บ่งบอกถึงอายุร่างกายที่แท้จริง

ดังนั้นเพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจเทโลเมียร์มากยิ่งขึ้น เราจึงทำการรวบรวมข้อมูลสำคัญของเทโลเมียร์มาเรียบเรียงให้ได้อ่านกันแล้วที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นความสำคัญของเทโลเมียร์ ปัจจัยที่ส่งผลให้เทโลเมียร์กดสั้นลง วิธีเพิ่มความยาวเทโลเมียร์ รวมไปถึงโรคที่มีความเสี่ยงสูงเมื่อเทโลเมียร์หดสั้นลงจนถึงจุดวิกฤติ


สารบัญบทความ
 


เทโลเมียร์ คืออะไร

เทโลเมียร์ คือบริเวณปลายสุดของโครโมโซมที่คอยป้องกันไม่ให้ DNA ถูกทำลายในกระบวนการแบ่งตัวของเซลล์ร่างกาย ซึ่งเทโลเมียร์นั้นสามารถหดสั้นลงหรือยืดให้ยาวขึ้นได้ และความยาวของเทโลเมียร์ยังบ่งบอกถึงอายุที่แท้จริงของร่างกายได้อีกด้วย ถ้าหากเทโลเมียร์ยาวก็หมายความว่าอายุร่างกายน้อย แต่ในกรณีที่เทโลเมียร์สั้นก็หมายความว่าอายุร่างกายมากนั่นเอง

หลาย ๆ คนคงรู้จักกับการตรวจ DNA เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการตรวจด้วยชุดตรวจ Circle DNA, ตรวจด้วยน้ำลาย หรือตรวจด้วยเลือด โดยการตรวจความยาวเทโลเมียร์ก็ใช้วิธีการตรวจผ่านการเจาะเลือดไม่ต่างจากการตรวจ DNA เท่าไหร่นัก เนื่องจากว่าทั้งเทโลเมียร์และ DNA ล้วนก็เป็นส่วนประกอบบนโครโมโซมทั้งสิ้น 
 

เทโลเมียร์สำคัญอย่างไร

เทโลเมียร์ คือสิ่งที่มีความสำคัญต่อ DNA มากทีเดียว เพราะว่าเทโลเมียร์จะเป็นสิ่งที่คอยป้องกันไม่ให้ DNA นั้นถูกทำลายเมื่อเซลล์ร่างกายอยู่ในกระบวนการแบ่งตัว นอกจากนี้ทุกครั้งที่เซลล์ร่างกายมีการแบ่งตัว เทโลเมียร์จะถูกหดสั้นลงเรื่อย ๆ และเมื่อเทโลเมียร์สั้นจนถึงที่สุดแล้ว ก็จะไม่สามารถแบ่งเซลล์ร่างกายได้อีก หรือเข้าสู่สภาวะแก่ตัวทันที
 

เทโลเมียร์สั้น เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง

เมื่อเทโลเมียร์หดสั้นลงจนถึงจุดวิกฤติที่ไม่สามารถใช้ในการแบ่งเซลล์ร่างกายได้อีกแล้ว จะทำให้มีความเสี่ยงที่อาจเกิดโรคทั่วไปต่าง ๆ และโรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมตามวัย เร็วกว่าผู้ที่มีเทโลเมียร์ยาว โดยโรคที่ผู้มีเทโลเมียร์สั้นเสี่ยงเป็นนั้น ได้แก่
 

  • โรคหัวใจ : การทำงานที่ผิดปกติของหัวใจส่วนต่าง ๆ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจ, ลิ้นหัวใจ, หลอดเลือดหัวใจ หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น
  • โรคเบาหวาน : การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินค่าปกติอย่างเรื้อรัง จากการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินที่น้อยผิดปกติ หรือร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน
  • โรคพาร์กินสัน : ความผิดปกติทางการเคลื่อนไหวที่เกิดจากเซลล์ประสาทส่วนก้านสมองเสื่อมสภาพ จนทำให้สารโดพามีนถูกผลิตออกมาน้อยลง
  • โรคอัลไซเมอร์ : อาการหลงลืมที่มักพบในผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดจากสมองฝ่อหรือเสื่อมสภาพ จนทำให้สมองบางส่วนทำงานได้ลดลง

ปัจจัยที่ส่งผลให้เทโลเมียร์สั้นลง

ถึงแม้ว่าเทโลเมียร์จะหดสั้นลงอยู่เรื่อย ๆ ตลอดเวลา แต่เมื่อเปรียบเทียบความยาวเทโลเมียร์ของคนสองคนที่มีอายุเท่ากัน กลับพบว่าความยาวเทโลเมียร์แตกต่างกัน จึงทำให้ทราบได้ว่าการหดสั้นของเทโลเมียร์ในแต่ละบุคคลนั้นมีความเร็วที่แตกต่างกันไปตามปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
 

  • ความเครียดสะสมที่เกิดจากอารมณ์ด้านลบ เช่น ความโกรธ, ความอับอาย หรือวิตกกังวล เป็นต้น
  • พักผ่อนไม่เพียงพอตามความต้องการของร่างกาย ซึ่งต่อวันควรพักผ่อนอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง
  • การอดอาหาร ซึ่งส่งผลให้ร่างกายเกิดความเครียด
  • รับประทานอาหารแปรรูปต่าง ๆ และไม่รับประทานผักหรือผลไม้เพื่อเพิ่มไฟเบอร์
  • ขาดการออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายหนักจนเกินไป
  • การติดเชื้อหรือเผชิญมลภาวะต่าง ๆ เช่น ควันบุหรี่, ไอระเหยจากสารเคมี หรือฝุ่นละอองโมเลกุลเล็ก

ตรวจความยาวเทโลเมียร์ ดีอย่างไร

การตรวจความยาวเทโลเมียร์ คือวิธีที่จะทำให้ทราบได้ถึงอายุทางชีวภาพและความเสื่อมของร่างกายที่อาจเร็วกว่าปกติ ซึ่งผลการตรวจความยาวเทโลเมียร์จะมีความเกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ มากมายที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายภายในอนาคต การตรวจความยาวเทโลเมียร์จึงมีประโยชน์ไม่น้อยเลย เพราะนอกจากจะช่วยให้สามารถวางแผนป้องกันหรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยงโรคภัยต่าง ๆ ได้ทันท่วงทีแล้ว ยังช่วยให้สามารถฟื้นฟูเทโลเมียร์จนยาวขึ้นด้วยการรักษาอย่างเหมาะสม
 

ตรวจความยาวเทโลเมียร์ที่ไหนดี

การตรวจความยาวเทโลเมียร์นั้นจะให้ผลลัพธ์ได้ชัดเจนและแม่นยำมากที่สุดเมื่อได้รับการตรวจจากแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ รวมถึงเลือกใช้เทคโนโลยีที่ให้ความละเอียดสูงในการสกัด DNA จากเม็ดเลือดขาวและถอดรหัส DNA ในขั้นตอนถัดไป

ซึ่งสมิติเวช ไชน่าทาวน์เองก็มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้บริการแบบมืออาชีพตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงมีการให้บริการอย่างครบครันตั้งแต่ให้คำปรึกษา วินิจฉัย ไปจนถึงการรักษา นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือทันสมัยเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ และนำไปวินิจฉัยจนสามารถรักษาโรคได้อย่างตรงจุดที่สุด
 

ตรวจความยาวเทโลเมียร์ ราคาเท่าไร

การที่จะทราบความยาวของเทโลเมียร์ได้แพทย์จำเป็นต้องขอเจาะเลือด เพื่อทำการสกัด DNA จากเม็ดเลือดขาวเพื่อนำมาตรวจสอบหาความยาวเทโลเมียร์ โดยการตรวจความยาวเทโลเมียร์นั้นราคาจะอยู่ที่ประมาณ 8,000-15,000 บาท
 

วิธีทำให้เทโลเมียร์ยาวขึ้น

การมีเทโลเมียร์ยาวไม่เพียงแค่ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคภัยต่าง ๆ เร็วกว่าปกติเท่านั้น แต่ยังสามารถยืดระยะเวลาที่เทโลเมียร์จะเข้าสู่สภาวะแก่ตัวได้อีกด้วย ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเทโลเมียร์ยาวล้วนมีแต่ข้อดี แต่สำหรับผู้ที่เทโลเมียร์สั้นก็สามารถฟื้นฟูให้กลับมายาวได้เช่นกัน โดยวิธีทำให้เทโลเมียร์ยาวขึ้นมีดังนี้
 

  • ขจัดความเครียดให้หมดไปด้วยการทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย
  • รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ น้ำตาลน้อย และมีปริมาณแคลอรี่ต่ำ
  • รับประทานผักและผลไม้ให้ร่างกายได้รับไฟเบอร์ แร่ธาตุ และวิตามินต่าง ๆ อย่างเพียงพอ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งการนอนหลับที่ดีควรหลับสนิทยาว 7-8 ชั่วโมงโดยไม่มีการตื่นขึ้นระหว่างคืน
  • ออกกำลังกายด้วยการคาร์ดิโอเป็นประจำ แต่ก็ไม่ควรออกกำลังกายหนักจนเกินไป

สรุปเรื่องเทโลเมียร์

การได้ศึกษาและตรวจสอบความยาวเทโลเมียร์นับได้ว่ามีประโยชน์เป็นอย่างมาก เพราะสามารถทำให้ผู้คนมากมายหันมาใส่ใจสุขภาพของตัวเองกันมากยิ่งขึ้น และไม่ประมาทในการใช้ชีวิต เช่นการทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำ ละเลยการออกกำลังกาย หรือเลือกรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม แต่นอกจากการดูแลสุขภาพกายแล้ว สุขภาพใจหรือสภาวะอารมณ์เองก็ส่งผลต่อความยาวเทโลเมียร์ด้วยเช่นกัน จึงควรได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงทั้งด้านร่างกายและด้านจิตใจ

ถ้าหากว่ายังไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าควรตรวจความยาวเทโลเมียร์ที่ไหนดี ที่สมิติเวช ไชน่าทาวน์ตอบโจทย์และสร้างความประทับใจให้กับคุณได้แน่นอน เนื่องจากสมิติเวช ไชน่าทาวน์เป็นโรงพยาบาลที่ให้บริการอย่างครบครันตั้งแต่การให้คำปรึกษาไปจนถึงการวินิจฉัยเพื่อรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งยังมีการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยซึ่งจะได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำมากที่สุดอีกด้วย

หากสนใจสามารถติดต่อสอบถามสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้ทาง
 

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​