บทความสุขภาพ

ผู้สูงอายุเสี่ยงปอดอักเสบติดเชื้อ

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567


 

  • โรคปอดอักเสบในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มักเกิดหลังจากป่วยเป็นไข้หวัด หากพบว่าผู้สูงอายุมีไข้สูง อ่อนเพลีย ไอ มีเสมหะร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน  หายใจลำบาก เจ็บแน่นหน้าอก  โดยเฉพาะเมื่อเริ่มมีอาการสับสนหรือซึมลง ทั้งๆ ที่ไข้ลด ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน เนื่องจากอาจมีการติดเชื้อในปอด   หากไม่รีบรักษาอาจทำให้เสียชีวิตได้
  • การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสในผู้สูงอายุ  สามารถครอบคลุมสายพันธุ์ของเชื้อที่ก่อโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสรุนแรงในประเทศไทยได้ถึง  70-78 %


ภาวะปอดติดเชื้อหรือปอดอักเสบ เป็นอีกภัยใกล้ตัวที่มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนฤดู โรคปอดอักเสบหรือปอดติดเชื้อนี้ เป็นโรคติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียผ่านระบบทางเดินหายใจ มักเรียกง่ายๆ ว่า “โรคปอดบวม” 

ระยะฟักตัวของโรคปอดอักเสบขึ้นอยู่กับเชื้อก่อโรค อาจใช้เวลา 1-3 วัน โดยผู้สูงอายุมักมีอาการเริ่มต้นคล้ายไข้หวัด ไข้สูง ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ อาการอาจรุนแรงขึ้นเมื่อเริ่มเจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ หากเป็นนานกว่า 2-3 วัน โดยไข้ไม่ลด ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการวินิจฉัยและทำการรักษา 

ทั้งนี้จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เมื่อปีพ.ศ. 2561 พบว่ากลุ่มคนอายุ 65 ปีขึ้นไป ถือเป็นกลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยด้วยโรคปอดอักเสบมากที่สุด

สาเหตุของโรคปอดอักเสบในผู้สูงอายุ

โรคปอดอักเสบในผู้สูงอายุส่วนใหญ่เกิดจากการได้รับเชื้อผ่านระบบทางเดินหายใจ ทำให้ปอดเกิดการอักเสบ ส่งผลให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนอากาศได้ตามปกติ มักพบเป็นอาการที่ต่อเนื่องมาจากโรคไข้หวัดใหญ่ การติดเชื้อปอดอักเสบสามารถพบได้ทุกช่วงอายุ โดยระดับความรุนแรงของโรคจะมีความแตกต่างกัน แต่ผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 65 ปี มักมีความต้านทานโรคต่ำ จึงมีความเสี่ยงของโรคถึงขั้นเสียชีวิตมากที่สุด

การรักษาโรคปอดอักเสบ

หากแพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สามารถรักษาได้ด้วยยาฆ่าเชื้อทั้งแบบรับประทานและการฉีดยา  ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน  สำหรับปอดอักเสบที่ติดเชื้อไวรัสมักมีความรุนแรงน้อยกว่าการติดเชื้อแบคทีเรีย  การรักษาจึงพิจารณาตามอาการ โดยแนะนำให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองให้แข็งแรงด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำให้เพียงพอ และพักผ่อนให้เพียงพอ แต่หากผู้ป่วยมีโรคประจำตัว แพทย์อาจพิจารณาให้พักรักษาตัวในโรงพยาบาลจนกว่าจะหายสนิท

โรคแทรกซ้อนจากปอดอักเสบในผู้สูงอายุ 

สำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคประจำตัว อาจติดเชื้อที่รุนแรงมากกว่าคนทั่วไป ดังนั้นหากมีคนในครอบครัวเป็นไข้หวัดใหญ่ ควรแยกผู้สูงอายุไม่ให้เข้าใกล้ผู้ป่วย เนื่องจากอาจติดเชื้อไวรัสจนเป็นโรคปอดอักเสบได้
ส่วนผู้สูงอายุที่มีภูมิต้านทานต่ำจากความเสื่อมสภาพทั่วไปของร่างกาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน  ไตวาย  หัวใจ ไขมันพอกตับ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนจากปอดอักเสบ  เช่น ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว หรือที่อันตรายที่สุด คือการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้

การป้องกันโรคปอดอักเสบในผู้สูงอายุ

 

  • ผู้สูงอายุควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ใช้ช้อนกลาง หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดและไขมันสูง ดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู่ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่
  • ไม่สัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง และหลีกเลี่ยงการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  • ลดการอยู่ในสถานที่แออัดในช่วงที่มีไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ระบาด
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกปี เนื่องจากเชื้อโรคมีการกลายพันธุ์อยู่ตลอดเวลา ประสิทธิภาพของวัคซีนสามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ประมาณ 70-80%  ควรฉีดก่อนหน้าฝนราวเดือนพฤษภาคม–มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่ไข้หวัดใหญ่ระบาด
  • ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย 


แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคปอดอักเสบส่วนใหญ่ คือ เชื้อเสตรปโตคอคคัส นิวโมนิเอ  (Streptococcus pneumoniae) หรือเรียกสั้นๆ ว่า เชื้อนิวโมคอคคัส ซึ่งมีมากกว่า 90 สายพันธุ์ เป็นสาเหตุให้เกิดโรคติดเชื้อรุนแรงอื่นๆ อาทิ ภาวะติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง และติดเชื้อในกระแสเลือด  โดยในปัจจุบันทางการแพทย์ได้พัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ
 

  • วัคซีนนิวโมคอคคัสแบบคอนจูเกต (Conjugated) หรือ PCV13 สามารถป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสได้ 13 สายพันธุ์ ราคา 3,000 บาท รายละเอียด คลิก
  • วัคซีนนิวโมคอคคัสแบบโพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharide ) หรือ PPSV23 ครอบคลุมเชื้อได้  23 สายพันธุ์ ราคา 2,000 บาท รายละเอียด คลิก


ผู้สูงอายุที่อายุ 50 ปีขึ้นไป  ควรฉีดวัคซีนทั้ง 2 ชนิดร่วมกัน โดยในผู้สูงอายุที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบมาก่อน ควรฉีด PCV13 หนึ่งเข็มก่อน จากนั้นอีก  12 เดือนค่อยฉีด PPSV23 ส่วนผู้ที่เคยฉีดวัคซีน PPSV23 มาก่อนแล้ว สามารถฉีด PCV13 ตามภายหลังได้โดยต้องฉีดห่างกันอย่างน้อยหนึ่งปี ซึ่งหลังจากได้รับวัคซีนยังพบว่าวัคซีนสามารถครอบคลุมสายพันธุ์ของเชื้อที่ก่อโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสรุนแรงใน

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​