บทความสุขภาพ

สารพัดความรู้เรื่องฝ้า (Melasma)

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567

 

ฝ้าเกิดขึ้นได้อย่างไร?
 

กลไกหลักของการเกิดฝ้า คือการได้รับรังสี UV รวมถึงความเสี่ยงอื่นๆ ที่ไปกระตุ้นเซลล์สร้างเม็ดสีให้มีการผลิตเม็ดสี (melanin) เพิ่มมากขึ้น


ใครอยู่ในกลุ่มเสี่ยง?
 

- เพศหญิง

- เชื้อชาติเอเชีย แอฟริกัน ละติน (Hispanic)

- ผิวสีเข้ม

- ผู้ที่สัมผัสแสงแดดเป็นประจำ (รังสี UV และรังสีอื่นๆ)

- การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่อเนื่อง (รับประทานยาคุม ตั้งครรภ์


ผื่นดำที่หน้า เป็นฝ้าทุกกรณีหรือไม่?
 

- คำตอบคือ ไม่เสมอไป ฝ้าจะมีลักษณะสมมาตร ขอบเขตไม่สม่ำเสมอ สีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม สีเทา มักเกิดบริเวณใบหน้าในส่วนที่รับแสงแดด เช่น โหนกแก้ม เป็นต้น

- ผื่นดำที่หน้าสาเหตุอื่นๆ ที่พบบ่อย ได้แก่ กระตื้น กระลึก ปานแดด ปานแต่กำเนิด รอยดำหลังการอักเสบ เป็นต้น


วิธีการป้องกันและรักษาฝ้า?
 

- หลีกเลี่ยงแดดจัด (ช่วงเวลา 10.00-14.00 น.) และหมั่นทาครีมกันแดดที่มีค่ากันรังสี UV SPF50 PA+++ หากครีมกันแดด ควรหาครีมที่สามารถกันแสงชนิดอื่นร่วมด้วยได้ เช่น visible light จะเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันได้มากขึ้น

- หลีกเลี่ยงการรับประทานยาคุม และเลือกใช้การคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นแทน หรือปรึกษาสูติแพทย์ร่วมด้วย

- ทายารักษาฝ้า เช่น ยาในกลุ่ม hydroquinone, tretinoin, corticosteroid (แต่จะต้องใช้ในการควบคุมของแพทย์) หรือยาที่มีส่วนประกอบของ glycolic acid, kojic acid, azelaic acid เป็นต้น

- การผลัดผิวด้วยกรดอ่อน เช่น กรด AHA, กรด Salicylic เป็นต้น

- การรับประทานยาในกลุ่ม Transamine หรือการฉีดยาในกลุ่ม Transamine เข้าไปที่บริเวณฝ้า (เมโส) มีหลายงานวิจัยพบว่าได้ผลการรักษาที่ดี

- การใช้เลเซอร์ต่างๆ แต่ผลการรักษาบ่งชี้ว่าดีขึ้นในบางรายเท่านั้น บางรายอาจมีรอยดำหรือรอยแผลเป็นหลังเลเซอร์ได้ (ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินถึงความเหมาะสมในการทำเลเซอร์ทุกครั้ง)


ฝ้าหายขาดได้หรือไม่?

ปัจจุบันยังไม่พบวิธีการรักษาที่ทำให้ฝ้าหายขาด การรักษาทำให้ฝ้าจางลงใกล้เคียงสีผิวปกติและสามารถคงสภาพเดิมได้ยาวนานตั้งแต่ 6 เดือนถึง 2 ปี แต่ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับการป้องกันแสงแดด รวมถึงลดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วย

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​