บทความสุขภาพ

โรคลมแดด ภัยร้ายหน้าร้อน (Heat Stroke)

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567


หลายปีมานี้ ประเทศไทยมีอุณหภูมิในช่วงหน้าร้อนสูงขึ้นทุกๆปี นั่นทำให้หลายคนเกิดการเจ็บป่วยกะทันหัน โดยเฉพาะ “โรคลมแดด” หรือเรียกว่า Heat Stroke เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้กันให้มากขึ้นดีกว่าครับ
 
สาเหตุของโรคลมแดด

โดยปกติ ร่างกายจะมีระบบการปรับสมดุลความร้อน เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งร่างกายจะกำจัดความร้อนออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่โรคลมแดด เกิดจากภาวะที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวกับความร้อนที่เกิดขึ้นได้ ณ ขณะนั้น จนเกิดภาวะวิกฤต
 
อาการสำคัญของโรคลมแดดได้แก่

 
  • อุณหภูมิในร่ายกายสูงกว่า 41 องศาเซลเซียส
  • มีเหงื่อออกเป็นจำนวนมาก
  • มีอาการเพ้อ
  • ความดันเลือดลดลง
  • การทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายล้มเหลว
  • มีอาการกระสับกระส่าย มึนงง สับสน ชักเกร็ง และหมดสติ
 
การรักษาโรคลมแดดเบื้องต้น

พาผู้ที่มีอาการเข้าในที่ร่ม นอนราบกับพื้น ยกเท้าสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด หากสวมเสื้อผ้าหนา ให้ถอดเสื้อผ้าบางส่วนออก ให้ร่างกายระบายอากาศได้ดียิ่งขึ้น และใช้น้ำเย็นประคบบริเวณใบหน้า ข้อพับ ขาหนีบ และใช้พัดลมเป่าเพื่อระบายความร้อน และรีบนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
 
การป้องกันโรคลมแดด

 
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อย 2 ลิตร/วัน
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อากาศร้อน ถ่ายเทไม่สะดวกเป็นเวลานาน
  • ไม่ควรออกกำลังกายหักโหมในที่แจ้ง หากรู้สึกเหนื่อยมากควรรีบพักทันที และควรมีการวอร์มร่างกายก่อนและหลังออกกำลังกายเพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บอีกด้วย
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ไม่หนาจนเกินไป
  • หากต้องอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน ควรทาครีมกันแดด สวมเสื้อผ้า หมวก และแว่นกัดแดดป้องกัน
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือยาบางชนิดที่เพิ่มความร้อนให้ร่างกาย
บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​