บทความสุขภาพ

ใครบ้างเสี่ยงเป็นโรคไขมันพอกตับ

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567


ในปัจจุบัน ประเทศไทยพบผู้ป่วยภาวะไขมันพอกตับเป็นจำนวนมาก ตามแนวโน้มของโรคและพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละคน ได้แก่ คนเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในโลหิตสูง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในคนอายุประมาณ 45 - 50 ปีขึ้นไป ที่อัตราการเผาผลาญอาหารเริ่มลดลง และในผู้ที่มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตโดยรับประทานอาหารมันๆ ทอดๆ ของหวาน รวมถึงเครื่องดื่มจำพวกน้ำหวานและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

โดยภาวะไขมันพอกตับ แบ่งระยะการดำเนินโรคได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 เป็นระยะมีไขมันก่อตัวอยู่ในเนื้อตับ ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดผลใด ๆ กล่าวคือ ไม่มีการอักเสบ หรือพังผืดเกิดขึ้นในตับ
ระยะที่ 2 เป็นระยะที่เริ่มมีอาการอักเสบของตับ ในระยะนี้หากไม่ควบคุมดูแลให้ดี และปล่อยให้การอักเสบดำเนินไปเรื่อย ๆ เกินกว่า 6 เดือนกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง
ระยะที่ 3 การอักเสบรุนแรง ก่อให้เกิดพังผืดในตับ เซลล์ตับค่อย ๆ ถูกทำลายลง
ระยะที่ 4 เซลล์ตับถูกทำลายไปมาก ตับไม่อาจทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป ตับแข็ง และอาจกลายเป็นมะเร็งตับ

สัญญาณที่อาจบ่งชี้ว่าคุณเริ่มมีปัญหาตับ
 
  • มีน้ำหนักมาก อ้วนลงพุง หรือมีไขมันสะสมที่หน้าท้อง
  • พยายามลดน้ำหนักอย่างไรก็ไม่ลง
  • ระดับคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
  • เป็นโรคเบาหวาน
  • รู้สึกเหนื่อย และอ่อนเพลียง่าย
  • รู้สึกเจ็บตึง ๆ ที่ชายโครงขวา
  • เริ่มมีอาการเบื่ออาหาร รับประทานอาหารไม่ลง รวมถึงรู้สึกคลื่นไส้

วิธีการลดความเสี่ยง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันตัวเองจากโรคไขมันพอกตับ มีดังนี้
 
  • พยายามลดลดน้ำหนักให้ได้ แต่ไม่ควรโหมลดหนักจนเกินไป ซึ่งจะต้องอยู่ในระดับปลอดภัย คือ สัปดาห์ละไม่เกิน 0.5 กิโลกรัม
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน และไขมันในเลือดสูง จะต้องควบคุมโรคให้ดี โดยต้องหมั่นทานยาตามแพทย์สั่ง รวมถึงควบคุมอาหาร และออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
  • ลด ละ เลิกการดื่มสุรา ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ตับทำงานมากยิ่งขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานยาโดยไม่จำเป็น หรืออาหารเสริมประเภทน้ำมันต่างๆ เช่น น้ำมันปลา น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส และสมุนไพรต่าง ๆโดยไม่จำเป็น
  • หลีกเลี่ยงพื้นที่ติดเชื้อ เพื่อป้องกันตนเองจากเชื้อโรค
  • หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี
บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​