ตาปลาที่เท้า เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง
ตาปลาที่เท้าเป็นภาวะที่ผิวหนังแข็งตัวเป็นก้อนกลมนูน มีจุดดำตรงกลาง เกิดจากแรงกดทับซ้ำ ๆ ทำรู้สึกให้เจ็บเมื่อเดิน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่เหมาะสม
สาเหตุ
เกิดจากน้ำตาลในเลือดทําให้เส้นเลือดที่จอรับภาพของตาโป่งพองหรือมีเส้นเลือดแตก แต่อาจไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยจึงมักไม่รู้ตัว ยกเว้นกรณีที่เกิดขึ้นในตําแหน่งจุดรับภาพ หรือหากมีการแตกของเส้นเลือดมากจนมาบังจอรับภาพทั้งหมดทําให้เกิดตามัวกะทันหันได้ โดยปัจจุบันโรคเบาหวานเป็นสาเหตุที่ ทําให้เกิดตาบอดได้มากกว่า 25 เท่าของคนปกติ
อาการของเบาหวานขึ้นจอรับภาพเป็นอย่างไร
โรคนี้น่ากลัวตรงที่ไม่มีอาการอะไรที่จะเป็น เครื่องเตือนคนไข้ในระยะแรก ๆ ของโรค ไม่มัว ไม่เจ็บ ไม่ปวด จนกว่าโรคจะเป็นมาก ดังนั้นถ้ารอจนมีอาการมักจะสายเกินไป ตามัวจะเกิดขึ้นได้ ถ้าบริเวณจุดรับภาพบวมจากน้ำที่รั่วจากเส้นเลือด หรือมีเส้นเลือดแตก แล้วมีเลือดออกมาจนทําให้น้ำวุ้นตาขุ่น แม้แต่บางรายที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างมากในลูกตาแล้ว แต่อาการอาจยังไม่ปรากฏก็ได้ ดังนั้นการตรวจตาตั้งแต่แรกเป็นเบาหวานจึงเป็นสิ่งที่สําคัญมาก
จะรู้ได้อย่างไรว่าเบาหวานขึ้นจอรับภาพแล้วหรือยัง
ทางเดียวที่ดีที่สุด คือ การตรวจตาอย่างละเอียดโดยจักษุแพทย์ จะครอบคลุมการตรวจทั้งต้อกระจก ต้อหินและจอรับภาพ ทั้งนี้การตรวจจอรับภาพที่ละเอียดบางครั้งจําเป็นที่ต้องใช้ยาหยอดขยายม่านตาช่วยด้วย ซึ่งอาจทําให้ตาคนไข้มัวหลายชั่วโมงจากฤทธิ์ยาขยายม่านตา เมื่อยาหมดฤทธิ์ ตาจะกลับมาเห็นเหมือนเดิม
เบาหวานขึ้นจอประสาทตารักษา ได้หรือไม่
• เมื่อตรวจพบว่ามีเบาหวานขึ้นตาให้มาตรวจตามแพทย์นัด และควบคุมเบาหวานให้ดี รักษาภาวะความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
• การรักษาด้วยการยิงเลเซอร์ แสงเลเซอร์จะช่วยชะลอความรุนแรงโดยการทําลายหลอดเลือดผิดปกติซึ่งเปราะบาง จําเป็นจะต้องทําในระยะที่เลือดยังไม่ออกมากจนบังจอประสาทตา เพราะถ้าเลือดออกมาบังประสาทตาแล้ว แสงจะไม่สามารถทําปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อประสาทตาได้
• การใช้แสงเลเซอร์ไม่สามารถช่วยในการมอง เห็นที่เสียไปมากแล้วกลับคืนได้ การใช้แสงเลเซอร์ต้องเป็นไปเพื่อการป้องกัน และรักษาในระยะแรก ดังนั้นการตรวจตาจึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด เมื่อแพทย์แนะนําให้ยิงเลเซอร์ก็ควรรีบเข้าทําการรักษา
• ในผู้เป็นเบาหวานที่เบาหวานขึ้นจอประสาทตา และไม่สามารถรักษาด้วยวิธีใช้แสงเลเซอร์ ก็อาจจะรักษาได้โดยวิธีการจี้ด้วยความเย็น (Retinal Cryotherapy)
• การทําผ่าตัดตาที่เรียกว่า Vitrectomy เพื่อเอาเลือดและพังผืดออกจากน้ำวุ้น
การป้องกันทําได้อย่างไร
• ในผู้เป็นเบาหวาน ควรได้รับการตรวจตาด้วยการขยายม่านตาโดยจักษุแพทย์ อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง แม้จะไม่มีอาการผิดปกติทางตา
• ถ้ามีอาการตามัวลง ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์
• ผู้ป่วยเบาหวานที่ตั้งครรภ์หรือมีแผนจะตั้งครรภ์ต้องตรวจตาอย่างสม่ำเสมอทุก 3 เดือน
• ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงคนปกติ จะช่วยป้องกันและชะลอภาวะแทรกซ้อน
• ควรหยุดสูบบุหรี่
• ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
บทสรุปจากเบาหวาน
การขาดความรู้และการขาดการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง เป็นสาเหตุที่สําคัญของการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานกับผู้ป่วยแล้ว ยังเป็นการสูญเสียเงินทอง และเวลาในการรักษามากมาย ดังนั้นการป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนจึงมีความสําคัญ เท่าๆ กับการรักษานั่นเอง
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)