ไทรอยด์เป็นพิษ คืออะไร? ทำความรู้จักโรคและวิธีสังเกตอาการด้วยตัวเอง!
ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism, Overactive Thyroid) คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกินความจำเป็น ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์โต ระบบเผาผลาญมีปัญหา ฯลฯ
มะเร็งปากมดลูกพบในผู้หญิงไทยมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม แต่กลับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกหรือระยะก่อนเป็นมะเร็งนั้น ผู้ป่วยจะไม่มีอาการใดๆที่แสดงออกมาชัดเจน รวมถึงผู้หญิงไทยยังมีอัตราการตรวจคัดกรองโรคในระดับที่น้อย กว่าที่จะตรวจพบ ก็อาจเข้าสู่ระยะที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด
สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกกว่า 90% เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) ส่วนใหญ่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ส่วนน้อยติดต่อทางการสัมผัส มักพบบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของผู้หญิงบริเวณปากมดลูก ช่องคลอด และอวัยวะเพศ ทั้งนี้ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก เช่น มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย เปลี่ยนคู่นอนบ่อย มีบุตรหลายคน สูบบุหรี่ รวมถึงการมีปัญหาระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น
ก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุตั้งแต่ 9 – 26 ปี โดยฉีดจำนวน 3 เข็ม ซึ่งวัคซีนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 70% หากเคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว ก็ฉีดได้เช่นกัน แต่ในกรณีนี้วัคซีนจะมีประสิทธิภาพดีก็ต่อเมื่อไม่เคยได้รับเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่บรรจุอยู่ในวัคซีนมาก่อน โดยวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกนั้น มีให้ฉีด 2 แบบ ดังนี้
1. วัคซีนป้องกันปากมดลูก แบบป้องกัน 9 สายพันธุ์ (ครอบคลุมสายพันธุ์ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58) ใหม่ล่าสุด!
2. วัคซีนป้องกันปากมดลูก แบบป้องกัน 4 สายพันธุ์ (ครอบคลุมสายพันธุ์ 6, 11, 16 และ 18)
ช่วงอายุ | จำนวนเข็ม | วิธีการฉีด | การป้องกันในผู้หญิง | การป้องกันในผู้ชาย |
---|---|---|---|---|
อายุ 9-14 ปี | 2 เข็ม | เข็มที่ 1: วันที่ตัดสินใจฉีด เข็มที่ 2: หลังจากเข็มแรก 6-12 เดือน |
- สายพันธุ์ 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 ช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งช่องปากและลำคอ
- สายพันธุ์ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 ช่วยป้องกันการเกิดรอยโรคก่อนเป็นมะเร็ง (Precancerous lesion) ของมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งช่องคลอด และมะเร็งทวารหนัก
- สายพันธุ์ 6 และ 11 ช่วยป้องกันหูดหงอนไก่ |
- สายพันธุ์ 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 ช่วยป้องกันมะเร็งทวารหนัก และมะเร็งช่องปากและลำคอ
- สายพันธุ์ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 ช่วยป้องกันการเกิดรอยโรคก่อนเป็นมะเร็ง (Precancerous lesion) ของมะเร็งทวารหนัก
- สายพันธุ์ 6 และ 11 ช่วยป้องกันหูดหงอนไก่ |
อายุ 15-25 ปี | 3 เข็ม | เข็มที่ 1: วันที่ตัดสินใจฉีด เข็มที่ 2: หลังจากเข็มแรก 2 เดือน เข็มที่ 3: หลังจากเข็มแรก 6 เดือน |
||
อายุ 26-45 ปี | 3 เข็ม | เข็มที่ 1: วันที่ตัดสินใจฉีด เข็มที่ 2: หลังจากเข็มแรก 2 เดือน เข็มที่ 3: หลังจากเข็มแรก 6 เดือน |
||
หมายเหตุ: หากอายุมากกว่า 26 ปี หรือเคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ควรปรึกษาแพทย์ ว่าควรฉีดวัคซีน HPV หรือไม่ และเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกต่อไป |
โปรแกรม
|
ราคาทั่วไป (บาท) |
ราคาโปรโมชั่น (บาท) |
ช่องทางการสั่งซื้อ | |
---|---|---|---|---|
1. วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก แบบป้องกัน 9 สายพันธุ์ (3 เข็ม) ฉีด 0,2,6 ใหม่ล่าสุด! | 30,160 | 19,900 | จองผ่านเว็บ | ซื้อบน LAZADA |
2. วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก แบบป้องกัน 9 สายพันธุ์ (2 เข็ม) ฉีด 0,2 ใหม่ล่าสุด! | 20,140 | 13,900 | จองผ่านเว็บ | |
3. วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก แบบป้องกัน 4 สายพันธุ์ (3 เข็ม) ฉีด 0,2,6 | 11,630 | 7,800 | จองผ่านเว็บ | ซื้อบน LAZADA |
หมายเหตุ :
ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายใน 3 ปีหลังการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ส่วนคนที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน อาจเริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป โดยตรวจพร้อมๆ กับการตรวจสุขภาพประจำปี ด้วยการตรวจตินเปร็ป (ThinPrep) ร่วมกับการตรวจหาเชื้อ HPV เพิ่มเติม คลิก
ให้ผลการตรวจที่ละเอียดกว่า เป็นการตรวจทางเซลล์วิทยา เช่นเดียวกับแปปสเมียร์มาตรฐานเดิม (Pap test) ซึ่งปัจจุบันนิยมการตรวจ Thin Prep ร่วมกับการตรวจ HPV Testing ซึ่งเป็นเทคนิคการตรวจทางด้านชีวโมเลกุลมีความแม่นยำสูง สามารถตรวจหาความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกและเชื้อ HPVชนิดก่อมะเร็ง ตั้งแต่เนิ่นๆ หรือ หากผลการตรวจปกติ สามารถเว้นระยะเวลาการตรวจได้ถึง 2 ปี อย่างปลอดภัย
หากพบความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกได้ตั้งแต่ในระยะก่อนเป็นมะเร็ง สามารถรักษาให้หายขาดได้
มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่มีกระบวนการเกิดโรคที่ช้า ใช้เวลาในการพัฒนาเป็นมะเร็งนาน แต่สามารถรักษาให้หายได้ถ้ารู้ตัวก่อน ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจึงควรทำอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ดูแล
แต่หากมีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด มีประจำเดือนนานจนผิดปกติ หรือมีเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงวัยหมดประจำเดือนแบบถาวรไปแล้ว ควรรีบไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยที่แน่นอน หรือหากมะเร็งได้ลุกลามไปมากขึ้น อาจลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ส่งผลให้มีอาการปวดหลัง ปัสสาวะหรืออุจจาระเป็นเลือด หรือไตวายเฉียบพลันได้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)