บทความสุขภาพ

ป้องกันโรคจอประสาทตา อย่างถูกวิธี

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567



จอประสาทตา (Retina) คือ อวัยวะที่มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ อยู่ด้านในสุดและหลังสุดของดวงตา โดยจอประสาทตาจะประกอบด้วย เซลล์ประสาทตาจํานวนมาก ซึ่งทําหน้าที่ในการเปลี่ยนแสงที่มองเห็นให้กลายเป็นสัญญาณประสาทเพื่อส่งไปแปลผลในสมอง การที่คนเราจะสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจน จําเป็นที่จะต้องมีจอประสาทตาที่ปกติ ถ้าหากเปรียบ เทียบดวงตากับกล้องถ่ายรูป จอประสาทตาจะเปรียบได้กับฟิล์มของกล้อง ซึ่งถ้าฟิล์มเกิดความเสียหาย ภาพที่ถ่ายจากกล้องก็จะมีคุณภาพไม่ดี เช่นเดียวกับผู้ที่มีโรคทางจอ ประสาทตาการมองเห็นก็จะไม่ชัดเจนเช่นกัน

โรคที่เกี่ยวกับจอประสาทตาที่พบบ่อย

 

  • จอประสาทตาเสื่อมจากเบาหวาน ผู้ป่วย เบาหวานที่ไม่ได้รับการควบคุมรักษาอย่างถูกต้อง พบว่ามีอาการผิดปกติทางตาได้บ่อย เช่น ตามัว จอประสาทตาเสื่อม หรือ เบาหวานขึ้นตา ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับการตรวจตาอย่างละเอียดโดยจักษุ แพทย์ ว่ามีความผิดปกติอะไรหรือไม่ อย่างน้อยปีละครั้ง ด้วยเครื่องวัดความดันลูกตา  เครื่อง Sit Lamp เครื่อง Indirect Ophthalmoscope เครื่อง Fundus Camera เพราะการตรวจพบและได้รับการดูแลใน ระยะแรกของโรค คือสิ่งสําคัญที่สุดในการป้องกันจอประสาทตาเสื่อมในโรคเบาหวาน
  • จอประสาทตาลอกหลุด เมื่อมีรูฉีกขาดที่จอประสาทตา น้ำวุ้นตาจะค่อยๆ เซาะเข้าไปในชั้นในของจอประสาทตา จนทําให้จอประสาทตาลอกหลุด โดยในระยะแรก ผู้ป่วยจะมองเห็นจุดดําๆ ลอยไปมา มีแสงแว๊บๆ ในลูกตา มีม่านบังตาหรือตามัวลง เมื่อเป็นมาก ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดจอประสาทตาหลุดลอก คือผู้ที่มีสายตาสั้น เคยเกิดอุบัติเหตุที่ตาหรือใบหน้า มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ ผู้ที่มีอายุมาก หรือการกดนวดตาบ่อยๆ


เมื่อผู้ป่วยเริ่มสังเกตเห็นว่ามีจุดหรือเส้น หรือตะกอนสีดําๆ ลอยไปมาในดวงตา หรือมีแสงแว็บ เกิดขึ้นในดวงตา ควรรีบมาพบจักษุแพทย์ เพื่อทําการรักษา หากตรวจพบว่ามีรูฉีกขาดที่จอประสาทตาเพียงอย่างเดียว สามารถทําการรักษาได้โดยการยิงแสงเลเซอร์ที่จอประสาทตา โดยไม่จําเป็นต้องได้รับการผ่าตัด แต่ถ้าตรวจพบว่ามีรูฉีกขาดที่จอประสาทตาแล้ว และมีการลอกหลุดของจอประสาทตาร่วมด้วย ผู้ป่วยจําเป็นต้องได้รับการผ่าตัดจอประสาทตา เพื่อรักษารูฉีกขาดและจอประสาทตาลอกหลุด

วิธีป้องกัน

 

  • ควรตรวจเช็กจอประสาทตาอย่างน้อยปีละครั้งโดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีสายตาสั้น มีประวัติคนในครอบครัวเคย เป็นโรคเดียวกัน
  • ไม่ควรกดนวดหรือขยี้ตา
  • รีบมาพบจักษุแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ
บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​