ปวดเข่าห้ามกินอะไร? พาส่องอาหารที่สุขภาพเข่าไม่ปลื้ม
ปวดเข่าห้ามกินอะไร? พาส่องอาหารที่สุขภาพเข่าไม่ปลื้ม
มือเป็นอวัยวะที่ถูกใช้งานแทบจะตลอดเวลาเพราะเกือบทุกกิจกรรมจำเป็นจะต้องใช้มือไม่ว่าจะหยิบอาหารเข้าปาก ใช้มือเขียนหนังสือ ใช้มือหยิบสิ่งของ ยิ่งในปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีอย่างคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน ทำให้มือถูกใช้งานหนักขึ้นอย่างมาก
เมื่อมือถูกใช้งานหนักเกินไปอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่มือ ปวดข้อนิ้วมือ ปวดฝ่ามือ อาจเป็นเฉพาะจุดหรือเป็นทั้งมือก็ได้ โดยสาเหตุและโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อนิ้วมือมีหลายโรค และหากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาอาจทำให้คุณภาพชีวิตลดลงจากการใช้งานมือได้ไม่เต็มที่
ในบทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับอาการปวดข้อนิ้วมือคืออะไร มีสาเหตุอะไรที่ทำให้ปวดข้อนิ้วมือได้บ้าง ปวดตามข้อนิ้วมือเป็นโรคอะไร มีวิธีแยกโรคที่ทำให้ปวดข้อนิ้วมืออย่างไร ปวดข้อนิ้วมือรักษาอย่างไรได้บ้าง รวมถึงการป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดข้อนิ้วมือ
สารบัญบทความ
อาการปวดข้อนิ้วมือ เป็นอาการปวดหรือเจ็บบริเวณข้อนิ้วมือ ซึ่งอาจเกิดจากอุบัติเหตุ การใช้งานหนัก หรือสัญญาณเตือนของโรคบางอย่างได้ อาการปวดข้อนิ้วมืออาจเป็นเพียงระยะสั้น ๆ หรือในขั้นรุนแรงก็อาจพบอาการปวดข้อนิ้วมือแบบเรื้อรังได้เช่นกัน
หากผู้ป่วยพบอาการปวดข้อนิ้วมือควรเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจและวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง เพราะอาการปวดข้อนิ้วมือเป็นอาการที่เกิดได้ตั้งแต่การบาดเจ็บเล็กน้อยไปจนถึงโรคร้ายแรงอย่างโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่ทำให้เกิดความพิการได้ หากได้รับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องก็จะสามารถวางแผนการรักษาและลดระดับความรุนแรงของโรคได้เร็ว
อาการปวดข้อนิ้วมือสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่พบได้บ่อยมีดังนี้
อาการปวดข้อนิ้วมือจากข้อนิ้วซ้นมักเกิดจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุและการเล่นกีฬา โดยอาจมีอาการบวมร่วมด้วยหรือไม่มีก็ได้ ผู้ป่วยจะไม่สามารถขยับข้อนิ้วได้เพราะจะรู้สึกเจ็บข้อนิ้วมาก และอาการข้อนิ้วซ้นมักเกิดบริเวณข้อกลางนิ้ว
อาการปวดข้อนิ้วมือจากนิ้วล็อกเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน เนื่องจากการใช้งานคอมพิวเตอร์และสมาร์ตโฟนจำเป็นต้องใช้นิ้วมือบ่อยมาก และเมื่อนิ้วมือถูกใช้งานมาก ๆ มักจะทำให้เกิดอาการเกร็งของเส้นเอ็นข้อนิ้วจนทำให้เส้นเอ็นไม่ยืดตัวออกเมื่องอนิ้วและเกิดการอักเสบของปลอกเอ็นกล้ามเนื้อ เกิดเป็นอาการนิ้วล็อกขึ้น
ผู้ป่วยที่มีอาการนิ้วล็อคจะไม่สามารถเหยียดนิ้วมือให้ตรงได้ง่าย และรู้สึกปวดข้อนิ้วมือมากขึ้นเมื่อฝืนเหยียดนิ้วมือ
ข้อนิ้วเสื่อมสามารถเกิดจากการใช้งานข้อนิ้วมากเกินไป อุบัติเหตุบริเวณข้อนิ้วมือ หรือจากอายุที่มากขึ้นก็ได้ทั้งนั้น เพราะกระดูกอ่อนของผู้ป่วยที่ข้อนิ้วเสื่อมเกิดการสึกกร่อนและมีหินปูนมาเกาะที่ข้อนิ้วมือ ทำให้เวลาเคลื่อนไหวข้อนิ้วมือจึงเกิดการเสียดสีระหว่างกระดูกจนเกิดอาการปวดข้อนิ้วมือได้ ยิ่งอาการเสื่อมมาก การเคลื่อนไหวของข้อนิ้วก็ยิ่งทำได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ
ภาวะเส้นเอ็นตึงมักเกิดจากผู้ที่มีพฤติกรรมใช้งานนิ้วมือในลักษณะซ้ำ ๆ และติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ เช่นทำงานคอมพิวเตอร์ ทำอาหาร ทำงานบ้านงานสวน อาการเส้นเอ็นตึงอาจทำให้รู้สึกปวดข้อนิ้วมือเพียงเล็กน้อย และจะดีขึ้นเมื่อมีการขยับนิ้วมือบ้าง
จะเห็นได้ว่าอาการปวดข้อนิ้วสามารถเกิดได้ทั้งการใช้งานหนัก การเกิดอุบัติเหตุ ความเสื่อมของร่างกาย และอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดนิ้วมือคือโรค แต่จะขอยกไปกล่าวถึงในหัวข้อถัด ๆ ไป
ผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อนิ้วมือมักจะมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อนิ้วมือ โดยอาการปวดที่เกิดจากการใช้งานหนัก การอักเสบ หรือจากโรคอื่น ๆ มีดังนี้
สำหรับอาการปวดข้อนิ้วมือจากอุบัติเหตุที่ทำให้ข้อนิ้วหัก มีดังนี้
อาการปวดข้อนิ้วมืออักเสบอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดและต้นตอของโรคที่ทำให้เกิดอาการปวด โดยอาการปวดข้อนิ้วมือมีตั้งแต่ระดับไม่รุนแรงจนไปถึงระดับรุนแรง โดยอาจมีอาการปวดข้อนิ้วมือเพียงนิ้วเดียวหรือเป็นหลาย ๆ ข้อก็ได้
สำหรับอาการปวดข้อนิ้วมือที่ไม่รุนแรงสามารถพักการใช้งานเพื่อลดอาการปวดข้อนิ้วมือได้ แต่หากอาการปวดข้อนิ้วมือรุนแรงมากอย่างต่อเนื่องหรือนิ้วมือไม่มีความรู้สึก ควรเข้าพบแพทย์เพื่อหาต้นตอของอาการปวดข้อนิ้วมือและรับการรักษาที่เหมาะสม
อย่างที่ได้กล่าวไป อาการปวดข้อนิ้วมือสามารถเกิดจากการใช้งานอย่างหนัก อุบัติเหตุ หรือเกิดจากโรคอื่น ๆ ก็ได้ทั้งนั้น โดยโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อนิ้วมือมีดังนี้
โรคข้อนิ้วเสื่อมเป็นโรคที่เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนที่หุ้มข้อต่อนิ้วมืออันเนื่องมาจากอายุที่มากขึ้น จากการใช้งานที่หนักเกินไปหรือจากอุบัติเหตุ โดยการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนจะทำให้กระดูกข้อนิ้วมือเกิดการเสียดสีกันเมื่อมีการเคลื่อนไหว การเสียดสีนี้เองที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดข้อนิ้วมือ และยิ่งการเสียดสีมากขึ้นก็จะยิ่งรู้สึกปวดมาก จนในที่สุดข้ออาจเกิดการผิดรูปและไม่สามารถขยับได้อีก
โรคเก๊าท์เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคข้ออักเสบที่เกิดจากกรดยูริกในเลือดสูงและตกผลึกสะสมอยู่ในข้อ ทำให้เกิดอาการข้ออักเสบขึ้น โดยเกาต์สามารถเกิดขึ้นได้หลายจุดไม่ว่าจะที่ข้อมือ ข้อเท้า เป็นต้น
โรคภูมิแพ้ตนเองเป็นโรคที่ทำให้หลายอวัยวะหรือหลายระบบในร่างกายทำงานผิดปกติ โดยอาจเกิดขึ้นพร้อมกันหลาย ๆ อวัยวะหรือแสดงความผิดปกติเพียงอวัยวะเดียวก็ได้ โดยหนึ่งในอาการจากโรคภูมิแพ้ตนเองคืออาการปวดข้อ เช่น ข้อนิ้วมือ ข้อเข่า ข้อเท้า และในบางรายอาจแสดงอาการคล้ายกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ด้วย
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคไขข้ออักเสบซึ่งเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิต้านทาน โดยร่างกายจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อทำลายเนื้อเยื่อและกระดูกรอบข้อตนเอง ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดข้อจากกระดูกและเนื้อเยื่อถูกทำลาย
โดยอาการเด่น ๆ ของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์คืออาการปวดข้อนิ้วมือตอนเช้า และเมื่อขยับข้อไปสักประมาณ 1-2 ชั่วโมงอาการปวดก็จะทุเลาลง นอกจากนี้ผู้ป่วยมักจะมีอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย การอักเสบรอบ ๆ ข้อ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีโรคอื่น ๆ ที่อาจไม่ได้เกี่ยวกับข้อโดยตรง แต่ก็สามารถทำให้เกิดอาการปวดข้อนิ้วมือได้ เช่น โรคปลายประสาทอักเสบ อาการประสาทมือชา ภาวะเอ็นฝ่ามือหดรั้ง มีเนื้องอกที่ข้อนิ้วมือ โรคผิวหนังบางอย่าง การติดเชื้อบริเวณข้อนิ้วมือ เป็นต้น
อาการปวดข้อนิ้วมือมีตั้งแต่ระดับปวดเพียงเล็กน้อยไปจนถึงระดับรุนแรง ในขั้นต้นผู้ป่วยสามารถพักการใช้งานข้อนิ้วมือเพื่อลดอาการปวดได้ แต่หากอาการปวดมากขึ้น อาการปวดเรื้อรัง หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการปวดข้อนิ้วมืออักเสบบวมแดง ขยับข้อนิ้วมือไม่ได้หรือขยับได้ยาก นิ้วมือไร้ความรู้สึก ข้อนิ้วมือผิดรูป ควรรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด หากเป็นโรคร้ายแรงอย่างข้ออักเสบรูมาตอยด์หรือ SLE ก็จะได้เข้ารับการรักษาได้ทันที
ผู้ป่วยที่เข้าพบแพทย์ด้วยอาการปวดข้อนิ้วมือ แพทย์จะมีวิธีการตรวจวินิจฉัยแยกโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อนิ้วมือ ดังนี้
อันดับแรกแพทย์จะซักถามประวัติผู้ป่วยเบื้องต้น ทั้งลักษณะอาชีพมีการใช้นิ้วมือบ่อย ๆ หรือไม่ มีพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้ใช้งานนิ้วมือหนักไปหรือไม่ ผู้ป่วยมีประวัติการเกิดอุบัติเหตุที่นิ้วมือหรือไม่
และเพื่อคัดกรองโรคเบื้องต้นแพทย์จะถามลักษณะอาการปวดข้อนิ้วมือว่าปวดอย่างไร อาการปวดตามข้อนิ้วมือรุนแรงแค่ไหน ปวดข้อนิ้วมือตอนเช้าหลังตื่นนอนหรือปวดตลอดเวลา ขยับข้อนิ้วได้บ้างไหม เพราะบางโรคมีอาการปวดข้อนิ้วมือที่จำเพาะเจาะจงอย่างโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
การเจาะเลือดสามารถตรวจหาค่าบางอย่างภายในเลือดได้ และค่าเหล่านั้นก็จะเป็นตัวบอกถึงโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อนิ้วมือ เช่น การตรวจหาค่ารูมาตอยด์ ตรวจหาค่ากรดยูริก ตรวจการติดเชื้อในเลือด เป็นต้น
อาการปวดข้อนิ้วมือที่เกิดจากการร้าว แตกหักหรือผิดรูปของกระดูกข้อนิ้วมือสามารถตรวจได้ด้วยการเอกซเรย์ หากผู้ป่วยมีประวัติการเกิดอุบัติเหตุที่ข้อนิ้วมือ หรือมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคข้อเสื่อม แพทย์จะพิจารณาส่งผู้ป่วยเข้ารับการตรวจเอกซเรย์เพื่อหารอยโรค
การตรวจ MRI จะสามารถเห็นถึงรายละเอียดภายในข้อนิ้วมือ ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เส้นประสาท ทั้งนี้หากแพทย์พิจารณาว่าผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อนิ้วมืออาจเป็นโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นหรือเส้นประสาทก็จะส่งผู้ป่วยเข้ารับการตรวจ MRI เพื่อยืนยันโรค
การตรวจ CT scan จะสามารถทำให้เห็นความผิดปกติของกระดูกได้ชัดเจน โดย CT scan จะใช้ตรวจวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับกระดูกได้มีประสิทธิภาพกว่าวิธีอื่น ๆ และยังสามารถตรวจพบเนื้องอกที่ข้อนิ้วมือได้ด้วย
วิธีรักษาอาการปวดข้อนิ้วมือจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อนิ้วมือ หากอาการปวดข้อนิ้วมือไม่รุนแรงหรือปวดเพียงชั่วคราวก็สามารถบรรเทาอาการปวดข้อนิ้วมือได้ด้วยตนเอง แต่หากมีอาการปวดข้อนิ้วมือเรื้อรัง รุนแรง หรือมีอาการปวดข้อนิ้วมือจากโรคอันตรายก็อาจต้องเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ เพื่อลดระดับความรุนแรงของโรค
หากอาการปวดข้อนิ้วมือเกิดจากอุบัติเหตุสามารถใช้การประคบเย็นทันทีที่เกิดอุบัติเหตุเพื่อลดอาการปวดบวม โดยให้ประคบเย็นประมาณ 20 นาทีทุก 2-3 ชั่วโมง การประคบเย็นจะลดการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดไม่ไปขังอยู่บริเวณที่บาดเจ็บให้เกิดอาการปวดได้
หลังจากเกิดอุบัติเหตุไปแล้ว 48 ชั่วโมงผู้ป่วยสามารถใช้การประคบร้อนเพื่อให้เลือดกลับมาไหลเวียนดีขึ้นอีกครั้ง การไหลเวียนเลือดที่ดีจะช่วยให้การบาดเจ็บหายเร็วขึ้น และลดอาการปวดได้ดี
อาการปวดข้อนิ้วมือไม่ว่าจะจากอุบัติเหตุหรือการใช้งานหนักเกินไปสามารถทำได้ด้วยการแปะแผ่นบรรเทาอาการปวดได้ ในแผ่นแปะจะมีตัวยาสำคัญที่จะช่วยให้อาการปวดข้อนิ้วมือบรรเทาลง
ในเบื้องต้นหากยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดข้อนิ้วมือและอาการปวดข้อนิ้วมือของผู้ป่วยไม่รุนแรงมากแพทย์มักจะจ่ายยาแก้อักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDs) เพื่อลดอาการปวดอักเสบ
แต่หากทราบสาเหตุที่แน่ชัดที่ทำให้เกิดอาการปวดอาจมีการจ่ายยาที่แตกต่างกันไป เช่น โรคข้ออักเสบ แพทย์อาจจ่ายยาแก้ปวดข้อโดยเฉพาะ เป็นต้น
การทำกายภาพบำบัดเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อนิ้วมือระดับไม่รุนแรงจนถึงระดับปานกลาง โดยการกายภาพบำบัดจะช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นแข็งแรงขึ้น และสามารถลดอาการปวดได้
สำหรับผู้ป่วยมีอาการปวดข้อนิ้วมือรุนแรง และรับการรักษาแบบประคับประคองไปแล้วไม่ได้ผล แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดเพื่อลดอาการปวดข้อนิ้วมือ และให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ข้อนิ้วมือได้อีกครั้ง
อาการปวดข้อนิ้วมือจากการบาดเจ็บและการใช้งานหนัก เป็นอาการที่สามารถป้องกันได้ เช่น
สำหรับอาการปวดข้อนิ้วมือที่เกิดจากโรคข้ออักเสบและโรคอื่น ๆ อาจป้องกันได้บ้าง เช่น
แต่อย่างไรก็ตามอาการปวดข้อนิ้วมือที่เกิดจากโรคที่มาจากความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือโรคที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุไม่สามารถป้องกันได้
อาการปวดข้อนิ้วมือเป็นอาการที่พบได้บ่อย ๆ ในทุกเพศทุกวัย และมีสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อนิ้วมือมากมายไม่ว่าจะเกิดจากการใช้งานหนักเกินไป การเกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดจากโรค เพราะสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อนิ้วมือมีมากมาย เพื่อให้การวินิจฉัยและการรักษาโรคเป็นไปอย่างถูกต้องควรเข้าปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด
หากผู้ป่วยมีอาการปวดข้อนิ้วมือ กํามือไม่ได้ปวดข้อนิ้ว เจ็บข้อนิ้วมือมาก ขยับข้อนิ้วมือลำบาก ไม่มีความรู้สึกที่ข้อนิ้วมือ สามารถเข้ามาตรวจที่โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ โดยสามารถติดต่อได้ตามช่องทางต่อไปนี้
โทรสอบถามที่ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เว็บไซต์ : https://samitivejchinatown.com/th/home
Line : @samitivejchinatown
เอกสารอ้างอิง
Ali Kimbrel. (2018). Knuckle pain. from https://www.healthline.com/health/knuckle-pain
Jamie Eske. (2020). What causes pain in the knuckles?. from https://www.medicalnewstoday.com/articles/pain-in-knuckles
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)