บทความสุขภาพ

เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมเหมือนกัน แต่ทำไมอาการปวดต่างกัน?

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567


เมื่อท่านถูกวินิจฉัยว่าอาการปวดข้อเข่าเกิดจากโรคข้อเข่าเสื่อมแล้ว 
บางท่านก็มีความสงสัยว่า เหตุใดความเสื่อมของข้อจึงทำให้เกิดอาการปวดข้อขึ้นมาได้ แล้วทำไมอาการปวดมีหลายแบบ บางทีเราก็ไม่ปวดเหมือนกับเพื่อนๆ หรือ ญาติผู้ใหญ่ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมเหมือนกัน ซึ่งกลไกการเกิดความเจ็บปวดในโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นสามารถแบ่งหลักๆออกได้เป็น 2 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่
 
  1. ในข้อเสื่อมระยะแรกถึงปานกลางที่มีความสึกหรอของข้อไม่มากนัก ในระยะนี้จะค่อยๆมีการสึกหรอ,ฉีกขาดของกระดูกอ่อนผิวข้อ หรือ การปริฉีกของหมอนรองกระดูกข้อเข่า การบาดเจ็บเหล่านี้นอกจากจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดด้วยตัวเองแล้ว ยังไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในข้อเข่า ข้อจะบวม อุ่น มีน้ำในข้อ อาการจะเป็นมากหลังมีการใช้งานข้อเข่ามากๆ เช่น ขึ้นลงบันได, เดินมาก เดินไกล หรือ นั่งยอง นั่งงอเข่า เป็นต้น การปวดอักเสบแบบนี้จะเป็นต่อเนื่อง ตอนนี้ไม่ได้ใช้งานข้อเข่าก็ยังอาจจะมีอาการปวดอยู่ได้ เช่น ตอนนอน, ตอนตื่นนอน หรือ ตอนนั่งพักเฉยๆเป็นต้น อาการปวดอักเสบจะเป็นอยู่ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง อาจเป็น 1-3 สัปดาห์ และจะดีขึ้นเมื่อการอักเสบในข้อเข่าหายไป
  2. เมื่อข้อเสื่อมเป็นมากจนผิวข้อเสียหายมาก ในระยะนี้ความเจ็บปวดจะเกิดจากการที่กระดูกเสียดสีกันโดยตรง หรือ กระดูกที่งอกรอบๆข้อ ขัด หรือ เบียดโดนเนื้อเยื่อต่างๆในข้อเข่า ระยะนี้อาจไม่มีข้อบวม, อุ่น หรือมีน้ำในข้อ แต่อาการปวดมักจะเกิดตอนใช้งานข้อเข่า เจ็บปวดทุกก้าวเดิน ตอนพักไม่มีอาการเจ็บปวด พอใช้งานข้อเข่าอีก ก็มีอาการปวดขึ้นมาอีก อาจจะพบว่าเข่าเริ่มมีความผิดรูป เช่น เข่าโก่ง เข่าเหยียด-งอได้ไม่สุดร่วมด้วยได้

แต่อย่างไรก็ตามอาการปวดข้อจากทั้งสองสาเหตุก็อาจจะพบปะปนกันได้ โดยเฉพาะในระยะกลางๆของโรค ซึ่งการที่แพทย์ได้ซักประวัติและตรวจดูอาการก็จะช่วยให้สามารถเลือกการรักษาเพื่อลดอาการปวดข้อของผู้ป่วยให้ได้ถูกต้องกับระยะ ใช้ยาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่มาก ไม่น้อยจนเกินไป
บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​