บทความสุขภาพ

วิ่งมาราธอน เสี่ยงข้อเข่าเสื่อม?

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567

ช่วงนี้กีฬาการวิ่งดูจะได้รับความนิยมมากมายในกรุงเทพ  ไม่ว่าจะไปที่ไหน ทุกสุดสัปดาห์ก็มักจะมีการจัดวิ่งกันนะครับ  ซึ่งส่วนใหญ่มักจะวิ่งระยะทางไกล  เช่น วิ่งหลายกิโล สิบกิโลเมตร ยี่สิบกิโลเมตร หรือ วิ่งมาราธอน  
 
การวิ่งระยะทางไกลไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหน เข่าจะต้องรับแรงกระแทกทุกๆก้าวของการวิ่งนะครับ  ธรรมชาติของข้อต่อของข้อเข่าเมื่อมีแรงกระแทกก็มีการกระจายแรงกันออกไป  แต่ถ้าแรงนั้นมีมากเกินไป ก็อาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บเสียหายต่อข้อต่อได้ ความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อรอบๆเข่า จะทำเป็นตัวปกป้องไม่ให้ข้อต่อเหล่านั้นเกิดการสึกหรอเมื่อเราวิ่ง ในระยะทางไกลเป็นเวลานาน  ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง กล้ามเนื้อสะโพก กล้ามเนื้อน่อง และเอ็นรอบๆข้อเข่า  ถ้าหากเรามีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆเข่า จนสามารถรับแรงเหล่านั้นได้ ก็จะทำให้ข้อต่อไม่ต้องรับแรงเพิ่ม และลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ และการเกิดโรคข้อเสื่อมได้ครับ  แต่สิ่งเหล่านั้นต้องมีการฝึกฝนอย่างถูกวิธี ค่อยๆเพิ่มความความหนักและความหน่วง  รวมทั้งระยะเวลาการฝึกต้องสม่ำเสมอและเหมาะสมครับ เมื่อเราฝึกฝนได้ถึงระดับหนึ่ง อวัยวะเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นเอ็น ข้อต่อ กล้ามเนื้อ ก็จะช่วยปกป้องข้อไม่ให้เสื่อมไปกว่าปกติ

สำหรับนักวิ่ง  มีข้อควรระวังคือ เมื่อตัวเองวิ่งได้ดีแล้วไม่ควรละเลยหรือว่าเลิกปฏิบัติ  เมื่อกลับมาวิ่งอีกครั้ง มักจะคิดว่าวิ่งได้เท่าเดิม สาเหตุนี้แหละครับที่จะสร้างความเสี่ยงที่ต่อการบาดเจ็บ หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่า    เพราะฉะนั้นเมื่อเราจะเริ่มต้นออกกำลังกายที่ต้องใช้เข่า ต้องค่อยๆเริ่มนะครับ ค่อยๆฝึกฝน เพิ่มระยะทาง และความเร็ว สิ่งเหล่านี้ก็ช่วยชะลอไม่ให้เราเกิดภาวะข้อเสื่อมได้ โดยสรุปนะครับ

คำถาม นักวิ่งมาราธอน เสียงเป็นข้อเสื่อมไหม?

คำตอบ ถ้าฝึกฝนปฏิบัติอย่างถูกต้องวิธี ก็ไม่ได้เสียหาย ไม่ได้ทำให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แต่ถ้าปฏิบัติโดยที่ผิดขั้นตอน หรือว่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อไม่เพียงพอก็อาจจะเกิดความเสี่ยงได้มากขึ้นนะครับ
บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​