บทความสุขภาพ

ผ่าตัดรักษาข้อเข่าเสื่อม เปลี่ยนข้อเข่าเทียม ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567

ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม

อาการบาดเจ็บช่วงข้อต่อเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดจากอุบัติเหตุ อายุที่มากขึ้น หรือปัจจัยอื่นซึ่งส่งผลให้อาการเจ็บรุนแรงขึ้น ข้อต่ออาจจะอักเสบและเสื่อมสภาพจนกลายเป็นโรค
ข้อเข่าเสื่อม(Knee Osteoarthritis) ดังนั้นควรเข้าพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นเพื่อหาวิธีการรักษาและป้องกันไม่ให้อาการทรุดหนัก ซึ่งในวิธีที่รักษาที่ได้ผลมากที่สุดคือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทำในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมมาก เจ็บข้อเข่ามากและไม่ดีขึ้นด้วยการรักษาแบบไม่ผ่าตัด ผู้ป่วยที่มีเข่าโก่ง หรือเหยียด-งอได้ไม่สุด และอาการจากโรคข้อเสื่อมส่งผลรบกวนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมาก


สารบัญบทความ


ข้อเข่าเทียมคืออะไร

ข้อเข่าเทียม เป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ทดแทนข้อเข่าจริงที่เสื่อมสภาพไป มักใช้ในการรักษาด้วยการผ่าเข่าเสื่อม ซึ่งข้อเข่าเทียมจะมีลักษณะดังนี้

ข้อเข่าเทียม ทำจากวัสดุอะไร

ข้อเทียมนี้จะมีลักษณะเป็นโลหะผสมไทเทเนียมและโคบอลต์โครเมียม (titanium + cobalt chromium) มีความหนาประมาณ 1 เซนติเมตร และครอบฝังลงไปยังผิวกระดูกที่ถูกตระเตรียมไว้ก่อนหน้านี้ ระหว่างผิวข้อเทียมที่ถูกครอบฝังทั้งสองฝั่ง แพทย์จะใส่พลาสติกชนิดพิเศษ (Polyethelene) พลาสติกนี้มีลักษณะกลม ทำหน้าที่เป็นตัวที่ทำให้ข้อเกิดความเคลื่อนไหวที่เรียบ ลื่น และเป็นธรรมชาติ ขนาดเท่ากับข้อเข่าของผู้ป่วย

วัสดุดังกล่าวมีความปลอดภัยต่อร่างกาย มีอายุการใช้งานค่อนข้างนาน ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญและแม่นยำของแพทย์ในการผ่าตัดด้วย การผ่าตัดข้อเข่าเทียมจึงเป็นวิธีที่ปลอดภัย อีกทั้งผู้ป่วยใช้ระยะเวลาฟื้นตัวไม่นานด้วย
 


การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมีกี่แบบ

การผ่าตัดข้อเข่าเทียมในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

ผ่าตัดเข่า

 

1. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าทั้งหมด

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งข้อ (Total Knee Replacement) เป็นการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าทุกส่วน เหมาะกับข้อเข่าที่เสียหายและมีรอยโรคอยู่มาก เนื่องจากเป็นการผ่าที่แก้ได้ทุกความผิดปกติของข้อ นอกจากการผ่านี้จะช่วยรักษาอาการอักเสบของข้อแล้ว ยังสามารถทำให้ข้อเข่าที่ผิดรูปกลับมาตรงตามแบบที่ควร ไม่โก่งงอ ป้องกันการเสื่อมของข้อเข่าส่วนที่เหลือในอนาคต

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดข้อเข่าเทียมทั้งข้อจะเป็นผู้ป่วยที่มีอายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป
 

2. การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมเฉพาะฝั่ง

การผ่าตัดข้อเข่าเทียมเฉพาะส่วน (Unicompartmental Knee Replacement) เป็นการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าบางส่วน โรคข้อเข่าเสื่อมในบางผู้ป่วย อาการเสียหายจะจำกัดอยู่บริเวณบางส่วนโดยมักจะเริ่มที่บริเวณด้านในของข้อเข่า มีผู้ป่วยส่วนน้อยที่การเสื่อมของข้อเข่าจะเริ่มที่ผิวกระดูกด้านนอก อาจทำให้ขาโก่งเข้าด้านในได้

การผ่าตัดข้อเข่าเทียมเฉพาะส่วนโดยเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ดีไว้ จะมีขนาดเล็กกว่า การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจะน้อยกว่าเปลี่ยนทั้งข้อเข่า รวมถึงขนาดแผลเล็กกว่า เจ็บน้อยกว่า สามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดเปลี่ยนทั้งข้อเข่าด้วย
 


ประโยชน์ของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

  • ป้องกันอาการเสื่อม/อักเสบที่อาจทรุดตัวในระยะยาวและทำลายข้อต่อเพิ่ม

  • ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากกระดูกข้อเสื่อม เช่น กระดูกสันหลังเสื่อม หรือข้อเสื่อมในบริเวณอื่น

  • ป้องกันการทรุดของกระดูกที่อาจทำให้ขามีลักษณะโก่งงอจากการกระจายน้ำหนักตัวได้ไม่ดี

  • ป้องกันการกระจายตัวของเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียในบริเวณข้อต่อ

  • อำนวยความสะดวกสบายในการขยับตัว เนื่องจากข้อต่อใช้งานได้เป็นปกติ

 


อาการข้อเข่าเสื่อมที่ควรเข้ารับการผ่าตัด

ผ่าเข่าแล้วเดินไม่ได้

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า “อาการข้อเข่าเสื่อมแบบไหนที่ควรเข้ารับการผ่าตัด?” ผู้ที่ควรเข้ารับการผ่าตัดข้อเสื่อม คือผู้ที่มีอาการโรคข้อเสื่อมระยะรุนแรง มักเป็นผู้สูงอายุ และมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีอาการปวดข้อมาก

  • ข้อโก่ง ผิดรูป

  • เคลื่อนไหวได้ติดขัด สามารถเหยียด-งอข้อได้น้อยมาก

  • มีคุณภาพชีวิตที่ด้อยลงจากข้อเสื่อม เช่น มีความยากลำบากในการ ลุก นั่ง เดิน ขึ้นลงบันได หรือการใช้ชีวิตประจำวัน

  • การใช้ยา หรือ กายภาพบำบัด ได้ผลน้อยมากตลอดจนถึงไม่ได้ผลเลย

 


การตรวจวินิจฉัยอาการข้อเข่าเสื่อม

สำหรับการตรวจวินิจฉัยอาการสำหรับการผ่าตัด
 

  • แพทย์จะสอบถามประวัติสุขภาพของผู้ป่วย ทั้งอาการของการปวดข้อ ไปจนถึงความสามารถในการขยับข้อ 

  • ผู้ป่วยต้องเข้ารับการตรวจร่างกาย เพื่อตรวจสอบการทำงานของข้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อ ไปจนถึงอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดเพื่อวินิจฉัยสาเหตุ

  • เอกซเรย์เพื่อดูสภาพกระดูกข้อ

  • ในบางกรณีอาจมี MRI เพื่อดูสภาพของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อรอบข้อด้วย

 


การเตรียมตัวก่อนรักษาข้อเข่าเสื่อม ด้วยการเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

ก่อนเข้าผ่าตัด ผู้ป่วยควรเตรียมตัวเองให้พร้อมสำหรับการผ่าตัด รวมไปถึงการจัดสภาพแวดล้อมให้พร้อมอำนวยความสะดวกหลังการผ่าตัดด้วย
 

  • ดูแลสุขภาพตนเองอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่ให้มีการติดเชื้อตามบาดแผลบนร่างกาย หรือบริเวณช่องปาก เช่น ฟันผุ หากมีแล้วควรรักษาให้เรียบร้อยก่อนการผ่าตัด

  • หากมีการรับประทานอาหารเสริม หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสมุนไพร เช่น ยาต้ม ยาลูกกลอน โสม แปะก้วย หรือยาอื่นๆเช่นยารักษาโรครูมาตอยด์ ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาการหยุดยา

  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด

  • งดสูบบุหรี่

  • ในวันผ่าตัด งดน้ำและอาหารตามเวลาแพทย์กำหนด

 

การจัดเตรียมสถานที่ให้พร้อมสำหรับหลังผ่าตัด

นอกจากการเตรียมตัวเองข้างต้น การจัดการสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยเพื่อพร้อมอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดเองก็เป็นเรื่องจำเป็นเนื่องจากในช่วงแรกผู้ป่วยอาจต้องการความช่วยเหลือในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การอาบน้ำ ทำอาหาร ซักผ้า ถือของ
 

  • จัดทางเดินบริเวณที่อยู่อาศัยให้โปร่งสบาย ไม่เสี่ยงต่อการสะดุดล้ม

  • ตรวจสอบความคงทนของราวบันได ไม่มีผุพังหรือโยกคลอน

  • ควรติดตั้งราวจับตามขอบในห้องน้ำและบริเวณส้วมชักโครกเพื่อช่วยในการพยุงตัวและการลุก

  • มีเก้าอี้พลาสติกในห้องน้ำเวลาอาบน้ำ

  • หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันไดในระยะแรก โดยจัดแจงห้องต่างๆให้อยู่ในชั้นเดียวกัน

 


ขั้นตอนการผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม

  • ใช้ยาดมสลบ หรือยาชาที่บริเวณไขสันหลัง เพื่อป้องกันความเจ็บปวดและอำนวยความสะดวกในการผ่าตัด

  • เมื่อยาออกฤทธิ์แล้ว แพทย์ผ่าตัดเปิดแผลบริเวณข้อเข่า ขนาด 8-10 เซนติเมตร

  • นำผิวกระดูกส่วนที่มีการเสื่อมสภาพออก โดยแต่ละบริเวณอาจมีความหนาที่แตกต่างกัน เช่น กระดูกส่วนต้น ความหนาประมาณไม่เกิน 9-10 มิลลิเมตร กระดูกหน้าแข้ง ไม่เกิน 10 มิลลิเมตร และกระดูกสะบ้า ไม่เกิน 8 มิลลิเมตร

  • จากนั้นนำวัสดุข้อเข่าเทียมฝังเข้าไปแทนที่บริเวณที่มีการเสื่อมสภาพ

  • ในขณะเดียวกัน ต้องมีการปรับแต่งเส้นเอ็นบริเวณรอบข้อเข่า เพื่อให้มีความตึงที่เหมาะสม ข้อเข่าอยู่แนวตรง ไม่โก่งงอ

  • ขั้นตอนการผ่าตัดทั้งหมด ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง - 1 ชั่วโมง 15 นาที

  • หลังการผ่าตัด หากยาที่ใช้ในการผ่าตัดหมดฤทธิ์แล้ว ผู้เข้ารับการผ่าตัดสามารถขยับข้อเข่า หรือใช้งานข้อเข่าได้ทันทีในวันแรก

 

เทคโนโลยีของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมได้พัฒนามาตลอดในระยะเวลา 30 ปี ในปัจจุบันมีอุปกรณ์ผ่าตัดที่แม่นยำ ขนาดเล็กลง ส่งผลให้แผลผ่าตัดเข่าเล็กลง เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดน้อยลง ข้อเข่าเทียมที่มีรูปแบบที่ดีขึ้น ทนทานขึ้น และออกแบบให้สามารถงอเข่าหลังผ่าตัดได้มากขึ้นกว่าในอดีต นอกจากนั้นเทคนิคทางการแพทย์ในการระงับปวดก็ถูกพัฒนาดีขึ้นจนความเจ็บปวดจากการผ่าตัดลดลงมากจากอดีต ผู้ป่วยสามารถยืนเดินได้หลังผ่าตัดภายใน 1 วัน และสามารถกลับบ้านได้ภายใน 3-5 วัน เทคโนโลยีทางการแพทย์ยังส่งผลให้การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเป็นการผ่าตัดที่มีความปลอดภัยสูง มีภาวะแทรกซ้อนต่ำอีกด้วย

 


ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดเข่าเสื่อม

 

หลังผ่าตัด มีความเป็นไปค่อนข้างน้อยที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าที่เป็นอันตรายกับผู้ป่วย ภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดได้ ได้แก่อาการดังต่อไปนี้
 

  • เลือดคั่งบริเวณที่ผ่า สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเพื่อนำก้อนเลือดออก

  • แผลแยก แผลผ่าตัดเข่าฉีกขาด

  • ข้อเข่าไม่มั่นคง

  • การติดเชื้อ มีความเป็นไปได้อยู่ประมาณ 2%

  • ภาวะแทรกซ้อนด้านหัวใจ เกิดได้จากการเสียเลือดและการให้เลือดจำนวนมาก อาจส่งผลให้หัวใจทำงานหนักจนเกิดภาวะหัวใจวาย

  • ภาวะเส้นเลือดดำอุดตัน เกิดจากลิ่มเลือดไปติดที่กล้ามเนื้อหัวใจและปอด ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว พบได้ในคนผิวขาวมากกว่าผิวเหลือง แต่สามารถป้องกันได้โดยเริ่มขยับขาสองข้างให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ เพื่อให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ลดโอกาสการเกิดการอุดตัน รวมถึงการใช้ยาเพื่อป้องกันการอุดตันโดยส่วนใหญ่มักจะเริ่มให้ยาวันที่ 1-2 หลังการผ่าตัดยาวประมาณ 1-2 สัปดาห์

 


 ข้อปฏิบัติหลังผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม

  • ประคบเจลเย็นบริเวณแผลผ่าตัดได้ตามความต้องการ

  • ใช้หมอนหนุนขาข้างที่ผ่า ยกปลายเท้าให้สูงขึ้นเพื่อลดอาการบวม และขยับปลายเท้าขึ้นลงเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต

  • ทำกายภาพบำบัดตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่การฝึกงอและเหยียดขา ไปจนถึงการฝึกยืนลงน้ำหนัก

  • ระมัดระวังการเข้าห้องน้ำโดยเฉพาะในการนั่งชักโครก

  • พยายามฝึกการเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน หากผู้ป่วยสามารถเดินด้วยเครื่องช่วยพยุงได้ดี มั่นคง สามารถกลับบ้านได้ตามดุลพินิจของแพทย์ มักเป็นระยะเวลา 5-10 วันหลังผ่าตัด

  • เมื่อกลับบ้านได้แล้ว คนไข้ต้องบริหารข้อให้สม่ำเสมอเป็นกิจลักษณะ โดยปกติจะสามารถเดินด้วยไม้เท้าได้ 6 สัปดาห์หลังการผ่า และขับรถได้ 7-8 สัปดาห์หลังการผ่า

นอกจากข้อปฏิบัติเบื้องต้นดังที่กล่าวมาแล้ว หากคนไข้มีคำถามหรืออาการที่ข้องใจ สามารถสอบถามแพทย์หรือพยาบาลได้เพื่อการดูแลรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

 


ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม ที่ไหนดี

แพ็กเกจผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 1 ข้าง

ค่าข้อเข่าเทียม

Implant

ค่าห้องพักแบบมาตราฐาน 4 คืน ,รวมค่าการพยาบาล,บริการห้องพัก,ค่าอาหาร,ค่าเครื่องมือแพทย์ที่เกี่ยวข้อง(ตามกำหนด)

Standard Room 4 Nights, Nursing, Room Service and Medical Equipment. The package includes 3 meals per day

ค่ายาผู้ป่วยใน,ค่าเวชภัณฑ์,ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์,ค่ายากลับบ้าน ขณะนอนพักในรพ. (ตามที่กำหนด)

Medicine, Medical Equipment/Supplies at Ward

ค่าห้องผ่าตัด ค่าหอฟักฟื้น รวมค่ายาและเวชภัณฑ์ในการผ่าตัด (ตามกำหนด)

Operating Room, Recovery Room, Medicine, Medical Equipment and supplies in OR

ค่าบริการการทำกายภาพบำบัด

Rehabilitation Service

ค่าแพทย์ผ่าตัดและแพทย์วิสัญญี

Surgeon and Anesthesiologist Fee

ราคา 220,000 บาท

 


รักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่ไหนดี

ศูนย์ผ่าตัดข้อเข่าเทียมสมิติเวช ไชน่าทาวน์

เราเป็นศูนย์การแพทย์เฉพาะทางโรคกระดูกและข้อ ประกอบด้วยทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญระดับสูงในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม ทั้งข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อไหล่ ข้อศอก ตั้งแต่ระดับการตรวจวินิจฉัย การดูแลรักษาโดยใช้ยา การกายภาพบำบัด และมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ผ่าตัดหัวเข่า เมื่อเกิดข้อเข่าเสื่อม

ผู้ป่วยหลายๆ ท่านอาจมีคำถามก่อนที่จะตัดสินใจผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมนั้นว่าจะไปรักษาข้อเข่าเสื่อมที่ไหนดี ที่นี่เรามอบประสบการณ์ในการรักษาโรคข้อเสื่อมและการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งให้แก่ท่าน โดยมีหัวใจในการดูแลรักษา คือ

Safety: การดูแลรักษาที่มีความปลอดภัยสูงสุด

Multidisciplinary: การดูแลรักษาที่สอดประสานกันของผู้เชี่ยวชาญในทุกด้าน

Advance: เทคโนโลยีการรักษาขั้นสูง ดูแลทุกความซับซ้อนของปัญหา

Rehabitation: ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ข้อต่อ เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด

Total Joint Care: การดูแลโรคข้อแบบรอบด้าน ทั้งการให้ความรู้ ปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิต การผสมผสานการรักษาแบบต่างๆ เข้าด้วยกันทั้งการใช้ยา และไม่ใช้ยา

“แนวทางการรักษาผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าของศูนย์ผ่าตัดข้อเทียมสมิติเวช ไชน่าทาวน์ โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ที่นี่เรามุ่งหวังที่จะมอบประสบการณ์การรักษาโรคข้อเสื่อมที่ดีที่สุดให้แก่คนไข้ของเรา”
 

ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมกับคุณหมอกีรติ ที่สมิติเวช ไชน่าทาวน์

คุณหมอกีรติเป็นแพทย์ด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ โดยมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในด้านการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและสะโพกเทียม มีวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์จากแพทยสภารับรองและมีผลงานมากมาย

หมอกีรติ ผ่าเข่า

 


FAQs การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมโดยการเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม ผู้สูงอายุ ราคาเท่าไหร่? ผ่าเข่ากี่วันเดินได้? มาถึงในพาร์ทสุดท้าย ที่ทางเราจะมาตอบคำถามยอดฮิตที่คนส่วนใหญ่อยากรู้กันมากที่สุด โดยคำถามที่พบได้บ่อยๆ มีดังนี้ 

ข้อเข่าเทียม มีอายุการใช้งานยาวนานเท่าไหร่

โดนส่วนมาก ข้อเข่าเทียมมีอายุการใช้งานที่ยาวนานหลายสิบปีด้วยวัสดุที่ทนทาน ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ แต่มีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่ออายุการใช้งานของข้อเข่าเทียมด้วย เช่น ลักษณะร่างกายของผู้ป่วย น้ำหนัก ลักษณะกิจกรรมและการใช้ชีวิตประจำวัน ความแม่นยำของการผ่าตัด


ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม กี่วันถึงจะเดินได้

ผ่าตัดเข่ากี่วันเดินได้? ผู้ป่วยจะสามารถลุกขึ้นได้ภายใน 3 วันหลังผ่าตัด แต่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยพยุง 4 ขาก่อนและฝึกเดินภายใต้ความดูแลของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ในระยะเวลา 3-10 วันหลังผ่าตัดก่อนกลับบ้านได้

แต่หลังจากผ่าตัดเข่าไปแล้ว ผู้ป่วยบางคนอาจจะรู้สึกเดินไม่ได้ เดินไม่ค่อยสะดวก เนื่องด้วยอาการปวด ตึง และบวมช้ำ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อาการเหล่านี้ถือว่าเป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด ให้ผู้ป่วยฝึกทำกายภาพกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง และใช้ชีวิตประจำวันอย่างระมัดระวังก็เพียงพอ แต่หากผู้ป่วยรู้สึกกังวลใจ สามารถเข้ามาพบแพทย์เพื่อปรึกษาอาการได้
 

ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม พักฟื้นกี่วัน

ผ่าตัดหัวเข่า พักฟื้นกี่วัน? ระยะแรกของการผ่าตัดข้อเข่าจะยังบวมและอุ่น อาการบวมจะหายภายในระยะเวลา 3 เดือนแรก อาการอุ่นรวมถึงความรู้สึกชาอื่นๆจะหายภายในระยะเวลา 6-12 เดือนหลังผ่าตัด

เสียงคลิกที่อาจเกิดได้ในขณะเหยียดหรืองอข้อเข่าถือว่าเป็นเสียงปกติ แต่สามารถปรึกษาแพทย์ได้เพื่อความมั่นใจ

 


ข้อสรุปเรื่องผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม

การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมเป็นวิธีการรักษาข้อเข่าที่ได้ประสิทธิภาพโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อาการอักเสบและความเสียหายบริเวณข้อต่อค่อนข้างกว้างและครอบคลุมผิวหน้าข้อเข่าไปมาก แม้ว่าจะขึ้นชื่อว่าเป็นการผ่าตัดแล้ว แผลที่ได้ค่อนข้างเล็กและข้อเข่าเทียมมีอายุการใช้งานค่อนข้างยาวนาน การผ่าเข่าจึงเป็นวิธีที่ใช้รักษาข้อเข่าได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ เหมาะกับระยะยาว

สำหรับผู้ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @samitivejchinatown

สนใจปรึกษา ศ.นพ.กีรติ เจริญชลวานิช รักษาข้อเข่าเสื่อมกว่า 30 ปี ด้วยประสบการณ์การรักษาผ่าตัดเปลี่ยนเข่ากว่า 10,000 เคส

แอดไลน์ สมิติเวช ไชน่าทาวน์


References

Hoffman, M. (2021, June 22). Picture of the Knee. WebMD. https://www.webmd.com/pain-management/knee-pain/picture-of-the-knee
Cleveland Clinic medical professional. (2021, August 09). Osteoarthritis of the Knee. Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/21750-osteoarthritis-knee 

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​