บทความสุขภาพ

คุณเสี่ยงกระดูกหัก…จากโรคกระดูกพรุนหรือไม่?

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567


ภาวะกระดูกพรุน เกิดจากการขาดสมดุลระหว่างการสร้างและการสลายกระดูก ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง หักง่าย พบบ่อยบริเวณข้อมือ กระดูกสันหลัง ข้อสะโพก   เมื่อกระดูกหักผู้ป่วยได้รับความเจ็บปวดรุนแรง ไม่สามารถเคลื่อนไหวและใช้งานอวัยวะนั้นๆได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูดต้องและทันการณ์อาจพิการหรือเสียชีวิตได้
 
เมื่อกระดูกหักผู้ป่วยได้รับความเจ็บปวดรุนแรง ไม่สามารถเคลื่อนไหวและใช้งานอวัยวะนั้นๆได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูดต้องและทันการณ์อาจพิการหรือเสียชีวิตได้

ภาวะกระดูกพรุนสามารถตรวจพบและควบคุมได้ ด้วยการหาปัจจัยเสี่ยง และรับการตรวจวัดมวลกระดูก เมื่อมีข้อบ่งชี้ ดังนี้

 

  • ผู้หญิง อายุ 65 ปีขึ้นไป หรือผู้ชาย อายุ 70 ปีขึ้นไป
  • ผู้หญิง อายุต่ำกว่า 65 ปี หรือผู้ชาย อายุต่ำกว่า 70 ปี ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังนี้อย่างน้อย 1 ข้อ
    • หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี
    • มีภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนก่อนเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนต่อเนื่องนานกว่า 1 ปี
    • ได้รับยากลูโคคอร์ติคอยด์เป็นระยะเวลานาน
    • น้ำหนัก (กก.) ส่วนสูง (เมตร) 2   มีประวัติบิดามารดาเกิดกระดูกสะโพกหัก
    • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 19 กก./ตรม.
  • ตรวจพบภาวะกระดูกบาง หรือกระดูกสันหลังผิดรูปจากภาพเอกซเรย์
  • มีประวัติกระดูกหักจากอุบัติเหตุไม่รุนแรง
  • ส่วนสูงลดลง
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุน (จากการทำแบบทดสอบหาความเสี่ยง)
บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​