บทความสุขภาพ

การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา (Corneal Transplantation)

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567


กระจกตาเป็นส่วนที่อยู่หน้าสุดของดวงตา มีหน้าที่สำคัญคือช่วยในการมองเห็น เนื่องจากกระจกตามีลักษณะที่บางใส และช่วยคงความคงที่ให้พอเหมาะอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้แสงที่ส่องผ่านกระจกตา สามารถโฟกัสรวมภาพที่จุดรับภาพได้พอดี และทำให้เกิดการมองเห็นที่สมบูรณ์ หากมีโรคเกิดขึ้นกับกระจกตา จะมีผลทำให้คุณสมบัติด้านการมองเห็นสูญเสียไป เช่น โรคที่กระจกตาผิดปกติแต่กำเนิด โรคกระจกตาเป็นแผล การติดเชื้อ กระจกตาเสื่อมที่เกิดภายหลังการผ่าตัดตา อุบัติเหตุที่มีการฉีกขาดของกระจกตา ทั้งหมดล้วนมีผลเกิดแผลเป็นที่กระจกตา กระจกตาบวมหรือความโค้งที่ผิดรูปร่างไป ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร ซึ่งการแก้ไขคือ การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตานั่นเอง

 
การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตามีรายละเอียดดังนี้

1. การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเป็นวิธีเดียวที่จะแก้ไขภาวะตาบอดจากโรคกระจกตาได้โดยการตัดเอากระจกตาส่วนที่เป็นโรคออกและนำเอากระจกตาคุณภาพดีที่ได้รับการบริจาคมาเย็บเข้าไปแทน
2. หลังการผ่าตัด เมื่อกระจกตาใหม่ทำงานได้ตามปกติแล้วจะทำให้มองเห็นได้ดีขึ้น ‎
3. การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาต้องทำโดยจักษุแพทย์ที่เชี่ยวชาญ
 
ทำการผ่าตัดแล้วได้ผลดีแค่ไหน

1. การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตานับเป็นการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะชนิดหนึ่งที่ได้ผลดีที่สุด ทั้งนี้เพราะกระจกตามีความใสและไม่มีเส้นเลือดเข้ามาเลี้ยงโดยตรงซึ่งต่างจากอวัยวะอื่นๆ ‎

2. ปกติร่างกายของผู้ได้รับอวัยวะจะเกิดภูมิต้านทานอวัยวะที่ไม่ใช่ของตนโดยผ่านทางกระแสเลือด ดังนั้นหลังการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาจึงมีโอกาสน้อยที่ร่างกายของผู้ที่ได้รับจากเกิดต่อต้าน ทำให้กระจกตาที่เปลี่ยนไปนั้นยังคงความบางใสและกลับมามองเห็นได้ปกติหรือใกล้เคียงปกติ ‎

3. ผู้ที่ได้รับการเปลี่ยนกระจกตาต้องได้รับยากดภูมิต้านทานไประยะหนึ่ง และควรได้รับการตรวจติดตามโดยจักษุแพทย์อยู่ตลอดเพื่อป้องกันและรักษาโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ‎

4. การเปลี่ยนกระจกตาในโรคบางชนิดอาจได้ผลไม่ดีนะ ได้แก่กลุ่มโรคกระจกตาที่เกิดจากการโดนสารเคมีหรือความร้อนเข้าตา โรคแพ้ยาอย่างรุนแรง ซึ่งกลุ่มโรคเหล่านี้จะส่งผลให้มีเส้นเลือดผิดปกติจำนวนมากงอกเข้ามาในกระจกตา นำไปสู่การเกิดภูมิต่อต้าน นอกจากนี้หากผู้ป่วยมีโรคของดวงตาส่วนอื่นร่วมอยู่ด้วย เช่น โรคต้อหิน โรคจอประสาทตาหลุดลอก ก็ทำให้การมองเห็นหลังการผ่าตัดไม่ดีเท่าที่ควร
บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​