โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดหัวใจตีบ รู้ตัวก่อน รักษาหายไวกว่า
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดหัวใจตีบ รู้ตัวก่อน รักษาหายไวกว่า
“โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ” คือ ความผิดปกติของการทำงานหัวใจ โดยเกิดได้จากกลไกของคลื่นไฟฟ้า กล้ามเนื้อ ส่วนประกอบอื่นๆ ของหัวใจ อาทิ หลอดเลือด ลิ้นหัวใจ ห้องหัวใจที่มีการตอบสนองที่ไม่เป็นธรรมชาติ ที่ส่งผลให้ระบบอวัยวะภายในและภายนอกรวน สั่นคลอน ก่อให้ร่างกายผู้ป่วยทรุดตัว
แล้วสาเหตุโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หายเองได้มั้ย? หัวใจเต้นผิดจังหวะ รักษาเบื้องต้นมีวิธีอะไรบ้าง? แล้วหัวใจเต้นผิดจังหวะ รักษาหายไหม? ทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ จะพาผู้อ่านทำความเข้าใจโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เพื่อเป็นความรู้แบ่งปันแก่ผู้อ่านรับทราบ และรับมือการรักษาอย่างถูกวิธีได้ในบทความนี้
สารบัญบทความ
Arrhythmia หรือ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากความผิดปกติของคลื่นต้นกระแสไฟฟ้าและตัวนำไฟฟ้าในโครงสร้างหัวใจได้ลัดวงจรเฉียบพลัน ส่งผลให้อัตราการหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ บางรายอาจเต้นช้ากว่าหรือเร็วกว่าปกติ หรือบางเคสจะออกอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะตอนนอน
ซึ่งหากปล่อยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะทิ้งไว้ อาจทำให้เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ไม่สามารถสูบฉีดเลือดหล่อเลี้ยงได้ทั่วระบบภายในร่างกาย และทำให้ผู้ป่วยรู้สึกใจสั่น เจ็บหน้าอก หอบหืด แล้วเสียชีวิตในที่สุด
โดยทั่วไป อัตราการเต้นหัวใจสำหรับคนปกติ จะอยู่ในระดับที่ 60 - 100 ครั้งต่อวินาที แต่หากกรณีหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะแบ่งผู้ที่มีความผิดปกติอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ สาเหตุหลักๆ เกิดได้จากพันธุกรรมรุ่นสู่รุ่นที่มีโครงสร้างระบบภายในร่างกายและเซลล์หัวใจผิดปกติ รวมไปถึงพฤติกรรมเรื้อรังที่กระตุ้นอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น การสูบบุหรี่ การทานเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีนสูง นอกจากนี้ปัจจัยสภาพจิตใจที่สั่นคลอน อาทิ เครียด วิตกกังวลของผู้ป่วย อาจเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดหัวใจเต้นผิดปกติได้
ปัจจัยภายนอก ที่ทำให้การหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะมี 3 สาเหตุ ได้แก่
ปัจจัยภายใน ที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ จะมี 3 สาเหตุ ได้แก่
7 สัญญาณอันตรายที่เป็นอาการเริ่มต้นของหัวใจเต้นผิดจังหวะ ดังนี้
ทางเราจะแบ่งชนิดการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
ภาวะหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ เกิดได้จาก
ภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ เกิดได้จาก
คนทั่วไปสามารถเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ทุกเพศและทุกวัย แต่กลุ่มบุคคลที่คาดว่ามีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจผิดจังหวะเร็วที่สุด จะมี 4 กลุ่มทั้งหมด ได้แก่
หัวใจเต้นผิดจังหวะ อันตรายไหม? คำตอบคือ ความรุนแรงของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะจะขึ้นอยู่กับชนิดอาการของหัวใจผู้ป่วยแต่ละราย หากเป็นชนิดโรคที่ไม่รุนแรง ก็สามารถบำบัดด้วยการปรับพฤติกรรมของตัวคนไข้ให้มีอัตราการเต้นที่คงตัว สม่ำเสมอเหมือนเดิมได้ แต่กรณีที่ชนิดหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะแบบรุนแรง หากปล่อยอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจเสียชีวิตได้ในภายหลัง
การวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถตรวจอาการด้วย 5 วิธี ดังนี้
เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram : EKG) คือ การตรวจกระแสไฟฟ้าภายในร่างกาย โดยโฟกัสบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อวินิจฉัยขนาด อัตรา และการเต้นของหัวใจของคลื่นไฟฟ้า ให้ถูกวาดออกมาเป็นเส้นกราฟ
การติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Holter Monitoring Test) คือ การนำอุปกรณ์บันทึกการเต้นหัวใจแบบพกพามาติดบริเวณช่วงอก เพื่อวินิจฉัยคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง
การตรวจสุขภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (Exercise Stress Test) คือ การวัดผลคลื่นไฟฟ้า โดยให้คนไข้วิ่งออกกำลังกายขณะบนสายพาน เพื่อวินิจฉัยอัตราการสูบฉีดกล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดและออกซิเจนมากพอในขณะที่ร่างกายออกแรงหนักหรือไม่
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) คือ การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงสะท้อนเสียงของการสูบฉีดกับการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ , การไหลเวียนเลือดในหัวใจ และวัดขนาดไซต์หัวใจแต่ละห้องกลับมาผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์
การสวนหัวใจ (Coronary Artery Angiography : CAG) คือ การใช้สายตรวจขนาดเล็กสวนเข้าผ่านข้อมือหรือขาหนีบ แล้วฉีดสารทึบรังสีไปถึงเส้นหลอดเลือดหัวใจ เพื่อวินิจฉัยช่องหลอดเลือดที่ตีบและหัวใจเต้นผิดจังหวะลิ่มเลือดอุดตัน
ปัจจุบันการรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถบำบัดได้หลายรูปแบบ ซึ่งจะรักษาด้วยวิธีการแพทย์หรือปรับพฤติกรรมของผู้ป่วยได้ตามระดับความรุนแรงของโรคแต่ละชนิด ซึ่งหลักๆ การรักษาที่นิยมใช้กับผู้ป่วย จะเป็น 5 การรักษาดังต่อไปนี้
การรับประทานยาคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ช่วยลดความผิดปกติของตัวนำคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ แล้วช่วยควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจให้คงที่ สม่ำเสมอ โดยยาที่นิยมใช้ในการบำบัด จะมี อะมิโอดาโรน (Amiodarone), โดเฟทิไลด์ (Dofetilide), โดรนดาโรน (Dronedarone), เฟลคาไนด์ (Flecainide), อิบูทิไลด์ (Ibutilide) และโพรพาฟีโนน (Propafenone) ทั้งนี้ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์เท่านั้น
การกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า (Cardioversion) ช่วยฟื้นฟูสภาพการเต้นหัวใจเต้นผิดจังหวะ และการสูบฉีดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดสูบฉีดมีจังหวะสม่ำเสมอ
การใช้สายสวนจี้กล้ามเนื้อหัวใจ (Ablation Therapy) ช่วยกำจัดเนื้อเยื่อหัวใจที่เป็นต้นเหตุทำให้คลื่นไฟฟ้าทำงานผิดปกติ โดยปล่อยคลื่นเสียงวิทยุกระตุ้นความถี่เป็นวงรัศมีจุดเล็กๆ
การใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) ช่วยกระตุ้นไฟฟ้าในระบบหัวใจ เพื่อให้หัวใจเต้นผิดจังหวะให้กลับมาเดินจังหวะปกติ โดยวิธีการนี้จะทำการฝังอุปกรณ์บนผนังหน้าอกใต้ผิวหนัง
การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AICD) ช่วยกระตุ้นไฟฟ้าในระบบหัวใจให้ผลิตการอัตราการเต้นของหัวใจให้กลับมาปกติ โดยวิธีนี้จะฝังอุปกรณ์ผ่านบริเวณอกหน้าด้านซ้ายหรือขวาชั้นใต้ผิวหนัง ส่วนสายอุปกรณ์จะฝังในหลอดเส้นเลือดดำบริเวณใต้รักแร้หรือไหปลาร้า
การปฏิบัติดูแลรักษาขณะเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มี 6 วิธีดังนี้
สิ่งที่ไม่ควรทำ ขณะดูแลรักษาขณะเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มี 6 ปัจจัยดังนี้
การดูแลผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถป้องกันอาการรุนแรงได้ด้วย 5 วิธีดังนี้
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะ และต้องการหาสถานที่ตรวจรักษากับแพทย์ที่มีประสบการณ์ แต่ไม่ทราบจะหาสถานพยาบาลตรวจบริเวณหัวใจโดยรอบๆ อาทิ ขนาด อัตราการเต้น คลื่นกระแสไฟฟ้า รวมไปถึงกล้ามเนื้อหัวใจที่ครบวงจร ทางสถาบันรักษาโรคหัวใจ โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีแพ็กเกจตรวจสุขภาพประจำปี พร้อมแพคเกจตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน และโปรโมชันสำหรับการตรวจ หัวใจเต้นผิดจังหวะราคาพิเศษให้กับลูกค้าดังนี้
การตรวจโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นการวินิจฉัยทางเดินกระแสไฟฟ้า กล้ามเนื้อ อัตราการเต้นหัวใจ ว่ามีปัญหาจังหวะของหัวใจใดบ้างไม่ว่าจะเป็นภาวะอายุมากขึ้น พันธุกรรม และพฤติกรรมของผู้ป่วย เพื่อหลีกเลี่ยงโรคแทรกซ้อนจากการเสื่อมสภาพการทำงานของระบบหัวใจ
ทางแพทย์ขอแนะนำการตรวจสุขภาพประจำปีของทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ภายใต้การปฏิบัติของแพทย์มืออาชีพ ที่มีแพคเกจตรวจหัวใจเต้นผิดจังหวะราคาย่อมเยาว์ และพร้อมรายงานผลตรวจหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ทันที โดยติดต่อสอบถามได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
References
Mayoclinic
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-arrhythmia/
Cleveland Clinic
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/16749-arrhythmia
WebMD
https://www.webmd.com/heart-disease/atrial-fibrillation/heart-disease-abnormal-heart-rhythm
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)