โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดหัวใจตีบ รู้ตัวก่อน รักษาหายไวกว่า
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดหัวใจตีบ รู้ตัวก่อน รักษาหายไวกว่า
ไฮไลท์
“แอนโทไซยานิน” เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในทับทิบ ที่ช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ถูกทําลายจากอนุมูลอิสระ ช่วยทําให้หลอดเลือดแข็งแรง รวมทั้งทับทิบยังอุดมไปด้วยโพแทสเซียม ซึ่งสัมพันธ์กับการลดระดับความดันโลหิตจึงช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้นั่นเอง
สัญญาณเตือนเบื้องต้น
รู้สึกเหนื่อยง่ายหรือเร็วขึ้น ใน การทํากิจกรรมต่างๆ ทํางาน หรือออกกําลังกาย
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้: กรรมพันธุ์ อายุที่มากขึ้น และเพศ โดยพบอุบัติการณ์ ในเพศชาย
ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ: เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันสูง ไขมันในเลือดสูง หรือสูบบุหรี่
โรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลก และนับวัน ประเทศไทยก็มีแนวโน้มของผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ซึ่ง “โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด” เป็นภัยแฝงแบบไม่รู้ตัว และมีโอกาสเกิดขึ้นในภาวะเฉียบพลัน รุนแรงจนเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที
“โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด” มีสาเหตุเกิดจากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจมีคราบไขมันไปเกาะที่ผนัง ทําให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ส่งผลให้ปริมาณเลือดส่งไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง ทําให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จึงเกิดอาการต่างๆ ตามมา เช่น จุกแน่น เสียดแสบ แน่นบริเวณทรวงอก อาจแผ่กระจายไปที่แขน ลําคอ ขากรรไกร กราม หากเป็นมากจะอ่อนเพลีย เหงื่อออก เป็นลม ใจสั่น จนถึงขั้นหัวใจวาย และเสียชีวิตได้
นพ.วิชัย จิรโรจน์อังกูร แพทย์ด้านโรคหัวใจได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไว้ว่า “สาเหตุที่ทําให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดนั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 กรณี กรณีแรกคือหลอดเลือด ค่อยๆ มีอาการตีบลง อันเกิดจากการมีคราบไขมันเข้าไปเกาะสะสมที่ผนังหลอดเลือด ทําให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ลดลง ซึ่งอาจใช้ เวลาอย่างน้อย 5-10 ปี จึงแสดงอาการ และกรณีที่สอง คือภาวะแบบเฉียบพลัน เพราะมีลิ่มเลือดมาอุดตันภายในหลอดเลือด เนื่องจากคราบไขมันที่สะสม เกาะอยู่ในหลอด เลือดเกิดอาการอักเสบขึ้น ทําให้เกิดเลือดออก และร่างกายตอบสนองโดยการห้ามเลือด ทําให้เกิดลิ่มเลือดตามธรรมชาติ ซึ่งอาจนําไปสู่การอุดตันและเกิดปัญหาแบบ ปัจจุบันทันด่วนได้”
โดยคุณหมอกล่าวว่า ความรุนแรงของโรคนั้นขึ้นอยู่กับตําแหน่งที่เกิดภายในของหลอดเลือดหัวใจ หากต้องการรู้ให้แน่ชัดว่ามีความผิดปกติของหัวใจหรือไม่ ควรมาพบแพทย์เพื่อทําการตรวจเช็กอย่างละเอียด
“สําหรับวิธีการตรวจหาความเสี่ยงของการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มีหลายวิธี ตั้งแต่การทดสอบเดินสายพาน กับใช้เครื่องตรวจอัลตร้าซาวด์หัวใจร่วมกับการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์ 256-slice CT Scan ซึ่งจะให้ผลตรวจที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และมีความแม่นยํา และสุดท้ายคือ วิธีการแบบใส่สายสวนฉีดน้ำยาทึบแสงเพื่อดูหลอดเลือดโดยตรง”
วิธีการรักษา แบ่งเป็น 3 กระบวนการใหญ่ๆ ได้แก่
สุดท้ายนี้คุณหมอได้ฝากถึงวิธีการ ป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดว่า “อยากให้ทุกคนป้องกัน โดยเริ่มจากการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อันได้แก่ ลดไขมัน เบาหวาน ความดันสูง รวมถึงน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน และหันมาดูแลควบคุมอาหาร พร้อมออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ชีวิตที่ปกติอยู่กับคุณตลอดไป”
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)