ตรวจสุขภาพ ทำไมต้องตรวจปัสสาวะ (UA) ผลตรวจช่วยวินิจฉัยอะไรได้บ้าง?
บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567
ปัสสาวะ เป็นระบบสำคัญในการขับถ่ายของเสียในรูปแบบของเหลวที่มีส่วนประกอบเป็นสารเกลือแร่ วิตามิน และสารเคมีต่าง ๆ ที่เอ่อล้นในปริมาณมากเกินความจำเป็นจนต้องถูกออกจากร่างกายอย่างสม่ำเสมอ หากสารเหล่านี้เกิดการตกตะกอนเป็นก้อน อาจนำภัยอันตรายเข้าสู่ระบบทางเกินปัสสาวะและอวัยวะภายในร่างกายอีกด้วย
ทำให้การ “ตรวจปัสสาวะ” เป็นปัจจัยในการดูสุขภาพภายในร่างกายร่วมกับการตรวจค่าไตอีกด้วย เพราะไตมีกลไกลการทำงานการคัดกรองของเสียเป็นในรูปแบบน้ำปัสสาวะอย่างไรบ้าง และการตรวจปัสสาวะ กี่นาที ถึงจะรู้ผลลัพธ์ ทางทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ จะพาผู้อ่านทำความเข้าใจการตรวจปัสสาวะได้ในบทความนี้
สารบัญบทความ
การตรวจปัสสาวะ UA หรือ Urinalysis คือ การตรวจฉี่ที่ถูกไตคัดกรองในรูปแบบของเสียและมีสถานะเป็นของเหลวนั้น มาทำการตรวจสอบส่วนประกอบของน้ำปัสสาวะเบื้องต้น โดยปัจจัยการตรวจปัสสาวะจะสังเกตตั้งแต่ลักษณะทางกายภาพของ สี กลิ่น ความใสของน้ำ และสารเคมีในของเหลว ซึ่งรวมถึงสารเจือปนน้ำปัสสาวะที่มีความผิดปกติที่ถูกผ่านคัดกรองมาในรูปแบบเชื้อโรค แบคทีเรีย และไวรัส เป็นต้น
ผลตรวจปัสสาวะ จะช่วยทำให้แพทย์วินิจฉัยสารของเสียที่ถูกขับออกมาจากทางระบบอวัยวะภายในร่างกายต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น แร่ธาตุ สารเคมี และวิตามินบางชนิด ที่เป็นส่วนประกอบที่เกินความจำเป็นต่อความต้องการของร่างกายนั้น ได้ถูกระบายออกไปจากร่างกายทั้งหมด
อีกทั้งการตรวจปัสสาวะ สามารถเป็นตัวบอกสุขภาพของระบบการทำงานอวัยวะภายในอีกด้วย เนื่องจากสารของเสียที่ถูกคัดกรองจากไตนั้น มีส่วนประกอบที่ผิดปกติติดมาจากปัสสาวะอย่าง โปรตีน เลือดหรือมีการติดเชื้อหรือไม่ ทำให้แพทย์สามารถนำผลตัวอย่างจากผลตรวจปัสสาวะ ไปวิเคราะห์ ติดตาม และคาดการณ์โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะได้
1. ตรวจเช็คสุขภาพร่างกายโดยรวม
การตรวจปัสสาวะ เป็นหนึ่งในการตรวจสุขภาพเพื่อเช็คการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายของตัวผู้ป่วยปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นภาวะความเจ็บป่วย ภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน และภาวะการตั้งครรภ์ของผู้ป่วยนั้น มีสารแปดเปื้อนที่ถูกขับออกจากปัสสาวะหรือไม่ เพื่อนำผลตรวจปัสสาวะนี้ไปสู่การตรวจวินิจฉัยโรคต่าง ๆ เพื่อทำการรักษาทันที เช่น การตรวจปัสสาวะหาโรคไต โรคเบาหวาน และโรคตับ และโรคภัย ๆ อื่น
2. ตรวจวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยสำหรับการตรวจปัสสาวะนั้น สามารถนำผลลัพธ์จากลักษณะทางกายภาพของสารขับถ่ายปัสสาวะ มาวิเคราะห์สุขภาพของเหลวในรูปแบบของเสียได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องบริเวณส่วนกระเพาะปัสสาวะ ตรวจเจอเลือดในปัสสาวะ หรือพบตรวจโปรตีนในปัสสาวะ หรือการขับถ่ายฉี่ไม่สุด จะเป็นประเด็นสำคัญให้กับแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุของอาการเหล่านี้นำไปวิเคราะห์ เพื่อวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ
3. ติดตามผลการรักษา
ในช่วงที่ผู้ป่วยอยู่ในระหว่างการรักษาโรค การติดตามผลตรวจปัสสาวะ สามารถบ่งบอกระดับสุขภาพของผู้ป่วยไปในทิศทางที่ดีขึ้นและแย่ลงได้ เพื่อให้การรักษาโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบขับถ่ายปัสสาวะนั้น มีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ทางแพทย์จะทำการตรวจปัสสาวะเป็นระยะ ๆ เพื่อติดตามผลลัพธ์ในระหว่างการรักษาอีกด้วย
1. การตรวจดูลักษณะทางกายภาพทั่วไป (Visual Examination)
- สีของปัสสาวะ สามารถบ่งบอกสุขภาพของผู้ป่วย จากพฤติกรรมการบริโภค และการทำงานผิดปกตและการบาดเจ็บของระบบอวัยวะภายในร่างกาย
- กลิ่นของปัสสาวะ บ่งบอกภาวะการติดเชื้อภายในระบบทางเดินปัสสาวะ
- ความใสของปัสสาวะ บ่งบอกลักษณะสารอาหารที่รับประทาน ปริมาณน้ำที่ดื่ม และสารประกอบการตรวจปัสสาวะจากยาที่รับประทาน
2. การตรวจวิเคราะห์ทางเคมี (Chemical Examination)
ตรวจวิเคราะห์ทางเคมี โดยการใช้ Dipstick สารที่ตรวจ มีดังนี้
- ความเป็นกรด-ด่าง (pH) คือ ความสมดุลของปัสสาวะ ที่ขึ้นอยู่กับสภาพการทำงานภายในร่างกายและพฤติกรรมการบริโภคสารอาหาร
- ความถ่วงจำเพาะ (SG) คือ มวลความหนาแน่นของน้ำปัสสาวะ
- โปรตีน (Protein) คือ การตรวจโปรตีนในปัสสาวะที่รั่วไหลจากการคัดกรองของไตมากน้อยแค่ไหน
- กลูโคส (Glucose) คือ การตรวจกลูโคสในปัสสาวะที่รั่วไหลจากน้ำตาลในกระแสเลือดที่มากเกินไป
- คีโตน (Ketones) คือ การตรวจปริมาตรค่าคีโตนในปัสสาวะที่เกิดจากน้ำตาลไม่สามารถแปลงเปลี่ยนเป็นพลังงานต่อร่างกายได้ ทำให้ไขมันแปลงเปลี่ยนเป็นคีโตนในการให้พลังงานแทนน้ำตาล
- ไนไตรท์ (Nitrites) คือ การตรวจสารติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ กรวยไต กระเพาะปัสสาวะ
- บิลิรูบิน (Bilirubin) คือ น้ำดีในปัสสาวะที่ให้สารสีเหลืองในน้ำของเสีย ความเข้มของสีจะเพิ่มมากขึ้น โดยขึ้นอยู่ส่วนของตับมีการอุดตันท่อน้ำดีหรือไม่
- ยูโรบิลิโนเจน (Urobilinogen) คือ ภาวะโรคที่เกิดจากเซลล์ตับอักเสบ หรือมีการ อุดตันของทางเดินน้ำดี ในน้ำปัสสาวะ
- เม็ดเลือดขาว (Leukocyte) คือ การพบเม็ดเลือดขาวในน้ำปัสสาวะแสดงถึงการอักเสบในทางเดินปัสสาวะ
- เม็ดเลือดแดง (Erythrocyte) คือ การตรวจเจอเลือดในปัสสาวะแสดงถึงภาวะบาดเจ็บทางเดินปัสสาวะ หรือการบาดเจ็บของระบบอวัยวะภายในร่างกาย
3. การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic Examination)
- เซลล์เม็ดเลือดขาว (WBC) คือ ภาวะไตเกิดการติดเชื้อ ส่งผลให้การขับเลือดผ่านระบบส่วนกรองรั่วไหลไปอยู่ในน้ำปัสสาวะได้
- เซลล์เม็ดเลือดแดง (RBC) คือ ภาวะการติดเชื้อหรือการอักเสบในไต กระเพาะปัสสาวะหรือบริเวณอื่น
- แบคทีเรีย (Bacteria) ยีสต์ (Yeasts) ปรสิต (Parasites) คือ ภาวะการติดเชื้อของอวัยวะภายในร่างกาย
- คาสท์ (Casts) คือ ก้อนตะกอนจากการสะสมของเศษเซลล์ โปรตีน ไขมัน และสารอื่น ๆ ที่มีสถานะเป็นกรด
- ผลึก (Crystal) คือ สารเคมีที่รวมกันเป็นก้อนให้เกิดอุดตัน นำไปสู่โรคนิ่วไตได้
การขับของเสียในสถานะของเหลวออกจากร่างกาย สามารถใช้ที่ตรวจปัสสาวะ ใช้ในการตรวจสอบเพื่อวิเคราะห์โรคและภาวะแทรกซ้อนจากการตรวจปัสสาวะได้ เช่น
- ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) เกิดจากการดื่มน้ำน้อยเกินไป ทำให้การตรวจสีปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้มและมีความขุ่นสูง
- ภาวะการตั้งครรภ์ (Pregnancy) เกิดจากฮอร์โมนเพศหญิงเปลี่ยนไป มดลูกขยายใหญ่ตามการเติบโตของครรภ์ ประจำเดือนหาย ทำให้พฤติกรรมการขับถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
- ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) เกิดจากปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดสูง ทำให้ปัสสาวะบ่อย
- ภาวะอุดตันในท่อปัสสาวะ (Urethral Obstruction) เกิดจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ทำให้ปัสสาวะไม่สุด
- โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infections) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียติดในกระเพาะและท่อปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะเป็นสีน้ำตาล แดง และเขียว มีกลิ่นฉุน
- โรคเบาหวาน (Diabetes) เกิดจากฮอร์โมนอินซูลินผลิตได้น้อยลง ซึ่งเกิดค่าคีโตนในปัสสาวะสูง ทำให้การตรวจเบาหวานผ่านปัสสาวะมีอัตราการถ่ายบ่อย หิวน้ำมาก ปวดท้อง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ และอาเจียน
- โรคไตจากเบาหวาน (Diabetic Kidney Disease) เกิดจากโปรตีนรั่วไหลในน้ำปัสสาวะ ทำให้การถ่ายปัสสาวะเป็นฟองและตกตะกอนเป็นโฟมมัน ๆ
- โรคนิ่วไต (Kidney Stones) เกิดจากการตกตะกอนของเกลือแร่ในน้ำปัสสาวะรวมตัวเป็นก้อน ทำให้ถ่ายปัสสาวะไม่สุด
- โรคหลอดเลือดอักเสบ (Pharyngitis) เกิดจากการบาดเจ็บของอวัยวะภายในอย่าง ไต ทำให้ถ่ายน้ำปัสสาวะปนเลือด
การตรวจปัสสาวะหาสารเสพติด คือ การวัดค่าสารเคมีจากสิ่งเสพติดประเภทของรับประทาน ฉีด และสูบ เมื่อไปอยู่ในกระแสเลือดแล้วถูกคัดกรองเป็นน้ำปัสสาวะในภายหลัง
จุดประสงค์ของการวัดผลตรวจฉี่ยาเสพติดนั้น คือการหาทางบำบัดสภาวะร่างกายทางด้านกายภาพและภาวะจิตใจของผู้ป่วยให้กลับมามีจิตใจมั่นคง อีกทั้งเป็นอีกหนึ่งการตรวจปัสสาวะในการสอบสวนและสืบคดีความอีกเช่นกัน
วิธีตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดส่วนใหญ่ มุ่งเน้นตรวจหาค่า แอมเฟตามีน (Amphetamine) เบนโซไดอะซีปีน (benzodiazepines) บาร์บิเชอริต (Barbicherit) กัญชา (Marijuana) โคเคน (Cocaine) เฟนไซคลิดีน (Phencyclidine) และเมทาโดน (Methadone)
โดยทั่วไป บุคคลที่ควรทำการตรวจปัสสาวะ มีดังนี้
- หญิงที่ตั้งครรภ์
- ผู้ที่ใช้เสพสารเสพติด
- ผู้ที่มีพันธุกรรมโรคอ้วน
- ผู้ที่มีปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะ
- ผู้ที่มีโรคปัญหาแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพน้ำปัสสาวะ อย่างเบาหวาน ไต เป็นต้น
วิธีเตรียมตัวก่อนตรวจปัสสาวะ มีดังนี้
- งดดื่มน้ำประเภท น้ำอัดลม น้ำหวาน และน้ำคาเฟอีน แล้วดื่มน้ำเปล่าแทน เพื่อลดปริมาณน้ำตาลเกาะอยู่ในน้ำปัสสาวะ
- งดการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวันตรวจปัสสาวะ และทำความสะอาดอวัยวะเพศทุกซอกทุกมุม เพื่อสุขอนามัยที่ดี
- การตรวจปัสสาวะผู้หญิงควรตรวจหลังจากมีประจำเดือน 7 วัน เพื่อลดผลคลาดเคลื่อนของเลือดปะปนในน้ำปัสสาวะ
แต่ละขั้นตอนของวิธีตรวจปัสสาวะ มีดังนี้
- แพทย์จะทำการจัดเตรียมถ้วยบรรจุในการเก็บน้ำปัสสาวะ
- ก่อนถ่ายลงบรรจุ คนไข้ควรล้างมือให้สะอาดและส่วนอวัยวะเพศ เพื่อลดสิ่งเจือปนในระหว่างขับถ่าย
- ทำการถ่ายปัสสาวะช่วงกลางในปริมาณ 30-60 มิลลิลิตร
- หลีกเลี่ยงการนำอวัยวะเพศมาสัมผัสบริเวณส่วนของปากบรรจุภัณฑ์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและผลลัพธ์การตรวจปัสสาวะคลาดเคลื่อนได้
- ปิดฝาที่ตรวจปัสสาวะให้เรียบร้อยแล้วนำขวดบรรจุนี้ ส่งคืนให้กับเจ้าหน้าที่ภายหลัง
ผู้ป่วยหลายรายคิดว่าการตรวจปัสสาวะ รอผลนานไหม? ซึ่งระยะเวลาการวิเคราะห์ของน้ำปัสสาวะนั้นจะใช้เวลา 1-2 ชั่วโมงโดยประมาณ ในการอฟังผลลัพธ์จากห้องปฎิบัติการจะขึ้นอยู่กับแพทย์แต่ละแผนกที่ทางผู้ป่วยทำการนัดเข้าตรวจอีกเช่นกัน เช่น แผนกหมอฝั่งสูตินรีแพทย์ เวชศาสตร์ครอบครัว และแผนกระบบทางเดินปัสสาวะโดยตรง
เมื่อแพทย์ได้ประเมินผลตรวจปัสสาวะแล้ว หากการตรวจมีสถานะปกติ ทางแพทย์จะให้ผู้ป่วยกลับบ้านแล้วใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ แต่หากผลตรวจปัสสาวะไม่ปกติ ทางแพทย์จะทำการตรวจปัสสาวะขั้นต่อไปด้วยการตรวจสารเคมีในเลือด การเพาะหาเชื้อในปัสสาวะ และการตรวจความสมบูรณ์แบบของเม็ดเลือด
การตรวจปัสสาวะ เป็นการตรวจดูสุขภาพที่มาในรูปแบบของเสียที่ถูกขับออกมาเป็นของเหลว มีสารปนเลือดหรือการติดเชื้อที่สร้างผลกระทบกระเทือนต่อการทำงานระบบอวัยวะภายในหรือไม่ ทางแพทย์ขอแนะนำการ
ตรวจสุขภาพประจำปีของ
โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ พร้อมตรวจปัสสาวะ โรงพยาบาล ราคาที่ย่อมเยาว์ พร้อมบริการตรวจปัสสาวะที่ปลอดภัย สะอาด และรายงานผลได้ทันที ภายใต้การปฎิบัติของแพทย์มืออาชีพ โดยติดต่อสอบถามได้ที่ Line
@samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง